The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : เราเป็นที่พึ่งของผู้อื่น (We are the refuge of others.)

Buddhaphumi's philosophy: We are the refuge of others

บทนำ

          โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ทุกคนต่างมีความปรารถนาอยู่ในจิตใจ เมื่อจิตใจใช้อายตนะภายในของร่างกายรับรู้ความปรารถนาทางวัตถุ เช่น รถยนต์ บ้านพร้อมที่ดิน  โทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่  หรือสิ่งที่มนุษย์สมมติขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่าง ๆเช่น ตำแหน่งนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น เมื่อเยาวชนเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ ก็เกิดแรงบันดาลใจแสวงหาตำแหน่งเหล่านั้นเพื่อสนองความต้องการของตน 

         แต่เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง  ทุกคนที่เกิดมาก็ต้องตาย เป็นกฎธรรมชาติที่มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้    เมื่อมีชีวิตอยู่บนโลกนี้  จิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายในการรับรู้กิเลสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและสั่งสมเป็นอารมณ์กิเลสในจิตใจ แล้วจึงใช้อารมณ์เหล่านั้นปรุงแต่ง และสร้างความปรารถนาในอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เช่น อยากได้ตำแหน่งในอาชีพที่ใฝ่ฝัน  การทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาทำให้คนมีคุณค่าในตัวเอง อย่างไรก็ตาม หลายคนทำเพื่อเงิน  เมื่อเริ่มทำงานก็มักไม่ใส่ใจงาน ขาดความความมุ่งมั่นให้บรรลุผล ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน จึงไม่ค่อยมีความภาคภูมิใจในงานที่ทำ  

        สาเหตุที่ทำให้ผู้เขียนได้ตัดสินใจเขียนปรัชญาแดนพุทธภูมิไว้เป็นความทรงจำในชีวิต  เมื่อทุกคนเติบโตตามวัยและการศึกษาควรมีอาชีพที่ก้าวหน้า และเติบโตไปพร้อม ๆ กัน เพราะงานคือคุณค่าของชีวิตให้ผู้คนยอมรับซึ่งกันและกัน  เป้าหมายในชีวิตของทุกคน คือ การประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน การทำงานเป็นกิจกรรมที่เราต้องทำตลอดเวลา เพื่อแสดงศักยภาพของเราหรือพลังที่ซ่อนเร้นในชีวิต เพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าเรามีทักษะในการใช้ความรู้  แสดงความสามารถในการทำงานและมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ทำให้ผู้อื่นรู้ว่าตนมีเกียรติและมีฐานะน่าเคารพในสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 

        แม้ว่ามหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู  จะเป็นมหาวิทยาลัยของศาสนาฮินดู แต่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติของรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐอินเดีย แม้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยจะเน้นปรัชญาศาสนาฮินดู วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แต่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็เน้นการศึกษาพระพุทธศาสนา  โดยเปิดหลักสูตรบาลีและการศึกษาพุทธศาสนา  ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในภาควิชาปรัชญาและศาสนา ของคณะศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู  ต้องคำนึงว่ารัฐบาลอินเดียให้ความสำคัญต่อการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา  เพราะพุทธศาสนาเป็นภูมิปัญญาของชาวอินเดีย   ที่ได้เผยแผ่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก จนหยั่งรากลึกลงในจิตวิญญาณของชาวพุทธทั่วโลก จนกลายเป็นคำมั่นสัญญาในจิตใจ และชาวพุทธในดินแดนนั้น   ก็ได้นำแนวคิดเรื่อง พุทธศาสนาไปสร้างสรรค์วัตถุทางศาสนาที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทจนกลายเป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา สร้างรายได้จำนวนมหาศาลทุกปี 

        เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวนับล้านคน เดินทางมายังสาธารณรัฐอินเดีย เพื่อสร้างงานให้คนในท้องถิ่น มีรายได้ดูแลศาสนสถาน จัดที่พักให้   ดูแลความปลอดภัยแก่ผู้แสวงบุญ และพัฒนาศักยภาพของผู้คนในศูนย์ปฏิบัติธรรม  ให้มีจิตใจมั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิตและไม่หวั่นไหวต่อการปฏิบัติต่อผู้อื่น ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ สามารถคิดเพื่อแก้ไขอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้  สามารถพึงพาตนเองได้ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าใครจะมีเหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในแง่บวกหรือลบก็ตาม  แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งภูมิปัญญาของชาวอารยันที่กำเนิดในสาธารณรัฐอินเดีย ควรได้รับการรักษาไว้ สืบสาน และต่อยอดความรู้ของพระพุทธศาสนาอันเป็นสมบัติของมนุษยชาติ ควรนำมาใช้พัฒนาศักยภาพชีวิตมนุษย์ทุกคน ให้มีความเจริญทางปัญญาให้มากยิ่งขึ้นไป  

           ในปี พ.ศ.๒๕๔๕  ผู้เขียนได้เดินทางมาศึกษาที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู  ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ส่วนป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐม เทศนานั้นอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัย ที่ผู้เขียนศึกษาอยู่ประมาณ ๑๗.๖ กิโลเมตร   ปัจจุบันกองโบราณคดีของอินเดียเรียก "ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน "ว่า"วัดพระพุทธเจ้า" เนื่องจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วกว่า ๒๕๐ ปี   พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างวัดพระพุทธเจ้าและสร้างเจดีย์ธัมเมฆสถูปขึ้น เพื่อรักษาสถานแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า และเกิดดวงเห็นธรรมของพระอัญญาโกณทัญญญะไว้ เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกสืบสานการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ไว้และสามารถบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ได้ เป็นต้น

      สถานที่แสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าแก่พระปัญจวัคคีย์นั้น เมืองพาราณสีได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น ๑ ใน ๔ เมืองแห่งสังเวชนียสถาน ที่พระพุทธองค์ทรงโปรดให้พุทธบริษัท ๔ เดินทางไปแสวงบุญเป็นประจำทุกปี เป็นเมืองที่ให้โอกาสผู้เขียนได้รู้คุณค่าของชีวิตตนเองต่อผู้อื่นได้ใช้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ผู้เขียนรับรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมในจิตใจ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายปี เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความจริงให้แก่ผู้แสวงบุญชาวพุทธไทย และนานาชาติฟังในสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนามาก่อน   ผู้เขียนรู้สึกมีความสุขทุกครั้ง ที่ได้ทำงานรับใช้พระพุทธเจ้าในเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔  แห่ง และที่ทำงานที่ยิ่่งใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งไม่มีขีดจำกัด การเดินทางแสวงบุญไปเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่ง มีระยะทางไม่น้อย ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ต้องใช้ทั้งความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจต่อสู้กับความเหนื่อยล้าเพื่อบรรยายวิชาพระพุทธศาสนาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 
     
          หากผู้เขียนไม่ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดูซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาด้านปรัชญาและศาสนา ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนกำเนิดของพระพุทธศาสนา    อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ  สาธารณรัฐอินเดีย   ผู้เขียนคงไม่มีโอกาสได้เรียนรู้วิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกหลายฉบับทั้งเถรวาทและมหายาน เป็นต้น แม้ว่าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ นั้น  จะเป็นการเผยแผ่แก่ผู้แสวงบุญชาวไทยด้วยกันก็ตาม  แต่ก็เป็นการรักษาศรัทธาของชาวไทยพุทธในองค์พระพุทธเจ้าให้มีความศรัทธามากยิ่งขึ้น  ส่วนผู้ที่ยังไม่ศรัทธานั้น เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาก็จะมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้ในกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ซึ่งมีจิตวิญญาณเป็นแก่นสารของชีวิต   ซึ่งมนุษย์ทุกคนอยู่ภายใต้กฏธรรมชาตินี้  จิตก็จะรับผลของกรรมที่ตนทำไว้ เป็นสัญญาอยู่ในจิตนั้นและจะฟุ้งซ่านเป็นมโนภาพในใจตลอดไป  จนกลายเป็นนิวรณ์ คือ เครื่องกีดขวางไม่ให้เราบังคับจิตให้ปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘  เป็นต้น


          การแสวงบุญในเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ เมือง คงไม่ต่างจากการไปเที่ยวชมโบราณ ทิวทัศน์  ภูเขา แม่น้ำเลย หากผู้แสวงบุญเดินทางไปยังเมืองศักดิ์สิทธิทั้ง ๔ แห่งนั้นไม่ได้สวดมนต์บูชาคุณของพระพุทธเจ้า และฟังพระธรรมศาสนาในขณะนั่งสมาธิแล้ว ย่อมมองเห็นค่าของชีวิตตนเองตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  เป็นเสน่ห์อันน่าหลงใหลที่น่าประทับใจของผู้แสวงบุญ ในครั้งหนึ่งที่ตนเองเคยมาปฏิบัติบูชาที่สถานสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และการปฏิบัตินี้ทำทุกครั้ง ไม่ว่าเราจะก้าวสู่สถานที่แสดงปฐมเทศนา  สถานที่ตรัสรู้  สถานที่ปรินิพพานและสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เพื่อรักษาพระธรรมวินัย สืบสานการปฏิบัติธรรมมรรคมีองค์ ๘  และต่อยอดวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าด้วยการบูรณาการกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ 

         การเดินทางมาปฏิบัติบูชาที่เมืองศักดิ์สิทธิทั้ง ๔ แห่งทำให้ เราได้เห็นการทำงานอย่างหนักของมูลนิธิพระพุทธศาสนาทั่วโลกในการนำพระพุทธศาสนากลับสู่บ้านเกิดเมืองของพระพุทธเจ้าซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู มีวิธีการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านองค์กรการกุศลต่าง ๆ เช่น การแจกสิ่งของบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำ การมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนยากจน เป็นต้น ในอดีต ผู้เขียนมองเห็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทยจากการเทศนาของพระสงฆ์ในวัดการทำบุญตามบ้านเรือนผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์บ้างและครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่การเทศนาในประเทศไทยได้รับการยกระดับขึ้นสู่ระดับนานาชาติ ในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล โดยการบรรยายตามสถานที่ต่าง ๆ ในดินแดนพระพุทธศาสนา 

       การที่ผู้เขียนได้มีส่วนร่วมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๔ แห่งมาเป็นเวลานานหลายปี  ถือเป็นการสร้างบุญบารมีให้สั่งสมไว้ในจิตใจของตนเองและได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างปัญญาให้แก่ผู้แสวงบุญชาวไทยพุทธ โดยการพัฒนาศักยภาพชีวิตให้มีความเข้มแข็ง  มีจิตใจบริสุทธิ์ ปราศจากความโศกเศร้า มีสติระลึกรู้ถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านอายตนะภายในและสั่งสมไว้ในจิตใจของตน สามารถคิดใช้ความรู้ที่ติดตัวนั้นเป็นหลักพิจารณาเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ด้วยสติปัญญาของตนเอง ทำให้เห็นวิธีการใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนาเป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติบูชาในแดนพุทธภูมินั้น ซึ่งสร้างความศรัทธาให้แก่ผู้แสวงบุญมากขึ้น เพราะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

       การที่ผู้เขียนศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยบันนารัสฮินดู ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ตั้งอยู่ในอำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย  ซึ่งเป็นเมืองกำเนิดพระพุทธศาสนาและสถานที่ทีพระพุทธเจ้าศากยะมุนีทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก ทุกปีมีผู้แสวงบุญชาวไทยจาริกแสวงบุญไม่ต่ำกว่า ๑๕,๐๐๐ คนมาเยี่ยมเมืองนี้ เพราะเป็น ๑ ใน ๔ สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ที่พระองค์ทรงโปรดให้ชาวพุทธทั่วโลก  มาปฏิบัติบูชาสักอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต การมาพำนักในอำเภอพาราณสี  ถือเป็นเมืองแสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะเป็นสถานที่แสดงพระธรรมเทศนาซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ สถานศักดิ์สิทธิ์อย่างน้อยปีละครั้ง 

        แม้ค่าธรรมเนียมการเข้าชมสถานที่แสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรกใน ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ อยู่ที่คนละ ๑๐๐ รูปี  แต่ถือเป็นโอกาสหนึ่งในชีวิตของผู้เขียนที่ควรทำ  เพราะการเดินทางไปสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกนั้นเป็นเรื่องยากหากไม่มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า  ค่าเดินทางค่อนข้างแพง   ห่างจากหอพักที่ผู้เขียนพักอยู่ในมหาวิทยาลัยบาณารัสเพียง ๑๕ กิโลเมตร และก่อนเข้าพรรษา ๑ วัน ผู้เขียนและนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอก   จะไปปฏิบัติบูชาที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก เนื่องในวันอาสาฬหบูชาทุกปีที่ธัมเมฆสถูป ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระปัญจวัคคีเกิดดวงตาเห็นธรรม   ทำให้ผู้เขียนได้เรียนรู้การปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถาน และรู้ขอบเขตเนื้อหาของพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการบรรยายในสถานที่นั้น ๆ  เป็นต้น 

       ดังนั้นในช่วงเวลาที่ว่างจากการเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู เมืองพาราณสี จึงได้มีโอกาสรับบทบาทเป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยได้ไปบรรยายในสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยฟัง และใช้เวลาปฏิบัติธรรมร่วมกับผู้แสวงบุญเป็นประจำ เพราะถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของชีวิต การได้แบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ชีวิตเกี่ยวกับการแสวงบุญนั้น ลงบนในBloggerส่วนตัวของผู้เขียน นั้น ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และสร้างบุญให้สั่งสมไว้ในจิตใจของตนตลอดไป เป็นผลงานที่ทำให้เรารู้จักคุณค่าของชีวิตตนเอง เป็นต้น
   

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ