The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566

บทนำ ศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎกตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ

 Introduction to Brahmanism in Tipitaka according to Buddhaphumi's philosophy

พระพรหมแห่งวัดถ้ำดาวเขาแก้ว

บทนำ                                                   ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และมีประวัติย้อนหลังไปถึงก่อนเจ้าชายสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวช ทรงเป็นพระโพธิสัตว์และเสด็จไปยังดินแดนต่าง ๆ เพื่อค้นหาความจริงแห่งชีวิตมนุษย์ เพื่อพิสูจน์ว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์นั้น เป็นจริงตามคำสอนของพราหมณ์อารยันหรือไม่?  พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์หลายวิธีด้วยกันเป็นเวลาถึง ๖ ปีกว่าพระองค์จะทรงค้นพบหลักปฏิบัติแห่งมรรคมีองค์ ๘ เมื่อทรงฝึกปฏิบัติแล้ว พระองค์ตรัสรู้กฎแห่งธรรมชาติแห่งชีวิตด้วยญาณทิพย์ที่เหนือกว่ามนุษย์ทุกคน ชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับกรรมของตัวเอง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะเผยแผ่คำสอนและหลักปฏิบัติแห่งมรรคมีองค์ ๘ เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วอนุทวีปอินเดีย ในสมัยหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกได้เรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่ามนุษย์มีวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และดำเนินชีวิตตามกรรมที่สั่งสมไว้ในจิตใจ     เมื่อชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมตัวกัน จนกลายเป็นทารกในครรภ์มารดาและคลอดออกมาเป็นมนุษย์  คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงทรงขัดแย้งและหักล้างคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำหน้าที่ตามวรรณะที่เกิด  พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่คำสอนของพระองค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คนทั่วโลก  โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อมีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ  จนกว่าจิตใจจะบริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่นและอารมณ์ฉุนเฉียว  มีบุคลิกอ่อนโยนเหมาะแก่กับการอยู่ร่่วมกับผู้อื่นอย่างสงบสุข มีความมั่นคงในอุดมคติของชีวิตและแน่วแน่ในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์และยุติธรรม จนบรรลุถึงความรู้ชั้นพระอรหันต์ที่เรียกว่า "อภิญญา ๖"  

           สาเหตุของการเกิดศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่ามนุษย์ทุกคนกลัวปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและภัยสงคราม จำเป็นต้องสร้างชุมชนทางการเมืองให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย แต่มนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวจึงสร้างชุมชนทางการเมืองขึ้นเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของประชาชน  ในรัชกาลพระเจ้าโอกกากราชทรงเป็นมหาราชาที่ปกครองอาณาจักรโกลิยะ  ทรงมีศรัทธาในศาสนาพราหมณ์และเชื่อเรื่องการมีอยู่เทพเจ้าหลายองค์ พระองค์จึงทรงปกครองอาณาจักรโกลิยะเป็นรัฐพราหมณ์ โดยการยอมรับเอาคำสอนของพราหมณ์อารยัน เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีต โดยแบ่งชาวสักกะออกเป็น ๔ วรรณะ  ชาวโกลิยะก็เชื่อว่ามีเทพเจ้าเช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สมบูรณ์ในชีวิตโดยพิธีบูชายัญของพราหมณ์ แต่การถวายเครื่องบูชาอันมีค่าต่าง ๆ  ก็ได้นำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์นิกายต่าง ๆ และได้รับการแต่งตั้งเป็นปุโรหิตทำหน้าที่ที่ปรึกษาของวรรณะกษัตริย์ในด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี 

             เมื่อมีอิทธิพลทางการเมือง และต้องการผูกขาดการสักการะเทพเจ้า  พวกปุโรหิตจึงเสนอร่างกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีไปยังรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะ เมื่อสมาชิกร่วมประชุมและพิจารณาอนุมัติหลักคำสอนของพราหมณ์ ตราขึ้นเป็นคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตวรรณะประเพณี กำหนดให้ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดโดยแบ่งชาวโกลิยะออกเป็น ๔ วรรณะ ได้แก่วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น       ในขณะนั้น  ผู้คนทั่วอนุทวีปอินเดียเชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยันที่ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะ เพื่อให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา และตกลงที่จะทำพิธีบูชายัญพระพรหมตามคำสอนของพราหมณ์เพื่อช่วยให้บรรลุสิ่งที่ปรารถนา นอกจากนี้วรรณะกษัตริย์ยังทรงแต่งตั้งเป็นปุโรหิต (priest) พวกเขาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่กษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ขบธรรมเนียมและจารีตประเพณี มีอิทธิพลอย่างมากต่อนโยบายทางการเมืองของประเทศในขณะนั้น เมื่อการบูชายัญเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน   นอกจากพราหมณ์ชาวอารยันที่บูชายัญต่อพระพรหม พระอิศวรด้วยการฆ่าสัตว์ มนุษย์  เพชรพลอยและพืชผลแล้ว ยังรวมถึงพราหมณ์ดราวิเดียนที่บูชายัญต่อเทวดาด้วยการฆ่าสัตว์ ในแต่ละปี  การบูชายัญ (sacrifice) มีมูลค่ามหาศาลและนำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์อารยันและพราหมณ์ดราวิเดียน เมื่อพวกพราหมณ์อารยันมีอำนาจทางการเมืองในฐานะปุโรหิตจึงพยายามจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียนในการบูชาเทวดา พวกเขาถึงถวายคำแนะนำให้วรรณะกษัตริย์ทรงนำหลักคำสอนของพราหมณ์ เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ โดยแบ่งประชาชนในประเทศออกเป็น ๔ วรรณะให้สิทธิและหน้าที่ในทำงานตามวรรณะของตน 

         การแบ่งวรรณะในอนุทวีปอินเดียตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า  การแบ่งวรรณะเริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราช บรรพบุรุษในราชวงศ์ศากยะ ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงเลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์ และมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพระองค์มีหลักฐานมากมายในพระไตรปิฎกได้แก่ พิธีดูดวงชะตาชีวิตของพระองค์ พิธีกรรมขนานพระนามตามวันประสูติ คำว่า "สิทธัตถะ" แปลว่าผู้สำเร็จผู้สำเร็จตามมุ่งหมายตามหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้น   

                ใครคือศาสดาในศาสนาพราหมณ์?      ในสมัยนั้นมีเจ้าลัทธิพราหมณ์หลายนิกายเกิดขึ้น  เปิดเทวสถานเพื่อสักการะเทพเจ้า และแต่งตั้งตนเองเป็นครู เช่นพราหมณ์อาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งเป็นครูของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ เป็นต้น พวกพราหมณ์สนใจศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์   โดยพวกเขามีความคิดว่าแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์คือถูกสร้างขึ้นจากร่างของพระพรหมและมนุษย์ถูกกำหนดชะตาชีวิตโดยพระพรหมสร้างวรรณะให้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา         เมื่อมหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ  ทรงเชื่อในคำสอนของพราหมณ์       ทำให้คำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี   มีข้อกำหนดไว้าห้ามมิให้แต่งงานข้ามวรรณะ     และห้ามมิให้ประชาชนปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น         พระพรหมสามารถให้คุณและลงโทษมนุษย์ เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาพราหมณ์      และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง   ด้วยการถูกลงพรหมทัณฑ์จากคนในสังคมด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นที่อยู่อาศัยไปตลอดชีวิต  เป็นต้น    

               บุคคลในศาสนาพราหมณ์นั้น  เมื่อพราหมณ์เป็น ๑  ใน ๔ วรรณะของสังคมในอนุทวีปอินเดีย     พวกเขาได้รับการยอมรับว่า  เป็นนักบวชที่ถูกต้องตามกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี    และได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตโดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ราชวงศ์ศากยะ มีอิทธิพลอย่างมากต่อนโยบายการบริหารประเทศแก่ราชวงศ์ศากยะ         ดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ   เช่น     เมื่อพระเจ้าเสนทิโกศลทรงฝันร้าย  พระองค์ทรงปรึกษากับปุโรหิต         เพื่อประกอบพระราชพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้าที่พระองค์เชื่อ    แต่การบูชายัญจำเป็นต้องมีการฆ่าสัตว์จำนวนมาก    ใช้ทรัพย์สิน  แก้วแหวน   เงินทอง พืชและธัญพืชเป็นเครื่องบูชาแด่เทพเจ้า เป็นต้น         เครื่องบูชานี้นำความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ทั้งพราหมณ์มิลักขะและพราหมณ์อารยัน   หากพราหมณ์ผู้ทำพิธีบูชายัญได้ช่วยให้มหาราชาทรงบรรลุความปรารถนาและมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือของประชาชน    และมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือมหาราชาในแคว้นต่าง   ๆแล้ว พระองค์ทรงแต่งตั้งพราหมณ์ผู้นั้นเป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของมหาราชาในด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี   เป็นต้น              เมื่อชาวอารยันถวายเครื่องบูชายัญแด่พระพรหมและพระอิศวรส่วนพราหมณ์ดราวิเดียน    ถวายเครื่องบูชายัญเทวดาเช่นกัน   ทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างพราหมณ์อารยันกับพราหมณ์มิลักขะเพื่อประโยชน์ของลาภสักกการะ        เมื่อพราหมณ์อารยันเป็นนักบวชที่ถูกตามกฎหมาย      และทำหน้าที่เป็นปุโรหิตที่ปรึกษาวรรณะกษัตริย์ คิดหาวิธีรักษาผลประโยชน์แห่งลาภสักการะของตนไว้  โดยยกย่องพระพรหมว่าเป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่ประชาชนควรเคารพและนับถือ  โดยอ้างเหตุผลของคำตอบว่าเป็นเทพเจ้าที่สร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์เอง     แต่ก็ดูหมิ่นเทวดาที่ชาวมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดา

            เมื่อลัทธิพราหมณ์เข้ามามีอิทธิพลต่อการเมือง    การปกครอง  เศรษฐกิจ   สังคม  ศาสนาและวัฒนธรรมในแคว้นสักกะ  พวกพราหมณ์ ก็ค้นพบหนทางที่จะยึดอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ พวกเขาไม่ยอมให้พวกดราวิเดียนมีอิทธิพลต่อการเมืองในแคว้นสักกะอีกต่อไป โดยปุโรหิตได้ให้คำแนะนำต่อวรรณะกษัตริย์ ผู้มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ  เพื่อหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวมิลักขะมิในด้านเศรษฐกิจ สังคม  การปกครอง  ศาสนาและวัฒนธรรม  เป็นต้น ปุโรหิตเสนอให้สมาชิกรัฐสภาแห่งแคว้นโกลิยะ กำหนดคำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี โดยอ้างว่าเมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์จึงสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา โดยแบ่งผู้คนออกเป็น ๔ วรรณะคือ  วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และจัดให้พวกมิลักขะอยู่ในวรรณะศูทร มีสิทธิและหน้าที่เป็นเพียงคนรับใช้พวกวรรณะทั้ง ๔  เท่านั้น   

     นอกจากนี้พวกอารยันได้ตรา "พระธรรมของกษัตริย์"  ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญตามจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หลักอปริหานิยธรรม" เมื่อชีวิตถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะตามจารีตประเพณี โดยพวกเขาต้องทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา การแต่งงานระหว่างวรรณะเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม เพราะจะทำให้บุคคลนั่นสูญเสียสิทธิและหน้าที่ในอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมาและถูกคนในสังคมลงพรหมทัณฑ์ด้วยการขับออกจากสังคม หรือถูกคนในครอบครัวฆ่า เพื่อรักษาเกียรติยศของคนในครอบครัวจึงต้องออกไปใช้ชีวิตตามท้องถนนในพระนครใหญ่ เช่น พระนครกบิลพัสดุ์     พระนครโกลิยะ พวกเขาต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานสกปรก เช่น ทิ้งขยะ  ทำความสะอาดห้องน้ำ   ท่อระบายน้ำเพื่อแลกกับค่าจ้างที่ต่ำและไม่มีสิทธิเป็นของเจ้าของที่ดินเพราะสงวนสิทธิไว้เฉพาะคนวรรณะสูงเท่านั้น เมื่อระลึกถึงความจริงได้เช่นนี้  ชีวิตของพวกจัณฑาลหรือชนไร้วรรณะ ดังนั้นจึงเหมือนว่า พระพรหม จะเป็นผู้กำหนดชะตากรรมของพวกเขาไว้แล้ว เช่น    นางปฏาจาราหญิงวรรณะพราหมณ์ แอบมีความสัมพันธ์กับชายวรรณะศูทร ซึ่งเขาเป็นคนรับใช้ภายในปราสาทขนาง เมื่อพ่อแม่หาคู่ครองกับชายวรรณะเดียวกัน พวกเขาจึงตัดสินใจหนีตามกันไปห่างออกไป ๑๐๐ กิโลเมตรจากบ้านเกิดของนางปฏาจารา   แม้พวกเขาจะสมหวังในความรัก แต่ใช่พวกเขาจะมีความสุขตลอดไป แต่ก็ยังมีปัญหาอื่น ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตก่อให้เกิดความทุกข์ที่ที่เหนือความคาดหมายที่ตนจะควบคุมได้ เป็นต้น

ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเมืองพาราณสี
ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเมืองพาราณสี ๒๕๖๓ 
            ในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราชแห่งแคว้นโกลิยะ      พระราชโอรสและพระธิดาของพระองค์ทรง   อพยพผู้คนจากแคว้นโกลิยะเพื่อสร้างแคว้นใหม่ ในบริเวณป่าเรียกว่า "เมืองกบิลพัสดุ์"     และประกาศอาณาเขตของตนให้เป็นประเทศเอกราชไม่ขึ้นตรงอยู่กับแคว้นโกลิยะโดยจัดตั้งเป็นแคว้นใหม่ เรียกว่า  "แคว้นสักกะ"  โดยมีพรหมแดนเชื่อมต่อกับแคว้นโกลิยะด้านทิศตะวันออก    ด้านทิศเหนือพรมแดนจดเทือกเขาหิมาลัย  ทิศตะวันตกจดแคว้นโกศล   เป็นต้น   สถานการณ์ทางการเมืองของแคว้นสักกะ       มีพื้นฐานอยู่บนระบบรัฐของศาสนาพราหมณ์  ผู้คนเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์        จึงมีการบูชาเทพเจ้าตลอดทั้งปี  สร้างรายได้มหาศาลสำหรับพราหมณ์อารยันและพราหมณ์มิลักขะ        เมื่อปุโรหิตอารยันเห็นว่าการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์ถวายเทพเจ้าและเทวดา     ถือเป็นสร้างความมั่งคั่งมหาศาลแก่พราหมณ์ทั้งสองนิกายพวกเขายังมีความรู้เกี่ยวกับนิติศาสตร์   ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอีกด้วย          เมื่อพิธีกรรมบูชายัญและสาธยายพระเวทสามารถทำได้ทั้งสองนิกาย  เมื่อพวกพราหมณ์มีสติระลึกถึงปัญหาที่่่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อพวกมิลักขะยังมีอำนาจทางเศรษฐกิจจากการบูชาเทวดา    อาจได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่มหาราชแห่งแคว้นโกลิยะได้  จึงเป็นเรื่องยากที่ชาวอารยัน จะปกครองประเทศให้เจริญรุ่งเรืองเพื่อประชาชนของตนเพียงผู้เดียว  เพื่อความมั่นคงของประเทศ       สมาชิกรัฐสภามาจากวรรณะกษัตริย์จึงบัญญัติคำสอนของพราหมณ์        เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์มิลักขะ   ศึกษาปรัชญาศาสนาพราหมณ์ในการประกอบพิธีบูชายัญได้ และจำกัดอำนาจทางเศรษฐกิจไม่ให้มีที่ดินเป็นของตนเอง   และมีหน้าที่เป็นเพียงคนรับใช้ชาวอารยันเท่านั้น  

              เมื่อสมาชิกรัฐสภาของวรรณะกษัตริย์ของแคว้นต่าง ๆมีหน้าที่ในการปกครอง       คำสอนของพราหมณ์ถือเป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี   โดยอ้างว่าพระพรหมทรงสร้างมนุษย์     พระองค์จึงสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดโดยยกมาเป็นข้ออ้างในการตรากฎหมายจารีตประเพณีโดยแบ่งประชาชนในแคว้นสักกะ  ออกเป็น ๔ วรรณะ ให้มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะตนเกิดมาโดยอ้างว่า  พระพรหมสร้างไว้นั้นมีสถาพบังคับตามกฎหมาย   มีบทลงโทษด้วยการลงพรหมทัณฑ์ในสังคม  ด้วยการขับไล่ออกจากสังคมนั้นได้การออกกฏหมายแบ่งวรรณะนั้นยกเลิกมิได้  เพราะขัดต่อธรรมของกษัตริย์ในการปกครองประเทศยิ่งเพิ่มการดูหมิ่น  เกลียดชังสร้างปัญหาให้แก่คนวรรณะต่ำการแต่งงานระหว่างชนวรรณะพราหมณ์กับพวกศูทรนั้น      ทำให้เกิดชนไร้วรรณะและถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมถูกขับไล่ออกจากสังคมหมู่บ้านที่เคยพำนักอาศัยไปใช้ชีวิตอยู่ข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ พระนครเทวทหะและพระนครสาวัตถี  เป็นต้น เมื่อถึงยุคสมัยของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นสักกะ ตามสิทธิหน้าที่ของชนวรรณะกษัตริย์  เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมประชาชน ทรงพบปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนแคว้นสักกะ โดยเฉพาะพวกจัณฑาล  หมดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมาเพราะเป็นชนไร้วรรณะ  เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะ  ทรงตัดสินพระทัยใช้ระบบการเมืองแก้ไขปัญหาสังคม      ผ่านรัฐสภาศากยวงศ์   เพื่อปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน           แต่รัฐสภาไม่อนุมัติเพราะขัดต่อธรรมกษัตริย์  เป็นหลักนิติศาสตร์สูงสุดในการบริหารปกครองที่เรียกว่า "ราชอปริหานิยธรรม"        เมื่อทรงศึกษาข้อมูลของสภาพปัญหาในสังคมในยุคนั้น  ทรงเห็นว่าปัญหาเรื่องวรรณะนั้น    เกิดจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้ามีอยู่จริง      และเชื่อว่าเทพเจ้าได้กำหนดโชคชะตาตนไว้แล้วด้วยการสร้างวรรณะ   ประชาชนต้องยอมรับสภาพโดยไม่สามารถยกเหตุผลขึ้นมาหักล้างโต้แย้งความเชื่อนั้น         เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่า ปัญหาของวรรณะไม่อาจแก้ไขได้ด้วยระะบบ รัฐสภาศากยวงศ์จึงตัดสินใจออกผนวช    เป็นศากยมุนีพระโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนตรัสรู้ (ค้นพบ) กฎธรรมชาติของความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์นั้นเป็นไปตามการกระทำของตนเองที่สั่งสมไว้ในจิตตนเอง หาใช่พระพรหมลิขิตโชคชะตามนุษย์ไว้ไม่ 

ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ๒๕๖๓
      ในยุคปัจจุบัน แม้ว่าโลกจะเจริญรุ่งเรือง ด้วยเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ก็มีการสร้างแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต  เพื่อเป็นพื้นที่แบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ส่งข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตได้ ไปศึกษาและรับความรู้จากเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต      เป็นเครื่องมือของมนุษย์ได้รู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกินขอบเขตของอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายมนุษย์  แม้ว่าผู้คนจะมีชีวิตที่ดี มีความสบายใจในชีวิต มีครอบครัวที่อบอุ่นอยู่ด้วยกันและทุกคนก็มีงานที่ดี  แต่จิตวิญญาณของมนุษย์เต็มไปด้วยตัณหาซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ จิตใจจะมัวเมาและระงับอารมณ์ดังกล่าว เนื่องจากความอ่อนแอและความท้อแท้ในจิตใจ จึงไม่สนใจที่จะพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเอง ให้มีความมั่นคงและหวั่นไหวต่อปัญหาต่างๆ ที่ต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลา จนกลายเป็นทุกข์เพราะติดอยู่กับปัญหานั้น  จึงยากแก่การแก้ไขคิดหาแก้ปัญหา  ดังนั้นวัดต่าง ๆ ที่พระพรหม  ประดิษฐานอยู่ จึงเต็มไปด้วยเครื่องบูชา เรียกว่า "อามิสบูชา"  เพื่อถวายเป็นเครื่องบูชาแด่พระพรหม  เพื่อช่วยให้บรรลุความสมปรารถนาของตนที่เห็นได้ชัดตลอดเวลา การศึกษาเรื่องศาสนาพราหมณ์จึงเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เพราะเวลาผ่านไปกว่า ๒,๕๐๐ ปี แต่กลิ่นอายของการบูชาพระพรหมยังคงอยู่   เทรนด์ไม่เคยจางหายไปจากปรากฏการณ์เกิดขึ้นทางสังคม  เป็นต้น 

          ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเกิดความสงสัยในความจริงของศาสนาพราหมณ์ว่าใครคือศาสดาในศาสนาพราหมณ์?  หลักคำสอนมีอะไรบ้าง? พิธีกรรมเป็นอย่างไร?  ลูกศิษย์มีใครบ้าง ?  ศาสนาพราหมณ์ในสมัยก่อนพุทธกาลมีความสอดคล้องและแตกต่างจากศาสนาฮินดูอย่าง ไร ?  หรือสมเหตุสมผลแค่ไหน ?  ผู้เขียนชอบศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของศาสนาพราหมณ์ต่อไป จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ เช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ  อรรถกถา ฏีกา และคัมภีร์อื่น ๆ เป็นต้น  
มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก บทความวิเคราะห์นี้จะเป็นประโยชน์พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  เพื่อบรรยายแก่ผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง เพื่อให้เนื้อหาของพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการและวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนา จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญา และพระพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้   เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบ และเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงอีกต่อไปเป็นที่ยอมรับและเป็นสากล                                                                            

1 ความคิดเห็น:

ศศินันท์ สันนิธิลาวัณย์ กล่าวว่า...

กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ยุทธนา ที่เมตตาให้ความรู้เกี่ยวกับความจริงของศาสนาพราหมณ์ ว่าใครคือศาสดาของศาสนาพราหมณ์ มีหลักธรรมคำสอนอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนิสิต และผู้ที่สนใจศึกษาเป็นอย่างยิ่ง กราบสาธุเจ้าค่ะ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ