Introduction the Lord Buddha's Doubts in the Tripitaka
บทความนี้เขียนขึ้นเกี่ยวกับความสงสัยของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ในรูปแบบบทความปรัชญาเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้การศึกษาพระพุทธศาสนา สอดคล้องกับ กระบวนการแสวงหาความจริงในศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งปรัชญาและวิทยาศาสตร์สมัยใหญ่ เพื่อให้การแสวงหาความจริงในศาสตร์ต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เรียนรู้ได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่ออินเตอร์เน็ตสามารถเผยแพร่ความรู้ของมนุษย์ในรูปแบบภูมิปัญญาโลกไปสู่ผู้คนทั่วโลก พวกเขาก็จะสามารถศึกษา เรียนรู้ ค้นคว้า และเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตได้ พวกเขาสามารถใช้ความรู้นั้น พัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ผ่านอวกาศที่แผ่ขยายไปทุกหนทุกแห่งในโลกโดยใช้โทรศัพท์มือ เป็นเครื่องมือในการรับรู้และถ่ายทอดความรู้กลับไปยังผู้คนทั่วโลกได้เช่นกัน
โดยทั่วไปแล้ว ปรัชญาเป็นความรู้ของวิชาหนึ่งที่มนุษย์บางคนที่เรียกว่า "นักปรัชญา" ซึ่งมีความสนใจศึกษาความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ความรู้ทางปรัชญาเกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจโดยจิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกาย เป็นสะพานเชื่อมปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของโลก มนุษย์ จักรวาลและหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงของเทพเจ้า ฯลฯ เมื่อมนุษย์รับรู้และบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นั้น ไม่ได้มีเพียงการรับรู้และบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงธรรมชาติของนักคิดด้วย เมื่อรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง พวกเขาก็จะคิดจากข้อมูลทางอารมณ์ของสิ่งนั้น ๆ ในจิตใจ
ในสมัยพุทธกาล นักตรรกะ นักปรัชญาได้ยินเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น มนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น และข้อพิสูจน์การมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น นักตรรกะ นักปรัชญามักจะแสดงความเห็นตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริงเกี่ยวกับตัวตน(อัตตา) โลกเที่ยง เป็นต้น เมื่อนักปรัชญา นักตรรกะ แสดงความเห็นโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักตรรกะและนักปรัชญา เพื่ออธิบายความจริงของเรื่องเหล่านั้น แต่เมื่อนักตรรกะ นักปรัชญาเหล่านั้นเป็นมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของตนเอง มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมักจะอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความมืดมน จึงไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุอธิบายความจริงในเรื่องใด ๆ ได้อย่างสมเหตุผล ถ้านักปรัชญา นักตรรกะแสดงทัศนะคติหรือความเห็นเกี่ยวกับความจริงของ "ชีวิต" ที่ได้ยินจากเรื่องราวที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเขามักจะใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของเรื่องนั้น ๆ บางครั้งถูกต้อง บ้างครั้งไม่ถูกต้อง บางครั้งก็ใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้บ้าง เป็นต้น
หากผลการวิเคราะห์ข้อมูลไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ? เมื่อวิญญูชนฟังความเห็นของนักตรรกะและนักปรัชญา เขาจะไม่เชื่อว่าคำตอบเป็นความจริง และจะสงสัยข้อเท็จจริงของเรื่องนั้น เช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปเยี่ยมราษฎร และเที่ยวชมสวนหลวงในเมืองกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงเห็นคนชรา คนป่วย คนตายและนักบวชอาศัยอยู่ข้างทาง ทำให้พระองค์ทรงสงสัยในภูมิหลังของบุคคลเหล่านี้ และทรงชอบแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนิมิตทั้ง ๔ พระองค์จึงทรงสืบเสาะข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านั้นและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ พระองค์ก็ทรงใช้หลักฐานเหล่านั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน และไม่มีเหตุผลที่ข้อเท็จจริงจะต้องเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ และอรรถกถา ก็ได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ชาวอารยันเชื่อในคำสอนของศาสนาพราหมณ์เกี่ยวกับเทพเจ้าที่จะช่วยมนุษย์ให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ผ่านการทำพิธีบูชายัญด้วยของมีค่าต่าง ๆ ของพราหมณ์ เมื่อพิธีบูชาเสร็จสิ้นแล้ว ๆ เครื่องบูชาจะตกเป็นของพราหมณ์ที่ทำพิธี พิธีบูชายัญสร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้กับพราหมณ์นิกายต่าง ๆ รวมทั้งพราหมณ์ดราวิเดียนด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญรุ่งเรือง เมื่อการบูชาเทพเจ้าของพราหมณ์อารยัน กลายเป็นที่ศรัทธาของมหาราชาที่ปกครองดินแดนนั้น พระองค์ทรงแต่งตั้งพราหมณ์อารยันเป็นปุโรหิต มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่มหาราชาในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี ถือว่าเป็นพยานที่น่าเชื่อถือได้ สามารถยืนยันการมีอยู่ของเทพเจ้าและเทวดาได้ เพราะพวกเขาอ้างว่ามีความรู้ที่อยู่เหนือประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและพวกเขาอ้างว่าเคยเห็นเทพเจ้าหรือเทวดาในแคว้นนี้มาก่อน เมื่อพราหมณ์อารยันต้องการรักษาความมั่งคั่งจากการบูชายัญเทพเจ้า และกลัวว่าในอนาคตพราหมณ์ดราวิเดียนจะได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การบูชาและอิทธิพลทางการเมืองเช่นเดียวกับของพวกตน คงเป็นเรื่องยากที่ชาวอารยันที่จะมีความเจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียว
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ พราหมณ์ปุโรหิตจึงเสนอให้สมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะทราบ นำหลักคำสอนของพราหมณ์ที่ว่าพรหมสร้างมนุษย์และวรรรณะ กำหนดสิทธิและหน้าที่ให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่เกิดมา เพื่อตราเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์และศูทร เป็นต้น หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะให้คนในสังคมลงโทษโดยการขับไล่ออกจากสังคมซึ่งเป็นถิ่นพำนักอาศัยได้ แต่มนุษย์มีตัณหาจึงขาดสติและควบคุมจิตของตนเองไม่ได้ พวกเขาจึงสมัครใจอยู่ร่วมกันเป็นสามีภริยากันโดยไม่รู้ว่าเป็นการละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ มีบทลงโทษผู้กระทำความผิดโดยคนในสังคมจึงลงโทษด้วยการขับไล่ออกจากสังคม
หากยังดื้อรั้นจะถูกเฆี่ยนตีตายหรือถูกแขวนคอในที่สาธารณะ และเสียสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยปริยาย ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในเมืองใหญ่ ๆ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลต้องถูกลงโทษจากสังคมตลอดชีวิต ต้องออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อน แม้จะอยู่ในวัยชรา เจ็บป่วยไข้ และนอนตายข้างถนน เป็นต้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงสืบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจากบุคคลที่น่าเชื่อเช่นปุโรหิต เพื่อหาข้อเท็จจริงถึงประวัติของพระพรหมและพระอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตคนไหนตอบปัญหาถึงความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวรให้พระองค์เข้าใจได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เช่นนี้ พระองค์ทรงสงสัยในการมีอยู่ของเทพเจ้า และทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะ โดยเสนอยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อปฏิรูปสังคม แต่ไม่สามารถยกเลิกระบบวรรณะได้ เพราะขัดกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศ ที่เรียกว่า"หลักอปริหานิยธรรม"
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว เมื่อวิเคราะห์ข้อเท็จจริงจากหลักฐานซึ่งเป็นพยานเพียงปากเดียว เหตุผลในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบมีน้อย ยังไม่ชัดเจนพอที่จะยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องข้อสงสัยของพระพุทธเจ้าได้ว่าเป็นอย่างไร ผู้เขียนชอบศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนี้ต่อไป จึงได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ต่อไป บทความเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อพระสงฆ์ในแดนพุทธภูมิในการสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้เนื้อหาของพระพุทธศาสนาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์หลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในประเด็นที่น่าสงสัยนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา ปรัชญา และสาขานิติศาสตร์ ในงานวิจัยในระดับปริญญาเอก สามารถอธิบายเหตุผลของคำตอบ ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้อย่างสมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น