The Real Problems of Prince Siddhatha's liberal arts Education
บทนำ
โดยทั่วไป แม้ว่ามนุษย์ทุกคนจะมีอายตนะภายในร่างกายของตนเองในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต และสั่งสมหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจ แต่ธรรมชาติของมนุษย์ไม่ได้เพียงรับรู้ และเก็บหลักฐานทางอารมณ์เท่านั้น แต่ยังมีธรรมชาติของการคิดอีกด้วย เมื่อรู้สิ่งใด ก็จะคิดจากสิ่งนั้น โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น แต่เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะศาสตร์หรือนักปรัชญา เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้ยินตามกันมา ก็มักจะแสดงทัศนะของตนตามปฏิภานของตนเอง โดยการอนุมานความรู้ หรือการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล แต่นักตรรกะ นักปรัชญาใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น บางครั้งใช้เหตุผลถูกบ้าง บางครั้งก็ใช้เหตุผลผิดบ้าง บางครั้งก็ใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้น บางครั้งก็ให้เหตุผลเป็นอย่างนี้ ดังนั้น
เมื่อความรู้เป็นสิ่งที่สั่งสมไว้ในจิตใจจากการศึกษา ค้นคว้า และการปฏิบัติแล้ว ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของบุคคลนั้น ก็มักจะสูญหายไปพร้อมความตาย เมื่อมนุษย์ได้ยินข้อเท็จจริงแล้วมนุษย์พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเผยแพร่คำสอนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก เพื่อรักษาความรู้มิให้สูญหายไป เช่น พระพุทธเจ้าสิทธัตถะทรงเผยแผ่ความรู้ ที่พระองค์ทรงได้รับจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ คือภิญญา ๖ นั้น ให้แก่ผู้คนในภูมิภาคต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดีย เพื่อป้องกันมิให้ความรู้นี้สูญหาย เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพาน
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกรับรู้ความจริงเกี่ยวกับการศึกษาด้านศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจของพวกเขาเอง ซึ่งเป็นตำราความรู้ในวิชาต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาลรวม ๑๘ วิชา มาจากการเทศนาของพระภิกษุทั้งนิกายเถรวาทและมหายานซึ่งแสดงในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่นวันพระวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา หรือจากการบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในชั้นเรียนต่าง ๆ ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรไทยและทั่วโลก
๒.ประเภทความรู้ของมนุษย์
เมื่อความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นของมนุษย์ที่เรียกว่านักตรรกะบ้าง เป็นนักปรัชญาบ้าง ศาสดาบ้าง นักวิทยาศาสตร์บ้าง บ่อเกิดความรู้ของนักวิชาการเหล่านั้ เกิดจากจิตใจของพวกเขาใช้อายตนะภายในร่างกายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและเก็บเรื่องราวต่างๆ เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจของตน แต่ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้น มิได้รับแค่รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ เป็นหลักฐานทางอารมณ์เท่านั้น ยังมีจิตเป็นนักคิดอีกด้วย เมื่อรับรู้สิ่งใดย่อมคิดจากหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจนั้น แต่เมื่อธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้น มีอายตนะภายในร่างกายของตนเอง มีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตของพวกเขาเต็มไปด้วยความมืดมน มนุษย์ไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างสมเหตุสมผล
ในการศึกษาปัญหาทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการพิสูจน์ การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ตามแนวคิดอภิปรัชญานั้น ความรู้ของมนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทกล่าวคือ
๒.๑ ความรู้ที่เป็นความจริงที่สมมติขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ความรู้ของมนุษย์คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน ค้นคว้า หรือประสบการณ์ ซึ่งรวมถึงความสามารถและทักษะในการปฏิบัติจริง เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์, สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ เช่น ความรู้เรื่องสุขภาพ, ความรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
กล่าวคือเมื่อมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติรอบตัว อาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณฺ์ทางชุมชนการเมืองที่เกิดขึ้น ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านั้นจะหายไปจากสายตาของมนุษย์ มนุษย์สามารถรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหวที่สหภาพเมียนมาร์ และกรุงเทพมหานครของประเทศไทย พายุ น้ำท่วมที่จังหวัดเขียงรายเป็นต้น หรือเหตุการณฺ์ทางชุมชนการเมืองที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ เช่น การขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศถึง ๑๔๕ เปอร์เซ็นต์ การทำสงครามล้างเผ่าพันธ์ในประเทศพม่าหรือการประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีในประเทศ ต้นแบบประชาธิปไตยโดยเรื่องราวเหล่านี้ มนุษย์สามารถผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองเมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งเหล่านี้แล้ว พวกเขาก็จะเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม จิตใจของมนุษย์ ไม่เพียงรับรู้ และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจเท่านั้น แต่ชีวิตของมนุษย์มีธรรมชาติของการเป็นนักคิดอีกด้วย เมื่อมนุษย์รับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จิตใจของพวกเขาก็จะคิดจากสิ่งนั้น เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้เขียนรับรู้ถึงการศึกษาของเจ้าชายสิทธัตถะ จากการศึกษาในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยว่าพระองค์ทรงสำเร็จหลักสูตรศิลปศาสตร์จากสำนักครูวิศวามิตร ก็จะเก็บเรื่องราวเหล่านี้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ แล้วใช้เป็นข้อมูลในวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ แต่เมื่อผู้เขียนมีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องนี้ และอาจมีอคติต่อผู้อื่นด้วยไม่รู้ของตนเอง เมื่อผู้เขียนแสดงทัศนะเรื่องการศึกษาศิลปศาสตร์ ของเจ้าชายสิทธัตถะ ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริงแล้ว การใช้เหตุผลของผู้เขียนบางครั้งอาจใช้เหตุผลถูกบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลผิดบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้น บางครั้งอาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บาง เมื่อวิญญูชนได้ยินความเห็นเรื่องนี้ของผู้เขียนไม่ชัดเจน ย่อมเกิดความสงสัยความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ และไม่เชื่อว่าเป็นความจริง
ผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ บทความต่าง ๆ ในเว็บไซต์ และคัมภีร์พระพุทธศาสนา ผู้เขียนก็ได้ยินข้อเท็จจริงในเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ วิชา จากสำนักเรียนวิศวามิตรในเมืองกบิลพัสดุ์ ผู้เขียนยังไม่เชื่อทันทีและเกิดความสงสัยว่าไม่เป็นความจริง จึงสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานจากเว็บไซต์http://www.geocities.ws /tmchote /tpd-mcu/ เมื่อผู้เขียนค้นหาคำว่า "วิศวามิตร" ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ไม่พบหลักฐานยืนยันความจริงว่า ครูวิศวามิตรสอนวิาศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาแก่เจ้าชายสิทธัตถะ ทำให้เรื่องราวของครูวิศวามิตรไม่ชัดเจน
เมื่อผู้เขียนไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าหลักสูตรศิลปศาสตร์ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาครอบคลุมวิชาใดบ้าง ผู้เขียนจึงต้องการแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มเติม จึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานอื่น ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ที่จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบว่า หลักสูตรศิลปศาสตร์ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาครอบคลุมวิชาใดบ้าง
เมื่อผู้เขียนได้ค้นคว้าหลักฐานในอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๕.ปัตถนาสูตรที่ ๑ ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า หลักสูตรศิลปศาสตร์มีเนื้อหาวิชาอะไรบ้าง ? แต่เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในมิลินทปัญหา ตอนที่ ๑. เกี่ยวกับพระเจ้ามิลินท์แห่งเมืองสาคละ ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาเช่นเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ แต่พระเจ้ามิลินท์ทรงศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาเพิ่มอีก ๑ สาขาวิชา เป็น ๑๙ สาขาวิชา ได้แก่
๑. สูติ วิชาการฟังเสียงคนเสียงสัตว์ เพื่อให้รู้ว่าดีหรือร้าย
๒. สัมมุติ วิชาเกี่ยวกับกฎหมาย ธรรมเนียมและจารีตประเพณี
๓. สังขยา วิชาคำนวน
๔. โยคยันตร์ วิชาเกี่ยวกับการช่าง
๕. นิติ วิชาแบบแผนราชการ
๖. วิเสสิกา วิชาการค้าขาย
๗. คัมธัพพา การศึกษาเกี่ยวกับนาฏศิลป์
๘. คณิกา การศึกษาเกี่ยวกับกายบริหาร
๙. ธนุพเพธา การศึกษาเกี่ยวกับศิลปะการยิงธนู
๑๐. ปุราณ วิชาว่าด้วยโบราณคดี
๑๑. ติกิจฉา การศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์
๑๒. อิติหาสา การศึกษาเกี่ยวกับตำนานหรือประวัติศาสตร์
๑๓. โชติ การศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์
๑๔. มายา การศึกษาเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม
๑๕. ฉันทสา การศึกษาเกี่ยวกับการประพันธ
๑๖. เกตุ การศึกษาเกี่ยวกับการพูด
๑๗. มันตา การศึกษาเกี่ยวกับการสวดมนต์
๑๘. สัททา การศึกษาเกี่ยวกับภาษาและไวยากรณ์ เป็นต้น
ิ ดังนั้น การศึกษาศิลปศาสตร์จึงแบ่งความรู้ของมนุษย์ออกเป็น ๒ ประเภทคือ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์ เป็นต้น จึงเราสามารถอธิบายขยายความรู้ให้เกิดความเข้าใจได้มากขึ้นดังนี้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหลักสูตรศิลปศาสตร์
เมื่อผู้เขียนสืบสวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักสูตรศิลปศาสตร์ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษา ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ และฉบับอื่น ๆ อรรถกถาและเอกสารทางวิชาการอื่น ๆเป็นต้นฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระโอรสองค์โต ของพระเจ้าสุทโธทนะและพระราชินีมายาเทวี พระเจ้าสุทโธทนะทรงกำหนดให้พระราชโอรสของพระองค์ ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นมหาราชาทรงให้มีหน้าที่ปกครองแคว้นสักกะในอนาคต พระองค์ทรงโปรดให้พระโอรสองค์โต ได้รับการศึกษาที่ดีในหลักสูตรศิลปศาสตร์จำนวน ๑๘ วิชา จากสำนักการศึกษาครูวิศวามิตร เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาจบแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงสร้างปราสาทสามฤดู เป็นที่ประทับของพระองค์มีข้าราชบริพารและนางสนม ๔๐,๐๐๐ คนที่คอยรับใช้พระองค์ในแต่ละวัน ทรงโปรดให้เจ้าชายสิทธัตถะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิมพาแห่งราชวงศ์โกลิยะ และทรงมีพระราชโอรส ๑ องค์คือเจ้าชายราหุล เป็นต้น
ปัญหาว่า "เราจะอย่างไรว่าเจ้าชายสิทธัตถะสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์นั้นเป็นความจริง เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงดำริให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นกษัตริย์องค์ต่อไปของแคว้นสักกะ พระองค์ทรงก็บัญชาให้เจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษาด้านศิลปศาสตร์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกษัตริย์ทุกพระองค์จะต้องมีความรู้ในด้านศิลปศาสตร์นี้ ดังปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่มที่ ๒๒ พระสุตันตปิฎกเล่มที่๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๕. ปฐมปัตถนาสูตรว่าด้วยความปราถนาสูตร ข้อ [๑๓๕] ภิกษุทั้งหลายพระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์๕ ประการย่อมปรารถนาราชสมบัติ องค์ ๕ ประการ อะไรบ้างคือ คือพระราชโอรสองค์ใหญ่ของกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้
(๑) เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายพระบิดาถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหน้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
(๒) เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก
(๓) เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระมารดาและพระบิดา
(๔) เป็นที่รักที่พอใจของชาวนิคมและชาวชนบท
(๕) เป็นผู้ได้รับการศึกษาดีในศิลปศาสตร์แห่งกษัตราธิราช ผู้ได้รับมูธราภิเษกแล้ว เช่นศิลปศาสตร์เรื่องช้างม้า รถ ธนูหรือดาบ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า "เรามีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดจนเจ็ดชั่วโคตรบรรพบุรุษไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้"
จากข้อเท็จจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ได้กล่าวไว้ว่าถึงคุณสมบัติของพระโอรสองค์โต ที่ทรงประสงค์จะทรงขึ้นครองราชย์ต้องมีคุณสมบัติ ๕ ประการ กล่าวคือ ต้องมีชาติกำเนิดดี มีรูปร่างหน้าตาดีเป็นที่เลื่อมใส เป็นที่รักพอพระทัยของพระบิดาและพระมารดา เป็นที่รักของประชาชน และทรงได้รับการศึกษาดีในด้านศิลปศาสตร์ เป็นต้น เมื่อข้อเท็จจริงรับเป็นที่ยอมรับกันแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะและพระราชินีมายาเทวี พระองค์ทรงมีรูปร่างหน้าตาดี เพราะทรงมีมหาบุรุษ (มหาปุริลักษณะ) พระบิดาทรงปรารถนาให้พระโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระองค์ โดยมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองราษฎรแห่งแคว้นสักกะ พระองค์จึงทรงให้การศึกษาในด้านศิลปศาสตร์แก่เจ้าชายสิทธัตถะเป็นอย่างดี เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นกษัตริย์ในอนาคต
ผู้เขียนมีความเห็นว่าระบบการศึกษาก่อนสมัยพุทธกาล ไม่มีหลักสูตรที่ชัดเจน และไม่มีการประกาศกฎหมายบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมเหมือนปัจจุบัน จึงไม่มีอาคารเรียนและสำนักงานใหญ่โตที่เรียกว่าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เมื่อไม่มีกฎหมายรองรับเหมือนปัจจุบันนั้น สถาบันการศึกษาเป็นเพียงสถาบันขนาดเล็กและไม่มีการพัฒนานวัตรกรรมสมัยใหม่ เช่น ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาและเขียนเป็นตำราเรียน เพื่อเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ครูจึงสอนโดยใช้วิธีการแบบปากเปล่า (หรือมุขปาฐะ) ดังนั้น ความรู้ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้น ยังคงเป็นความจำที่สั่งสมอยู่ในพระทัย (จิตใจ) และติดตามชีวิตของพระองค์ไปทุกหนทุกแห่ง แม้หลังจากพระองค์ผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์ก็ทรงนำความรู้ทางโลกที่ติดตัวของพระองค์ทรงมาบูรณาการกับหลักธรรมแห่งการตรัสรู้ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในประเทศต่าง ๆ ด้วยอธิบายอธิบายและเผยแพร่ ทำให้เข้าใจง่าย จึงเป็นที่ศรัทธาของผู้คนจำนวนมาก หลังจากพระองค์ปรินิพพาน คณะสงฆ์ได้จัดตั้งสภาสังคายนาพระไตรปิฎกหลายครั้ง เพื่อรวบรวมหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ในพระไตรปิฎกหลายฉบับ เป็นต้น ในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรศิลปศาสตร์ ผู้เขียนศึกษาข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฉบับปกสีฟ้า ๔๕ เล่มว่า มีเนื้อหาสาระวิชาศิลปศาสตร์หรือไม่เพียงใด ?
๑. หลักสูตรภาษาสัตว์
เป็นวิชาว่าด้วยเสียงสัตว์ร้องเป็นวิชาศิลปศาสตร์อีกวิชาหนึ่งที่ชนวรรณะกษัตริย์ (Royal caste) ต้องศึกษา ในเวลาต่อมา มีการค้นพบหลักฐานว่า กษัตริย์มิลินท์เคยศึกษาหลักสูตรภาษาสัตว์มาก่อน ปัญหาว่าหลักสูตรศิลปศาสตร์ มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หรือไม่ เมื่อผู้เขียนใส่คำว่า "เสียงสัตว์" ในแอพพลิเคชั่นของพระไตรปิฎกออนไลน์ ผลการสืบค้นได้พบหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกที่ ๑ ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม ฑีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๒.สามัญญผลสูตร เป็นการสนทนาธรรมระหว่างพระเจ้าอชาตศัตรูกับศากยมุนีพระพุทธเจ้า ข้อ ๒๐๕ ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพผิดทางด้วยเดรัจฉานวิชา เช่น ที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกฉันโภชนาหาร ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังเลี้ยงชีพผิดทางด้วยเดรัจฉานวิชาอย่างนี้ คือการทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายดวงชะตา(โชคลาง) ทำนายความฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายผ้าหนูกัด การทำพิธีบูชาไฟ พิธีเบิกแว่นเวียนเทียน พิธีซัดแกรบบูชาไฟ พิธีซัดรำบูชาไฟ พิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ พิธีเติมเนยบูชาไฟ พิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ พิธีพ่นไฟเครื่องบูชาไฟ พิธีพลีกรรมด้วยเลือด วิชาดูอวัยวะ วิชาดูพื้นที่ วิชาการปกครอง วิชาทำเสน่ห์เวทมนตร์ไล่ผี วิชาตั้งศาลพระภูมิ วิชาหมองู วิชาว่าด้วยพิษ วิชาว่าด้วยแมลงป่อง วิชาว่าด้วยหนู วิชาว่าด้วยเสียงนก วิชาว่าด้วยเสียงกา วิชาทายอายุ วิชาป้องกันลูกศร วิชาว่าด้วยเสียงสัตว์ร้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น