โดยทั่วไปธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางกายและจิตใจ ที่มารวมกันอยู่ในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน ก่อนจะออกจากครรภ์มารดาเป็นมนุษย์คนใหม่ ในขณะยังมีชีวิตอยู่จิตใจอาศัยอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้สภาพแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ เช่นปรากฏการณ์ธรรมทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เป็นต้น เมื่อรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ แล้ว ก็จะเก็บหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง จากนั้นมนุษย์ก็จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยไม่ว่าจะเป็นจริงหรือเท็จ ที่เป็นความรู้อย่างสมเหตุสมผล เป็นต้น ตามหลักปรัชญาพุทธภูมินั้น เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น จะต้องมีหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริง ตามหลักปรัชญาถือว่าข้อเท็จจริงมีเหตุผลเพียงเล็กน้อยจึงไม่สามารถพิสูจน์ความจริงของคำตอบว่าเป็นความจริงได้ เพราะพยานบุคคลมีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง๖ ของร่างกายมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านประสาทสัมผัส และมนุษย์เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในจิตใจของตนได้ อาจมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ความจริงอย่างชัดเจน จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น
เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์และสั่งสมอยู่ในจิตใจ มักจะสูญหายไปพร้อมกับความตายของเจ้าของความรู้นั้นเพื่อรักษาความรู้ไม่ให้สูญหายไป มนุษย์จึงได้ถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ บันทึกไว้ในตำรา คัมภีร์ศาสนาและตำราปรัชญาที่เขียนโดยนักปรัชญา เพื่อใช้เป็นตำราเรียนและเอกสารทางศาสนา เป็นต้น เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ถึงความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน ซึ่งเป็นความรู้ในระดับอภิญญา ๖ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยว่า จะไม่สอนธรรมะเพื่อเผยแผ่ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและหลักปฏิบัติ ความรู้ของพระพุทธเจ้าก็จะสูญหายไปพร้อมกับการปรินิพพานของพระองค์ คนรุ่นต่อไป ไม่มีโอกาสได้ศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้นั้น สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
โดยทั่วไปคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์เรียกว่า"ขันธ์ห้า" ธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากการปฏิสนธิของดวงวิญญาณในครรภ์มารดา ทำให้เกิดปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมตัวกัน เพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับมนุษย์ใหม่ที่เกิดจากครรภ์มารดา ส่วนจิตใจหรือดวงวิญญาณ" เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปแบบ การสำแดงของจิตคือการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตและรวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ นั้น เป็นอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตใจ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆนั้นเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น
ในปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อมนุษย์พัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเอง จนสามารถสร้างอารยธรรมของตนเองขึ้นมาจากสังคมป่าเถื่อนได้ แข่งขันกันเพื่อประโยชน์ของการเป็นเจ้าของที่ดินที่จะอาศัยบนโลกใบนี้ เพื่อใช้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมในการผลิตเสื้อผ้า การผลิตอาหารและยา เมื่อปัจจัยทั้ง ๔ เพียงพอในชีวิตประจำวัน มนุษย์จะมีอิสระในการวางแผนเพื่อประโยชน์ทางสังคมมากขึ้น และแสวงหาอำนาจอธิปไตยในการปกครองประเทศ เพื่อใช้อำนาจนั้น แสวงหาประโยชน์ที่ผิดกฎหมายจากนโยบายทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่ผิดศีลธรรม และกฎหมาย เมื่อมีการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์สร้างเทคโนโลยี่ในด้านคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างสมาชิกในครอบครัว และชุมชนในสังคมด้วยการสร้างแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตสำหรับการทำงานจากที่บ้าน การทำธุรกรรมการเงินบนโทรศัพท์มือถือ การแสวงหาความสุขในการเล่นเกมส์ทั้งกลางวันและกลางคืน เห็นได้ชัดว่าทุกประเทศในโลกเข้าสู่ยุคอารยธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างแท้จริง เช่นรัฐบาลไทยได้เริ่มใช้เทคโนโลยี่อินเตอร์เน็ต เพื่อขับเคลื่อนนโยบายช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ อันเป็นสวัสดิการของรัฐ แสดงให้เห็นถึงพลังความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาความรู้ขั้นสูงเหนือสาขาอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และยกระดับคุณภาพของพลเมืองให้มีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ เข้าสู่ตลาดการแข่งขันเพื่อพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าในระดับเดียวกับประเทศอารยะทั่วโลก โดยเฉพาะทักษะการใช้เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อการเข้าถึงสิทธิในโครงการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐผ่านเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ดังนั้นการศึกษาสมัยใหม่ ส่งผลให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสนใจเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าปรัชญาและพุทธศาสนา ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ จะมีงานทำมากกว่าสาขาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาสร้างสรรค์ผลิดภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อขยายธุรกิจได้อีกด้วย จึงละเลยที่จะศึกษาปรัชญาและพุทธศาสนาโดยไม่รู้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้น แยกเนื้อหาออกจากปรัชญาและพุทธศาสนาโดยมีหลักฐานในพระไตรปิฎก แสดงวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนาและปรัชญา ใช้ในการสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เพื่อเป็นนำมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ยังเป็นปัญหาหรือน่าสงสัยอยู่ ความรู้ที่ได้จากวิธีพิจารณาความจริงจะเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผล สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง และหลักฐานได้ และวิธีพิจารณาความจริงนั้นถูกต้อง บริสุทธิ์ และยุติธรรมแก่ทุกฝ่ายได้
ด้วยเหตุนี้พราหมณ์อารยันที่ดำรงฐานะปุโรหิต จึงพยายามจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวดราวิเดียน ทั้งหมดโดยนำคำสอนของพราหมณ์ไปบัญญัติเป็นกฎหมายโดยอ้างถึงความมั่นคงของประเทศในด้านอาชีพ การศึกษา การค้าขาย และการบูชาของศาสนาพราหมณ์ในนิกายของตนเองและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเท่านั้น รัฐสภาแห่งอาณาจักรต่าง ๆได้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยแบ่งคนเป็น ๔ พวกได้แก่วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพมนุษยชาติอย่างร้ายแรงจนชีวิตพวกเขาอยู่ในความมืดมิด เพราะขาดแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพของชีวิตและอยากมีชีวิตที่ดีกว่า ต้องทำพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้าเพื่อช่วยให้มนุษย์บรรลุในสิ่งที่ปรารถนา การแบ่งวรรณะตามคำสอนของศาสนาทำให้เกิดปัญหาของการแต่งงานระหว่างวรรณะเพราะมนุษย์มีตัณหาราคะซ่อนอยู่ในจิตใจจึงขาดสติความยับยั้งช่างใจและไม่คิดถึงปัญหาที่ตามมาศึกษาปัญหาในอดีต ไม่มากพอจึงตัดสินใจใช้ชีวิตตามอำเภอใจของตนเองด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะ การแต่งงานข้ามวรรณะจึงถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมที่ตนพำนักอาศัยที่พวกตนเคยอยู่อาศัย โดยให้ขับไล่ออกจากสังคมนั้นทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับคนจัณฑาล ที่ต้องชีวิตเร่ร่อนบนสองข้างถนนในพระนครใหญ่ของแคว้นต่าง ๆ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของจัณฑาลที่ใช้ชีวิตยามชรา เจ็บป่วย ตายข้างถนน และเห็นสมณะต้องเดินทางไปหาสัจธรรมชีวิตเพื่อหลีกหนีจากปัญหาของวรรณะเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของประเทศจากความเชื่อที่สั่งสมมายาวนานและไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน พระองค์ตัดสินพระทัยเสนอร่างกฎหมายปฏิรูปสังคมเพื่อยกเลิกวรรณะเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่อย่างเท่าเทียมกัน
คำว่า "ปรัชญาในดินแดนพุทธภูมิ" คือเมื่อเราแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น ๒ คำตามคำนิยามในพจนานุกรมแปลไทย -ไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า"ปรัชญา" หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้และความจริงคำว่า ดินแดน หมายถึงขอบเขตหรือที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กันเป็นต้น ส่วนคำว่า"พุทธภูมิ" หมายถึงสถานที่หรือตำแหน่งของพระพุทธเจ้าจากคำจำกัดความดังกล่าวผู้เขียนวิเคราะห์และตีความหมายของปรัชญาแดนพุทธภูมิหมายถึง"หลักความรู้ที่เป็นความจริง"ที่มนุษย์ใช้พัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองจนบรรลุถึงความจริงในระดับอภิญญา ๖ เป็นต้น ส่วนคำว่า "ตรัสรู้" ใช้กับพระพุทธเจ้าเท่านั้นการวิเคราะห์ความหมายปรัชญาแดนพุทภูมินั้น ผู้เขียนแยกประเด็นเป็นส่วนๆได้ดังนี้๑.หลักความรู้เป็นความจริง ๒.แดนพุทธภูมิจากคำนิยามดังกล่าวเราวิเคราะห์คำว่าปรัชญาแดนพุทธภูมิ ได้ดังนี้
๑.คำว่า"หลักความรู้" ตามพจนานุกรมแปลไทย-ไทยของฉบับราชบัณฑิตยสถานคำว่า "หลัก"หมายถึงสาระที่มั่นคงไม่อาจแปรเปลี่ยนไปอย่างอื่นได้ ส่วนคำว่า"ความรู้" หมายถึงสิ่งที่สั่งสมจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับจากประสบการณ์รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟังการคิดหรือการปฏิบัติด้วยความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับจากประสบการณ์องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่นความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพจากคำนิยามเหล่านี้ เป็นต้น ดังนั้นคำว่า"หลักความรู้" จึงหมายถึงสาระมั่นคงที่มนุษย์รับรู้หรือสั่งสมผ่านอินทรีย์ ๖ เป็นความรู้ หรือสิ่งสั่งสมจาการเล่าเรียนจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้า การเข้าใจ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนคำว่า"ความจริง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตพ.ศ. ๒๕๕๔ ไม่ได้นิยามไว้โดยตรงจึงจำเป็นต้องแยกองค์ประกอบเป็นคำว่า "ความ"และ"จริง" นั้น คำว่า "ความ" หมายถึง เรื่องเช่น เนื้อความ เกิดความ แปลว่า"อาการ"หมายถึงความสุขความทุกข์คดีฟ้องกันในโรงศาล เป็นต้นส่วนคำว่า"จริง"นั้น หมายถึงเป็นอย่างนั้นแน่แท้ไม่กลับเป็นอย่างอื่นเช่นข้อความนี้ เป็นความจริงไม่เท็จไม่โกหกไม่หลอกลวงเรื่องจริงพูดจริงเป็นไปตามนั้น ความฝันกลายเป็นความจริง เมื่อนำสองคำมารวมกันแล้วเป็นคำว่า"ความจริง" มีความหมายว่า เนื้อหาสาระของเรื่องเป็นอย่างนั้นแน่แท้ไม่กลับเป็นอย่างอื่นอีก ตัวอย่างเช่น ชีวิตมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง เมื่อมนุษย์สิ้นชีวิตลงไปมีแต่ร่างกายเท่านั้น เสื่อมสลายไปคืนสู่ธรรมชาติไปส่วนจิตวิญญาณของมนุษย์มิได้เสื่อมสลายไปตามร่างกาย ที่จิตวิญญาณอาศัยอยู่แต่อย่างใดต้องออกจากร่างกายที่หมดสภาพการใช้งาน เพื่อรับรู้เรื่องราวของโลกแล้วไปจุติจิตในภพภูมิอื่น ๆ ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่มีวันสิ้นสุด ดั่งปรากฎในพยานเอกสารในพระไตรปิฎกทุกฉบับว่าเป็นความรู้และความจริงอย่างเดียวกัน เว้นแต่มนุษย์ผู้นั้นจะได้ปฏิบัติธรรม ตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ ได้ จะบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา ๖ ก็จะเข้าใจความเป็นไปของมนุษย์ทุกคนไม่ต้องกลับเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
๒.คำว่า "แดนพุทธภูมิ" มี ๒ ความหมาย กล่าวคือ คำว่าแดนหรือดินแดน หมายถึงสถานที่กำหนดไว้โดยตรง หรือโดยอาศัยความรู้กันเช่น ชายแดน ล้ำแดน ถิ่นที่ เช่น แดนเสือ แดนผู้ร้าย แต่ในที่นี้หมายถึง อาณาเขตเป็นภูมิศาสตร์ของชมพูทวีปและดินแดนอื่น ๆ ที่มนุษย์อาศัยอยู่และหลักสอนของพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปถึงดินแดนสุวรรณภูมิ ศรีลังกา เอเซียตะวันออกไกล จีนและญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่นคำว่า "พุทธภูมิ" หมายถึงในความหมายของชีวิตคือบุคคลพัฒนาศักยของชีวิตตนเอง จนกระทั่งจิตวิญญาณของพวกเขาบรรลุถึงความรู้ในระดับของพระอริยบุคคล ดังนั้นในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า "แดนพุทธภูมิ" หมายถึงดินแดนที่ผู้คนมีความศัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้นำความรู้ที่แท้จริงของชีวิตที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ (ค้นพบ) นำมาพัฒนาศักยภาพของชีวิตตามวิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ จนจิตวิญญาณของตนเองได้บรรลุธรรรมถึงความรู้ที่แท้จริงที่เรียกว่า อภิญญา ๖ ได้
เมื่อนำทั้ง ๒ คำมารวมกันแล้ว ปรัชญาแดนพุทธภูมิหมายถึงหลักความรู้ที่เป็นจริงในพระพุทธศาสนา ที่มนุษย์นำไปใช้พัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ จนจิตของผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความรู้ในระดับอริยบุคคลได้ กล่าวคือ เมื่อจิตของมนุษย์มีสมาธิ บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส อ่อนนุ่มเหมาะกับการทำงาน มีความมั่นคงและไม่หวั่นไหวต่อปัญหาต่าง ๆ เข้ามาสู่ชีวิต จิตจะบรรลุถึงความรู้ในระดับอริยบุคคล ด้วยการสำรอกกิเลสที่สั่งสมอยู่ในจิตของตัวเองในขณะเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏมายาวนานทั้งนี้ เป็นเพราะมัวเมาในรูป เสีย กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมย์อันรื่นรมย์อยู่อย่างนั้นจึงไม่รู้แจ้งแทงตลอดขอชีวิตได้ เมื่อปรัชญาคือแนวคิดของมนุษย์ในความรู้และความเป็นจริงของชีวิตของมนุษย์ทุกคนที่เกิดขึ้นในแดนพุทธภูมิหรือที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล มูลเหตุของการเกิดปรัชญาแดนพุทธภูมิ เพราะชีวิตมนุษย์ถูกครอบงำด้วยอวิชชาในความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นและลิขิตโชคชะตาของมนุษย์ด้วยการแบ่งมนุษย์ออกเป็น ๔ วรรณะ ให้แต่ละวรรณะมีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามที่พระพรหมกำหนดไว้ เมื่อวรรณะกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ประกาศพระบรมราชโองการแห่งพระพรหม ให้ประชาชนชาวแคว้นสักกะทราบกันโดยทั่วไปในแคว้นสักกะนั้น กลายกฎหมายจารีตประเพณีทันที และมีผลบังคับใช้แก่ประชาชนทั้งแคว้นสักกะทำให้แคว้นสักกะชนบทกลายเป็นรัฐแห่งศาสนาพราหมณ์ ตั้งแต่บัดนั้นมา การเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ทำให้เกิดปัญหาคนไร้วรรณะเพราะการแต่งงานข้ามวรรณะ ถูกจำกัดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพ กลายเป็นคนไร้บ้านใช้ชีวิตสองข้างทางถนนในเมืองใหญ่ พระนครกบิลพัสดุ์เพราะมีฐานะยากจน มีปัญหาสุขภาพอนมัยมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนตลอดเวลาและถูกพรหมณ์จากบุคคลในครอบครัวและคนในสังคมที่ตนพำนักอาศัยในหมู่บ้านแห่งนั้น
จนกระทั่งเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมชาวพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงพบเห็นปัญหาคนจัณฑาลได้รับความลำบากเพราะมีฐานะยากจนมีปัญหาของสุขอนามัย ใช้ชีวิตคนไร้บ้าน แม้ในยามตนชรา ยามตนเจ็บป่วยไข้และยามตายบนสองข้างถนนเสด็จพระดำเนิน ไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐสภาศากยวงศ์มีหน้าที่ปกครองประเทศ เพราะถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจารีตแบ่งชั้นวรรณะและความเชื่อในพระพรหม ควรได้รับการลงโทษจากสังคมด้วยการลงพรหมทัณฑ์ด้วยการขับไล่ออกจากสังคมนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงระลึกถึงปัญหาของรัฐสักกะนี้และพิจารณาว่าการตรากฎหมายจารีตประเพณีแบ่งวรรณะทำให้คนจัณฑาลถูกจำกัดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพ การศึกษาปรัชญาศาสนาพราหมณ์ และการประกอบพิธีบูชายัญต่อเทพเจ้าที่ตัวเองนับถือไม่ได้รับความยุติธรรมในสังคม เพราะถูกเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติของธรรมของกษัตริย์ซึ่งเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ เรียกว่าหลักอปริหานิยธรรม และมีบทบัญญัติห้ามยกเลิกกฎหมายวรรณะที่บัญญัติไว้ดีแล้ว ดังนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสนอการปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ ด้วยการตรากฎหมายยกเลิกการแบ่งวรรณะในแคว้นสักกะต่อรัฐสภาศากกยวงศ์แต่รัฐสภาศากยวงศ์มิได้อนุมัติการปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน ทรงนำปัญหาเรื่องวรรณะกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่า เห็นว่าในอนาคตข้างหน้า แม้พระองค์จะทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาศากยวงศ์ต่อจากพระราชบิดาก็คงปฏิรูปสังคมไม่สำเร็จเช่นเดิม เมื่อทรงดำริได้เช่นนี้แล้วพระองค์พิจารณาควรจะทำอย่างไรต่อไป ทรงตัดสินพระทัยออกบวชเพื่อหาความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์ว่าเป็นไปตามพระพรหมลิขิตจริงหรือไม่ หากตรัสรู้ความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนแล้ว จะเอาเหตุผลของคำตอบในความรู้และความเป็นจริงของมนุษย์นั้น เพราะพระองค์ทรงสัยในความแก่ชรา ความเจ็บป่วยไข้และความตายของมนุษย์ หากพระพรหมลิขิตทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจริงแล้ว คงสร้างชีวิตมนุษย์เป็นอมตะไม่ต้องเกิดแก่ เจ็บ และตายอย่างที่เห็นในทุกวันนี้
ดังนั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกเผชิญโลกกว้างเพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับความจริงของชีวิต ที่มีความสมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนตัดสินใจเขียนบทความเรื่อง"ปรัชญาพุทธภูมิ" ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานการธรรมในอินเดียและเนปาลครั้งก่อน ผู้เขียนจึงสงวนข้อมูลและความรู้ที่ได้ใช้บรรยายไว้แก่ผู้แสวงบุญ เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไป และเขียนตามแนวคิดของปรัชญา โดยตั้งข้อสงสัยในความคิดเห็นในเรื่องที่ได้ยินมาก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ พระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ต่าง ๆ และพยานในอนุสรณ์โบราณสถานต่าง ๆ ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การเผยแผ่ของพระพุทธเจ้า และเมืองสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีการระบุอย่างชัดเจนในแผนที่โลกของ Google Map บทความเชิงวิเคราะห์จะเป็นความรู้พื้นฐานแก่พระธรรมวิทยากร กระบวนการคิดและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานในเอกสารหลักฐานในพยานเอกสาร พยานบุคคล และพยานวัตถุ จะเป็นแนวทางให้นิสิตระดับปริญญาเอก เพื่อให้ผลการวิจัยระดับปริญญาเอกทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ผลของการวิจัยเป็นความรู้ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในข้อเท็จจริงและทฤษฎีความรู้อีกต่อไป เพราะผู้วิจัยสามารถอธิบายหลักการได้และแนวทางที่มีเหตุผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและสอบป้องกันได้ เป็นต้น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น