The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

การปฎิรูปสังคมของพระพุทธเจ้าในอนุทวีปอินเดีย

 

Buddha's Social Reforms in the Indian subcontinent(การปฏิรูปสังคมของพระพุทธเจ้า)

บทนำ

         เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงบำเพ็ญมรรคมีองค์ ๘  พระองค์ก็ทรงตรัสรู้ (enlightened) กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ว่า ชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจในครรภ์มารดารวมกันจนเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อเกดมาจากครรภ์มารดาและดำรงอยู่เป็นมนุษย์ใหม่ก็ได้ตั้งชื่อตามนี้และนามสุกลของเชื้อสายนั้น การเกิดขึ้นของมนุษย์ดำรงอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วสลายไปเอง  ดังนั้นมนุษย์จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้นมา   พระพุทธเจ้าทรงมีญาณทิพย์เหนือกว่ามนุษย์ธรรมดา และทรงเห็นว่ามนุษย์มีวิญญาณซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริงของเขาซึ่งอยู่ในร่างกาย เมื่อชีวิตมนุษย์ตาย วิญญาณจะออกจากร่างไปเกิดในสังสารวัฏ แล้วมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง  เพราะฉะนั้น มนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากร่างของพระพรหมและพระอิศวรตามคำสอนของพราหมณ์นิกายต่าง ๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทดสอบผลการฝึกปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเวลา ๗ สัปดาห์หรือ ๔๙ วัน  พระองค์ก็ทรงได้รับผลการฝึกปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘  คือความรู้ในระดับ"อภิญญา ๖" ทั้ง ๗ ครั้ง 

           แต่ในยุคนั้น   ผู้คนในอนุทวีปอินเดียเชื่ออย่างมั่นใจในการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรตามคำสอนของพราหมณ์  พระพุทธเจ้าทรงดำริว่าถ้าถึงเวลาเทศนาแล้ว คงไม่มีใครมาฟังเทศน์ฺของพระองค์ แต่พระองค์ทรงคิดถึงปัญหาของพวกจัณฑาลในแคว้นสักกะแล้วเห็นว่า ชีวิตจัณฑาลยังมืดมน และยังไม่สามารถหาทางแก้ไขปัญหาชีวิตได้ พวกเขาไม่มีสิทธิในการพัฒนาศักยภาพชีวิตของตน ผ่านระบบการศึกษาของแคว้นสักกะ  ขาดการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง เนื่องจากกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้ทำงานตามวรรณะโดยกำเนิด เมื่อคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ก็มีเงื่อนไขบังคับและบทลงโทษ สำหรับผู้กระทำผิด ที่ละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง ก็จะถูกไล่ออกจากชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่มาตลอดชีวิตและถูกคนในสังคมเรียกว่า "จัณฑาล"  ดังนั้น จัณฑาลจึงไม่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้   เพราะถูกคนในสังคมลงโทษ  ส่วนผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้ พวกเขาใช้ชีวิตอย่างประมาท จึงไม่สามารถพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนได้ ส่วนวรรณะกษัตริย์ เป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองบ้านเมืองก็มีกำลังทหารน้อย  จึงไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนได้ สำหรับวรรณะศูทร (shudra) แม้ว่าพวกเขาจะได้พัฒนาศักยภาพชีวิตและทักษะการทำงานแล้วก็ตาม แต่ไม่มีสิทธิปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นเป็นเพียงคนรับใช้เท่านั้น   ดังนั้น เมื่อระบบการเมืองของประเทศสักกะเป็นรัฐทางศาสนา และอาศัยความเชื่อในพระพรหมมาปกครองประเทศ โดยอ้างว่า พระพรหมเป็นผู้กำหนดกำหนดชะตากรรมของประชาชน เพราะเทพเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ และแบ่งชนชั้นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมา เมื่อคำสอนของพราหมณ์จึงเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี จึงเป็นการละเมิดสิทธิประชาชนอย่างร้ายแรงการแก้ปัญหาจัณฑาลของประเทศเป็นเรื่องยาก เพราะการยกเลิกกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของประเทศ เป็นต้น    

            การศึกษาเพื่อการพัฒนาโลก ในวันที่ ๔ ของเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฏรในพระนครกบิลพัสดุ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้พบสมณะคนหนึ่งซึ่งเป็นสละวรรณะ และออกจากเรือนไม่เกี่ยวข้องกับเรือนอีกต่อไป เพื่อไปแสวงบุญตามสถานที่ต่าง ๆ และแสวงหาความรู้เกี่ยวกับสัจธรรมแห่งชีวิต การเสด็จออกผนวชจึงเป็นหนทางเดียวที่พระองค์จะทรงศึกษาความจริงของชีวิตมนุษย์ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลกับหน้าที่ตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์และตรัสรู้ (ค้นพบ) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ มีความเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน และทรงค้นพบความจริงของมนุษย์ที่มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง       เมื่อชีวิตมนุษย์ตายไป ร่างกายของเขาก็ย่อมสลายไปในธรรมชาติ  แต่วิญญาณของเขายังคงไปเกิดใหม่ในอีกโลกหนึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตมนุษย์จึงเกิดขึ้นจากกายและจิตเป็นปัจจัยทำให้ชีวิตใหม่เกิดขึ้น มันเป็นกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงไม่ได้ถูกสร้างจากร่างของพระพรหมตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน เมื่อจิตวิญญาณของมนุษย์เข้าไปพัวพันกับกระบวนการเกิดใหม่ในสังสารวัฏ ทรงพบว่า เหตุแห่งกรรมของมนุษย์คือเจตนาแห่งกรรมชั่ว มีทางเดียวเท่านั้น ที่จะหยุดวงจรแห่งความตายและเกิดใหม่ของวิญญาณได้ มนุษย์ต้องพัฒนาศักยภาพของชีวิตเพื่อชำระล้างกรรมชั่วที่สั่งสมอยู่ในจิตใจให้หมดสิ้นด้วยอริยมรรคมีองค์๘ อันนำไปสู่อุดมคติสูงสุดแห่งชีวิตคือนิพพานได้

            ด้วยเหตุผลของคำตอบที่วิเคราะห์จากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารวิทยาศาสตร์พระไตรปิฎกออนไลน์นั้น มูลเหตุที่ทำให้ชีวิตมนุษย์ในดินแดนปัจจันตชนบทมีความมีความมืดมนเพราะความรู้ที่เป็นความเชื่อที่ปลูกฝังกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลนั้นในความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้ามีอยู่จริง ทรงมีคุณต่อมนุษย์เพราะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นจากพระวรกายของพระองค์ และทรงกำหนดโชคชะตาของมนุษย์ที่พระองค์สร้างขึ้นมานั้น ด้วยสร้างสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพแก่คน ๔ วรรณะเท่านั้น ในยามที่มนุษย์มีความทุกข์เพราะปรารถนาสิ่งใดมิได้สิ่งนั้น ก็จะเดินทางไปสู่สำนักของเจ้าลัทธิต่าง เพื่อประกอบพิธีบูชายัญด้วยการฆ่าโคให้เทพเจ้าดลบันดาลให้สิ่งที่ตนปรารถนา นำมาซึ่งความร่ำรวย แก้วแหวน เงินทอง ทรัพย์สิน และพืชพันธ์ุธัญญาหารเป็นจำนวนมากแก่ของเจ้าลัทธิซึ่งเป็นพวกพราหมณ์ประกอบพิธีบูชายัญนั้นเป็นต้น 

          การแบ่งวรรณะทำให้เกิดปัญหาสังคมของการฆ่าคนครอบครัวเพื่อรักษาเกียรติยศ การเกิดการเหยียดสีผิว ชนชั้นวรรณะในสังคม และปัญหาของการแต่งงานข้ามวรรณะ  ทำให้เกิดประชาชนไร้วรรณะที่เรียกว่า "พวกจัณฑาล" เป็นพวกขาดสิทธิหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา จึงมีฐานะยากจนไม่มีสิทธิในที่ดินทำกินได้  ไม่มีสิทธิได้รับการศึกษาจากรัฐ และไม่มีสิทธิสาธยายมนต์ พระเวทและถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมด้วยการถูกขับไล่ออกจากคามหมู่บ้านที่ตนเคยบำพักอาศัยมาใช้ชีวิตข้างถนนในพระนครใหญ่เช่นพระนครกบิลพัสดุ์  พระนครราชคฤห์ พระนครเวสาลี และพระนครสาวัตถี  เป็นต้น การที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบปัญหาสังคมเรื่องชนชั้นวรรณะนั้น ทรงต้องการปฏิรูปสังคมให้มนุษย์มีสิทธิหน้าที่เท่าเทียมกันแต่พระองค์ไม่อาจปฏิรูปสังคมได้เพราะมนุษย์มีความเชื่อเพราะถูกสอนกันอย่างผิด ๆ ว่า ชีวิตของมนุษย์ตายแล้วสูญ  ทุกชีวิตถูกกำหนดโชคชะตาไว้แล้วด้วยอำนาจของพระพรหม ซึ่งเป็นเทพสูงสุดมนุษย์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขชีวิตตนเองได้ และขัดต่อธรรมของกษัตริย์อันเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศในยุคนั้น  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะรับรู้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสของพระองค์ ปัญหาทางสังคมในแคว้นสักกะแล้ว  เมื่อทรงศึกษาข้อมูลว่า ระบบการเมืองการปกครองแบบสามัคคีธรรมให้สมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์มาจากวรรณะกษัตริย์เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ทั้งนิติบัญญัติออกกฎหมายอำนาจบริหารปกครองประเทศ และอำนาจตุลาการและหลักอปริหานิยธรรม ล้วนแต่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาวรรณะในชมพูทวีปให้สำเร็จได้ พระองค์ตัดสินพระทัยออกแสวงหาความรู้และความจริงของชีวิตที่เรียกว่า "กฎธรรมชาติ" ของชีวิตมนุษย์ด้วยวิธีการทรงออกผนวชเพื่อสละวรรณะกษัตริย์ เดินทางออกสู่โลกกว้างผ่านแคว้นมัลละ แคว้นกาสี และแคว้นมคธเพื่อเรียนรู้วิธีการค้นหาความจริงแห่งมนุษย์ที่สร้างความมืดมิดให้กับการเดินทางของจิตวิญญาณมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขยและกี่แสนกัปป์

บรรณานุกรม

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ