The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทนำ: การล้างบาปที่แม่น้ำคงคาในพระไตรปิฎกตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ



Introduction to Sanctification in Tripitaka  according to Buddhaphumi's Philosophy

 บทนำ   

            เมื่อปรัชญาคือความรู้ของมนุษย์ที่สร้างขึ้นจากจิตใจของมนุษย์ ซึ่งมีหน้าที่รับรู้ประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส เมื่อจิตใจมนุษย์รู้แล้ว เขาก็จะรวบรวมเรื่องราวเหล่านั้นและสั่งสมไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในใจ แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์นั้นไม่ใช่แค่การรับรู้ และสั่งสมประสบการณ์ชีวิตในจิตใจเท่านั้น  แต่จิตใจของมนุษย์ ยังคงมีธรรมชาติของการคิดจากหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในจิตใจของตัวเอง โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องนั้นหรือพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุสมผล  และความรู้ที่ได้จากการคิดหาเหตุผลอย่างสมเหตุสมผลนั้นก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้ผู้อื่น โดยไม่รู้ว่าความจริงหรือความเท็จอาจจะรู้ว่าเป็นความเท็จ แต่ตั้งใจนำข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นไปเผยแผ่ เพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้หลงเชื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น หรือสร้างปัญหาก่อความวุ่นวาย และก่อให้เกิดความตระหนักตื่นตกใจของในสังคม เป็นต้น  

         อภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา และนักปรัชญามีความสนใจในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความเป็นจริงของมนุษย์ เมื่อนักปรัชญาอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมนุษย์ จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์  หากข้อเท็จจริงใดมีหลักฐานก็ถือว่าผู้เล่าเพียงคนเดียวถือว่า ข้อเท็จจริงขาดความน่าเชื่อถือ เพราะพยานหลักฐานเป็นบุคคลมักมีอคติซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ    จำเป็นต้องพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่น่าสงสัยด้วยในสมัยอินเดียโบราณ พยานหลักฐานน่าเชื่อถือทางปรัชญา  ส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคลซึ่งเป็นปุโรหิต ซึ่งเป็นที่ปรึกษาวรรณะกษัตริย์ในด้านนิติขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เป็นต้น ตัวอย่างเช่นนักปรัชญาพราหมณ์อารยันกล่าวอ้างว่า พราหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานก่อนการเริ่มต้นของประวัติศาสนาของพระพุทธศาสนาผู้คนในอนุทวีปอินเดียเชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้าหลายองค์ได้แก่เทวดา พระะอินทร์ พระอิศวร และพระพรหม   เป็นต้น พราหมณ์อารยันสอนชาวแคว้นมคธว่าพระพรหมมีคุณต่อมนุษย์ เพราะพระพรหมสร้างมนุษย์จากพระกายของพระองค์ และช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ด้วยการบูชายัญด้วยการฆ่าสัตว์นอกจากพราหมณ์อารยันแล้ว ยังมีพราหมณ์ชาวดราวิเดียนรับทำพิธีบูชายัญด้วย เมื่อคนเชื่อและศรัทธาในพราหมณ์ทั้งสองนิกายทำให้เกิดการแข่งขันการบูชายัญ เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์จึงหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการบูชายัญของพราหมณ์มิลักขะ โดยการเสนอกฎหมายว่าด้วยวรรณะเพื่อให้สิทธิและหน้าที่มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา แต่ชาวแคว้นมคธไม่มีใครเคยเห็นพรหมหรือเทพเจ้าองค์  เว้นแต่ปุโรหิตพราหมณ์ที่ปรึกษาวรรณะกษัตริย์เป็นพยานยืนยันว่าเคยเห็นพรหมในแคว้นมคธมาก่อนแต่เป็นคำกล่าวอ้างลอยๆ ทำให้เกิดคำถามในหมู่ชาวมคธว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเทพเจ้ามีอยู่จริง? พราหมณ์จึงให้เหตุผลในคำตอบว่าพราหมณ์สามารถติดต่อกับเทพเจ้าผ่านการทำพิธีบูชายัญเท่านั้น  เมื่อพราหมณ์ยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบเช่นนั้น เวลาทุกข์ยากและหาทางออกให้ชีวิตของตน ไม่ได้ก็จะนึกเทพเจ้าและเข้าสู่เทวสถานของพราหมณ์ เพื่อบูชายัญเป็นวิถีชีวิตประจำวันก่อให้เกิดผลประโยชน์จากเครื่องสังเวยอันมีค่ามหาศาลในแต่ละปี เมื่อได้รับผลประโยชน์มากพราหมณ์อารยัน จึงหาเหตุผลยกย่องพระพรหมและพระอิศวรว่าเป็นเทพเจ้าที่มีศักสิทธิ์สูงกว่าเทวดาของพราหมณ์ดราวิเดียน ที่มีคุณต่อมนุษย์ที่ทำให้ฟ้ามีฝนตามฤดูกาล และพืชผลทางการเกษตรจะอุดมสมบูรณ์ แต่พระพรหมมีเมตตาต่อมนุษย์มากกว่าเพราะพระพรหมสร้างมนุษย์จากพระกายของพระพรหมสร้างวรรณะ ให้กับมนุษยทำงานตามวรรณะที่เกิด       เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพราหมณ์นิกายต่าง ๆ ทำพิธีบูชายัญโดยการฆ่าโค ฆ่ามนุษย์และของมีค่าอื่น ๆ เพื่อขอให้พระพรหมช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาแต่           

  มีปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยว่าในพระไตรปิฎกฉบับฯ กล่าวถึงการล้างบาปที่แม่น้ำคงคาหรือไม่เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯเล่มที่ ๙  พระสุตันตปิฎกเล่มที่๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๒.สามัญญผลสูตร ว่าด้วยผลแห่งความเป็นสมณะเรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูและราชอำมาตย์ ข้อ.๑๗๗ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันถามอย่างนี้ ครูนิครนถ์นาฏบุตรตอบว่ามหาบพิตร นิครนถ์ในโลกนี้ สำรวมด้วยการสังวร ๔ อย่าง คือ ๑.เว้นน้ำดิบทุกอย่าง ๒.ประกอบกิจจากการเว้นบาปทุกอย่าง๓.ล้างบาปทุกอย่าง ๔.รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาปนิครนถ์สำรวมด้วยการสังวร ๔ อย่างนี้ดังนั้นบัณฑิตจึงเรียกว่าผู้ถึงที่สุดแล้ว สำรวมแล้วตั้งมั่นแล้วเมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อมูลในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยพุทธกาล มีพิธีล้างบาปเกิดขึ้นในรัฐมคธ เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีความทุกข์เพราะทรงประหารชีวิตพระเจ้าพิมพิสารพระบิดาของพระองค์ เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว ทำให้พระองค์ทรงเสียพระทัยและเสด็จไปปรึกษาปัญหาชีวิตของพระองค์กับครูนิครนถ์ นาฏบุตร  ซึ่งเปิดสำนักล้างบาปในเมืองนาลันทาของแคว้นมคธ  แต่ไม่มีหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มใด ได้กล่าวถึงการล้างบาปในเมืองพาราณสีหรือพราหมณ์คนใดได้ทำพิธีล้างบาปที่เมืองพาราณสีแต่อย่างใด ดังนั้นผู้ทำพิธีล้างบาปในสมัยพุทธกาลน่าจะเป็น ครูนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นเพียงผู้เดียวที่ทำพิธีล้างบาปแต่ไม่รายละเอียดของพิธีการล้างบาปชัดเจนว่าเป็นอย่างไร ในหลักป้องกันมิให้เกิดบาปในชีวิตมนุษย์ของ ครูนิครนถ์ นาฏบุตรห้ามดื่มน้ำดิบทุกอย่างไว้เพราะในน้ำดิบที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  เป็นต้น 

         ในอดีตนั้น เมืองพาราณสีเคยเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในแคว้นโกศล(kosol) เมืองพาราณสีเป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสีตั้งอยู่ริมฝังตะวันตกของแม่น้ำคงคา ต่อมาพระเจ้าปเสนธิโกศลได้มอบแผ่นดินแห่งแคว้นกาสีกาสี เป็นของขวัญในวันสยุมพร (วันแต่งงาน) ระหว่างพระนางเวเทหิซึ่งเป็นพระขนิษฐา (น้องสาว) กับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ หลังจากพุทธกาลผ่านไปแคว้นกาสีได้รับเอกราชและใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเอง โดยพระเจ้าพรหมทัตทรงเป็นกษัตริย์ปกกครอง และตั้งมีพระราชวังตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาด้านทิศตะวันออก สถานะของรัฐกาสีสิ้นสุดลง หลังจากอังกฤษประกาศเอกราชให้กับรัฐต่าง ๆ ในชมพูทวีป มหาราชาผู้นำทุกรัฐได้ประชุมกัน และตกลงที่จะสละอำนาจอธิปไตยรวมตัวกันจัดตั้งเป็นประเทศใหม่เรียกว่า "สาธารณรัฐอินเดีย" รัฐกาสีได้รับการผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอินเดีย เดิมรัฐกาสีเคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการผลิตผ้าไหมกาสีและส่งออกไปต่างประเทศ จากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  รัฐสักกะได้สั่งเครื่องนุ่งห่มให้กับเจ้าชายสิทธัตถะได้สวมใส่ในวิถีชีวิตประจำ  การผลิตผ้าไหมจึงนำรายได้มหาศาลมาสู่รัฐกาสีแห่งนี้  ในยุคปัจจุบันกลายเป็นเอำเภอเล็ก ๆ เป็นเพียง ๑ ใน ๗๒ อำเภอ ขึ้นกับเขตการปกครอง รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียเท่านั้น  เพราะชนวรรณะกษัตริย์ยินยอมสละอำนาจอธิปไตยปกครองรัฐกาสีให้กับรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อ ๖๐ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้เขียนมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเรื่องการล้างบาปที่แม่น้ำคงคาในเมืองพาราณสี (The Sanctification at Ganges River in Varanasi City) การเขียนบทความนี้อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของผู้เขียนเพราะผู้เขียนอาศัย (จำพรรษา)ที่เมืองนี้เป็นเวลา  ๙  ปีในฐานะนักศึกษาต่างชาติแห่งมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูพยานเอกสารในพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่น ๆ เป็นต้น  ความรู้ในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรในแดนกำเนิดพระพุทธศาสนาในการบรรยายให้กับผู้แสวงบุญ ให้มีเนื้อหาทางวิชาการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนกระบวนการวิเคราะห์ที่มาของความรู้จะเป็นประโยชน์การวิจัยระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา เพื่อให้ได้รับความรู้ที่แท้จริงที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินความเป็นจริงอย่างมีเหตุผลโดยปราศจากข้อสงสัยในความเป็นจริงอีกต่อไป

3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อาจารย์เขียนลำดับความสำคัญ ความต่อเนื่องของเนื้อหาของพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์-ฮิน และจิตใจความเชื่อของมนุษย์ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ
สาธุครับ

Dr.P. Y. Pulperm กล่าวว่า...

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ

Unknown กล่าวว่า...

อาจารย์ สอนไห้รู้ ทำไห้ดู อยู่ไห้เห็น
สาธุๆๆๆๆครับ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ