The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลในพระไตรปิฎก


บทนำ วิธีการเรียนรู้ตามหลักพุทธปรัชญาเถรวาท

     เมื่อเราเข้าใจว่าความรู้ของมนุษย์มีลักษณะเป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างถูกเก็บสั่งสมไว้ในจิตของมนุษย์ในการศึกษาในโรงเรียนมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาอื่นๆ   แม้จะจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ  ที่มีส่วนร่วมการพัฒนาศักยภาพของผู้คนออกมารับใช้สังคมเป็นจำนวนมากมายในแต่ละปีนั้น    ครูอาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สอน  ผู้บรรยายไม่อาจรู้ได้ว่านิสิตผู้นั่งฟังบรรยายในห้องเรียนที่ตนเองกำลังทำหน้าที่การเรียนการสอนนั้น  ผู้เรียนได้ใช้จิตของพวกเขาเองน้อมออกไปผัสสะกับสภาวะของความรู้ที่อาจารย์ได้สอนไปแล้วน้อมเก็บความรู้มาสั่งสมไว้ในจิตได้มากน้อยเพียงใด  เพราะชีวิตของอาจารย์ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพเพียงพอ    หยั่งรู้การศึกษาตามหลักสูตรในมหาวิทยาลัย  โรงเรียน  หรือสถาบันการศึกษาต่าง  จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือวัดคุณภาพของบัณฑิตว่าความรู้มีอยู่ในจิตของนิสิตแต่ละคนนั้นผ่านเกณฑ์มาตรฐานของการวัดความรู้ถึงระดับที่องค์กรต่าง ๆ ต้อง  เพื่อชั้นไปสู่ระดับที่มีอยู่ในจิตแต่ละคนต้องมีมากน้อยต่างกันอาจารย์ผู้สอนหรือสถาบันการศึกษานั้น จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือมือวัดคุณภาพของความรู้ที่มีในจิตของผู้เรียน  อาจเป็นเป็นข้อสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นข้อสอบข้อเขียนหรือภาคปฏิบัติก็ได้เพื่อวัดระดับความรู้ว่ามีความรู้พอเพียงที่จะศึกษาในหลักสูตรระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ไหมแต่ความรู้จากการศึกษาได้จากการที่จิตรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ และเก็บสั่งสมไว้ในจิตจิตนำมาคิดพิจารณาข้อมมูลความรู้ที่มีอยู่ในจิตนั้น  และนำความรู้นั้นไปจินตนาการต่อยอดความรู้เพื่อไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตนได้ แต่ธรรมชาติของมนุษย์จิตมาปฏิสนธิวิญญาณพร้อมกับความรู้ไม่รู้เรียกว่า "อวิชชา"  มีความกลัวประหม่าไม่มั่นใจในความรู้ความคิดและการกระทำของตนเองขาดความอดทนต่อผัสสะที่เข้ามารุมเร้าจิตของตนเอง ให้จิตหันเหไปสู่ผัสสะที่มาสู่ตนมีความอยากมากกว่าความรู้ที่มีอยู่ในจิตของตน หรือมากกว่าความรู้ที่ตนกำลังศึกษาอยู่ในห้องเรียนทำให้ความรู้ที่กลังศึกษาอยู่ในห้องเรียน    ไม่สามารถเก็บสั่งสมในจิตของผู้เรียนได้ผลของพฤติกรรมของกิจกรรมดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพของการรับรู้ของจิตผู้เรียนคน ๆ นั้น ที่ต้องเก็บสั่งสมในจิตลดลงทำให้มีความรู้ไม่มากพอ   หรือพอเพียงสำหรับนำข้อมูลไปจินตนาการต่อความรู้ได้   เพื่อสร้างวัตรกรรมใหม่ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและสังคมได้ ในระดับของการศึกษาในระดับชั้นต่าง ๆ   เมื่อความสนใจลดลงทำให้ความรู้เกิดจากการฟัง การค้นคว้า การลงมือปฏิบัติจริง เมื่อวัดจากการสอบแล้วมีไม่มากพอที่จะขึ้นสู่ระดับการศึกษาชั้นสูงต่อไป

    มีปัญหาต้องศึกษาเรื่องปัจเจกบุคคลว่ามีความสัมพันธ์กับความรู้อย่างไร เมื่อผู้เรียนเข้าใจแล้วว่า ชีวิตที่ประกอบด้วยกายและจิต โดยจิตอาศัยร่างกาย เพื่อศึกษาเรียนวิชาการต่าง ๆ นำความรู้นั้นมาพัฒนาศักยภาพของชีวิตตนเองให้มี บุคคลิกลักษณะของบุคคลที่ประเทศพึงประสงค์ มีทักษะในการทำงานที่หน่วยของราชการ บริษัทห้างร้าน องค์กรต่างๆต้องการ เมื่อเข้าใจว่าชีวิตสัมพันธ์กับความรู้อย่างไรแล้ว ก็จะช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจข้อจำกัดของชีวิตตน หากต้องการทำงานรับใช้อื่นหรือ องค์กรอื่นใดเพื่อยังชีพแล้ว มีความจำเป็นต้องรู้จักการพัฒนาศักยภาพของชีวิตและทักษะการใช้เทคโนโลยี่และอินเตอร์เน็ต หรือทักษะอื่นใดใช้ประโยชน์ในการทำงานได้และใช้ข้อจำกัดนี้เป็นจุดเริ่มต้นพัฒนาศักยภาพของตนเอง และตั้งใจศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น ปัญหาเรื่องของปัจเจกบุคคลกับการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

      วิธีการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎธรรมชาติที่เป็นวิถีชีวิตที่แท้จริงของมนุษย์นั้น เมื่อเราเห็นความจริงของชีวิตย่อมเกิดประโยชน์มากกว่าโทษ เมื่อเราเข้าใจกระบวนการของใช้ชีวิตแล้วย่อมดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง     ตามหลักธรรมะซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่ต้องเรียนรู้ เพราะเมื่อเรารู้ว่ามนุษย์มีจิตเป็นสาระอันเป็นแก่นแท้ของชีวิตอาศัยร่างกายเป็นที่อยู่อาศัยและใช้อินทรีย์ ๖ เป็นสะพานเชื่อมความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับอารมณ์โลก แต่จิตของมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้และมีอินทรีย์(ร่างกายและจิต)แก่กล้ามากน้อยแตกต่างกันออกไปผู้อินทรีย์แก่กล้าน้อยย่อมเป็นภาระผู้อื่นในการตัดสินใจแทบทุกเรื่องเพราะใจคอโลเลอ่อนไหวไม่มั่นคงและที่สำคัญขาดความอดทน ต่อสู้ภาระงานหนักให้ผ่านพ้นไปได้ ย่อมเกิดความทุกข์เกิดในจิตใจของตน เมื่ออินทรีย์ของตนแก่กล้าน้อยมีสิ่งจรเข้ามาสู่ชีวิตจิตที่ยังไม่มีศักยภาพเท่าทันอารมณ์เรื่องราวของโลกที่ผ่านอินทรีย์ ๖ เข้ามาสู่จิตของตนย่อมถูกอำนาจของผัสสะที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโลกบ้าง อารมณ์ของกิเลสบ้างและเรื่องอื่นๆชักจูง ให้เกิดความเชื่อว่าเป็นความจริงปราศจากการคิดพิจารณาสภาวะของปรากฎการณ์นั้นๆ ด้วยมาตรฐานของกระบวนการของการที่มาของความรู้อย่างสมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยนั้น 
ดังนั้นวิธีการศึกษากระบวนเรียนรู้ของมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้จะมีแค่การฟังแล้วจดบันทึกไว้ในเพียงสมุดไม่เพียงพอ ผู้ศึกษาจำเป็นต้องนำความรู้นั้นมาคิดพิจารณาให้เข้าใจเสียก่อนว่า ความรู้นี้คืออะไร มีธรรมชาติของความรู้เป็นอย่างไรจึงจะนำข้อมูลความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ธุรกิจแก่ตนได้อย่างไรเพราะฉะนั้นวิธีการศึกษาในหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษา มีอาจารย์เป็นผู้บรรยายเพียงฝ่ายเดียว จากนั้นก็สอบกลางภาคและสอบปลายภาคในที่สุดก็จบการศึกษาไปเป็นวิธีการที่เป็นกระบวนการที่ล้าสมัยไปเสียแล้ว เพราะเนื้อหาวิชาการต่างๆ มีผู้นำไปวิดีโอลงYutubeเป็นจำนวนไม่น้อย  ยกเว้นหลักสูตรในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งจะมีเนื้อหาครบถ้วนตามหลักพระธรรมวินัย ทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธได้แยกย่อยเป็นวิชาการสาขาต่างๆ แต่เมื่อตั้งปัญหาถามผู้ศึกษาแล้วว่ามาทำอะไร ทุกคนมาตอบว่ามาศึกษาเล่าเรียนถามต่อไปอีกว่าไปทำไมเพื่อหาความรู้ แต่เมื่อถามต่อไปอีกว่าเอาความรู้มาให้ดูหน่อยสิ แต่ไม่มีใครเอาความรู้มาให้ดูหน่อยสิ แต่ก็ไม่มีใครสามารถเอาความรู้มาดูได้และถามว่าความรู้คืออะไร มีธรรมชาติอย่างไร ส่วนใหญ่ตอบไม่ได้เพราะยังไม่เข้าใจกระบวนการศึกษาโดยเฉพาะวิธีศึกษาทำให้ศึกษาส่วนใหญ่เป็นศึกษาตามสัญญา(ความจำ)ด้วยท่องจำเพื่อนำไปสอบให้ผ่านเท่านั้น  

        ดังนั้นการศึกษาเรื่องชีวิตสัมพันธ์กับความรู้อย่างไร เป็นสิ่งจำเป็นต้องศึกษา จะมองข้ามไปไม่ได้เพราะจะทำให้จิตผู้เรียนเกิดเข้าใจคุณค่าของการศึกษา และวิธีการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้น เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ประกอบธุรกิจการงานของตนให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ได้ด้วยความเพียรของตนเองดังนั้น วิธีการศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เมื่อเราศึกษาค้นคว้าข้อมูลตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึง วิธีการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของคนธรรมดาก้าวไปสู่ความเป็นอริยบุคคลนั้น ดังปรากฎหลักฐานในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่มปกสีฟ้า (๙) พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรค [๓.มหาปรินิพพาน] สุภัททปริพาชก พระผู้มีภาคเจ้าจึงตรัสได้ดังนี้ว่า [๒๑๔] สุภัททะในธรรมวินัยไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะ 
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารดิจิทัลพระไตรปิฎกออนไลน์นั้นรับฟังข้อเท็จเป็นที่ยุติว่าพระพุทธเจ้า ทรงใช้วิธีการปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ ๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคลธรรมดาให้บรรลุถึงความรู้ในระดับพระอริยบุคคล หากลัทธิหรือศาสนาใดไม่มีวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘  ไปพัฒนาศักยภาพศาสนบุคคล  ศาสนานั้นย่อมไม่มีพระอรหันต์  หลักวิธีปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ นั้นซึ่งเราสามารถขยายความได้ดังต่อไปนี้
        ๑.ธรรมวินัย คำว่า "ธรรม" หมายถึงธรรมชาติหรือเนื้อหาของความรู้ของมนุษย์ที่ได้ศึกษาหาความรู้นั้น ที่เป็นอยู่เองตามธรรมชาติถึงแม้โคตมะพุทธเจ้า ยังไม่ค้นพบกฎธรรมชาติของความรู้ที่ห่อหุ้มจิตของมนุษย์ไว้ความรู้ยังคงเป็นอยู่อย่างนี้ในจิตของมนุษย์เป็นมาแล้วไม่รู้ กี่ อสงไขย เป็นกฎธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนวินัย หมายถึงกฎซึ่งเป็นแนวทางของการปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ 
       ๒.มรรคมีองค์ ๘หมายถึงวิธีการฝึกฝนจิตไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ แบ่งออกเป็น ๘ อย่างด้วยกันคือ
       ๒.๑ สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นที่ถูกต้อง เมื่อมนุษย์ผัสสะอารมณ์ใด ผ่านอินทรีย์ ๖ (อายตนะภายใน) สั่งสมอยู่ในจิต  ก่อนจะเชื่อว่าความจริง จิตต้องสงสัยก่อนจะเชื่อว่าเป็นความรู้และความจริง ต้องนำข้อมูลว่าคิดวิเคราะห์ ,พิจารณา, ไตร่ตรองใคร่ครวญ เป็นต้น มาคิดให้เข้าใจถูกต้อง ตามความเป็นจริงในคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องกรรม วิชชา ๓ และอริยสัจ ๔. 

       ๒.๒ สัมมาสังกัปปะ คือความคิดที่ถูกต้อง เมื่อผัสสะอารมณ์ใดผ่านอายตนะภายในเข้าสู่จิต ต้องรู้จักคิดเข้าใจ พิจารณาอารมณ์เหล่านั้นให้จิตปล่อยวาง ความพยาบาทงดเว้นการเบียดเบียนทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมให้เรื่องเหล่านั้นได้

      ๒.๓สัมมาวาจา คือการเจรจาที่ถูกต้อง เมื่อจิตผัสสะในอารมณ์ใดผ่านอายตนะภายในเข้าสู่จิต มนุษย์รู้จักตั้งสติงดเว้นการพูดเยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี หยาบคายและเพ้อเจ้อต่อบุคคลนั้น                       

       ๒.๔ สัมมากัมมันตะ คือการปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึงการกระทำละเว้นจากการฆ่าสัตว์ทุกประเภท การลักทรัพย์ของผู้อื่นและการประพฤติผิดในกาม 
      ๒.๕ สัมมาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจการงานที่ชอบ แม้การงานบางอย่างเช่นการเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าขายเป็นอาหาร แม้จะได้รับอนุญาติจากกฎหมายแต่มิใช่สัมาอาชีวะในพุทธศาสนา ก็ควรงดเว้น เป็นต้น.

     ๒.๖.สัมมาวายามะคือมีความพากเพียรที่ถูกต้องให้อยู่ในกระบวน การคิดที่ดีงามเมื่อจิตของตนผัสสะในอารมณ์ของอกุศลกรรมต้องรู้จักละ อกุศลกรรมทางกาย ทางวาจาและทางใจให้ได้และเจริญภาวนาให้ยิ่งขึ้นๆ ขึ้น
    ๒.๗.สัมมาสติคือการมีสติที่ถูกต้องมีความรู้ตัวตลอดเวลาในกาย กรรม วจีกรรมและมโนกรรมเพื่อจำกัดความฟุ้งซ่าน รำคาญ หดหู่ ง่วงซึม สงสัยและลังเลในผัสสะทั้งหลายด้วยการใช้จิตพิจารณา ไตร่ตรองใคร่ครวญ หรือพิจารณาอารมณ์เกิดขึ้นกับจิตขณะปฏิบัติ เป็นต้น  
      ๒.๘. สัมมาสมาธิคือการที่จิตมีสมาธิที่ถูกต้องหมายถึงกายและ จิตให้อยู่ในสภาวะของความสงบโดยการขจัดความคิดฟุ้งซ่าน  ความ จำย้ำคิดย้ำทำและอารมณ์ขุ่นมัวออกไปชั่วขณะหนึ่งด้วยการเจริญฌาน เป็นต้น 
    ๓.สมณะหมายถึง ผู้สงบแล้ว[10] คำว่า ผู้สงบหมายถึงพระอรหันต์ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในมรรคมีองค์๘ เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ และความจริงในความเป็นพระอรหันต์ซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์  เมื่อสังเคราะห์ความรู้จากมรรคมีองค์ ๘ ย่อเหลือ ๓ เรียกว่าไตรสิกขา ได้แก่ สัมมาทฏฐิและสัมมาสังกัปปะ สังเคราะห์เข้าปัญญาสิกขา ส่วนสมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะสังเคราะห์เข้าหลักศีลสิกขา ที่เหลือมาสัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมาสมาธิ จัดสังเคราะห์เข้าหลักสมาธิสิกขามรรคมีอค์๘ เมื่อสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่เป็นหลักไตรสิกขาเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ที่เป้นความจริงของปัจเจกบุคคลที่จิตจะได้บรรลุถึงความรู้ที่ถูกต้อง การปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ของสิทธัตถะโพธิสัตว์ ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ตำบลพุทธคยา อำเภอคยารัฐพิหาร อินเดีย ทรงปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ ด้วยการรักษาศีล ทรงสำรวมกาย วาจาให้อยู่ความสงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ในหลักธรรมการเจริญสมาธิด้วยการปฏิบัติกรรมฐานด้วยการเจริญอาณาปานสติด้วยความอดทนเป็นอย่างยิ่งหลายชั่วโมง และทรงใช้หลักปัญญาใช้จิตคิดใคร่ครวญ วิเคราะห์บรรดาอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตแล้ว ฟุ้งขึ้นมาเห็นการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นความรู้เรียกว่าบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจูตุปาตญาณ ทำให้จิตของพระองค์เบื่อหน่ายในความทุกข์ที่เห็นซ้ำซาก แล้วพระองค์ก็บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา สำรอกกิเลสที่ห่อหุ้มจิตมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขย หลุดจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ดังนั้นวิธีการเรียนรู้ของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เราในฐานะพุทธสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องนำมาใช้ในการวางแผนการจัดระบบการศึกษาให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และควรตราออกเป็นกฎหมายในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประเภทอื่นด้วยซ้ำไป.

๓.วิเคราะห์ปัจเจกบุคคลกับวิธีการเรียนรู้ในพุทธปรัชญาเถรวาท

เมื่อเราศึกษาชีวิตของปัจเจกบุคคลแล้วเราพบว่าปัจเจกบุคคลแต่ละคนมีองค์ประกอบของชีวิตด้วยกายและจิต ทั้งกายจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกันจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้หากขาดกายหรือจิตอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้ว ชีวิตของปัจเจกบุคคลแต่ละคนนั้นไม่สามารถดำรงตนให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ต้องถึงแก่ความตายไปนอกจากนี้
       
๓.๑ธรรมชาติของจิตรับรู้ ปัจเจกบุคคลมีจิตของตนเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานมีลักษณะเป็นดวงเดียว ท่องเที่ยวไปไกล (ทั่วสังสารวัฏใน ๓๑ ภพภูมิ) อาศัยอยู่ในถ้ำที่มีลักษณะเป็นกะโหลกศีรษะซึ่งเป็นที่บรรจุสมองของมนุษย์ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาททั่วร่างกายของมนุษย์หรือจิตของปัจเจกบุคคล เป็นผู้รู้ด้วยการน้อมจิตออกไปรับรู้อารมณ์โลกเรื่องราวและกิเลสโลกที่อยู่ล้อมรอบตัวของปัจเจกบุคคลผ่านอายตนะภายในหรืออินทรีย์ทั้งห้าซึ่งเป็นทวารเชื่อมจิตกับสิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมาตัวอย่างเช่นเมื่อจิตผัสสะรูปภาพผ่านประสาทตา ก็เกิดความรู้ทางตาขึ้นหรือ เมื่อจิตผัสสะเสียงผ่านประสาทหูเกิดความรู้เกี่ยวกับเสียงขึ้นในจิต หรือเมื่อจิตผัสสะกลิ่นผ่านประสาทของจมูกก็เกิดความรู้เกี่ยวกับกลิ่นในจิตหรือเมื่อจิตผัสสะรสชาดของน้ำ อาหาร ผ่านประสาทลิ้นเกิดความรู้เกี่ยวกับรสชาดของน้ำ อาหารขึ้นในจิตหรือเมื่อจิตผัสสะการเสียดสีทางกาย (โผฏรัพพะ) เกิดความรู้เกี่ยวกับการเสียดสีขึ้นในจิต หรือเมื่อจิตผัสสะกับธรรมารมณ์เกิดความรู้เกี่ยวกับใจขึ้นจิตของมนุษย์ แต่จิตของปัจเจกบุคคลนั้นเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง เมื่อน้อมออกไปรับรู้เรื่องราวของวัตถุต่าง ๆของโลกซึ่งเป็นสิ่งมีรูปร่างและกินเนื้อที่ในอากาศจิตไม่อาจเอาวัตถุผ่านเข้ามาสู่จิตได้ นอกจากอารมณ์ของรูปพรรณ สัณฐาน สีสรรค์ แร่ธาตุที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเรื่องราวของความรู้เก็บสั่งสมไว้ในจิตของตน หากมนุษย์ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของอารมณ์โลกย่อมใช้ชีวิตไปตามอารมณ์ที่ตนชอบ เป็นต้น. 
        ๓.๒ ธรรมชาติของจิตเป็นผู้คิดเมื่อปัจเจกบุคคลมีจิตเป็นผู้รู้แล้วธรรมชาติของจิต เป็นผู้คิดจากข้อมูลของประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสสะว่าความรู้ที่ได้จากคิด นั้นคืออะไรมีธรรมชาติของความรู้เป็นอย่างไร กระบวนการคิดของจิตมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการเรียนรู้ของมนุษย์เพราะเป็นวิถีของวิชชาและอวิชชาของมนุษย์จิตของมนุษย์เป็นผู้คิดจึงมีความสำคัญที่มนุษย์ควรทำความเข้าใจและให้ความสำคัญของคิดทำให้เกิดความรู้และความจริง  
        ๓.๓ ธรรมชาติของจิตเป็นผู้เก็บ เมื่อจิตของปัจเจกบุคคลเป็นผู้รู้และเป็นผู้คิดอย่างหนึ่งที่มนุษย์ควรรู้ธรรมชาติของตนเป็นผู้เก็บสั่งสมหรือเป็นผู้เก็บความรู้ต่างๆ  เมื่อจิตมนุษย์ผัสสะประสบการณ์ผ่านอินทรีย์ ๖ เข้าสู่จิตไม่ได้หายไปไหนยังคงอยู่ในจิตของมนุษย์ ประสบการณ์เหล่านี้ไม่ว่าจากการฟัง การเขียน การอ่าน การพูดและการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ ในธุรกิจการงานต่าง ๆ  การลงมือศึกษาค้นคว้า ตามเนื้อหาในหลักสูตรของวิชาการต่าง ๆ  เป็นต้น ความรู้ที่เกี่ยวกับเนื้อหาหลักธรรมที่เกื้อกูลชีวิต เช่น ความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้าทรงเดินทางจากเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันไปแสดงธรรมครั้งแรกเป็นระยะทางถึง ๑๖๐ กิโลเมตรเป็นต้น    
        -ความรู้ที่เป็นเมตตากรุณาเป็นสิ่งเกิดขึ้นในจิตของพระพุทธเจ้า ก็ไม่มีรูปร่างเช่นกันความกตัญญูต่อบิดามารดาเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานแต่เรารับรู้ได้จากการแสดงออกทางกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมของมนุษย์เองหรือ
     -ความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ นั้นไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา  ภาษาอังกฤษนั้นวิชาเหล่านี้ เมื่อเรียนรู้แล้วความรู้ที่จิตน้อมออกไปรับรู้เป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเมื่อจิตเป็นสิ่งไม่ มีรูปร่าง สภาวะของความรู้ก็ไม่มีรูปร่างเช่นเดียวกัน  
         -การลงปฏิบัติในวิชาช่างยนต์กลโรงงานต่าง ๆ แม้จะเป็นการปฏิบัติจิตน้อมออกไปรับรู้ประสบการณ์การลงมือปฏิบัติซ่อมแซมเครื่องมือจักรกลต่าง ๆ  ความรู้ภาคปฏิบัติเหล่านี้มีการซ่อมแซมบำรุงรักษาหรือก่อสร้างเครื่องจักรกลขึ้นมาใหม่ก็แต่เรื่องราวของความรู้ที่จิตน้อมออกไปรับรู้ เข้าสู่จิตและเก็บ
    -ความรู้เกี่ยวกับการผิดศีลห้า การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม เป็นกายแสดงทางกายกรรมตามความอยากของจิต จิตน้อมออกไปรับรู้ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเมื่อจิตเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างสภาวะความรู้เกี่ยวกับการผิดศีลก็ไม่มีรูปร่างเช่นเดียวกัน การที่จิตรับรู้เข้าสู่จิตและอารมณ์เหล่านี้ยังอยู่ในจิต
    ๓.๔ ธรรมชาติของจิต เป็นผู้มีธรรมชาติความนึกจิตของมนุษย์นอกจากเป็นผู้เก็บอารมณ์เรื่องราวต่าง ๆ เพราะเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้หายไปจากจิตของมนุษย์แต่อย่างใด ปัจเจกบุคคลนำเรื่องราวเหล่านี้มานึกคิดต่อยอดองค์ความรู้ หรือนำมาจินตนาการสร้างสรรค์องค์ความรู้ขึ้นใหม่เช่นเมื่อเราสวดมนต์ไหว้พระจิตระลึกคุณของพระพุทธเจ้านำ มาสู่การจินตนาการต่อยอดสร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นมาโดยมีลักษณะของพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าแตกต่างกันออก ไปตามความนึกคิดจินตนาการของช่างผู้ออกแบบเพราะฉะนั้นพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและพม่าจึงมีความแตกต่างกันเป็นต้น เมื่อเรารู้ธรรมชาติของจิตมนุษย์เป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง  ดังนั้น ธรรมชาติของความรู้ที่อยู่ในจิตของมนุษย์ย่อมเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างเช่นเดียวกัน นอกจากนี้จิตเป็นผู้รับรู้ เป็นผู้คิดจากสิ่งที่รู้เก็บสั่งสมจากสิ่งที่รู้และนำสิ่งที่เก็บสั่งสมนั้นมานึกคิดจินตนาการต่อยอดความรู้ทำให้เกิดรูปธรรมขึ้นมาด้วยความเข้าใจในความรู้ที่ตนมีอยู่ ในวิธีการที่จะเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในกระบวนการสอนให้แก่ผู้เรียน และสามารถจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ผู้เรียน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมแก่ผู้เรียนทำให้เกิดกระบวนการเรียนที่สัมฤทธิ์ผลอย่างเต็มที่ ขจัดปัญหาที่เป็นข้อจำกัดของการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เช่น ผู้เรียนมีจิตที่อ่อนแอไม่มีความเชื่อมั่นในตนเองจิตฟุ้งซ่านและกังวลไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมการทำกิจกรรมฝึกฝนสมาธิก่อนเข้าเรียนในห้องเรียนจะช่วยขจัดข้อจำกัดของจิตในการรับรู้การถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์ผู้สอน เมื่อสลัดอารมณ์อันขุ่นมัวออกจากจิตก่อนเข้าศึกษาในห้องเรียนได้ทำให้ศักยภาพของจิตในการรับรู้ดีขึ้นทำให้ผู้เรียนเก็บเนื้อหาของความรู้ที่อาจารย์ผู้บรรยายถ่ายทอดได้ครบถ้วนมีสติระลึกถึงความรู้มาคิดวิเคราะห์ได้เข้าใจอย่างชัดแจ้ง และสามารถนำความรู้ไปคิดต่อยอดให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ได้นอกจากนี้เมื่อรู้ว่าตน (ปัจเจกบุคคล) ได้ศึกษาวิธีการเรียนรู้เข้าใจแล้วว่า จิตมีธรรมชาติของความรู้เก็บสั่งสมที่รับรู้ด้วยการผัสสะแล้วย่อมมีความอดทนตั้งใจศึกษาเล่าเรียน และลงมือปฏิบัติต่อไปจนประสบความความสำเร็จ แม้ตนจะประสบความล้มเหลวหลายครั้งก็ตาม. 

๔. บทสรุป  

        เมื่อมนุษย์รู้ว่าชีวิตตนประกอบด้วยกายและจิต ทั้งสองแยกจากกันได้แต่มารวมตัวกันให้เกิดชีวิตใหม่ที่ถูกสมมติชื่อขึ้นมาทั้งกายและจิตอาศัยซึ่งกันและกัน จิตอาศัยกายเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลกที่เรียกว่าความรู้ จิตเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างเมื่อสิ่งที่จิตผัสสะเป็นสิ่งมีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง สิ่งที่เป็นความรู้ย่อมไม่มีรูปร่างไปด้วย เพราะวัตถุที่มีรูปร่างจึงไม่อาจเก็บไว้ในจิตได้ นอกจากอารมณ์เรื่องราวของวัตถุนั้นในจิตนั้น เมื่อผู้เรียนเข้าใจวิธีศึกษาแล้วย่อมตั้งใจศึกษามากยิ่งขึ้นรู้จักวิธีพัฒนาศักยภาพของตนมากยิ่งขึ้น ปัญหาของคุณภาพของบัณฑิตที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อการศึกษาของตน ขาดความอดทนในการศึกษาเล่าเรียนและความคิดจินตนาการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ย่อมหมดไป  ดังนั้นเมื่อเราจัดการศึกษาตามหลักสูตรต่างๆ เราต้องจัดหลักสูตรให้สอดคล้อง กับคำสอนของพระพุทธเจ้าในวิธีการปฏิบัติให้เป็นไปให้หลุดพ้นจากปัญหาในระดับโลกิยะที่พระพุทธองค์ทรงชี้ทางไว้ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของคนในชาติ และขจัดอุปสรรค์ต่อพัฒนาชาติ โดยเฉพาะคุณภาพของพลเมืองในประเทศของตนให้หายจากความอ่อนแอ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตน การที่จะให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิ และหน้าที่อย่างเทียมกันย่อมเป็นสิ่งที่ง่าย ไม่เป็นภาระหน้าที่ของคนอื่นในการรักษาสิทธิของตน เพราะ หากทุกคนในชาติมีความเข็มแข็งไม่อ่อนแอแล้ว ย่อมมีสติปัญญารู้จักนำความรู้คิดช่วยกันแก้ปัญหาต่างๆได้ มิใช่ต่างคนต่างอยู่แยกตัวออกจากสังคม ทำให้ขาดพลังสามัคคี ยากจะบรรลุถึงเป้าหมายคือความสงบสุขของคนในชาติได้ดังนั้นการศึกษาเรื่องปัจเจกบุคคลและวิธีการศึกษาในพุทธปรัชญาเถรวาทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการก่อประโยชน์ให้ผู้คนเรียนเรียนรู้ตนและมองเห็นความสำคัญของการศึกษาที่เป็นตนหน้าที่ของตนเอง


บรรณานุกรม
ข้อมูลปฐมภูมิ
-มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎํ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๐๐.
๑.กระทรวงศึกษาธิการhttp://www.mis.moe.go.th/mis-th/index.php?Option=com_content&view = article&id = 58& Itemed =186 เข้าเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๖.๐๖ น.
๒. http://www.dhammathai.org/watthai/watstat.php เข้าเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๕๕ น.
๓.พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย (http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd25. htm เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๒๖ น.
๔.พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม
๖.https://th.wikipedia.org/wiki/ความคิดจาก Webster's II New College Dictionary, Webster Staff, Webster, Houghton Mifflin Company, Edition: 2, illustrated, revised Published by Houghton Mifflin Harcourt, 1999, ISBN 0-395-96214-5, 9780395962145, pg. 1147 เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๐๑ น.
๗. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่มปกสีฟ้า[1] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]จาก
http://www.geocities.ws/ tmchote/ tpd-mcu/tpd10-2.htmเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๙ เวลา ๑๐.๐๐ น.
๘. สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ลักษณะพระพุทธศาสนา, มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ครั้งที่ ๔๒๕๓๓จำนวน ๒๐๘ หน้า.
๙. คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปรัชญาเบื้องต้น,ห้างหุ้นส่วนจำกัด นวสาส์นการพิมพ์  กรุงเทพมหานคร๒๕๕๐.จำนวน ๒๕๓ หน้า.  
(๑)กระทรวงศึกษาธิการhttp://www.mis.moe.go.th/mis-th/index.php?option=com_content&view=article&id=58&Itemed=186  เข้าเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘  เวลา ๑๖.๐๖ น.
(๒) http://www.dhammathai.org/watthai/watstat.phpเข้าเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๕๕ น.
(๓) หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์http://www.manager.co.th  /QOL/ View News.aspx?NewsID=9590000000132
(๔) คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปรัชญาเบื้องต้นห้างหุ้นส่วนจำกัด นวสาสน์การพิมพ์กรุงเทพมหานคร๒๕๕๐ หน้า ๗๐.
(๕) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม(ปกสีฟ้า)เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกายธรรมบท จิตวรรคนั้นเอง
(๖) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย๔๕เล่ม(ปกสีฟ้า)
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd35.htmวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๑๐ น.
(๗) http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/buddict/dish43.html
(๘) https://th.wikipedia.org/wiki/ความคิดจาก Webster's II New College Dictionary, Webster Staff, Webster, Houghton Mifflin Company, Edition: 2, illustrated, revised Published by Houghton Mifflin Harcourt, 1999, ISBN 0-395-96214-5, 9780395962145, pg. 1147 เมื่อวันที่ ๒๔  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๐๑ น.
(๙) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่มปกสีฟ้า[9] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๓. มหาปรินิพพานสูตร]จาก
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd10-2.htmเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๙ เวลา ๑๐.๐๐น.
(๑๐) พจนนุกรมฉบับแปลไทย-ไทยราชบัณฑิตยสถาน
http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute/สมณะเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙เวลา ๑๘.๓๗ 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ