3. Witnesses Confirm the Existence of Buddha
บทนำ พยานบุคคลคือใคร
โดยทั่วไป มนุษย์ทุกคนมีอายตนะภายในร่างกาย ที่สามารถรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ เมื่อรับรู้แล้ว พวกเขาก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้ เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ อย่างไรก็ตามธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ได้เพียงรับรู้และเก็บอารมณ์เท่านั้น แต่มนุษย์ยังมีธรรมชาติของการเป็นนักคิดอีกด้วย เช่น การมีอยู่ของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีก่อน ชาวพุทธทั่วโลกได้รับรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพุทธเจ้า จากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุเถรวาทและมหายาน หรือศึกษาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยทั่วราชอาณาจักรไทยและทั่วโลก เมื่อผู้คนได้รับรู้ความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแล้ว พวกเขาจะเก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ และนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของการมีอยู่ของพระพุทธเจ้า
อย่างไรก็ตามคำตอบที่ได้จากการวิเคราะห์นั้น ก็ยังไม่ชัดเจนว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ เพราะหลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอ การฟังคำให้การของพยานเพียงคนเดียว ไม่น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริงได้ เพราะพยานมักลำเอียงเข้าข้างผู้อื่น เนื่องจากความไม่รู้ ความเกลียดชัง ความกลัว และความรักส่วนตัว นอกจากนี้ พยานเหล่านี้ ยังมีอายตนะภายในร่างกายที่จำกัดในการรับรู้สิ่งต่างๆ ทำให้ชีวิตของพวกเขามืดมน จึงไม่สามารถคิด โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างสมเหตุสมผล เมื่อนักตรรกะ นักปรัชญา แสดงความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามหลักการใช้เหตุผลหรือคาดคะเนความจริง นักปรัชญาเหล่านั้นมักจะใช้เหตุผลผิดบ้าง ถูกบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เช่น การได้ยินความคิดเห็นเกี่ยวกับการฆาตรกรรมซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นแต่เราไม่รู้เจตนาของผู้ก่อเหตุ เนื่องจากจิตใจของมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกาย หรือ เมื่อได้ยินเรื่องราวถึงสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชเพราะนิมิต ๔ แต่ไม่มีรายละเอียดในเรื่องนี้ชัดเจน นักปรัชญาแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ตามหลักการใช้เหตุผลหรือคาดคะเนความจริง นักปรัชญาเหล่านั้นมักจะใช้เหตุผลผิดบ้าง ถูกบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เนื่องจากนักปรัชญาเป็นมนุษย์ที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้ข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงได้ยินข้อเท็จจริงว่าพราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญา มักจะแสดงความคิดเห็นความจริงของชีวิตมนุษย์ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และการคาดคะเนความจริงเรื่อง อัตตา โลกเที่ยง เป็นต้น นักปรัชญา นักตรรกะ มักจะใช้เหตุผลถูกบ้างผิดบ้าง เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากมิจฉาทิฐิ พระพุทธเจ้าทรงศึกษาค้นคว้าความจริงของชีวิตมนุษย์และตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตสัตว์ทั้งหลาย ที่ดำรงชีวิตตามกรรมของตน แม้มนุษย์จะมีข้อจำกัดในเรื่องนี้ แต่ถ้าพวกเขารู้จักพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ และจะสามารถทำลายข้อจำกัดของอายตนะภายในร่างกาย เพื่อรับรู้ความจริงขั้นปรมัตถ์ได้เช่นกัน เมื่อความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนล้วนมีข้อจำกัดในการรับรู้และมีอคติต่อผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนตกอยู่ในความมืดมนของชีวิต ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรคือความจริงที่สมมติขึ้นหรืออะไรคือความจริงขั้นปรมัตถ์ เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากพยานเพียงคนเดียว ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้ว เราไม่ควรเชื่อความจริงทันที เราควรสงสัยเสียก่อนจนกว่าจะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
เมื่อพยานบุคคลมีความสามารถในการรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ได้จำกัดและมีอคติต่อกัน ดังนั้น มนุษย์จึงไม่สามารถเป็นประจักษ์พยานเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงทุกเรื่องได้ หากต้องการยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น พวกเขาต้องหาพยานเพื่อยืนยันความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุผล บริสุทธิ ยุติธรรมในเรื่องที่น่าสงสัยนั้น
ปัญหาที่ต้องคำนึงคือว่า "พยานบุคคลคือใคร" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คำว่า "พยานบุคคล" หมายความว่า "บุคคลที่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีไม่ว่าจะรู้โดยวิธีใดก็ตาม ซึ่งอาจจะเป็นประจักษ์พยาน หรือพยานบอกเล่าก็ได้ ส่วนคำว่า "คดี" หมายถึงเรื่อง มักใช้ประกอบศัพท์เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดีและสารคดี เป็นต้น เมื่อเราศึกษาคำนิยามดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบความรู้ของพยานบุคคลยังไม่ชัดเจน จำเป็นต้องตีความองค์ประกอบความรู้ขึ้นใหม่เพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ในเรื่องนี้ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อเท็จจริงได้ความจริงในเรื่องพยานบุคคลใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ พยานบุคคล คือ บุคคลที่ข้อเท็จจริงที่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีไม่ว่าจะรู้โดยวิธีใดก็ตาม ซึ่งอาจจะเป็นประจักษ์พยานหรือพยานบอกเล่า เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแยกองค์ประกอบความรู้เกี่ยวกับพยานบุคคลได้ดังนี้
๑.บุคคล
๒. การรับรู้
๓. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี
๔. บุคคลนั้นอาจเป็นประจักษ์พยานหรือพยานบอกเล่าก็ได้
เราสามารถอธิบายเรื่องพยานบุคคลในพระพุทธศาสนาได้ดังนี้
๑.บุคคล ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุุคคลคือคน" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า"คนคือมนุษย์" ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่อง "มนุษย์"ในรปแบบของ "ขันธ์ห้า" หรือขันธ์ทั้งห้า โดยแบ่งองค์ประกอบชีวิตมนุษย์เป็น ๔ ส่วนคือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ เป็นต้น คำว่า "รูป"แปลว่า สิ่งที่เห็นด้วยตา ซึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในขันธ์ ๕ เป็นต้น คำว่า "เวทนา" หมายถึงความรู้สึก ความรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ คำว่า"สัญญา" หมายถึงความจำของจิตมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อจิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายรับรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง จิตใจของมนุษย์ก็ทำหน้าที่เก็บหลักฐานทางอารมณ์และสั่งสมไว้ในจิตใจด้วย สามารถนึกถึงความทรงจำของเหตุการณ์เหล่านั้น มาใช้เป็นหลักเพื่อใช้วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้
เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงในเรื่องนั้น คำว่า "สังขาร" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้เราเข้าใจความหมายได้ว่า สังขารคือความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ เป็นต้น
กล่าวคือ เมื่อจิตใจของมนุษย์มีหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจ จิตของมนุษย์ก็มีธรรมชาติ ที่จะคิดโดยวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์นั้น เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น คำว่า "วิญญาณ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๔ เราสามารถเข้าใจความหมายได้ว่า วิญญาณคือสิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในร่างกายเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เมื่อตายลง ก็จะออกจากร่างกายและล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ ความหมายอีกอย่างหนึ่งคือการรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณคือ การรับรู้ทางตา เป็นต้น
ในปัจจุบันโลกกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การจะนำความรู้ในพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ เราจึงลดองค์ประกอบของชีวิตลงเหลือเพียง ๒ ขันธ์คือกายและจิตเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถใช้เหตุผลอธิบายความจริงได้ง่ายขึ้นและไปในทิศทางเดียวกันหรือช่วยให้เรามีความรู้ความเข้าใจถึงความสอดคล้องระหว่างพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างถูกต้อง สามารถอธิบายเนื้อหาในนั้นได้ ดังนั้น มนุษย์จึงเป็นบุคคลจึงมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจ เพื่อยืนยันความจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเองและใช้เหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น
๒. รับรู้ คำว่า "รับรู้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๔ เราสามารถเข้าใจความหมายได้ว่า ยืนยันว่ารู้, รับรู้ว่ารู้ กล่าวคือชีวิตเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิต ปัจจัยทั้งสองนี้จะต้องพึ่งพากันและกัน หากขาดปัจจับทางร่างกายหรือจิตใจ ชีวิตของมนุษย์ก็จะสิ้นสุดลง เป็นต้น โดยทั่วไป จิตใจใช้อายตนะภายในร่างกาย เพื่อรับรู้เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น รับรู้ถึงการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าจากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุเถรวาทใกล้บ้าน หรือได้รับรู้จากการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา จากโรงเรียนที่ตนเองศึกษาอยู่หรือศึกษาถึงการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าในภาควิชาปรัชญาและศาสนา สาขาวิชาภาษาบาลีและการศึกษาพระพุทธศาสนา คณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู หรือการรับรู้ถึงการมีอยู่ของเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ ตั้งอยู่ที่ อำเภอกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี ในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ที่เดินทางไปแสวงบุญที่สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นต้น
๓.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดี มีประเด็นที่ต้องศึกษาว่า ข้อเท็จจริงคืออะไร ? คำว่า "ข้อเท็จจริง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้คำจำกัดความของ "ข้อเท็จจริง" คือ ๑.ข้อความหรือเห็นเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง ๒.(กฎ) เรื่องราวหรือประเด็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ พฤติกรรมของมนุษย์หรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้น ที่มีอยู่หรือที่เป็นไปและคำว่า คดี ได้ให้คำจำกัดความของ "คดี" คือ (๑) เรื่องมักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่นโบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดีและสารคดี (๒) เรื่องหรือ ความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความจริง ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น คำว่า "คดีธรรม"ตามพจนานุกรมภาษาอีสานหมายถึงเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ , เป็นต้น
กล่าวคือ โดยทั่วไป จิตของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายรับรู้ข่าวสาร หรือเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังเกิดขึ้น เช่น เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณแล้ว ก็ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส ที่สั่งสมไว้ในจิตของพระอานนท์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา พระอานนท์เกิดในวัน เดือน ปี เดียวกันกับพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า "สหชาติ" และเป็นผู้อุปัฏฐากของพระพุทธเจ้ามาหลายปี พระอานนท์ได้เห็นเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงศึกษาหาความรู้ในการปฏิบัติธรรม การงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าต่อชาวอนุทวีป ตามความเป็นจริงหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ชาวอนุทวีปแสดงออกต่อพระองค์ในหลายด้านเหตุการณ์ของความเชื่อในเทพเจ้าของผู้คนในยุคนั้นได้แสดงตามความเป็นจริงหรือคำสอนและปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ พระสาวกพากันบรรลุธรรมเป็นอันมาก เมื่อขาดการศึกษาพระพุทธศาสนาก็ไม่มีปัญญาพัฒนาศักยภาพของตนให้สูงขึ้น จึงไม่รู้ความจริงขั้นปรมัตถ์และไม่รู้จักวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่ในสังสารวัฏ
แม้ในโลกสมัยใหม่ มนุษย์จะมีปัจจัย ๔ ที่พอเพียงต่อการดำรงชีวิตอยู่ก็ตาม แต่มนุษย์ก็มัวเมากับการแสวงหาความสุข เพื่อให้วันคืนผ่านไปโดยไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อชีวิต แม้จะยอมสละสุขภาพกายและใจของตนเองก็ตาม ชีวิตมีวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกาย เมื่อตายลงวิญญาณจะออกจากร่างกายไปเกิดในภพอื่น เมื่อชีวิตเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่รวมกันเกิดในครรภ์มารดา ตั้งครรภ์นาน ๙ เดือนและให้กำเนิดบุตรเติบโตเป็นมนุษย์ใหม่ ตลอดชีวิตของมนุษย์มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิตและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมนุษย์รับรู้เหตุการณ์เหล่านี้แล้ว ก็จะสั่งสมเหตุการณ์เหล่านี้เป็นข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจ จากนั้นจิตใจจะวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากข้อมูลทางอารมณ์นั้น เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความเป็นจริงในเรื่องนั้น เป็นต้น แต่่ในเรื่่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต มนุษย์ไม่สามารถแยกแยะได้ว่ากรรมไหนดีหรือชั่ว ใครดีหรือชั่วใครรวยหรือจน ใครซื่อสัตย์หรือทุจริต ใครกตัญญูหรือเนรคุณต่อพ่อแม่เพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ มีอายตนะภายในของร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้ความจริงที่สมมติขึ้น หรือความจริงขั้นปรมัตถ์ นอกจากนี้มนุษยฺมักอคติต่อผู้อื่น ทำให้ความเห็นของตนไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถยอมรับความเห็นดังกล่าวว่าเป็นความจริงได้ เป็น ต้น
เมื่อผู้เขียนได้รับรู้เรื่องพระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองจากพระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จิตใจของผู้เขียนก็ได้รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้น และเก็บสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ แล้วนำหลักฐานทางอารมณ์นั้น มาวิเคราะห์ (คิด) โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ผู้เขียนจะได้นำความรู้ดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต
เมื่อผู้เขียนมีโอกาสเป็นพระธรรมทูตเพื่อเผยแผ่ในสังเวชนียสถานทั้ง ๔แล้ว ผู้เขียนได้นำความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตนี้ไปอธิบายให้ผู้แสวงหาบุญฟัง และสอนให้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้เกิดบุญสั่งสมอารมณ์ไว้ในจิตใจ มีสมาธิในการปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบผลสำเร็จ มีปัญญาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ด้วยตนเอง ตอบสนองต่ออารมณ์ และกิเลสตัณหาที่หลงเหลืออยู่ในใจของมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างชีวิตมนุษย์ใหม่ทุกวัน พวกเขาก็ดำเนินชีวิตตามเจตนาในการกระทำของตน แม้แต่ดวงวิญญาณของมนุษย์ทุกคน ก็ต้องผ่านวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดในวัฏสงสาร มีบทเรียนมากมายจากความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และทุกข์ในจิตใจ เมื่อมนุษย์เกิดมาก็ลืมคำสัญญาเก่า ๆ และมัวเมาในความสุขที่เข้ามาในชีวิตอีกครั้งเพราะพวกเขาไม่รู้ และมีความรู้แจ้งในวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดหม่ในวัฏสงสาร
นอกจากนี้ มนุษย์มัวเมาแต่อารมณ์ที่ตนชอบ พวกเขาก็มีศักยภาพชีวิตที่มีความเข้มแข็งและอ่อนแอต่างกัน เพราะพวกเขาไม่ได้พัฒนาศักยภาพของตน ดังนั้น เมื่อธรรมชาติของมนุษย์มีจิตใจที่อาศัยอายตนะภายในของร่างกาย ก็จะเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงของความรู้ และสั่งสมอารมณ์ของความรู้ต่าง ๆ ไว้ในจิตใจแล้ว ใช้ข้อมูลทางอารมณ์นั้น มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผล เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นเมื่อได้คำตอบแล้วจึงถ่ายทอดออกมาเป็นตำรา บทความวิชาการใช้เป็นความรู้ในการบรรยายให้ผู้อื่นฟัง หรือเป็นแนวทางในการค้นหาความรู้ในเรื่องนั้น ๆ นำปัญหาไปสู่การวิจัยเพื่อความรู้แจ้งในเรื่องนั้น เป็นต้น แท้จริงแล้วในชีวิตของผู้เขียนได้เดินทางไปแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งในเมืองต่าง ๆ ของสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลเป็นเวลา ๘ วัน ระยะทางกว่า ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ตลอดระยะเวลาการเดินทางแสวงบุญ ต้องฟังพระธรรมทูตต้องพระธรรมเทศนาบรรยายบนรถแสวงบุญเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน
เมื่อผู้เขียนจาริกไปถึงพุทธสถานแต่ละแห่งต้องปฏิบัติบูชาเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีชีวิตที่เข็มแข็งด้วยการทำสมาธิ ให้จิตใจบริสุทธิปราศจากอคติและไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว มีบุคลิกภาพอ่อนโยนเหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมมีความมั่นคงในอุดมคติของชีวิต และไม่อ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยจิตสำนึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมอยู่ในจิตใจและใช้ทักษะจากความรู้นั้นมาแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ การปฏิบัติบูชาถือเป็นการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของพระองค์เอง ในช่วงเวลา ๖ ปีแห่งการบำเพ็ญเพียรภาวนา พระองค์ทรงค้นพบหลักอริยมรรคมีองค์ ๘ พัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์จนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษย์ พระองค์ทรงเผยแผ่ธรรมะ ๔๕ ปีเพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้อื่นด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา๖ เช่นเดียวกับพระองค์
เมื่อความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นความรู้ของบัณฑิตหรือนักปราชญ์ แม้ว่าจะเป็นการยากที่จะเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นความรู้สั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้แสวงบุญทุกคนได้ เพราะผู้แสวงบุญแต่ละคนมีวุฒิการศึกษาทางพระพุทธศาสนาที่แตกต่างกัน บางคนจึงสนใจศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าและฝึกสมาธิมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ไม่ยาก การพัฒนาศักยภาพชีวิตจากผู้แสวงบุญสู่พระนักเทศน์นั้น เมื่อเราไปแสวงบุญเป็นประจำ ย่อมได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องพุทธประวัติและการปฏิบัติบูชาจากคำเทศน์ของพระภิกษุผู้นำจิตวิญญาณ ย่อมสั่งสมความรู้เหล่านั้นไว้ในจิตใจ เมื่อสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องใด เราก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถาและตำราในพระพุทธศาสนาได้ตลอดเวา เมื่อผู้เขียนมีโอกาสทำหน้าทีเป็นพระบรรยายความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ หลักธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปะแและวัฒนธรรมของชาวอินเดียนั้น
ความรู้ที่ผู้เขียนอธิบายไว้ ก็จะไม่สูญหายไปไหนแต่ยังคงสั่งสมเป็นความรู้อยู่ในจิตใจของผู้เขียนตลอดไป ยิ่งออกมาบรรยายความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถท่องจำเนื้อหาของพระพุทธศาสนาได้แม่นยำยิ่งขึ้น และมีทักษะในการเล่าเรืองโดยไม่ต้องทบทวนหนังสืออีก บรรเทาความกังวลว่าตนเองอาจทำงานไม่ดีพอ เมื่อเนื้อหาของความรู้นั้นยังสั่งสมอยู่ในจิตของผู้เขียน และยังคงติดตามผู้เขียนกลับคืนสู่ราชอาณาจักรไทยดังนั้น การเป็นพระวิทยากรบรรยายธรรมแก่ผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นความทรงจำที่งดงามและน่าภาคภูมิใจที่ครั้งหนึ่งในชีวิตของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสทำงานเพื่อพระพุทธเจ้าและเป็นที่พึ่งของผู้อื่น เป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น