Metaphysical problems regarding Brahmanism in the Tripitaka
โดยทั่วไป แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล หรือสัตว์ที่มีจิตใจสูงกว่าสัตว์อื่นเพราะ มีความศรัทธา มีวิริยะ สติ สมาธิและปัญญามาก กว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ แต่ก็สามารถคิดโดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา อธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ดีกว่าสัตว์อื่นว่า ตนมีความรู้สึกอย่างไรไม่ว่าจะมีความสุข มีความทุกข์ มีความสำเร็จตามความฝันของ แต่เมื่อมนุษย์มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ในสิ่งนั้น จึงมีความทุกข์อยู่ในจิตใจตนเสมอ เมื่อมนุษย์ทุกข์ ก็แสวงหาที่พึ่งอันสูงสุดคือเทพเจ้า
โดยทั่วไป ศาสดาของศาสนาที่เป็นนักตรรกะและนักอภิปรัชญา มักสนใจศึกษาเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของมนุษย์ โลก ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ความจริงเหล่านี้เป็นความรู้ของมนุษย์แล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความจริง ? โดยธรรมชาติของมนุษย์ ตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน ดังที่เราได้ยินข้อเท็จจริงที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระพรหมและพระอิศวรได้สร้างมนุษย์ขึ้นจากร่างกายของพระองค์เองและมนุษย์สามารถเข้าถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าได้ ก็โดยพราหมณ์อารยันทำการบูชาเท่านั้น ส่วนวรรณะอื่นนั้นไม่สามารถทำหน้าที่บูชายัญได้ เพราะถูกห้ามตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ หากผู้ใดฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะอย่างร้ายแรง โดยกระทำความผิดฐานร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะและปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น จะถูกสังคมลงโทษด้วยการถูกขับไล่จากคนในสังคม และจะกลายเป็นคนไร้บ้านที่เรียกว่า "จัณฑาล" ไปตลอดชีวิต
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของชาวจัณฑาลที่ใช้ชีวิตในวัยชรา เจ็บป่วยไข้และนอนตายอยู่ข้างถนน เพราะฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง ทำให้พระองค์ทรงสงสัยการมีอยู่ของเทพเจ้า เพราะพระองค์ทรงมีอายตนะภายในพระวรกายของพระองค์ มีข้อจำกัดในการรับรู้ความจริงที่สมมติขึ้น พระองค์ทรงชอบศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าต่อไป จึงทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่น่าเชื่อถือ คือพราหมณ์ปุโรหิตมาให้การยืนยันความจริงในเรื่องนี้ เมื่อเราเอาตัวมนุษย์เป็นศูน์กลางในการรับรู้ความจริง เราจึงสามารถแบ่งความจริงในอภิปรัชญาออกเป็น ๒ ประการคือ
๑.ความจริงที่สมมติขึ้น โดยทั่วไป สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์นั้นไม่เที่ยงแท้ มีสภาวะเป็นอยู่ มีอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วเสื่อมสลายและหายไปจากสายตามนุษย์ ก่อนที่มันจะหายไปจากสายตามนุษย์ จิตใจของมนุษย์อาศัยร่างกายของเขาในการรับรู้สิ่งเหล่านั้นและรวบรวมอารมณ์ของสิ่งเหล่านั้น มาสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง จากนั้นก็นำเอาอารมณ์เหล่านั้นมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานทางอารมณ์ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น เช่น ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติที่สวนป่าลุมพินี แคว้นสักกะ ดำรงพระชนม์ชีพเป็นเวลา ๘๐ ปีแล้ว ก็เสด็จสู่ปรินิพพาน เรื่องราวต่าง ๆ ชีวิตของพระองค์ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพานผ่านเข้ามาในชีวิตพระอานนท์ซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์ ต่อมาถ่ายทอดไว้ในพระไตรปิฎกหลายฉบับจากการสังคายนาหลายครั้ง ดังนั้น เมื่อชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติขึ้นมา ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและเสื่อมสลายไปในที่สุดก็หายไปจากสายตาของมนุษย์ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของพระอานนท์ จึงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เป็นต้น
๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ โดยทั่วไป ความจริงขั้นปรมัตถ์คือความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ และมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ เพราะมนุษย์อายตนะภายในร่างกายของมนุษย์มีขอบเขตการรับรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้จำกัด และมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นเนื่องจากความโง่เขลา ความเกลียดชัง ความกลัว และความรักใคร่เป็นการส่วนตัว เป็นต้น ทำให้ชีวิตของมนุษย์อยู่ในความมืดมนอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถคิดในการแยกแยะว่าเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จที่เข้ามาในชีวิตได้ หรือไม่รู้จักวิธีปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุความจริงของชีวิตซึ่งเป็นความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ เพราะพวกเขาขาดความสนใจและใส่ใจในชีวิตเพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองให้มีคุณค่าต่อผู้อื่น แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นยุคทองของวิทยาศาสตร์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มากมายถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองความอยากรู้ของมนุษย์ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ยืนยันว่า นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเครืองมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยมนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ที่ดวงวิญญาณของตนเองต้องเวียนว่ายตายแล้วเกิดใหม่ในสังสารวัฏได้หรือเพื่อพิสูจน์ความเป็นพระอรหันต์ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้ค้นพบหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนว่า หากมนุษย์ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็จะบรรลุความจริงขั้นปรมัตถ์ เช่น สภาวะของนิพพานได้ หรือในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ชาวสักกะและชาวโกลิยะเชื่อเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกินขอบเขตการับรู้ของมนุษย์ และมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ความจริงของการมีอยู่ของเทพเจ้านี้ได้ ยกเว้นพราหมณ์เท่านั้นที่สามารถสื่อสารกับเทพเจ้านั้นได้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณ อรรถกถา และเอกสารวิชาการด้านอื่น ๆ ผู้เขียนฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า โดยทั่วไป มนุษย์มีความกลัวสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและตนเองไม่สามารถควบคุมได้เช่นความตายที่เกิดจากโรคระบาด น้ำท่วมและไฟไหม้ และดำรงสถานะทางการเมืองต่อไปได้ ทำให้ชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งไม่แน่นอน มนุษย์จำเป็นต้องหาที่พึ่งของชีวิตตนเอง ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเป็นที่พึ่งของมนุษย์มาก่อนพระพุทธศาสนา มหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดียต่างศรัทธาในนิกายพราหมณ์ต่าง ๆ และบัญญัติกฎหมาย ขนบธรรมหรือจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ ให้พราหมณ์อารยันเป็นนักบวชที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็น ๑ ใน ๔ วรรณะ และแต่งตั้งพราหมณ์อารยันเป็นปุโรหิตมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษามหาราชาในด้านกฏหมาย ขนบธรรมเนียมหรือจารีตประเพณี ทรงนำหลักคำสอนของพราหมณ์เป็นคำสอนในศาสนาพราหมณ์ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ และตราขึ้นเป็นกฎหมายวรรณะ โดยพราหมณ์นิกายต่าง ๆ อ้างว่า พระพรหมณ์สร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์ พระองค์จึงทรงสร้างวรรณะสำหรับมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ หลายเล่ม เมื่อผู้เขียนพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าความเป็นมาของศาสนาพราหมณ์ยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์โดยยึดหลักตามคำนิยามคำว่า "ศาสนา" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ องค์ประกอบของศาสนาต้องมี ๑.ศาสดา ๒.คำสอน ๓. สาวก ๔. พิธีกรรม ๕.ศาสนสถาน เป็นต้น เมื่อศึกษาข้อเท็จจริงของศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎกแล้ว มีประเด็นต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

๑.ใครเป็นศาสดาในศาสนาพราหมณ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายคำว่า "ศาสดา" หมายถึงผู้ก่อตั้งศาสนา แต่ในศาสนาพราหมณ์สมัยก่อนพุทธกาลไม่มีใครประกาศตนเอง เป็นศาสดาในศาสนาพราหมณ์แต่อย่างใด พราหมณ์นิกายต่าง ๆ เปิดสำนักบูชาเทพเจ้าที่นิกายของตนเองนับถือ และต่างเผยแพร่ความเชื่อในศาสนาของตนเอง แต่ละฝ่ายป็นอิสระจากกัน เช่น เจ้าลัทธิทั้งหก, ชฏิล ๓ พี่น้อง เป็นต้น แต่ไม่มีใครกล้าประกาศ ตนว่่า เป็นศาสดาในศาสนาพราหมณ์และผู้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ เช่่น สมณโคดม เป็นต้น
๒.คำสอนของศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นพบว่า คำสอนของศาสนาพราหมณ์นั้นเน้นที่ชีวิตมนุษย์และการมีอยู่ของเทพเจ้า คำสอนของศาสนาพราหมณ์มีทั้งหลักทฤษฎีและหลักปฏิบัติในการเข้าถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ การบูชายัญเป็นพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบูชายัญจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ก็พบคำว่า "บูชายัญ" ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑, ๔, ๙, ๑๒, ๑๓, ๑๕, ๒๐, ๒๑, ๒๒, ๒๘, ๒๙, ๓๐, ๓๒, ๓๓, ๓๖ เป็นต้น
เมื่อได้หลักฐานข้อมูลในพระไตรปิฎกเช่นนี้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า "การบูชายัญ" นั้นคืออะไร เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากคำนิยามจากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมแปลไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นครได้ให้คำจำกัดความคำว่า "บูชายัญ" ไว้ว่า เป็นคำนามหมายถึงการบูชายัญคือการบูชาเทพเจ้าในลัทธิพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์สอนว่ามีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่คอยดลบันดาลให้มนุษย์มีอันเป็นไปต่าง ๆ หากผู้ใดปรารถนาจะให้เทพเจ้าเพิ่มพรให้ หรืองดการลงโทษ จะต้องทำการบูชายัญที่ทำกันมากคือ การฆ่าแพะ แกะ วัว ม้า และคน ตามจำนวนที่พราหมณ์จะบอก [๑] เป็นต้น
จากคำนิยามในความหมายดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนตีความคำนิยามได้ดังนี้ว่า (๑) บูชายัญเป็นการบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ เมื่อผู้เขียนค้นคว้าข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกออนไลน์เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๒.จูฬวรรค] นาวาสูตร [ข้อ๓๑๓] ได้กล่าวว่าเพราะ การฆ่าโคบูชายัญนั้น เทวดา พระพรหม พระอินทร์ อสูร และผีเสื้อสมุทร ต่างเปล่งวาจาประณามมนุษย์ว่าไม่มีคุณธรรม เพราะมีดที่แทงแม่โคและในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๐ ขุททกนิกายชาดก [๒๒.มหานิบาต] ๖.ภูริทัตตชาดก [ข้อ.๙๒๖] ได้กล่าวว่า "ความจริงคนบ้างพวกนับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดา
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากข้อความที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ ผู้เขียนรับฟังข้อเท็จจริงได้เป็นข้อยุติว่าการฆ่าสัตว์บูชายัญนั้น เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์เพื่อบูชาเทพเจ้าเช่น เทวดา พระพรหม พระอินทร์อสูรและผีเสื้อสมุทรเพื่อขอพรเทวดา พระพรหมหรือเทพเจ้าองค์อื่นๆ ช่วยดลบันดาลให้ตนประสบความสำเร็จในสิ่งปรารถนาเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เช่นนั้น และไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด ยกเหตุผลของข้อเท็จจริงขึ้นมาโต้แย้งหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตร ปิฎกให้เกิดข้อพิรุธสงสัยให้ความจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ผู้เขียนเห็นว่าในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น ประชาชนชาวชมพูทวีปนับถือศาสนาพราหมณ์เชื่อว่า พระอิศวรและพระพรหมเป็นเทพเจ้ามีอยู่จริงและผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา ส่วนพวกเชื้อสายมิลักขะบูชาน้ำเป็นเทวดา เพราะช่วยดลบันดาลให้พืชผลทางเกษตรกรรมอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
๒.จุดประสงค์ของการบูชายัญในศาสนาพราหมณ์ ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบพิธีบูชายัญนั้นต้องกผลในข้อใดแตกต่างกันออกไป มีหลายจุดประสงค์ด้วยกัน ได้แก่
๒.๑ การบูชายัญแล้วจิตวิญญาณไปสู่โลกสวรรค์เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุทททกนิกายชาดกภาค ๒ [๒๒.มหานิบาต] ๗.จันทกุมารชาดก
[ข้อ.๙๘๒] "พระเจ้าเอกราชผู้มีกรรมหยาบช้าประทับอยู่ในกรุงบุปผวดีท้าวเธอตรัสถามขัณฑหาลปุโรหิตผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพราหมณ์ผู้เป็นคนหลงว่า"
[ข้อ.๙๘๓] "ท่านพราหมณ์ผู้สุจริตธรรมและอาจารวินัย จงบอกทางสวรรค์แก่เรา อย่างที่นรชนทำบุญแล้ว จากโลกนี้ไปสู่สุคติภพเถิด" (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
[ข้อ.๙๘๓] ข้าแต่สมมติเทพ เหล่านรชนให้ทานยิ่งกว่าทาน ฆ่าคนไม่น่าฆ่า ทำบุญแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ได้อย่างนี้ (พระราชาตรัสถามว่า)
[ข้อ.๙๘๓] ก็ทานยิ่งกว่าทานนั้นคืออะไรและคนจำพวกไหนไม่น่าฆ่าในโลกนี้ ขอท่านจงบอกข้อนั้นแก่เราเราจักบูชายัญ จักให้ทาน (ขัณฑหาลปุโรหิตกราบทูลว่า)
เมื่อผู้ศึกษาข้อเท็จจริงจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ รับฟังได้เป็นข้อยุติว่าพระเจ้าเอกราชทรงมีวัตถุประสงค์ของการบูชายัญ เมื่อตายแล้วจิตวิญญาณของพระองค์จะได้เสด็จไปสู่โลกสวรรค์
๒.๒ การบูชายัญจำกัดฝันร้าย พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประกอบพิธีมหาบูชายัญ เพื่อกำจัดฝันร้าย เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา สังยุตตนิกายสคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรค ๑ สังยุตตสูตร ได้ฟังข้อเท็จจริงได้มีมติว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเลียบพระนครทรงมีพระทัยต่อหญิงที่แต่งงานแล้ว สามีเป็นพ่อค้าในตลาดเมืองสาวัตถีจึงเรียกตัวมาเข้าเฝ้าและแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์ ทำหน้าที่รับใช้พระองค์ เพื่อหาทางจำกัดสามีของหญิงนั้น ทรงรับสั่งให้เอาดินสีแดงและดอกบัวอุบลสีแดงมาถวายให้ทันเวลา หากไม่ทันจะเอาโทษกับสามีของหญิงนั้นเมื่อไปเอาดินสีแดง และดอกบัวอุบลสีแดงแต่เข้าพระนครไม่ทันจึงเลยไปที่วัดเชตวันมหาวิหาร ในเวลากลางคืนพระเจ้าปเสนทิโกศลเกิดอาการร้อนรุ่มครอบงำ และได้เสียงของสัตว์ร้องจากขุมนรกมารบกวนพระทัยของพระองค์จนทรงบรรทมไม่เป็นสุข ในรุ่งเช้าพวกพราหมณ์ปุโรหิต ได้มากราบทูลว่าทรงบรรทมเป็นสุขไหมเมื่อคืนนี้พระองค์ได้ตรัสว่า ทรงบรรทมไม่มีสุขเพราะได้ยินเสียงของสัตว์ร้องจากนรก เมื่อพวกพราหมณ์ปุโรหิตได้ยินอย่างนี้แล้ว ก็พากันประชุมพิจารณาเห็นว่าพระสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศล ไม่มีผลต่อชีวิตของพระองค์ทำให้ทรงเจริญรุ่งเรืองขึ้นหรือนำมาสู่ความเสื่อมลงแต่อย่างใด แต่พวกพราหมณ์ปุโรหิตมิอยากให้ลาภสักการะ เป็นเครื่องบูชายัญนั้นด้วยการให้ทานภัตตาหารนั้น ถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกแต่อยากให้เครื่องเซ่นมหาบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์นั้น เป็นลาภสักการะแก่พวกพราหมณ์เมื่อนึกได้อย่างนี้แล้ว พวกพราหมณ์ปุโรหิตได้กราบทูลว่า พระสุบินได้ยินเสียงสัตว์นรกนั้นทรงประสบเภท ภัย ๓ อย่าง คือ ภัยต่อราชสมบัติ ภัยต่อพระชนมชีพ หรือ ภัยต่อที่ประทับของพระองค์จนอยู่ไม่ได้พระองค์ได้ทรงตรัสถามว่าจะทรงมีความปลอดภัยควรทำอย่างไร พวกปุโรหิตบอกให้บูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์อย่างละ ๕๐๐ ตัว เป็นต้น (ต่อ)
บรรณานุกรม
[๑]https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-pleang/บูชายัญ เมื่อวันที่๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น