The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : เมืองธาตุพนม

คำสำคัญ เมืองธาตุพนม วัดพระธาตุพนม 

๑.บทนำ

       ธาตุพนมเป็นเมืองโบราณขึ้นอยู่กับอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ตัวอำเภอธาตุพนมในยุคปัจจุบัน ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทิศตะวันตก อำเภอธาตุพนมมีศาสนสถานที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาทคือพระธาตุพนมเชื่อกันว่าเป็นธาตุที่สร้างขึ้นมาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได ๘ ปี   เป็นเมืองมีชื่อเสียงมีการบันทึกเป็นหลักฐานปรากฎชื่อไว้หลายแห่ง  อยู่ในพงศาวดารของไทยและลาวมายาวนานในอดีตของเมืองธาตุพนม มีเจ้าเมืองทำหน้าที่ว่าราชการ ดูแลทุกข์สุขประชาชนชาวธาตุพนมติดต่อกันมาหลายร้อยปี     ในยุคต่อมาเมืองธาตุพนมกลายเป็นอาณาจักรสยามส่วนหนึ่งของประเทศไทย    ในสมัยปัจจุบันได้มีการตรากฎหมายเป็นพระราชบัญญัติได้ยกฐานะเมืองธาตุพนม  เป็นอำเภอธาตุพนมขึ้นอยู่กับจังหวัดนครพนมอำเภอธาตุพนมตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำโขงด้านตะวันตก เป็นอำเภอที่เป็นบ้านเกิดของผู้เขียนในช่วงที่โยมพ่อได้รับราชการเป็นครูตรีที่โรงเรียนธาตุพนม ก่อนจะย้ายไปเป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนอุเทนพัฒนา  อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ พระธาตุพนมได้ทรุดตัวลงพระธาตุพนมได้รับความเสียหายมากผู้เขียนจึงได้มาเยือนอำเภอธาตุอีกครั้งหนึ่งและต่อมาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๖ผู้เขียนได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา ในช่วงเวลาเข้าพรรษา พระอุปัชฌาย์ได้นำพระภิกษุใหม่มาสักการะบูชาพระธาตุพนม และฉันได้เดินทางมาที่พระธาตุพนมอีกหลายครั้ง ก่อนฉันเดินทางต่อไปไปยังจังหวัดสกลนคร.
   
                          ในปัจจุบัน เมืองธาตุพนมเป็นเมืองที่เงียบสงบผู้คนอาศัยอยู่ไม่น้อยมีความเจริญรุ่งเรืองมากน้ำท่าอุดมสมบูรณ์มากเพราะติดกับแม่น้ำโขงในแต่ละปีจะมีเดินทางผู้มาท่องเที่ยวมากราบไหว้บูชาพระธาตุพนมด้วยอามิสบูชาปีละหลายล้านคนมีหลายคณะเดินทางธุองค์มาเพื่อรักษาวิถีความงดงามของวัตรปฏิบัติของพระพุทธเจ้าได้ เพื่อฝึกฝนและขัดเกลาตนเองทนทานต่ออารมณ์โลกมิให้ปล่อยใจตนเองได้หลั่งไหลไปตามอารมณ์กิเลส ซึ่งเป็นวัตถุแห่งกิเลสที่ทำให้จิตของตนมีความอยากตลาดเวลาเพราะเมื่อผิดหวังไม่ได้ครอบครองทำให้ใจตนเกิดความทุกข์การฝึกจิตเป็นการพัฒนาศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของชีวตมนุษย์ หากผู้เขียนเล่าเรื่องเกี่ยวกับอำเภอพระธาตุพนมในแง่มุมประวัติศาสตร์ให้ผู้คนต้องการความรู้สามารถนำไปเล่าขณะเดินทางทำให้การเดินทางท่องเที่ยวมีสีสรรค์และไม่น่าเบื่อก็จะเป็นประโยชน์การพัฒนาวัดวาพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้นไปโดยเฉพาะการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการในกฎธรรมชาติของกฎไตรลักษณ์เข้ากับวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งศาสตร์สมัยใหม่ได้เป็นอย่างดีเมืองธาตุพนมแห่งนี้ เป็นเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนอยากมาอามิสบูชาด้วยดอกบัวและดอกดาวเหลืองทุก ๆ วันจะเต็มไปด้วยผู้คนเดินทางด้วยศรัทธาไม่เคยขาดสาย..... 

         ในแง่ที่มาของความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่เรียกว่า ทฤษฎีความรู้ประสบการณ์นิยม ผู้เขียนได้ศึกษาจากการอ่านตำราประวัติศาสตร์ที่สั่งสมเรื่องราวของมนุษย์ซึ่งเป็นความจริงทางอภิปรัชญาอย่างหนึ่ง มนุษย์ที่ประกอบด้วยกาย(รูป) จิต เจตสิก และนิพพานบริเวณอำเภอธาตุพนมที่เคยเป็นที่ของอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตในช่วงพุทธศักราชที่ ๑๙   ได้มีการรวบรวมเอาดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง เข้าด้วยกันขึ้นเป็นราชธานี 


ในภาพข้อสันนิษฐานในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียน 

     แนวคิดทางประวัติศาสตร์ ถนนเส้นนี้ยาวประมาณ ๖๐๐ เมตรจากแม่น้ำโขงมุ่งตรงไปสู่พระธาตุพระพนม  มีตามพงศาวดารเวียงจันทร์ ประวัติศาสตร์เล่าว่า เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๙ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์,  พระยาจันทรสุริยวงษ์ (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร, พระบรมราชา (สุตตา) เจ้าเมืองนครพนมได้ร่วมกันสร้างถนนและสะพาน(ขัว) จากริ่มฝั่งแม่น้ำโขงเข้าไปสู่องค์พระธาตุพนม (๑)  ส่วนคำว่าขัวหมายถึงสะพาน ตรงหน้าวัดพระธาตุพนมอนุมานจากบริเวณทางเข้าพระธาตุทางทิศตะวันออกมีสระอยู่ ๒ แห่ง พอจะอนุมานได้ว่า ตรงนี้เคยเป็นแอ่งน้ำมาก่อน พอทำให้ย้อนหลังภาพเรื่องราวไปเมื่อ ปี ๒๓๔๙ได้.

     ถนนหน้าองค์พระธาตุพนมวรวิหารส้นแบ่งเขตการปกครองของเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร    โดยให้ทั้งสองเมืองดูแลองค์พระธตุพนมร่วมกันผู้คนพลเมืองรอบ ๆ องค์พระธาตุพนม ถือว่าเป็นข้าโอกาส(ข้าทาสบริวารขององค์พระธาตุพนมซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียส่วย(ภาษี, อากร)แต่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานและทำสิ่งของเช่น ทำอิฐ ปูน ขนกรวด ขนทรายจากแม่น้ำโขงมาใช้บูรณะปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างศาสนวัตถุเพิ่มเติม  

บรรณานุกรม
(๑) สุรจิต จันทรสาขา, เมืองมุกดาหาร......

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เพื่อพระพุทธศาสนา ครับผม

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ