Introduction to Brahmanism in Tipitaka according to Buddhaphumi's philosophy
๑.บทนำ
บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษาข้อเท็จจริงของศาสนาพราหมณ์ จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลกรณ เพื่อให้เห็นขอบเขตของความรู้ที่แท้จริงของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชเพื่อศึกษาค้นคว้าความจริงของชีวิต เป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในยุคก่อน ที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวังกบิลพัสดุ์ เพื่อออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ และพระองค์ทรงใช้เวลาหลายปีในการศึกษาค้นคว้าความจริงของชีวิต ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ความจริงของชีวิตมนุษย์ตามกฎธรรมชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ในยุคนั้น ที่ผู้คนมีชีวิตที่เต็มไปด้วยความมืดมน จึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิต
เมื่อชีวิตของพวกเขา ก็เต็มไปด้วยความหวาดกลัวภัยในวัฏสงสาร จำเป็นต้องหาที่พึ่งพาของชีวิต อาศัยเทพเจ้า ช่วยเหลือให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ของชีวิตได้ เมื่อข้อเท็จจริงเหล่านี้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คนในอนุทวีปอินเดีย ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ ทำให้เกิดความทุกข์แก่ชีวิตมนุษย์ จากสถานการณ์ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ และผลประโยชน์เกิดขึ้นจากการบูชายัญในสมัยนั้น ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นในยุคนั้น
ศาสนาพราหมณ์ถือเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการศึกษาปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของอินเดียมาอย่างยาวนาน ศาสนาพราหมณ์มีต้นกำเนิดมาจากแนวคิดอันซับซ้อนของ "พราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน" ได้กระบวนการทางสังคม ความเชื่อที่หลากหลายเกี่ยวกับเทพเจ้าหลายองค์และผลประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งกำหนดไว้ในนโยบายการปกครองและการใช้อำนาจอธิปไตยในการตรากฎหมาย เพื่อรักษาผลประโยชน์ในด้านการเมือง การศึกษา การประกอบอาชีพและพิธีกรรมตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ของตนอย่างซับซ้อน โดยอาศัยอายตนะภายในร่างกายมนุษย์ ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมืดมนจนถึงขั้นขาดศรัทธาในตนเอง ขาดความเพียรในการศึกษาหาความรู้ เพื่อพึ่งพาตนเองขาดความสติสัมปชัญญะจนขั้นคิดสิ่งใด เพื่อหาทางเอาตัวรอดได้ จึงขาดปัญญาในการเข้าใจความจริงของชีวิตและผลการกระทำของตนเอง เมื่อต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจในการกระทำดีหรือชั่ว พวกเขามักจะตัดสินใจในการใช้เหตุผลบางครั้งถูกบ้าง บางครั้งผิดบ้าง บางครั้งเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง จนนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอย่างร้ายแรง
บทความนี้ ผู้เขียนจะพาผู้อ่านไปสำรวจประวัติศาสตร์ และความสำคัญของศาสนาพราหมณ์ในสมัยอินเดียโบราณ เพื่อดูการพัฒนาของความรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ชีวิตมนุษย์หลีกหนีจากมืดมนของชีวิต และแสวงหาปัญญาเพื่อบรรลุความจริงของชีวิต สามารถคิดโดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เพื่อนำความรู้เหล่านั้นไปแก้ไขปัญหาของตนเอง
๒.ความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์
เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนาพราหมณ์นั้นย้อนกลับไปถึงยุคอินเดียโบราณที่เรียกว่า "ยุคเวท (Vedic Period) ประมาณ ๑,๕๐๐-๕๐๐ ปีก่อนก่อนคริสกาล ในยุคนั้น ชาวอารยัน (Aryans) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้าในอนุทวีปอินเดีย ได้นำความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาของตนเข้ามาโดยความเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ เป็นต้น หลักฐานสำคัญคือคัมภีร์พระเวทซึ่งเป็นกลุ่มคัมภีร์ที่บันทึกการทำพิธีกรรม บทสวดที่ใช้ในพิธีกรรมและตำนานต่าง ๆ คัมภีร์พระเวทประกอบด้วย ๔ ส่วนคือฤคเวท (Rigveda) ยะชุรเวท (Yajurveda) สามเวท (Samaveda) อถรรพเวท (Atharveda) คัมภีร์พระเวทไม่ได้เป็นเพียงแค่คัมภีร์ทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับวิถีชีวิต สังคม และความเชื่อของชาวอารยัน ในยุคนั้นจากคัมภีร์พระเวท เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระอินทร์ พระอัคนีและพระสุริยะ รวมทั้งพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นโยชนาซึ่งเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ ในช่วเวลาต่อมาศาสนาพราหมณ์ได้พัฒนาแนวคิดและเปลี่ยนแปลงไป เกิดคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นคัมภีร์เน้นปรัชญาและการไตร่ตรองทางจิตวิญญาณ อุปนิษัทได้กล่าวถึงแนวคิดสำคัญต่าง ๆ เช่น อาตมัน ซึ่งหมายถึงจิตวิญญาณภายในและพรหมมันซึ่งหมายถึงจิตวิญญาณสูงสุด แนวคิดเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการพัฒนาปรัชญาและศาสนาในอินเดียอย่างมาก
๓.ความสำคัญของศาสนาพราหมณ์
ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมของอินเดียอย่างลึกซึ้ง เมื่อดินแดนอนุทวีปอินเดียสร้างระบบวรรณะขึ้นมาเพื่อแบ่งสังคมออกเป็น ๔ วรรณะคือพราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ และศูทร นั้นเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ ระบบวรรณะนี้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของคนในสังคม แม้ว่าระบบวรรณะจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในปัจจุบัน แต่ก็เป็นส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอินเดีย นอกจากระบบวรรณะแล้ว ศาสนาพราหมณ์ยังมีอิทธิพลต่อศิลปะ สถาปัตยกรรมและวรรณะกรรมของอินเดีย วัด ปราสาท และงานศิลปะต่าง ๆ สะท้อนถึงความเชื่อและศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์ไม่ได้เป็นเพียงแค่ศาสนา แต่ยังเป็นระบบความเชื่อ ปรัชญา และวิถีชีวิตที่ครอบคลุมทุกด้านของสังคมอินเดีย ความสำคัญของศาสนาพราหมณ์นั้น เราสามารถมองเห็นได้จากอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการบูชาตามวัดพราหมณ์ต่าง ๆ ทั่วโลกแม้กระทั่งในราชอาณาจักรไทยประเพณีการบูชาเทพเจ้า และสังคมอินเดีย ซึ่งดำรงอยู่ในปัจจุบัน
ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ์ ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตมนุษย์ เมื่อพระองค์ทรงสงสัยในข้อเท็จจริงที่ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เอง และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา เรื่องนี้เป็นความจริงตามคำสอนของพราหมณ์อารยันหรือไม่ ? แม้ว่าพวกพราหมณ์อารยันจะสอนชาวอนุทวีปอินเดียว่า สามารถสื่อสารกับเทพเจ้าได้โดยผ่านพิธีบูชายัญก็ตาม
อย่างไรก็ตาม แม้เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ พระองค์ทรงมีหน้าที่ปกครองแคว้นสักกะตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติมา แต่พระองค์ก็ทรงไม่มีสิทธิและหน้าที่ที่จะบูชายัญต่อเทพเจ้าเพื่อติดต่อกับพระพรหม โดยขอให้พระองค์ทรงยกเลิกระบบวรรณะในอาณาจักรสักกะ หากเจ้าชายสิทธัตถะทรงทำพิธีบูชายัญด้วยพระองค์ ถือว่าพระองค์ทรงกระทำผิดร้ายแรงต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะพระองค์จะถูกสังคมลงโทษจากคนในสังคม และต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตลอดชีวิต
ดังนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่เทพเจ้า พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะเพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตเป็นเวลา ๖ ปี พระโพธฺสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์ในหลายๆ ทาง พระองค์ทรงค้นพบการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เมื่อพระองค์ทรงปฏิบัติธรรมแล้ว พระองค์ก็ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตด้วยปัญญาญาณซึ่งเหนือกว่ามนุษย์ทั้ปวง ชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับกรรมของตนเอง ดังนั้น พระองค์จึงทรงเผยแผ่คำสอนและแนวทางปฏิบัติของอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดียให้มองเห็นความจริงของชีวิต
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้เรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า มนุษย์มีวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และดำเนินชีวิตตามกรรมที่สั่งสมไว้ในใจ มนุษย์เกิดมาจากปัจจัยทางร่างกาย และจิตใจที่มารวมกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน จึงได้เกิดเป็นมนุษย์ คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงขัดแย้งและหักล้างคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา พระพุทธเจ้าทรงปฏิญาณที่จะเผยแผ่คำสอนพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ทั่วโลกโดยการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกมีศรัทธาในตัวเองว่าสามารถพัฒนาชีวิตให้เป็นเป็นที่พึ่งของตนเอง มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติธรรม มีสติระลึกถึงความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตของตนเอง มีความแน่แน่ในการปฏิบัติธรรมอย่างเข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ จนจิตใจบริสุทธิ์ ปราศจากอคติต่อผู้อื่นและความโศกเศร้า มีบุคลิกสุภาพ อ่อนโยนเหมาะแก่การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสงบ มีความมั่นคงในอุดมคติของชีวิต และตั้งมั่นปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม จนถึงที่สุดแห่งความจริงของชีวิตที่เรียกว่า "อภิญญา ๖"
ความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ๔๕ เล่ม ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่ามนุษย์ทุกคนกลัวบาป กลัวความตายจากภัยธรรมชาติ อัคคีภัย และภัยจากสงคราม จึงจำเป็นต้องสร้างชุมชนทางการเมืองขึ้นมา เพื่อใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเอง ปกป้องสิทธิและหน้าที่ของตน ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ยึดมั่นในหลักศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกาย และมักมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตจึงมืดมน เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิต พวกเขาขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงและแยกแยะไม่ออกว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนนั้น เป็นเรื่องจริงหรือเท็จ
การจัดตั้งชุมชนทางการเมือง แม้ว่าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่คุ้มครองและปกป้องสิทธิและหน้าที่ของประชาชน แต่จิตใจของมนุษย์ก็เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ ต้องหาที่พึ่งเพื่อดำรงชีวิตต่อไปอย่างมั่นคงและไม่หวั่นไหวกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราช ผู้ทรงปกครองอาณาจักรโกลิยะ พระองค์ทรงศรัทธาในศาสนาพราหมณ์ และเชื่อว่าเทพเจ้าหลายองค์สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรโกลิยะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ โดยรับเอาแนวคิดตามคำสอนของพราหมณ์อารยันนั้น มาบัญญัติเป็นคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ โดยแบ่งประชาชนในแคว้นโกลิยะออกเป็น ๔ วรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น
ทั้งนี้เนื่องจากชาวโกลิยะมีความศรัทธาในเทพเจ้าหลายองค์ที่จะช่วยให้พวกเขาบรรลุความปรารถนา โดยการบูชายัญเทพเจ้าผ่านพิธีกรรมของพราหมณ์ อย่างไรก็ตาม การบูชาเทพเจ้าด้วยของมีค่าเหล่านี้ยังให้พราหมณ์นิกายต่าง ๆ มีฐานะมั่งคั่งและมีชื่อเสียงในสังคม พราหมณ์อารยันมีความโลภและต้องการรักษาผลประโยชน์ขตนในการบูชาเทพเจ้า เมื่อพวกเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับวรรณะกษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ประเพณีและ ขนบธรรมเนียม เป็นต้น เมื่อปุโรหิตมีอิทธิพลทางการเมืองและต้องการผูกขาดการบูชาเทพเจ้า พวกเขาจึงเสนอกฎหมายวรรณะเพื่อความมั่นคงของประเทศต่อรัฐสภาของอาณาจักรโกลิยะ เมื่อสมาชิกประชุมและพิจารณาแล้ว พวกเขาอนุมัติกฎหมายวรรณะตามที่ปุโรหิตเสนอเพื่อกำหนดสิทธิ และหน้าที่ให้ชาวโกลิยะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เป็นต้น
เมื่อการบูชายัญเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพวกเขา นอกเหนือจาก พราหมณ์อารยันที่บูชายัญต่อพระพรหมและพระอิศวรโดยการฆ่าสัตว์ มนุษย์ อัญมณีและพืชผลแล้ว ยังมีพราหมณ์ดราวิเดียน ซึ่งบูชายัญต่อเทวดา (Deva) โดยการฆ่าสัตว์ด้วย การแบ่งชนชั้นวรรณะในอนุทวีปอินเดีย ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณ ผู้เขียนได้เรียนรู้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าการแบ่งชนชั้นวรรณะเริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราช เป็นบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ศากยะ ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงศรัทธาในศาสนาพราหมณ์และมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระองค์ มีหลักฐานในพระไตรปิฎกได้แก่ พิธีอ่านดวงชะตาชีวิต พิธีตั้งชื่อตามวันประสูติ คำว่า "สิทธัตถะ"แปลว่าผู้บรรลุความสำเร็จ ผู้บรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น
ใครเป็นศาสดาของศาสนาพราหมณ์ ? ในสมัยนั้น มีนิกายต่าง ๆ มากมายในศาสนาพราหมณ์ เปิดวัดเพื่อบูชาเทพเจ้าและตั้งตนเป็นครู เช่น พราหมณ์อาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งเป็นครูของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ พราหมณ์สนใจศึกษาปัญหาที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ เชื่อว่าแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์เกิดจากพระพรหมสร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์เอง และกำหนดชีวิตมนุษย์โดยสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา
เมื่อมหาราชาของรัฐต่าง ๆ ทรงเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันว่า หากปล่อยให้พราหมณ์มิลักขะบูชาเทวดาต่อไป ชาวมิลักขะก็จะรวมตัวเป็นชุมชนการเมืองที่เข้มแข็งได้ เมื่อผลประโยชน์ของการบูชามีมูลค่าทางการตลาดมหาศาล จึงกลายเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกพราหมณ์บางกลุ่ม ส่งผลให้มีการบัญญัติคำสอนของพราหมณ์ขึ้น เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ที่บังคับให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ห้ามมิให้ประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะและห้ามผู้ใดปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น และมีบทลงโทษดังนี้ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะอย่างร้ายแรง จะถูกพระพรหมลงโทษที่เรียกว่า "พรหมทัณฑ์" โดยถูกคนในสังคมลงโทษให้ไล่ออกจากบ้านตลอดชีวิต เป็นต้น
บุคคลในศาสนาพราหมณ์นั้น พวกพราหมณ์ถือเป็นหนึ่งใน ๔ วรรณะของอนุทวีปอินเดีย พวกเขาจึงเป็นนักบวชตามกฎหมายวรรณะ มหาราชาแห่งรัฐต่าง ๆ ทรงแต่งตั้งพวกเขาเป็นปุโรหิตที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎหมาย ประเพณีและขนบธรรมเนียมแก่ราชวงศ์ศากยะ พวกเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อนโยบายการบริหารประเทศสักกะของราชวงศ์ศากยะ ดังจะได้เห็นจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เช่น เมื่อพระเจ้าเสนทิโกศลทรงฝันร้าย พระองค์ทรงปรึกษาหารือกับปุโรหิตเพื่อทำการบูชายัญต่อเทพเจ้า แต่การบูชายัญนั้นต้องฆ่าสัตว์จำนวนมาก ใช้ทรัพย์สิน แก้วแหวน เงินทอง พืชและเมล็ดพืชเพื่อบูชายัญต่อเทพเจ้า เป็นต้น การบูชานี้ทำให้ทั้งพราหมณ์มิลักขะและอารยันร่ำรวยและมั่งคั่ง เป็นต้น
เมื่อศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลต่อการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ ศาสนาและวัฒนธรรมในแคว้นสักกะ พวกพราหมณ์อารยันก็ได้ยึดอำนาจอธิปไตยในการปกครองทั้งหมด พวกเขาไม่ยอมให้ชาวดราวิเดียนมีอิทธิพลต่อการเมืองในแคว้นสักกะอีกต่อไป ปุโรหิตได้ถวายคำแนะนำให้วรรณะกษัตริย์หาวิธีจำกัดสิทธิโดย และหน้าที่ของชาวมิลักขะมิในด้านของเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง วัฒนธรรมทางศาสนา เพื่อความั่นคงของประเทศ เป็นต้น ปุโรหิตเสนอต่อรัฐสภาแห่งแคว้นโกลิยะให้บัญญัติคำสอนของพราหมณ์ ให้เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะโดยอ้างว่า เมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์เอง พระองค์จึงทรงสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา โดยแบ่งผู้คนออกเป็น ๔ วรรณะคือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และให้ชาวมิลักขะอยู่ในวรรณะศูทร โดยมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะผู้รับใช้ของวรรณะที่สูงกว่าเท่านั้น
นอกจากนี้ชาวอารยันยังบัญญัติ "พระธรรมของกษัตริย์" ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ หรือที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" เมื่อชีวิตถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ พวกเขาต้องทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา การแต่งงานข้ามวรรณะเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม เพราะจะทำให้บุคคลนั่นสูญเสียสิทธิ และหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมา และจะถูกคนในสังคมลงพรหมทัณฑ์ด้วยการถูกขับไล่ออกจากสังคม หรือถูกฆ่าโดยสมาชิกในครอบครัว เพื่อรักษาเกียรติยศของสมาชิกในครอบครัว พวกเขาต้องออกไปใช้ชีวิตบนท้องถนนในเมืองใหญ่ เช่น พระนครกบิลพัสดุ์ พระนครโกลิยะ พวกเขาต้องหาเลี้ยงชีพโดยทำงานสกปรก เช่น ทิ้งขยะทำความสะอาดห้องน้ำ ท่อระบายน้ำเพื่อแลกกับค่าจ้างที่ต่ำ และไม่มีสิทธิเป็นของเจ้าของที่ดินเพราะผืนดินเหล่านี้สงวนไว้สำหรับคนวรรณะสูงเท่านั้น
เมื่อข้อเท็จจริงของชาวอนุทวีปอินเดียเป็นเช่นนี้ ชีวิตของพวกจัณฑาลดูเหมือนว่าพระพรหมได้กำหนดชะตากรรมของพวกเขาไว้แล้ว เช่น นางปฏาจาราซึ่งเป็นหญิงวรรณะพราหมณ์ ได้แอบมีสัมพันธ์กับชายวรรณะศูทร ซึ่งเขาเป็นคนรับใช้ในปราสาทของนาง เมื่อพ่อแม่หาคู่ครองกับชายวรรณะเดียวกัน พวกเขาจึงตัดสินใจหนีไปอยู่ห่างบ้านเกิดของนางปฏาจารา ๑๐๐ กิโลเมตร แม้จะประสบความสำเร็จในความรัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีความสุขตลอดไป ยังมีปัญหาอื่น ๆ ในชีวิตของพวกเขา ก่อให้เกิดความทุกข์ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของพวกเขา เป็นต้น
ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเมืองพาราณสี ๒๕๖๓ |
ในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราชแห่งแคว้นโกลิยะ พระราชโอรสและพระธิดาของพระองค์ทรงอพยพผู้คนจากแคว้นโกลิยะ เพื่อสร้างแคว้นใหม่ ในบริเวณป่าเรียกว่า "เมืองกบิลพัสดุ์" และประกาศอาณาเขตของตนให้เป็นประเทศเอกราช ไม่ขึ้นตรงอยู่กับแคว้นโกลิยโดยจัดตั้งเป็นแคว้นใหม่ เรียกว่า "แคว้นสักกะ" โดยมีพรหมแดนเชื่อมต่อกับแคว้นโกลิยะด้านทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือพรมแดนจดเทือกเขาหิมาลัย ทิศตะวันตกจดแคว้นโกศล เป็นต้น เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของแคว้นสักกะ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการปกครองแบบรัฐศาสนาพราหมณ์ ผู้คนเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ จึงมีการบูชาเทพเจ้าตลอดทั้งปี สร้างรายได้มหาศาลสำหรับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะ
เมื่อพวกพราหมณ์อารยันเห็นว่าการบูชายัญสัตว์ต่อเทพเจ้าและเทวดา เป็นความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่สำหรับพราหมณ์ทั้งสองนิกาย พวกเขาก็มีความรู้ด้านนิติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอีกด้วย เมื่อพวกพราหมณ์ทั้งสองนิกาย สามารถทำพิธีบูชายัญและสวดพระเวทได้ เมื่อพวกพราหมณ์อารยันตระหนักถึงปัญหาในอนาคต เมื่อพวกมิลักขะยังมีอำนาจทางเศรษฐกิจจากการบูชาเทวดา ในอนาคต พวกเขาอาจได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตเพื่อให้คำปรึกษาแก่มหาราชแห่งแคว้นโกลิยะ ก็คงจะเป็นเรื่องยากที่พวกอารยันจะปกครองประเทศให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อประชาชนเชื้อสายอารยันเพียงฝ่ายเดียวเพื่อความมั่นคงของประเทศ สมาชิกรัฐสภามาจากวรรณะกษัตริย์ได้บัญญัติกฎหมายให้คำสอนของพวกพราหมณ์อารยัน เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์มิลักขะในการศึกษาปรัชญาของพราหมณ์และทำพิธีบูชายัญได้ และเพื่อจำกัดอำนาจทางเศรษฐกิจในการครอบครองที่ดินเป็นของตนเองและเพื่อให้พวกเขาเป็นเพียงผู้รับใช้ของชาวอารยันเท่านั้น
เมื่อสมาชิกรัฐสภาของวรรณะกษัตริย์ในภูมิภาคต่าง ๆมีหน้าที่ปกครอง คำสอนของพราหมณ์ถือเป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ โดยอ้างว่าพระพรหมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา จึงทรงสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างนั้นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา โดยวรรณะกษัตริย์ทรงใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างในการตรากฎหมายโดยแบ่งชาวสักกะออกเป็น ๔ วรรณะให้สิทธิและหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะของพวกเขา โดยอ้างว่าพระพรหมสร้างไว้ให้มนุษย์ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และมีบทลงโทษโดยการขับไล่ออกจากสังคมนั้น เมื่อกฏหมายวรรณะนั้นประกาศบังคับใช้แล้วต่อมาภายหลัง สมาชิกรัฐสภาแห่งชาตินั้นจะยกเลิกกฎหมายนั้นมิได้ เพราะขัดต่อธรรมของกษัตริย์ในการปกครองประเทศ ซึ่งเทียบได้กับรัฐธรรมนูญของประเทศทั่วโลกได้ประกาศบังคับใช้ในปัจจุบัน เมื่อประกาศบังคับใช้กฎหมายวรรณะแล้ว ผู้คนในสังคมเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้และมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตจึงตกอยู่ในความมืดมน ไม่สามารถคิดในการใช้เหตุผล เพื่ออธิบายผลของกรรมโดยเจตนาของตนเองได้ จึงใช้ชีวิตตามอารมณ์ของตัณหาของตนเอง เกิดความสมัครรักใคร่และสมสู่กับคนต่างวรรณะ ทำให้สังคมสงสัยในพฤติกรรมของพวกเขา เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่าง ๆ คนในสังคมใช้หลักฐานเหล่านั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริง เชื่อว่าพวกเขากระทำผิดตามข้อกล่าวหาด้วยการสมสู่กับคนต่างวรรณะ ก็จะถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมถูกขับไล่ออกจากสังคมหมู่บ้าน ที่เคยพำนักอาศัยไปใช้ชีวิตอยู่บนถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ พระนครเทวทหะ และพระนครสาวัตถี เป็นต้น
เมื่อถึงยุคสมัยของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นสักกะตามสิทธิหน้าที่ของชนวรรณะกษัตริย์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมประชาชน ทรงพบปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนแคว้นสักกะโดยเฉพาะพวกจัณฑาล หมดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมา เพราะเป็นชนไร้วรรณะ เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะ ทรงตัดสินพระทัยใช้ระบบการเมืองแก้ไขปัญหาสังคมผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ เพื่อปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน แต่รัฐสภาไม่อนุมัติเพราะขัดต่อธรรมกษัตริย์ เป็นหลักนิติศาสตร์สูงสุดในการบริหารปกครองที่เรียกว่า "ราชอปริหานิยธรรม" เมื่อทรงศึกษาข้อมูลของสภาพปัญหาในสังคมในยุคนั้น ทรงเห็นว่าปัญหาเรื่องวรรณะนั้น เกิดจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้ามีอยู่จริง และเชื่อว่าเทพเจ้าได้กำหนดโชคชะตาตนไว้แล้วด้วยการสร้างวรรณะ ประชาชนต้องยอมรับสภาพโดยไม่สามารถยกเหตุผลขึ้นมาหักล้างโต้แย้งความเชื่อนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าปัญหาของวรรณะไม่อาจแก้ไขได้ด้วยระะบบ รัฐสภาศากยวงศ์จึงตัดสินใจออกผนวช ,เป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนตรัสรู้ (ค้นพบ) กฎธรรมชาติของความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์นั้นเป็นไปตามการกระทำของตนเองที่สั่งสมไว้ในจิตตนเองหาใช่พระพรหมลิขิตโชคชะตามนุษย์ไว้ไม่
ในยุคปัจจุบัน แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตแต่นักวิศวกรคอมพิวเตอร์ก็ได้ สร้างแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตขึ้น เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมไว้ในจิตใจของมนุษย์ ส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตให้ผู้คนทั่วโลกได้ศึกษา ค้นคว้า และรับความรู้จากเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครื่องมือของมนุษย์ ที่สามารถได้รับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกเหนือขอบเขตของอายตนะภายในร่างกายของมนุษย์
ในปัจจุบัน แม้ว่าคนเราจะมีความสุขสบาย มีครอบครัวที่อบอุ่น มีงานที่ดี แต่จิตใจกลับเต็มไปด้วยกิเลสตัณหาที่แอบแฝงอยู่ในจิตใจ จิตใจของมนุษย์กลับมัวเมาใน "กิเลสตัณหา" จนสูญเสียศรัทธาในตัวเอง ขาดความเพียรศึกษาหาความรู้ ขาดสติในการระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตและสั่งสมอยู่ไว้ในจิตใจ จึงไม่กำลังสมาธิที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้ว่าเมื่อกระทำอันใดแล้ว ย่อมต้องรับผลของกรรมนั้น เป็นต้น ทั้งนี้เพราะชีวิตของมนุษย์มีความอ่อนแอ จิตใจท้อแท้ ไม่สนใจที่จะพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ให้ชีวิตเข้มแข็งในการดำเนินชีวิตด้วยการทำสมาธิ จนจิตใจบริสุทธิ์ ปราศจากความฟุ้งซ่านหรือความขุ่นมัว อ่อนโยนเหมาะสมกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มั่นคงในอุดมการณ์ชีวิตไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม เป็นต้น เมื่อชีวิตอ่อนแอ ไม่กล้าเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นทุกข์เพราะติดอยู่กับปัญหานั้น ขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในเรื่องนั้น จึงคิดวิธีแก้ไขปัญหาของตนเองไม่ได้
ดังนั้น วัดซึ่งเป็นสถานที่บูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ จึงเต็มไปด้วยเครื่องเซ่นไหว้ เรียกว่า "อามิสบูชา" เพื่อบูชาพระพรหม และขอให้ช่วยทำให้ความปรารถนาเป็นจริง การศึกษาศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ เพราะแม้จะผ่านมากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว แต่ศรัทธาในศาสนาพรหมณ์ของคนในดินแดนต่าง ๆ ก็ไม่เคยเลือนหายไปตามกาลเวลา ยังคงเป็นกิจกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
เมื่อ พราหมณ์บางคนเป็นนักปรัชญา เป็นนักตรรกะได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎกแล้ว พวกเขามักแสดงความเห็นตามปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและคาคะเนความจริงในเรื่องนี้ หรือ พราหมณ์บางคนเป็นศาสดาในศาสนามักแสดงธรรมะตามปฏิภาณของตนและคาดคะเนความจริง โดยการใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของเรื่องศาสนาพราหมณ์ถูกบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลผิดบ้าง บางครั้งอาจใจเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว ข้อเท็จจริงก็ยังไม่ชัดเจนว่าใครเป็นศาสดาของศาสนาพราหมณ์ ? ศาสนาพราหมณ์สอนความจริงอะไร ? สาวกของศาสนาพราหมณ์เป็นใคร ? พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์คืออะไร ? ศาสนาพราหมณ์ในยุคก่อนพุทธกาลมีความสอดคล้องกับศาสนาฮินดูและแตกต่างจากศาสนาพราหมณ์อย่างไร ? ฯลฯ ดังนั้น เมื่อต้นกำเนิดของศาสนาพราหมณ์ยังไม่ชัด ทำให้ผู้เขียนเกิดความสงสัยในความมีอยู่ของศาสนาพราหมณ์ ผู้เขียนชอบศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของศาสนาพราหมณ์ ด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เช่น พระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา ฏีกา และคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ผู้เขียนก็จะใช้หลักฐานนั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงตามหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก
คำตอบของเรื่องนี้ ผู้เขียนจะเขียนเป็นบทความวิเคราะห์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมทูตสายต่างประเทศในการเทศนาสั่งสอนผู้แสวงบุญที่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง เพื่อให้เนื้อหาทางพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนา จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา ใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอนุมานความรู้ เพื่อใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบ และเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยในความจริง เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการทุกฝ่าย และเป็นความรู้ที่สากลที่ทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติ และได้ผลคำตอบเดียวกัน เป็นต้น
1 ความคิดเห็น:
กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ยุทธนา ที่เมตตาให้ความรู้เกี่ยวกับความจริงของศาสนาพราหมณ์ ว่าใครคือศาสดาของศาสนาพราหมณ์ มีหลักธรรมคำสอนอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนิสิต และผู้ที่สนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง กราบสาธุเจ้าค่ะ
แสดงความคิดเห็น