Introduction to The Study of Liberal Arts by Prince Siddhartha in The Tripitka
คำสำคัญ การศึกษา เจ้าชายสิทธัตถะ
๑.บทนำ
บทความนี้จะกล่าวถึงภูมิหลังและความสำคัญของการศึกษาศิลปศาสตร์ของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกผนวชเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ และพระองค์ทรงใช้เวลาหลายปี เพื่อศึกษาค้นคว้าแนวทางปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสัจธรรมของชีวิตโดยชอบด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า การศึกษาในช่วงแรกของพระองค์มิได้จำกัดอยู่แค่ด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงศิลปะและการฝึกฝนด้านต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาองค์รวม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ชีวิตของพระองค์สามารถปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้พระองค์ทรงสามารถบรรลุธรรมสูงสุดได้
๒.ความเป็นมาของเจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ์ เราจะได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "เจ้าชายสิทธัตถะ" พระองค์ประสูติในราชวงศ์ศากยะ และเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางมายาเทวี พระองค์ประสูติที่ป่าลุมพินี ซึ่งเป็นอุทยานหลวงของราชวงศ์ศากยะ ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาจักรสักกะ ราชวงศ์ศากยะทรงเชื่อในคำสอนของศาสนาพราหมณ์ว่า มีเทพเจ้าหลายองค์ที่สามารถช่วยให้ผู้คนบรรลุความปรารถนาได้ ไม่กี่วันหลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ พระเจ้าสุทโทธนะทรงได้อัญเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ รูปมาทำนายชะตาชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ พราหมณ์ทำนายชะตาชีวิตของพระองค์ไว้ ๒ แบบ ก็คือ ถ้าพระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นสักกะเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก หรือ ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์จะทรงเป็นศาสดา (prophet) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เช่นกัน
เมื่อพระเจ้าสุทธทนะทรงทราบคำทำนายของพราหมณ์เกี่ยวกับชะตาชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะพระองค์ก็ทรงปรารถนาให้พระราชโอรสเป็นกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรสักกะ แทนที่จะเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิต เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี และทรงได้รับการศึกษาอย่างครบถ้วน ตามฐานันดรของวรรณะกษัตริย์ พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงดูแลพระราชโอรสเป็นอย่างดี ทรงปกป้องพระองค์จากความทุกข์ที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือภัยจากโลกภายนอกพระราชวังกบิลพัสดุ์ พระราชบิดาทรงหวังว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองอาณาจักรสักกะให้เจริญรุ่งเรือง พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงส่งเจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษาศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขา ที่สำนักเรียนวิศวามิตร ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับจากมหาราชาในรัฐต่าง ๆ ทั่วอนุทวีปอินเดีย เพื่อเตรียมพระองค์ให้เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรสักกะ อย่างไรก็ตาม การศึกษาของเจ้าชายสิทธัตถะมิได้จำกัดอยู่แค่วิชาการทั่วไปเท่านั้น พระองค์ยังทรงได้รับการฝึกฝนอย่างครอบคลุมในศิลปศาสตร์สาขาต่าง ๆ อีกด้วย
๓.ความสำคัญ
การศึกษาศิลปศาสตร์ของเจ้าชายสิทธัตถะมีความสำคัญมาก เพราะแสดงให้เห็นถึงความสมดุลของการพัฒนาตนเอง ไม่เพียงแต่ในด้านสติปัญญา เท่านั้นแต่ยังรวมถึงด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์การศึกษาศิลปศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างสมาธิ ความอดทน และการควบคุมตนเอง ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จำเป็นต่อการปฏิบัติธรรม และบรรลุธรรมสูงสุด นอกจากนี้ การศึกษาศิลปศาสตร์ยังช่วยให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเข้าใจโลกและมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น พระองค์ทรงรู้ทุกข์และความไม่เที่ยงของชีวิต ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญที่นำไปสู่การแสวงหนหาทางดับทุกข์และบรรลุธรรมสูงสุดคือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงนำหลักธรรมอันประเสริฐ มาช่วยให้สรรพสัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นจากความทุกข์ได้
เมื่อเราศึกษาข้อเท็จจริงทางการเมืองในอาณาจักรสักกะและภูมิภาคอื่น ๆ ในอนุทวีปอินเดีย เราจะเห็นว่าอาณาจักรสักกะเป็นรัฐของศาสนาพราหมณ์ เมื่อชาวสักกะเชื่อในคำสอนของพราหมณ์เกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ พวกเขาก็เต็มใจปฏิบัติตามคำสอนของพราหมณ์และขอพรจากพระพรหมและพระอิศวร เพื่อให้พวกเขามีความหวังในชีวิต พวกเขาใช้คำสอนของพราหมณ์เป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน และบัญญัติรัฐธรรมนูญของอาณาจักรสักกะเพื่อปกครองประเทศ พราหมณ์อารยันใช้อำนาจที่ปรึกษาเสนอแนะต่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะและบัญญัตคำสอนของพราหมณ์ในฐานะคำสอนของศาสนาพราหมณ์และในฐานะกฎหมายวรรณะ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการบูชาเทพเจ้าของพวกเขา กฎหมายวรรณะแบ่งประชาชนในอาณาจักรสักกะออกเป็น ๔ วรรณะ โดยอ้างเหตุผลในการบัญญัติกฎหมาย เนื่องจากพระพรหมสร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์เอง ดังนั้น พระองค์จึงได้สร้างวรรณะต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อให้มนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมานั้น ได้ทำงานตามหน้าที่ของวรรณะที่พวกเขาเกิดมา
เมื่อกฎหมายวรรณะมีผลบังคับใช้ กฎหมายได้ระบุหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องปฏิบัติตาม นั่นคือ ห้ามแต่งงานนอกวรรณะของตน และห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น หากใครฝ่าฝืนคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ เมื่อบุคคลนั้นประพฤติตนในลักษณะที่น่าสงสัย ผู้คนในสังคมมีสิทธิและหน้าที่ในการสืบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ที่จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริง เพื่อพิสูจน์ความความจริงของเรื่องนั้น โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของการกระทำความผิดของบุคคลนั้นต่อหน้าสาธารณชน เมื่อผู้คนในสังคมพวกเขาตัดสินแล้ว และการลงโทษด้วยการลงพรหมทัณฑ์ไปตลอดชีวิต พวกเขาต้องใช้ชีวิตคนไร้บ้านไปตลอดชีวิต เป็นต้น

ในยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่บริสุทธิ์ เพื่อศึกษาความจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงของคำตอบ ซึ่งเป็นความรู้ที่เกินขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ เมื่อนักวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการใช้เหตุผลและอธิบายความจริงของเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เนื้อหาของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์จึงถูกแบ่งเนื้อหาออกเป็นสาขาต่าง ๆ วิทยาศาสตร์ประยุกต์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต วิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถสร้างเอกสารดิจิทัล เป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้คนทั่วโลกสามารถเรียนรู้เรื่องราวหลายร้อยล้านเรื่องทุกวัน เป็นการศึกษาวิจัยบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตระดับโลก สร้างความรู้ที่หยั่งรากลึกในใจผู้คน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
โดยเฉพาะสำหรับหัวหน้างานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อติดตามการทำงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชน เมื่อเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงวิธีการงานของผู้คน ความรู้เฉพาะทางไม่เพียงพอสำหรับงานที่ไร้เอกสาร การจัดเก็บเอกสารในรูปแบบดิจิทัล ช่วยลดภาระงานของแต่ละบุคคล การศึกษาวิจัยคือการสร้างความตระหนักรู้และนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ หรือระบบที่วิศวกรคอมพิวเตอร์สร้างขึ้น การสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในเครือข่ายระดับโลก ทำให้ผู้คนไม่ว่าจะอยู่บนภูเขาสูง กลางทะเลหรือในหมู่บ้านที่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ และแบ่งปันข้อมูลบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตได้
ดังนั้นเมื่อวิธีการสอนของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก พัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถึงเวลาแล้วที่ปรัชญาและพระพุทธศาสนาแห่งราชอาณาจักรไทยจะต้องพัฒานาตนเอง และสามารถบูรณาการกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ได้สอดคล้องต้องกันได้ เนื่องจากความรู้ในวิชาปรัชญา พระพุทธศาสนา ปรัชญาตะวันตกและวิทยาศาสตร์เป็นของมนุษย์ทั้งสิ้น นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ที่พวกเขาสร้างองค์ความรู้ของตนเองมาจากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมเรื่องราวต่าง ๆ เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจของตนเอง แต่ธรรมชาติของบุคคลเหล่านั้น มีอายตนนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตของบุคคลเหล่านั้น เต็มไปด้วยความมืดมน จึงไม่มีความสามารถในการใช้เหตุผลอธิบายความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างสมเหตุสมผลได้
เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดกันมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่องที่ปฏิบัติกันจนเป็นระบบ ข้อเท็จจริงจากตำราเรียนหรือคัมภีร์ศาสนา ถึงแม้ว่า เราจะยอมรับข้อเท็จจริงเหล่านั้นเป็นความจริงโดยปริยาย พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เราไม่ควรเชื่อในทันที เราควรสงสัยข้อเท็จจริงเหล่านั้นก่อน จนกว่าเราจะได้สืบเสาะข้อเท็จจริงได้และรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ พวกเขาก็จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยใช้เหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เป็นต้น
ปัจจุบันนักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานสำคัญอื่น ๆ เช่น การค้นพบแหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนาที่สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เนื้อหาของหลักสูตรทางพระพุทธศาสนาควรสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่มากขึ้น การค้นหาอายุของแหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนา โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบยุคสมัยต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ที่เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ และแผนที่โลกดิจิทัลของกูเกิล เป็นนวัตกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ในการค้นหาอาณาจักรโบราณในอินเดีย เช่น พระนครกบิลพัสดุ์ พระนครเทวทหะ พระนครสาวัตถี และพระนครราชคฤห์ หลักฐานเหล่านี้ช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล โดยไม่ต้องสงสัยข้อเท็จจริงที่เราได้ยินมา
เมื่อพุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้ยินมาเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้สำเร็จหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาของสำนักครูวิศวามิตร จากการเทศน์ของพระภิกษุทั้งนิกายเถรวาทและมหายานในวันธรรมสวนะหรือจากการศึกษาตามหลักสูตรในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยทั่วโลก แม้ว่าพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจะเชื่อความจริงโดยปริยาย แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า อย่าเชื่อทันที แต่ต้องสงสัยก่อน
เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงได้ค้นหาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณทั้ง ๔๕ เล่มในเว็บไซต์http://www. geocities.ws /tmchote /tpd-mcu/ แต่เมื่อผู้เขียนใส่คำว่า "วิศวามิตร" ลงในแอปพลิเคชั่น เพื่อค้นหาข้อความในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณทั้ง ๔๕ เล่ม แต่ผู้เขียนก็ไม่พบคำนั้น เมื่อหลักฐานในพระไตรปิฎกไม่ชัดเจนในประเด็นนี้ ผู้เขียนจึงสงสัยว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงเคยศึกษาที่สำนักครูวิศวามิตรหรือไม่
จากการที่ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลโครงการสัมมนาวิชาการพระพุทธศาสนา และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกระทู้ถาม-ตอบพันทิป พบว่าในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณทุกเล่มนั้น ไม่มีการกล่าวถึงการศึกษาของพระพุทธองค์อย่างชัดเจน เนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า มักปรากฎหลักฐานชั้นรอง เช่น คัมภีร์วิมธุรัตถวิลาสินี ซึ่งแต่งขึ้นมาเพื่ออธิบายคัมภีร์ขุททกนิกายพุทธวงศ์ และเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้น ๖๐๐ ปีหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
เมื่อผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงเรื่องการศึกษาศิลปศาสตร์ของเจ้าชายสิทธัตถะแล้ว แต่ภูมิหลังของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงเกิดความสงสัยว่า นักวิชาการได้รวบรวมข้อเท็จจริงจากหลักฐานเอกสารจากคัมภีร์ใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบของเรื่องนี้
แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เราไม่ควรเชื่อในข้อเท็จจริงที่สืบทอดกันมา อย่าเชื่อเพราะเป็นคัมภีร์ เราควรสงสัยเสียก่อน ดังนั้น ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการศึกษาศิลปศาสตร์ของเจ้าชายสิทธัตถะก็ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มเติม จึงได้ค้นคว้าข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับการศึกษาของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้ว ผู้เขียนจะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา และเอกสารทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ เป็นต้น
คำตอบในบทความนี้ จะเป็นประโยชน์แก่พระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทยที่ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลเพื่อให้เนื้อหาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้านั้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในราชอาณาจักรไทย ให้รู้จักคิดวิเคราะห์และสามารถปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อเข้าถึงสัจธรรมของชีวิตในระดับอภิญญา ๖ ได้ ส่วนกระบวนการวิเคราะห์นี้ จะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาปริญญาเอกในการทำวิทยานิพนธ์ในด้านปรัชญาและพระพุทธศาสนา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น