The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : พระธาตุศรีคุณ (Sri Ckun Relic Stupa)

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : พระธาตุศรีคุณ (Sri Ckun Relic Stupa)

๑.บทนำ

         วัดธาตุศรีคุณ  ตั้งอยู่ในอำเภอนาแก  จังหวัดนครพนมบทความความเกี่ยวกับวัดธาตุศรีคูณแห่งนี้ บางส่วนผู้เขียนศึกษาและคัดลอกมากโบว์ชัวร์คำแนะนำเกี่ยวกับพระธาตุศรีคูณ  เพื่อเผยแผ่พระศาสนา มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้แต่งแต่อย่างไร จึงขออภัยมิได้แจ้งให้ทางวัดทราบมีการศึกษาประวัติศาสตร์เพิ่มเติมในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงทำให้ภาพของเรื่องราวในดินแดนแถบนี้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นผู้เขียนใช้วิธีการเขียนเชิงวิเคราะห์ ด้วยการอนุมานความรู้ตามหลักวิชาญาณวิทยา ที่ใช้สอนอยู่เป็นประจำอันเป็นที่มาของความรู้น่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษารอยต่อของประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดีน่าจะเป็นประโยชน์การศึกษาของผู้ต้องการศึกษา หากมีคำชี้แนะแนะความถูกต้องประการใดหรือมีหลักฐานเชิงประวัติศาสตร์ใดมาแนะนำผู้เขียนพร้อมที่จะรับฟังเพื่อเป็นการศึกษาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป  


        ๒.ประวัติวัดธาตุศรีคุณ 

       ตั้งอยู่ในวัดร้างไม่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาแต่อย่างใดไม่ปรากฎหลักฐานของการบันทึกไว้แต่อย่างใด บริเวณที่พบเดิมตั้งอยู่ในเขตเรียกว่า อำเภอเมืองหนองสูง ต่อมาเปลื่ยนเป็นอำเภอหนองและต่อมาเรียกว่า อำเภอนาแก ในปัจจุบันนี้ เมื่อประมาณ ๒๓๔๐ - ๒๓๖๐ พระธาตุศรีคุณถูกค้นพบเป็นเจดีย์ขนาดกลางเก่าขนาด ๑๒ เมตรตั้งอยู่กลางป่าก่อสร้างด้วยอิฐมอญโบราณกับปูนขาว ในช่วงแม่น้ำโขงน่าจะเออขึ้นมาท่วมดินแดนแถบนี้ มีป่าไม้อุดมสมบรูณ์มากเพราะโคลนตมพื้นดินอ่อนยวบทำให้เจดีย์เอียงเอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และตรงกลางเจดีย์จะมีโคลนตมเกาะอยู่ มีรูปร่างลักษณะคล้ายพระธาตุพนมมากมีลักษณะเป็นศิลปะล้านช้างที่แผ่อิทธิพลมา ถึงบริเวณแห่งนี้เพราะดินแดนแถบนี้เรียกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งอาณาเขตประเทศลาวทั้งหมดเคยอยู่ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้างโบราณ มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว   ตามประวัติศาสตร์เล่ากันว่าเมื่อประมาณปี ๒๓๔๐ ชาวภูไทวังและชาวภูไทกะโป ที่หนีอพยพสงครามจากฝั่งประเทศลาวข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขงช่วงนั้น การวิเคราะห์แง่ประวัติศาสตร์ในทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนวิเคราะห์เหตุการณ์ เพื่อต่อยอดความรู้ได้น่าจะเป็นสงครามอาณาจักรล้านช้างทำให้ดินแดนประเทศลาวปัจจุบันในสมัยโบราณได้ถูกแบ่งเป็น ๓ อาณาจักรด้วยกันคือ

          (๑)อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์ 
          (๒)อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ 
          (๓)อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง 

            ในช่วงประมาณปี ๒๓๔๐ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ ได้ยกทัพจากเมืองเว้ ของประเทศเวียดนามไปโจมตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์หรืออาณาจักรศรีสัตตนาคณหุต คือประเทศลาวภาคกลาง ในบริเวณแขวงคำม่วนปัจจุบัน ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งน่าจะเป็นชาวภูไทวังและภูไทกะโปที่อยู่อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทร์ ซึ่งรวมดินแดนของอาณาเขตของศรีสัตนาคณหุตไปด้วย เมื่อบ้านเมืองเกิดสงครามขึ้นเพื่อแย่งดินแดนมาปกครอง ผู้คนและทรัพย์สินต่างๆ โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่๒ ยกทัพจากเมืองเว้ของประเทศเวียดนามมาโจมตีอาณาเขตแห่งนี้ ประชาชนพากันหนีภัยสงครามข้ามฝั่งแม่น้ำโขงทิศตะวันตกของประเทศไทยในบริเวณเขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันด้วยในบริเวณเดียวกัน ได้มีการค้นพบศาลเจ้าพ่อหลักเมืองซึ่งทำด้วยท่อนซุง ไม้เนื้อแข้งขนาดใหญ่ อยู่ในบริเวณเดียวกันเมื่อเดินสำรวจรอบ ๆ เห็นว่าเป็นแผ่นดินที่มีชัยภูมิเหมาะสำหรับสร้างบ้านแปงเมืองและได้อพยพผู้หนีภัยสงครามมาด้วยกัน พากันสร้างที่อยู่อาศัยถากถางแผ่นดินทำที่เพาะปลูกทำมาหากิน หลังจากตั้งบ้านเรือนมีอยู่อาศัยเป็นการถาวรแล้วก้ได้พากันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นมา จัดสร้างกุฎิ หอฉันจากไม้ที่มีอยู่ตามป่าตามเขาในช่วงแรกไม่มีพระภิกษุในพระพุทธศาสนามาจำพรรษาอาศัยแต่อย่างใด.

           ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๖๙เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ก่อกบฏต่ออาณาจักรสยามมีรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เป็นกษัตริย์ปกครองเจ้าอนุวงษ์ยกกองทัพล่วงเลยไปถึงเมืองนครราชสีมา แล้วกวาดต้อนผู้คนไปยังเมืองเวียงจันทร์  เช่นเจ้าเมืองเมืองกาฬสินขัดขืนถูกจับประหารชีวิต [๑]ประเทศสยามได้ส่งทหารมาปราบกบฏอย่างรุนแรงทำให้ชาวล้านช้างเวียงจันทร์ อพยพหนีสงครามมาสู่ประเทศไทยจำนวนมากผู้อพยพเหล่านี้มาจากเมืองกาวะ เขตเมืองมหาชัย แขวงคำม่วนหรือเมืองศรีสัตยาคณหุต ในการเดินทางมาครั้งนี้ มีนานสาน นายโคตรประทุม นายศรีวัฒน์ พระอาจารย์ลี  พระอาจารย์โสภา เป็นต้น   

            ๓.ความหมายของของวัดธาตุศรีคุณ   เพื่อให้คำนิยามมีความทันสมัยมากขึ้น และเหมาะสมกับการศึกษายุคใหม่ขอใช้คำนิยามจากพจนานุกรมไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถานเป็นหลักในการอธิบาย 
บรรณานุกรม
(๑)  สุรจิตต์ จันทรสาขา. เมืองมุกดาหาร หน้า๕.     

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับผม

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ