The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566

บทนำ ปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ในพระไตรปิฎก

  Introduction :  Philosophy is human knowledge in the Tripitaka.

คำสำคัญ   ปรัชญา  ความรู้  มนุษย์  พระไตรปิฎก



สารบาญ  

๑.บทนำปรัชญาคืออะไร 

๒.องค์ประกอบสำคัญของปรัชญา   

๓.ความรู้ทางปรัชญา  

๔.พุทธศาสนาในฐานะทางปรัชญา

๕.การประยุกต์ใช้ปรัชญาพุทธภูมิในชีวิตประจำวัน

๖.บทสรุป

บทนำ ปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์  

       ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก    ปรัชญาเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาปีที่ ๑ ในทุกมหาวิทยาลัย   อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยบางแห่งสอนปรัชญาเป็นวิชาเลือก   เมื่อนักศึกษาฟังการบรรยายวิชาปรัชญาเบื้องต้น         จากอาจารย์ในห้องเรียนและอ่านตำราปรัชญาเบื้องต้น      เมื่อจิตใจของนักศึกษารับรู้คำบรรยายผ่านอายตนะภายในร่างกายและเก็บเนื้อหาวิชาไว้        เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตน       อย่างไรก็ตาม  ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์บางคนซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย      ไม่ได้เพียงใช้อายตนะภายในร่างกายในการรับรู้และเก็บหลักฐานทางอารมณ์เป็นสัญญาในจิตใจของตนเองเท่านั้น    

               ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยยังเป็นนักคิด  เมื่อนักศึกษามหาวิทยาลัยรับรู้สิ่งใด  พวกเขาก็มักจะคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้น  เช่น     เมื่อนักศึกษาได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์    โลก     ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการมีอยู่ของเทพเจ้า       เป็นต้น     แต่ข้อเท้จจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน            มีอายตนะภายในร่างกายจากการบรรยายของอาจารย์ในห้องเรียนหรืออ่านหนังสือเรียนปรัชญาเบื้องต้นแล้ว จิตใจของนักศึกษาจะรับรู้   และเก็บหลักฐานทางอารมณ์ดังกล่าวไว้ในจิตใจ  นักศึกษาใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะโดยอนุมานความรู้    เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องเหล่านั้น    โดยใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องเหล่านั้น    

               อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์หลักฐานต่าง ๆ    โดยอนุมานความรู้ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง  บางครั้งนักศึกษาอาจใช้เหตุผลถูกบ้าง    ผิดบ้าง      เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เป็นต้น         เมื่อเรื่องราวปรากฏขึ้นเป็นภาพในใจของผู้เรียนยังไม่ชัดเจนว่าปรัชญาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร  ?     เป็นเรื่องที่นักปรัชญาสงสัยและจะต้องแสวงหาความรู้ต่อไป 

             เมื่อปรัชญา    พุทธศาสนา และวิทยาศาสตร์  ล้วนเป็นความรู้ของมนุษย์      นักปรัชญาจึงเกิดความสงสัยว่าต้นกำเนิดความรู้ทั้งสามวิชานี้มาจากไหน   ?     องค์ประกอบของความรู้ของมนุษย์มีอะไรบ้าง  ?  วิธีการพิจารณาความจริงของความรู้แตกต่างกันอย่างไร ?       และความรู้ของมนุษย์ทั้งสามวิชานี้  มีความสมเหตุสมผลเป็นอย่างไร     ?  ความรู้ในสาขาเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ?    เมื่อเรียนจบวิชาเหล่านี้แล้ว   สามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง ? คำถามเหล่านี้ทำให้เกิดคำถามว่าปรัชญา    พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์   เป็นวิชาที่น่าสนใจที่ควรศึกษาหรือไม่ ?  เพราะเมื่อนักศึกษาเรียนปรัชญาแล้ว         พวกเขายังไม่เข้าใจในเนื้อหาปรัชญา  จึงไม่เห็นประโยชน์ของปรัชญาอย่างแน่นอน  

              ปัจจุบัน นักศึกษาที่เรียนปรัชญาในประเทศไทย มีจำนวนไม่มากนัก  เนื่องจากปรัชญาเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาต้องเรียน  นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัยมักจะตั้งคำถามกับนักศึกษาคนอื่น ๆ    และแชร์ปัญหากันในเว็บไซต์ต่าง ๆ ว่า   "ทำไมต้องเรียนปรัชญาด้วย ? "   เมื่อผู้เขียนทราบข้อเท็จจริงของเรื่องนี้แล้ว    ผู้เขียนก็สงสัยว่า "อาจารย์จะจัดการสอนปรัชญาอย่างไร  ?        เมื่อเนื้อหาของปรัชญาถูกถ่ายทอดไปยังนักศึกษา   แต่ผู้เรียนได้รับรู้ข้อเท็จจริงจากคำบรรยายของอาจารย์แล้วก็ยังไม่เข้าใจเนื้อหาของปรัชญาแล้ว    สาเหตุของปัญหานี้คือใคร  ? "  อาจเป็นเพราะอาจารย์ปรัชญาไม่เข้าใจกระบวนการพิจารณาความจริงของปรัชญาหรือนักศึกษาไม่มีความตั้งใจที่จะศึกษาปรัชญา   จึงไม่เข้าใจแนวคิดของนักปรัชญา         หรือกระบวนการพิจารณาความจริง  ตั้งแต่การวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ     เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   ๆ     โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆเป็นต้น   

              เมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจถึงที่มาของความรู้ทางปรัชญา  ลักษณะของความรู้ปรัชญา  วิธีการแสวงหาความรู้ทางปรัชญาและความสมเหตุสมผลของความรู้ทางปรัชญา      ผู้ศึกษาจึงไม่สามารถตอบปัญหาที่ว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความรู้ของเรานั้นจริงหรือเท็จ   ?    เพื่อนำความรู้ทางปรัชญาไปในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะที่นักวิชาการสมัยใหม่เชื่อว่า "ปรัชญาเป็นมารดาแห่งศาสตร์ทั้งปวง"   สาขาวิชาการสมัยใหม่ทุกแขนงแยกเนื้อหาวิชาการออกจากปรัชญา          เพื่อสร้างหลักสูตรใหม่       โดยใช้กระบวนพิจารณาความจริงทางปรัชญาในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ   เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงทางปรัชญาเพื่อนำมาใช้ในหลักสูตรใหม่ 

             ดังนั้น  เมื่อโครงสร้างความรู้ของปรัชญาประกอบด้วยนักคิดที่เรียกว่า  "นักปรัชญา"  ซึ่งเป็นต้นกำเนิดความรู้ขแงปรัชญา วิธีพิจารณาความจริงของปรัชญา   ก็คือการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน    และหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น      เมื่อโครงสร้างความรู้ของปรัชญาเป็นเช่นนี้     วิทยาศาสตร์ที่แยกออกจากปรัชญาเพื่อสร้างหลักสูตรใหม่        ก็จะใช้กระบวนการพิจารณาความจริงของปรัชญา่ในการวิเคราะห์หลักฐานต่าง  ๆ       เพื่อใช้เหตุผล   ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริง ซึ่งก็คือความรู้ที่อยู่ในหลักสูตรของตนซึ่งเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ที่เป็นสากล     ที่ทุกสาขาวิชาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาของตนได้    

           สาเหตุที่นักศึกษายุคใหม่ไม่สนใจเรียนปรัชญา อาจเป็นเพราะอาจารย์ไม่เข้าใจโครงสร้างปรัชญา   ไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการเรียนปรัชญา     ซึ้งต้องการให้นักศึกษาได้ศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาตามเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร  เช่น      โลก มนุษย์  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  และเทพเจ้า เป็นต้น    เราจะนำแนวคิดของนักปรัชญามาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร    ?   หากอาจารย์ไม่สามารถให้คำตอบได้ ก็กลายเป็นปัญหาในการจัดระบบการศึกษา    ที่สอนให้นักศึกษาเรียนรู้เพื่อสั่งสมความรู้ไว้ในใจเท่านั้น  และบัณฑิตที่เรียนจบหลักสูตรปรัชญาก็ไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานในองค์กรใด ๆ ได้       การทำงานนอกจากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว         องค์กรใดอีกบ้างที่ต้องการบัณฑิตปรัชญาในการทำงาน?         เมื่อมองไปยังอนาคตของการทำงานเป็นพนักงาน          เรามองเห็นแต่ความมืดมนในชีวิตเพราะไม่รู้ว่าองค์กรใดต้องการบัณฑิตปรัชญาในการทำงาน   เป็นต้น  

               การเขียนเกี่ยวกับปรัชญาพุทธภูมิ เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในตำราปรัชญาหลายเล่ม    เกี่ยวกับโครงสร้างความรู้ของปรัชญาก็ไม่มีหลักฐานว่า ปรัชญามีองค์ประกอบความรู้อะไรบ้าง ?     อย่างไรก็ตาม แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับปรัชญา      โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานจากเอกสารในตำราและเว็บไซต์ต่าง ๆ  เพื่อใช้หลักฐานในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้    เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบเกี่ยวกับปรัชญาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนั้น เมื่อผู้เขียนศึกษาตำราเรียนปรัชญา       

           ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ นั้นเกิดจากความสงสัยของมนุษย์           เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง    ตามหลักปรัชญาแล้ว อย่าเพ่งเชื่อข้อเ้ท็จจริงนั้นทันที    จนกว่าจะได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น เป็นต้น             เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว      ผู้เขียนก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าความจริงของ "ชีวิตมนุษย์"   ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า   "ขันธ์ ๕"    เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา      มนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายเชื่อมโยงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ      และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น     ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่จิตของมนุษย์จะต้องรับรู้  (วิญญาณ)  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   และจิตก็รวบรวมหลักฐานของเรื่องราวเหล่านั้น   เป็นข้อมูลทางอารมณ์ที่เก็บไว้ในจิตใจ      โดยธรรมชาติแล้ว         จิตของมนุษย์เป็นผู้คิด  หรือวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีตรรกะ      ซึ่งยืนยันความจริงของคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์นั้น  ๆ      หากวิเคราะห์แล้วยังไม่พบสาเหตุของเหตุการณ์นั้น  ก็จำเป็นต้องหาหลักฐานเพิ่มเติม       เมื่อการวิเคราะห์หาสาเหตุแล้ว ก็จะกลายเป็นความรู้ที่แท้จริงและมนุษย์ก็เก็บความรู้ไว้เป็นสัญญาในจิต   

            ดังนั้น มนุษย์จึงมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะแสวงหาหลักฐานว่า สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?  ตัวอย่างเช่น
 
          -มนุษย์กับงูยักษ์เป็นสัตว์กินเนื้อ เมื่องูเจอคนก็จะฆ่าคนเพื่อเป็นอาหาร  เมื่อคนรู้ก็จะคิดหาวิธีเอาตัวรอดจากการถูกงูกัด   โดยรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์   เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   เพื่อตัดสินใจเอาชีวิตรอดจากการถูกงูกัดตาย และเป็นความรู้สั่งสมอยู่ในจิตใจ  ดังนั้น  การรู้วิธีเอาชีวิตรอดจากการถูกงูกัดตาย จึงเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่มนุษย์รับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมอยู่ในจิต เพื่อเรียนรู้วิธีเอาชีวิตรอดจากการถูกงูกัด    ถือเป็นความรู้ประเภทหนึ่งของมนุษย์
  
        -การเที่ยวทะเล    เมื่อชีวิตมนุษย์มีอายตนะภายในของร่างกายเชื่อมโยงกับท้องทะเลอันสงบ   ไม่มีคลื่นใด ๆ เข้ามาหาฝั่ง แต่ท้องฟ้ากลับมืดมิดชั่วขณะหนึ่ง    และมีคลื่นลูกใหญ่  ๆ  เข้ามาฝั่งอย่างชัดเจนและรุนแรง  ทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า      ในการเชื่อมโยงชีวิตกับปรากฎการณ์คลื่นทะเลนั้น         มนุษย์จึงรวบรวมหลักฐานทางอารมณมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้            เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ว่า  สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร    แต่พยานหลักฐานไม่เพียงพอ     จึงไม่สามารถคิดเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงว่า     สาเหตุที่ปรากฏการณ์คลื่นใหญ่ในทะเลมีความเป็นอย่างไร ?ทั้งนี้เป็น      เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดของอายตนะภายในของร่างกายในการรับรู้     จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและเก็บหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงต่อไป,
  
          -การเดินทางไปต่างประเทศ   การพบปะชาวต่างชาติที่สนใจในการออกเดท แต่ไม่มีความรู้พื้นฐานว่าเขาเป็นใคร   มาจากไหน เป็นคนดีหรือคนไม่ดี  เราไม่มีทางรู้เพราะไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและมนุษย์ก็มักจะไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของตนให้ผู้อื่นรับรู้ในบทสนทนา  พวกเขาจะไม่รู้ตัวตนที่แท้จริงและจุดมุ่งหมายในการสร้างความสัมพันธ์นั้น เว้นแต่จะสนิทสนมอย่างจริงใจ หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นเท่านั้น ถือเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส ที่มนุษย์ควรเรียนรู้และหาทางเอาตัวรอดเช่นกัน,
  
           -การทำงานเป็นข้าราชการในหน่วยงานราชการในประเทศไทย  เชื่อในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   หรือไม่?   เราจะต้องรวบรวมหลักฐานจากผู้ที่แสดงความคิดเห็นในโซเชียลเน็ตเวิร์กเพราะมนุษย์มักซ่อนกิเลสไว้ในใจ         ไม่แสดงออกผ่านการ กระทำ คำพูดและเจตนาที่ซ่อนไว้ในใจ      เราต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวตนที่ชัดเจน  ถือเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านกระสาทสัมผัสของตน ที่มนุษย์ควรเรียนรู้เช่นกัน

            ดังนั้นความรู้ของมนุษย์จึงเกิดขึ้นจาก  ๑. การเรียนรู้ผ่านระบบการศึกษาของประเทศ            ๒. การเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรงของมนุษย์  เราสามารถอธิบายความรู้แต่ละประเภทได้ดังนี้ 
 
        ๑. การเรียนรู้ผ่านระบบการศึกษาของประเทศ    เมื่อมนุษย์เข้าสู่ยุคศิวิไลซ์     เพราะมนุษย์ได้พัฒนาศักยภาพชีวิตเพื่อสร้างอารยธรรมของตนเองผ่านระบบการศึกษา      ที่จัดโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ  ซึ่งจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย       โรงเรียนและวิทยาลัย โดยมีครู  ผู้สอนวิชาต่าง ๆแม้กระทั่งปรัชญาและพุทธศาสนา  เมื่อได้ยินเนื้อหาความรู้จากคำสอนของครูแล้ว     นักศึกษาก็จะสั่งสมความรู้ไว้ในจิตใจ         เมื่อเลิกเรียนในชั่วโมงนั้นก็จะความรู้ติดตัวของผู้เรียนกลับบ้าน  ดังนั้นการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาจึงเป็นการเรียนรู้เพื่อให้ได้ความรู้เท่านั้น     แต่เมื่อเรียนรู้จบ ก็ต้องไปฝึกงานก่อน เพื่อสร้างทักษะในนำความรู้ไปตัดสินใจในการแก้ปัญหาในการทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ 
 
        ๒. ความรู้จากประสบการณ์ชีวิต       เมื่อร่างกายมนุษย์มีอายตนะภายในของร่างกายที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต      เมื่อมนุษย์ได้รับรู้ปรากฎการณ์เหล่านี้ เช่น  แผ่นดินไหว   หรือภูเขาไฟระเบิด   พายุลูกใหญ่ซัดเข้าฝั่ง  ทำลายเรือและเรือประมงนับหมื่นลำ    และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก    ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดสาเหตุที่ชัดเจนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น               เป็นเรื่องที่นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์     จะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในใจ   เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของสาเหตุที่เกิดปรากฏการณ์ในเรื่องนี้   เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์เหล่านี้จากประสบการณ์ชีวิต   ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง  หลักฐานที่มีอยู่ไม่เพียงพอ           ที่จะใช้เป็นข้อมูลเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ได้    

                แต่เหตุการณ์นั้นก็ถูกลืมอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นตำนานที่สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน    บอกเล่าให้คนรุ่นหลังต่อไปว่า มีอะไรอยู่เบื้องหลังปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ       เพราะไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์      ที่จะตรวจสอบสภาพอากาศได้เหมือนในปัจจุบัน  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ซึ่งมีอยู่หลายเล่มได้กล่าวถึงเทพเจ้าหลายองค์  เมื่อความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเข้ามาครอบงำชีวิตมนุษย์      พราหมณ์มักจะอธิบายเหตุผลของตนให้ผู้คนวรรณะอื่นฟัง เพราะพระพรหมและพระอิศวรลงโทษมนุษย์ที่ละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะ  ผู้คนในสังคมจะดูหมิ่นและเกลียดชังกัน     เทพเจ้าลงโทษมนุษย์ด้วยทำให้เกิดแผ่นดินไหว ลมพายุ  และฝนตกหนัก   แม้จะได้รับคำตอบที่สมเหตุสมผลจากพราหมณ์  แต่หลายคนก็ให้เหตุผล เพื่อยืนยันความจริงจากหลักฐานในเรื่องนี้  แต่พระองค์จะลงโทษได้อย่างไร   เมื่อไม่มีใครเคยเห็นพระพรหมเลย     แต่ปัญหาของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้น  มนุษย์สงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุแผ่นดินไหวหรือพายุ         แม้มนุษย์จะรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจ    เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์   แต่หลักฐานที่รวบรวมได้จากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์   ยังไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้     เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ คำตอบของสาเหตุที่เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้  แม้จะมีการอ้างข้อเท็จจริงจากพยานบุคคล      แต่ยังมีข้อสงสัยในที่มาของความรู้ของพยานเหล่านั้น

        ดังนั้นความรู้ของนักปรัชญาที่พัฒนาขึ้นมานั้น  แม้ได้ข้อเท็จจริงจากพยานหลายคน  เป็นหลักฐานเพิ่มเติมใช้เป็นข้อมูลใช้การวิเคราะห์แม้จะได้เหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบ     แต่พยานบุคคลเหล่านั้นมิใช่ประจักษ์พยาน ที่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง คำให้การของพยานเหล่านี้จึงขาดความน่าเชื่อถือ      ก็ไม่สามารถรับฟังยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้ 

๒.บ่อเกิดความรู้ของปรัชญา 

                   เมื่อปรัชญา พระพุทธศาสนา และวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ของมนุษย์     ผู้เป็นเจ้า ของความรู้ทางปรัชญา    เรียกว่า  "นักปรัชญา" เช่น เพลโต  อริสโตเติลและพราหมณ์ ๖ นิกาย  เป็นต้น      พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของความรู้ทางพุทธศาสนา   นักวิทยาศาสตร์เป็นเจ้าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์  นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาความจริงของโลก มนุษย์  จักรวาล   และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า  เป็นต้น   พระพุทธศาสนาสนใจปัญหาของชีวิต   ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์สนใจปัญหาความจริงของสรรพสิ่ความรู้ของนักปรัชญา    พระพุทธเจ้า และนักวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้อย่างไร  ?   

             เมื่อความรู้ทางปรัชญา พระพุทธศาสนา และวิทยาศาสตร์เป็นของมนุษย์     ที่มีอายตนะภายในของร่างกายเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์อยู่ตลอดเวลา           เมื่อรับรู้สิ่งต่าง ๆ แล้ว  จิตของมนุษย์ก็จะเก็บเรื่องราวต่าง ๆ          เป็นอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตใจ  แล้ววิเคราะห์อารมณ์เหล่านั้น     โดยอนุมานความรู้ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลหรือคาดคะเนความจริง  โดยใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา     ในการอธิบายความจริง ของคำตอบของเรื่องนั้น แต่สาเหตุยังไม่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ?      จึงทำให้ทุกคนเกิดความสงสัยในข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น    

              เมื่อทุกคนรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลทางอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตใจ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานมานความรู้    เพื่อหาเหตุผลมายืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบที่น่าสงสัยนั้น    หากผลการวิเคราะห์ข้อมูลก็ชัดเจนไม่มีข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป ถือว่าคำตอบนั้นเป็นความรู้ตามข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นหากข้อเท็จจริงยังคงเป็นที่น่าสงสัยนักปรัชญา   พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ก็จะหาหลักฐานเพิ่มเติม     เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และยืนยันคำตอบต่อไป ในแต่ละปีมนุษย์ต้องเผชิญภัยจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ       เช่น ฟ้าร้อง ฝนตกหนัก พายุหมุนในทะเล  คลื่นยักษ์ซัดเข้าใส่บ้านเรืองและเรือประมงในทะเล    

               แต่หาสาเหตุปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นไม่พบ  ส่วนปรากฎการณ์ทางสังคม เช่นเสียงคนทะเลาะกัน         ประะท้วงกัน จมูกได้กลิ่นเน่าเหม็นอยู่ตลอดเวลา      กลิ่นอาหารนานาชาติหรือกลิ่นน้ำหอม   ลิ้นสัมผัสอาหารนาชาติ น้ำดื่มหรือสุราและยาเสพติด เป็นต้น       เมื่อร่างกายของนักปรัชญาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคม         สิ่งเหล่านี้คือประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของแต่ละคน  และรวบรวมหลักฐานเป็นอารมณ์ของข้อมูลในจิตใจ เมื่อนักปรัชญาวิเคราะห์ข้อมูลในจิตใจ เรื่องราวที่ปรากฏในในจิตใจก็ยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจถึงต้นตอของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและทางสังคมได้ 

                นักปรัชญาชอบศึกษาความจริงในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติม  พวกเขาแสวงหาหลักฐานเพื่มเติม       เพื่อพิสูจน์ความจริงโดยการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อค้นหาเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังข้อเท็จจริง   แต่หลักฐานพิสูจน์ทางปรัชญา       ก็มักจะเป็นพยานที่ยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น    ตัวอย่างเช่น   ในสมัยศาสนาพราหมณ์เจริญรุ่งเรืองพราหมณ์สอนผู้คนในอนุทวีปอินเดีย  ให้เชื่อว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างกายของพระพรหม      และวรรณะให้สิทธิและหน้าที่แก่มนุษย์ในการทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา             พวกพราหมณ์ยืนยันข้อเท็จว่าสามารถติดต่อพระพรหมได้ผ่านพิธีบูชายัญ         เพื่อขอพรพระพรหมช่วยผู้คนประสบความสำเร็จในการทำงานและชีวิตของพวกเขา  

             เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามถึงที่มาของพระพรหม   และพระอิศวรก็ไม่มีพราหมณ์คนใดอธิบายถึงที่มาของพระพรหม      ให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งได้     ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดความสงสัยในความมีอยู่ของพระพรหม    แม้ว่าพราหมณ์จะอธิบายว่ามีผู้คนเห็นพระพรหมมาก่อนแล้วก็ตาม แต่เป็นเพียงข้ออ้างลอย ๆ ที่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างนั้นว่า เป็นความจริง   

       ความหมายของปรัชญา เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ๒๕๕๔ ได้ให้คำจำกัดความว่า "ปรัชญาคือวิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้และความจริง"และคำว่า "ความรู้พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานนิยามว่า  ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมจากการศึกษา เล่าเรียน ค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถและทักษะในการปฏิบัติ เช่น ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้จากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ หลักความรู้คือสาระที่มั่นคงและความจริง  แยกประเด็น ความ แปลว่า เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความส่วนคำว่า"จริง"ได้ให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นอย่างนั้นแน่แท้ไม่กลับเป็นอย่างอื่น ฯลฯ   เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ ผู้เขียนตีความว่าปรัชญาคือความรู้ที่มนุษย์สั่งสมมาจากการศึกษา การค้นคว้าหรือประสบการณ์รวมทั้งความสามารถและทักษะการปฏิบัติ  เช่น ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้จากการฟัง การคิด การปฏิบัติ  ดังนั้น ความรู้ทางปรัชญาต้องมีสาระที่มั่นคง และเป็นความจริงอย่างแน่แท้ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เป็นต้น เมื่อ"ปรัชญา" มีที่มาของความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ ที่เรียกว่า "อายตนะภายในของร่างกายเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ สภาวะต่าง ๆ, และปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตใจของมนุษย์ก็จะเก็บหลักฐานทางอารมณ์เหล่านี้ไว้ในจิตใจ เพื่อใช้เป็นข้อมูลใช้ในการวิเคราะห์และหาเหตุผลเพื่อยืนยันความจริงในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรกตามเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ปรากฏเรื่องราวออกมาไม่แน่ชัดว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ มนุษย์ย่อมสงสัยความจริงในเรื่องนั้น ๆ เมื่อธรรมะหรือธรรมชาติที่เป็นสภาวะ สิ่งต่าง ๆ และปรากฏการณ์ เช่นนักปรัชญาสงสัยว่าโลกมีที่มาอย่างไร  นักปรัชญาให้คำตอบว่า โลกสร้างจากน้ำ ไฟ ลม และดินบ้าง ฯลฯ ด้วยเหตุผลหลายประการจึงไม่สามารถระบุได้ว่าข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แม้คำตอบเชิงปรัชญาก็ยังสรุปไม่ได้ว่าความจริงคืออะไร แต่เป็นคำตอบมีเหตุผลและสามารถนำไปพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่แท้จริงบนโดยอาศัยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ได้  
          
                   ๒.ลักษณะของปรัชญา  เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์       แต่จิตใจของมนุษย์เป็นสิ่งไม่มีรูปแบบ ธรรมชาติของความรู้คือสิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ เมื่อจิตใจไม่มีรูปแบบ     ความรู้จึงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้เช่นเดียวกัน    ที่มาของความรู้ทางปรัชญาเกิดขึ้น      เมื่อมนุษย์ใช้อายตนะภายในของร่างกายเชื่อมโยงกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น  เมื่อรับรู้แล้วก็จะรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฺนั้น   จะเป็นข้อมูลทางอารมณ์ในจิตใจและวิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อหาเหตุผลใช้ยืนยันความจริงของเรื่องนั้น  จากผลจากการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง     เรื่องราวบางเรื่องปรากฏในจิตใจของนักปรัชญาที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นจริง หรือเท็จ  ทำให้นักปรัชญาเกิดความสงสัย      และชอบศึกษาค้นคว้ามากขึ้นเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลเพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น    เมื่อได้คำตอบแล้ว       ความรู้ก็จะสั่งสมอยู่ในจิตใจและติดตามชีวิตไปทุกหนทุกแห่งเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน      และแก้ไขปัญหาในชีวิตต่อไปในอนาคต   แต่โดยทั่วไปแล้ว    ความรู้มักจะสูญหายไปพร้อมกับการตายของเจ้าของความรู้นั้น   มนุษย์จึงคิดหาวิธีการเก็บรักษาความรู้ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาจากหลักฐานที่มีอยู่  มนุษย์จึงคิดค้นนวัตกรรมใหม่   ๆ และบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ       ที่มีหลักฐานเป็นรูปภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วตามผนังถ้ำ        หรือวิธีมุขปาฐะของพระไตรปิฎกฉบับต่าง ๆ        การสร้างวัตถุทางศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชหรือประดิษฐ์อักษรพราหมี    เพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ  และสร้างอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงงานเผยแผ่ของพระพุทธเจ้า เป็นต้น       ตามแนวคิดของมนุษย์         ปรัชญาแบ่งออกเป็น ๕ สาขาคือ

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ