The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ปรัชญาแดนพุทธภูมิ : บทนำ นักษัตร

๑.บทนำ
   
           การแสวงบุญไปยังดินแดนต่างๆ ที่พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่หลักธรรมและคำสอนเพื่อให้ผู้คนในดินแดนต่างๆ นั้นได้พัฒนาศักยภาพชีวิตให้มั่นคงและไม่หวั่นไหวกับปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  โดยใช้วิธีการมรรคมีองค์แปด  จนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖   เป็นต้น การเผยแผ่คำสอนของพระพุทธศาสนาทำให้เกิดวัดในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นสถานศึกษาของปฏิบัติธรรม    เพื่อบรรลุถึงความรู้อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ต่อไปที่เรียกว่า "อภิญญาหก" เป็นต้น เมื่อมีการสร้างศาสนวัตถุไว้เป็นพุทธสถานหลายแห่งสร้างเมื่อศึกษาจากเวปไซร์ต่างๆ ก่อนเดินทางไหว้พระธาตุในไทย และพม่ามักจะมีการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับพระธาตุองค์นั้นเป็นพระธาตุประจำปีจอ ปีกุนบ้างและปีอื่น ๆ บ้างแล้ว แต่ผู้เขียนในเวบไซต์นั้น ๆ คิดอ้างหาเหตุผลว่า    เมื่อไปไหว้แล้วเป็นมงคลชีวิตอย่างไร ได้อะไรจากไปอามิสบูชาพระธาตุนั้น      ผู้เขียนบางท่านอาจให้เหตุผล  ก่อนจะมาเกิดมนุษย์นั้น      จิตวิญญาณผู้นั้นเคยอาศัยอยู่ในที่ตรงนั้น ตรงนี้มาก่อนเกิดเป็นมนุษย์ เราควรจะเข้ากราบไหว้บูชาพระธาตุนั้นเพื่อความมงคลแก่ชีวิตตน    

            เมื่อใช้คำว่า "นักษัตร" ค้นหาความหมายหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องงานเผยแผ่ของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ บันทึกว่า ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระภิกษุได้ออกธุดงค์ถูกพวกโจรทำร้าย เนื่องจากสอบถามพระภิกษุเหล่านั้นว่าฤกษ์อะไร  ทิศอะไร ก็ไม่รู้เรื่อง พวกโจรเห็นว่าไม่มีความรู้ในเรื่อง "นักษัตร ไม่รู้ทิศทำให้คิดว่าเป็นพวกโจรด้วยกันและเข้าทำร้ายแล้วจากไปทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า คำว่า นักษัตรคืออะไร 

            ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นผู้เขียนตัดสินใจศึกษาเรื่อง นักษัตรในพระไตรปิฎกโดยวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบจากที่มาของความรู้และความจริงจากพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกและเอกสารอื่น ๆ เป็นต้น  คำตอบที่ได้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ธรรมวิทยากรและผู้ชอบศึกษาเชิงปรัชญา  กระบวนการคิดวิเคราะห์น่าจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา ในวิจัยหาความรู้และความจริงปราศจากข้อสงสัยต่อไป  

 ๒.ที่ของความรู้ของคำว่า นักษัตร 

             ๒.๑ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ๒๕๕๔ ตามเมื่อแยกวิเคราะห์ โดยศึกษาจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน ๒๕๕๔ คำว่า นัก แปลว่า คน       เมื่อกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นปกติ เรียน  ก็เรียกว่านักเรียน  ชอบดื่มเหล่าเป็นประจำว่านักดื่ม  ฯลฯ เป็นต้นอีกความหมายหนึ่งอย่างยิ่งหรือนักไปทางใดทางหนึ่งเป็นต้น  ส่วนคำว่า นักษัตร แปลว่าดาว  อีกความหมายหนึ่งคือรอบ ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ หรือ ๑๒ นักษัตรโดยใช้สัตว์ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ เป็นต้น ในสัตว์แต่ละตัวก็มีแนวโน้มความชอบในการความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ตามจริตของตนเอง  เมื่อเอาคำนิยามทั้งหมดมารวมกันแล้ววิเคราะห์ได้ว่าคนเกิดปีนักษัตรใดก็จะมีแนวโน้มของจริตของตนเองตามนิสัยของสัตว์ประจำปีที่ตนเกิดนั้น เมื่อรู้ว่าตนมีจริตอย่างไรแล้ว ควรจะทำงานตามจริตของตนเองก็จะประสบความสำเร็จในชีวิตตามที่ตนต้องการได้. 

             ๒.๒ พระไตรปิฎกคำว่า "นักษัตร"พบอยู่ในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันปรากฏเป็นพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ว่าด้วยอารัญญิกวัตตกถาว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า [๓๖๗] สมัยนั้นภิกษุทั้งหลายรูปอยู่ในป่า ไม่ตั้งน้ำดื่ม ไม่ตั้งน้ำใช้ ไม่ติดไฟ ไม่เตรียมไม้สีไฟ  ไม่รู้เรื่องนักษัตริย์ ไม่รู้จักทิศพวกโจรพากันไปที่นั่นแล้ว 
ถามพระภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายมีน้ำดื่มหรือไม่ 
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า โยมทั้งหลาย น้ำดื่มไม่มี 
โจรทั้งหลายถามว่า ท่านทั้งหลาย มีน้ำใช้หรือไม่ 
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า โยมทั้งหลาย น้ำใช้ไม่มี 
โจรทั้งหลายถามว่า ท่านทั้งหลาย มีไฟหรือไม่ 
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า โยมทั้งหลาย ไฟไม่มี  
โจรทั้งหลายถามว่า ท่านทั้งหลาย มีไม้สีไฟหรือไม่ 
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า โยมทั้งหลาย ไม้สีไฟไม่มี
โจรทั้งหลายถามว่า ท่านทั้งหลาย วันนี้ฤกษ์อะไร 
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ 
โจรทั้งหลายถามว่า ท่านทั้งหลายนี้ทิศอะไร 
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ  
  
ลำดับนั้นโจรเหล่านั้นคิดว่า คนพวกนี้ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ คนพวกนี้น่าจะเป็นโจร คนพวกนี้มิใช่ภิกษุ จึงทำร้ายแล้วจากไป ต่อมาภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่พระภิกษุทั้งหลาย พระภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมมิกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งพระภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๘] พระภิกษุทั้งหลายถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่พระภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลายโดยที่พระภิกษุทั้งต้องประพฤติชอบ [1] 

๓.การวิเคราะห์พยานหลักฐานอันเป็นที่มาของความรู้

         ตามพยานหลักฐานเป็นข้อความในพระไตรปิฎกนั้น ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า การที่พระภิกษุหลายรูปได้พากันออกธุดงค์เพื่อตัดอารมณ์โลกธรรม๘ ที่จรเข้ามาสู่ชีวิตแต่ประพฤติตนในวัตรและความประพฤติมิชอบเพราะไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศนั้น  เมื่อพิจารณาคิดหาเหตุผลว่าควรจะกระทำคือเดินไปทางไหนควรรู้ว่าดาวไหนเป็นดาวเหนือทำให้รู้ทิศเหนือ ดาวไหนเป็นดาวใต้ทำให้รู้ทิศใต้ เป็นสิ่งควรรู้ในระหว่างออกธุดงค์ เมื่อมีความรอบรู้ทำให้ปักกลดใกล้หมู่บ้านหรือในเมืองไม่เป็นการลำบากบิณฑบาตรที่ออกแสวงหาสัจธรรมของชีวิตตน   เมื่อพวกโจรทดสอบด้วยการตั้งคำถามอันใด ก็ไม่มีความรู้ที่จะตอบคำถามที่พวกเขาสงสัยได้ เมื่อผัสสะคำตอบว่าไม่รู้แล้ว พวกโจรรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของพวกเขาทำให้พวกโจรพิจารณาด้วยจิตมิจฉาทิฐิเห็นว่าบุคคลเหล่านั้นมิใช่พระภิกษุจึงทำ ร้ายและจากไป เป็นต้น 
เรื่องนี้เราวิเคราะห์ได้ว่า สติทำให้ระลึกถึงความรู้ที่มีเหตุผลของประสบการณ์ที่จรเข้าสู่ชีวิตของตน เพื่อเราเดินไปไหนไม่ไร้จุดมุ่งหมายของชีวิต เช่นเดียวกับชีวิตเราอย่ามัวเมาในสิ่งหนึ่งสิ่งใดนานเกินไปมีเหตุผลเพราะจิตเราจะยึดติดสิ่งนั้นจนขาดสิ่งนั้นไม่ได้ สิ่งนั้นจะนอนเนื่องอยู่จิตอย่างนั้น จนกลายเป็นความทุกข์อยู่ในจิตอย่างนั้นสอดคล้องกับหลักธรรมชาติของชีวิตตามคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าชีวิตเต็มไปด้วยความทุกข์ที่จรเข้ามาสู่ชีวิตตลอดเวลา  
(ยังมีต่อไปอีก)   

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ