The purification of the Brahmins in the Tipitaka and the epistemology problem

บทนำ การล้างบาปที่แม่น้ำคงคา
โดยทั่วไป ผู้คนทั่วโลกเคยได้ยินเรื่องการล้างบาปในศาสนาต่าง ๆ ตามคำสอนของนักบวชศาสนาต่าง ๆ มาช้านานแล้ว เมื่อโลกเปลี่ยนไป การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์แสวงหาความรู้ได้มากขึ้น โดยสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นมาช่วยนักศึกษา และผู้สนใจสามารถแสวงหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น เช่น พระไตรปิฎมหาจุฬาลงกรณ และเมื่อข้อมูลมีเพียงพอแล้ว ก็จะใช้มูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริง สามารถปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของการล้างบาปของมนุษย์หรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใด ต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงได้ หากนักปรัชญาไม่มีหลักฐานพิสูจน์ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานหลักฐานไม่น่าเชื่อ และไม่สามารถรับฟังเป็นความจริงได้ ทำไมนักปรัชญาถึงมีความเห็นเช่นนั้น เพราะนักปรัชญามองว่ามนุษย์มักมีอคติและเอารัดเอาเปรียบในด้านการเมือง การศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ และกฎหมายเป็นต้น วิชาปรัชญาจึงช่วยแก้ปัญหาการหลอกลวงของมนุษย์ด้วยกัน โดยสร้างกระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขบนพื้นฐานศีลธรรมและกฎหมาย เป็น
ปัญหาญาณวิทยาว่าด้วยแหล่งที่มาของความรู้ของมนุษย์นั้น ตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมได้นิยามทฤษฎีนี้ว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอยู่ในจิตใจได้ ถึงจะให้การในฐานะพยานยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบได้ หากพยานหลักฐานนั้นไม่มีความรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอารมณ์ของข้อเท็จจริงอยู่ในจิตใจของตนแล้ว ก็ไม่สามารถให้การในฐานะพยานได้ ปัญหาว่าการล้างบาปในเมืองพาราณสีแห่งอาณาจักรกาสีนั้น สามารถศึกษาได้ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิหรือไม่ เมื่อผู้เขียนศึกษาจากความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เกี่ยวกับการล้างบาปที่แม่น้ำคงในเมืองพาราณสีแล้ว ข้อเท็จจริงใดที่เราเรียกว่าความรู้ที่แท้จริงต้องมีหลักฐาน เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นๆและต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น จึงจะถือว่าเป็นหลักฐานยืนยันว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงที่ได้ ถ้าพยานบุคคลใดยืนยันความจริงของคำตอบ แต่ไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแล้ว คำให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องที่ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานได้เพราะข้อเท็จจริงที่ให้การเป็นพยานนั้น มีข้อพิรุธน่าสงสัยจากการคิดไปเอง
เมืองพาราณสีเป็นชุมชนทางการเมืองที่มีมาก่อนพุทธกาลและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่ปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกทางพุทธศาสนาเถรวาทและมหายานกล่าวอีกนัยหนึ่ง เมืองพาราณสี ก็คือเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเขตพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียในอดีต พระนครพาราณสีเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นกาสีเป็นแคว้นเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝังแม่น้ำคงคาริมและแม่น้ำประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นเขตอภัยทานที่ยิ่งใหญ่ที่กษัตริย์แห่งแคว้นกาสีทรง พระราชทานป่าไว้ให้กวางป่าจำนวนมากอยู่อาศัย เพื่อหนีจากการไล่ล่าของมนุษย์ อออออเมื่อกษัตริย์แห่งแคว้นสีทรงพระราชทานผืนป่าแห่งนี้ไว้พวกกวางอาศัยอยู่อออออจึงเป็นป่าที่เงียบสงบ เหมาะกับฤาษี นักพรต ปริพาชก ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้เบื่อหน่ายในการครองเรือนใช้เป็นที่หลีกเร้นภาวนาตามมรรคาของตนที่ต้องปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์ของชีวิต
ในปัจจุบันในเขตอำเภอพาราณสี ผู้คนส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาฮินดูรับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นอาหารหลัก แต่มีผู้นับถือศาสนาอื่นมีน้อยมาก พวกเขายังคงนิยมสร้างที่อยู่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำคงคา และมีการเรียกชื่อท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำคงคาไปตามชื่อของมหาราชาซึ่งเป็นเจ้าของท่าน้ำนั้น ชาวพาราณสีส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย ประมง และที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ยังคงเป็นสถานที่ทำพิธีบูชายัญไฟมาไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ปีติดต่อกันและสภาพของตัวอาคารสถานที่ประกอบธุรกิจการงาน และที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไปตามค่านิยมของชาวพาราณสีในแต่ละสมัย แต่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคานั้น มหาราชาแห่งเมืองต่าง ๆ ได้เข้ายึดทำเป็นป้อมใช้เป็นที่ประทับของส่วนพระองค์ เพื่อใช้ประกอบพิธีบูชายัญเทพเจ้า และในประวัติความเป็นมามีการเปลี่ยนชื่อเมืองพาราณสีไปหลายครั้งก็ตาม สุดท้ายเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นคำว่า พาราณสี (Varanasi) เช่นเดิม ในแผนที่โลกของกูเกิล(Google Map) เมื่อผู้เขียนเปิดโทรศัพท์มือถือเพื่อดูแผนที่โลกบนอินเตอร์เน็ตชื่อ Varanasi city ได้รับการระบุไว้อย่างชัดเจนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่าเมืองพาราณสีตั้งขึ้นก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติในโลก เนื่องจากมีหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ กล่าวว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์และได้ทดสอบผลการปฏิบัติธรรมตามแนวทางมรรคมีองค์ ๘ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ๗ ครั้ง ๆ ละ ๗ วัน เวลา ๔๙ วัน ผลการทดสอบไม่ว่าจะทำกี่ครั้งก็ได้ ผลปฏิบัติเหมือนนกัน ซึ่งเป็นความรู้ในระดับเหนือประสาทสัมผัสซึ่งเรียกว่า "อภิญญา ๖"
ดังนั้นกฎธรรมชาติจึงเป็นความรู้ที่ผ่านการตัดสินที่สมเหตุสมผลไม่มีข้อสงสัยในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอีกต่อไป พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของชีวิตมนุษยชาติ และประกาศออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อปฏิรูปสังคมด้วยการยกเลิกระบบวรรณะ มนุษยชาติมีโอกาสเลือกทางเดินชีวิตและมีความสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมาย พระองค์เสด็จไปยังเมืองพาราณสีเพื่อแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในยุคปัจจุบันเรียกว่า "วัดพระพุทธเจ้า" ตั้งอยู่ที่ตำบลสารนารถ อำเภอพาราณสี ทรงอุปสมบทให้ปัญจวัคคีย์เป็นสงฆ์กลุ่มแรกในพระพุทธศาสนา และการอุปสมบทจึงเป็นพิธีกรรมแรกที่เกิดขึ้นในป่าอิสิปตนมฤคทายวันด้วยวิธีการ เรียบง่ายเพียงพระพุทธเจ้าทรงเปล่งวาจาว่า "จงมาเป็นภิกษุเถิดธรรมเราแสดงไว้ดีแล้ว " การบวชก็เสร็จสมบูรณ์
๑.แม่น้ำคงคา แม่น้ำมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยที่มียอดเขาสูงและสลับซับซ้อนหลายแห่งด้วยกันย้อนหลังไปก่อนสมัยพุทธกาล เทือกหิมาลัยปกคลุมด้วยพื้นป่าไม้ขนาดใหญ่ตลอดแนวเทือกเขาหิมาลัยและเป็นภูเขาสูงที่สุดในโลกตั้งอยู่ในเขตร้อน เทือกเขาหิมาลัยที่ทอดยาวไกลประกอบด้วยยอดเขาสูงไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ยอดทำให้ภูเขาแห่งนี้ ปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีและในฤดูร้อนหิมะจะละลายเป็นน้ำไหลลงสู่ที่ราบด้ายล่าง และกลายเป็นแม่น้ำสายสำคัญต่าง ๆ เพื่อดำรงชีวิตชาวอินเดียให้มีอายุยืนยาวและจนสามารถสร้างอารยธรรมเป็นของตนเองจนถึงทุกวันนี้ ต้นกำเนิดของแม่น้ำคงคาที่โคมุขเป็นถ้ำปากวัวที่มีน้ำไหลตลอดเวลา เนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกได้แก่ ยอดเขาเอฟเวอร์เรสและภูเขาศิวลึงก์ เป็นต้นแม่น้ำคงคาไหลผ่านเนปาล, เมืองอัลลาฮาบัด, เมืองพาราณสี, และเมืองปัตนะในรัฐพิหารของอินเดีย ไหลเข้าบังคลาประเทศรวมกับแม่น้ำพรหมบุตร และแยกเป็นอีกสายหนึ่งออกทะเลที่เมือง กัลกาตาร์ ในฤดูหนาวบริเวณเทือกเขาหิมาลัยจะมีหิมะปกคลุมยอดเขาหลายลูกที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์เป็นเวลา ๖ เดือนในฤดูใบไม้ผลิของเดือนมีนาคมจนถึงเดือนกันยายนของทุกปีนั้น หิมะบนเทือกเขาหิมาลัยจะเริ่มละลายเป็นสายน้ำลงสู่พื้นที่อยู่ต่ำซึ่งเป็นพื้นที่ราบแปลงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ครอบคลุมดินแดนหลายแคว้นไม่ว่าจะเป็นแคว้นโกศล แคว้นสักกะ แคว้นโกลิยะ แคว้นวัชชี และพื้นที่แคว้นมคธ เป็นต้น เพราะเป็นช่วงเวลาที่โลกโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในเดือนเมษายน พฤษภาคมของทุกปี และเดือนกรกฏาคม ผู้เขียนเดินทางมหาวิทยาลัยบันนารัส มาเที่ยวชมแม่น้ำคงคาเดินไปตามถนนริมฝั่งแม่น้ำคงคา เห็นกระแสน้ำไหลเชี่ยวมากเกือบถึงขั้นบันได้ขั้นสูงสุดของทุกท่าน้ำในเมืองพาราณสี เรือพายไม่สามารถพาพวกนักท่องเที่ยวไปบูชากลางแม่น้ำคงคาได้ เพราะกระแสน้ำแรงมากอาจพัดพาเรือให้พลิกคว่ำได้
พอถึงย่างเข้าฤดูหนาวเดือนตุลาคมเป็นต้นไป น้ำในแม่น้ำคงที่ผ่านเมืองพาราณสี จะลดระดับลงอย่างรวดเร็วเหมาะแก่การท่องเที่ยว เพื่อชมวิถีชีวิตชาวอินเดียบนสองฝากฝั่งของแม่น้ำคงคา ในเมืองพาราณสี แม่น้ำคงคายังคงเป็นแม่น้ำศักสิทธิ์ที่สุดในอินเดียเพราะริมฝั่งแม่น้ำคงคาทิศตะวันตก จะมีท่าน้ำหลายร้อยท่า ด้วยกันที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ แต่ละท่านั้นมีการประกอบพิธีกรรม ในแต่ละวันหลายครั้งมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะการบูชาไฟที่ทำต่อเนื่องกันมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สายน้ำคงคาเป็นแม่น้ำสายเดียวที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักสิทธิ์ให้มนุษย์ได้ใช้ดื่มกิน น้ำจากแม่น้ำคงคาเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงกายและจิตวิญญาณของผู้คนไม่น้อยกว่าสี่ร้อยล้านคน ที่จิตวิญญาณของพวกเต็มไปด้วยกระแสคลื่นความทุกข์ที่กดดันชีวิตของพวกเกี่ยวกับปัญหาของชนชั้นวรรณะ ความตายได้พลัดพรากจากสิ่งที่รักทำให้จิตวิญญาณเกิดความทุกข์เรื่อยมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขย
ส่วนการมีชีวิตอยู่ของผู้คนบนสองฟากฝั่งริมแม่น้ำคงคาเพื่อใช้น้ำเป็นแหล่งผลิตอาหารของชาวอินเดียด้วยการทำการเกษตร กรรมในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ปลูกข้าว พืชผักและผลไม้เพื่อใช้หล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงต่อไป แม้จะมีเวลาอาศัยอยู่โลกมนุษย์เพียงชั่วคราว ก็ตาม ชาวอินดูผู้มีความทุกข์ในชีวิต ได้อาศัยแม่น้ำคงคาเพื่อประกอบการอามิสบูชาด้วยการประกอบพิธีกรรมและปฏิบัติบูชาเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ในความปรารถนาสิ่งใดมิได้สิ่งนั้นย่อมทำให้เกิดความทุกข์คำสอนศาสนาฮินดูสอนวิธีปฏิบัติให้กายบริสุทธิ์ด้วยการรับประทานอาหารเจที่ปรุงจากผัก เกลือ สมุนไพร และแป้งเป็นสำคัญ เพื่อความบริสุทธิ์ปราศจากข้อโต้แย้งทางเหตุผลของมนุษย์ว่า สิ่งกินเข้าไปแปดเปื้อนเนื้อสัตว์หาใช่ความบริสุทธิ์ตามที่กล่าวอ้างไม่ ตามอิทธิพลคำสอนของศาสนาฮินดู ให้ดำรงชีวิตต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุขัย ส่วนจิตวิญญาณในยามที่พวกเขามีความทุกข์ พวกชาวอินดูจะมุ่งสู่แม่น้ำคงคาเพื่อบำบัดความทุกข์ ด้วยการทำพิธีบูชาพร้อมกับอาบน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ ตามความเชื่อของพวกเขาที่พวกพราหมณ์สอนให้ชาวฮินดูทำความดีให้บริสุทธิ์ทั้งกาย และจิตเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะนอกจากแม่น้ำคงแล้ว ในการเดินทางท่องเที่ยวในเมืองพาราณสี เป็นศูนย์กลางการศึกษาด้านศาสนาพุทธศาสนา และศาสนาอื่น ๆ รวมทั้งศิลปะและวัฒนธรรมของการแต่งกายของชาวพาราณสี ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล.
๒. พิธีกรรมกับชีวิตมนุษย์ ความเชื่อในชีวิตมนุษย์มีตั้งแต่สมัยก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาในโลกนั้น ความรู้ที่เชื่อว่าเป็นความจริงของมนุษย์เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสเท่านั้น กล่าวคือ เมื่อมนุษย์สัมผัสถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมสงสัยในสิ่งนั้นคิดหาเหตุผลของคำตอบจากสิ่งนั้น ในสมัยนั้น มนุษย์ฝากชีวิตตนไว้กับธรรมชาติทั้งชีวิตของมนุษย์จึงแสวงหาแหล่งอาหารตามธรรมที่อุดมสมบูรณ์เพื่อปลูกพืชผลทางการเกษตรกรรม มีน้ำฝนอุดมสมบูรณ์ทั้งปี เป็นต้น มีการโยกย้ายอพยพผู้คนมาสร้างบ้านเมืองจนสร้างประเทศเป็นบึกแผ่น มีอำนาจประชาธิปไตยเป็นของตนเอง เป็นต้น พวกดราวิเดียนเป็นพื้นเมืองอันเก่าแก่ของแผ่นดินชมพูทวีปได้พบดินแดนที่ราบเชิงเขาหิมาลัยอันกว้างใหญ่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแม่น้ำหลายสายให้พวกเขาปลูกพืชผลทางเกษตรกรรมได้ผลตลอดทั้งปี จนมีเวลาพักผ่อนค้นคิดหานวัตรกรรมใหม่เพื่อสนองความต้องการในความสะดวกสบายของชีวิต เป็นต้น
พวกดราวิเดียนเช่นเดียวกัน เขามีความเชื่อว่าพวกเขาค้นพบดินแดนอุดมสมบูรณ์บนที่ราบเชิงหิมาลัยนั้นเป็น เพราะมีเทพเจ้าองค์หนึ่งองค์ใดดลบันดาลให้พวกเขามีโชคชะตาได้พบดินแดนเชิงเขาหิมาลัยเช่นกัน เทพเจ้าองค์นั้นคือเทวดานั่นเอง เขาจึงประกอบพิธีพลีกรรมถวายแด่เทวดาเป็นประจำทุกปี เพื่อขอให้พวกเขามีชีวิตที่อุดมสมบรูณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตรกรรมให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลมีน้ำใช้ในการเพาะปลูกเช่นนี้ตลอดไป แต่ความสุขของพวกเขามีอยู่ไม่นานนัก เมื่อพวกอารยันผู้เร่รอนเดินทางไปแสวงโชคชะตาในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกับพวกเขา มาเห็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำและสัตว์ป่านานาชนิดจำนวนมหาศาล ให้พวกเขาได้ล่าเป็นอาหารได้ตลอดทั้งปี ไม่ต้องกระเสือกกระสนหาที่ทำกินอีกต่อไปพวกอารยันเห็นที่ราบเชิงเขาหิมาลัย เป็นพื้นดินน้ำซับอันตื้นเขินมีน้ำไหลตลอดทั้งปีเหมาะแก่เพาะปลูกตลอดทั้งปี (บริเวณเมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศเนปาล) เหมาะแก่การสร้างบ้านเรือน จึงทำสงครามแก่งแย่งชิงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนเชิงเขาหิมาลัยกับพวกดราวิเดียนชนพื้นเมือง
เมื่อชาวอารยันได้รับชัยชนะจากการรุกรานชาวมิลักขะและใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองและออกกฎหมายบังคับให้ชาวพื้นเมืองให้อยู่ใต้อำนาจของตนกำหนดชะตากรรมไว้ เพราะชีวิตของพวกดราวิเดียนเจริญรุ่งเรืองด้วยสติมองเห็นความเดือดร้อนของพวกตนปัญญาของความรู้ในศาสนาพราหมณ์พวกเขาเชื่อว่าเทวดาสร้างพวกเขาขึ้นมาจากกายของพระองค์คงไม่ทอดทิ้งพวกเขาพบวิบากกรรมของโชคชะตลอดไป พวกเขายังคงประกอบพิธีกรรมบูชาเทวดาต่อไปอย่างไม่เคยย่อท้อชะตาของชีวิตชาวพื้นเมืองจำนวนมากต่างก็มาร่วมประกอบพิธีกรรมบูชาพระพรหม และต่างร่วมกันถวายทรัพย์สิน เงินทอง และเครื่องบูชาอื่น ๆ เป็นเครื่องพลีกรรมแด่พระพรหม ทำให้สังคมของชาวดราวิเดียนยังคงมีความบึกแผ่นเพราะยังมีความสามัคคีในสังคมชาติพันธ์ตน เมื่อพวกดราวิเดียนยังรักษาความเป็นบึกแผ่นในสังคมของตนเองด้วยความมีศรัทธาต่อเทวดา พวกอารยันเห็นว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้เป็นการยากที่พวกอารยันจะปกครองดินแดนที่ราบเชิงเขาหิมาลัยให้เจริญรุ่งเรืองเพียงแต่ฝ่ายเดียวด้วยสติของการระลึกถึงเหตุการณ์ที่ได้ทำหน้าที่ปกครองพวกดราวิเดียนที่ผ่านมานั้น พวกอารยันเห็นว่าการประกอบพิธีกรรมบูชาพระพรหมด้วยมหาบูชายัญ แก้ว เงินทอง และฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากทำให้เกิดความสามัคคีบึกแผ่นในกลุ่มของชาวดราวิเดียนต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด แต่อย่างใดก็ดีในภายภาคหน้าจะสร้างปัญหาแก่การปกครองของชาวอารยันให้มีความเจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียวได้ด้วยเหตุผลที่ระลึกได้นั้น พวกอารยันควรจะทำอย่างไร เมื่อชาวดราวิเดียนและชาวอารยันมีความเชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างชาวดราวิเดียนและมนุษย์ทุกคนขึ้นมากจากพระวรกายของพระองค์ ปกป้องพวกเขาจากภัยธรรมชาติและประทานดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ให้พวกเขาใช้ประกอบอาชีพและทำมาหากินได้ ดังนั้นพวกอารยันเอาแนวคิดเรื่องพระพรหมของปรัชญาศาสนาพราหมณ์นั้น มาบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อสร้างระบบขึ้นมา เพื่อแบ่งประชาชนออกตามหน้าที่ทำให้เกิดสิทธิหน้าที่และการกำจัดสิทธิหน้าที่ของประชาชนเป็น ๒ วรรณะคือวรรณะสูงและวรรณะต่ำ พวกผิวขาวได้แก่วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ และวรรณะแพศย์ เป็นต้น ส่วนวรรณะต่ำได้แก่พวกศูทรหรือชาวดราวิเดียน เป็นต้น เมื่อวรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองและเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยจึงประกาศบรมราชโองการแบ่งชาวสักกะชนบทออกเป็นชนชั้นต่าง ๆโดยกำหนดหน้าที่ตามวรรณะของตนเองตามความประสงค์ของพระพรหมผู้สร้างสร้างมนุษย์ขึ้นมาและสร้างหน้าที่การงานไว้แก่ประชาชนตามชนชั้นนั้นแล้ว.
ดังนั้นเมื่อชีวิตมนุษย์ถูกกำหนดไว้แล้วย่อมเป็นข้อจำกัดเกิดการพัฒนาศักยภาพชีวิตของความรู้ เพราะการพัฒนาความรู้นั้นไม่ช่วยให้ชีวิตเจริญก้าวหน้าทั้งภายนอกมีตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีได้ ส่วนภายในจิตวิญญาณไม่อาจพัฒนาต่อไป จิตจมปลักอยู่แต่กับปัญหาของอดีตจนกลายเป็นทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น เพราะเกรงกลัวอำนาจของพระพรหม และพวกวรรณะกษัตริย์ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองประชาชน และหลักอปริหานิยธรรมเป็นธรรมของวรรณะกษัตริย์ อันเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศนั้น และบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าห้ามยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว เมื่อกฎหมายระบบวรรณะได้บัญญัติไว้ดีแล้วเพื่อความเจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียวของชนวรรณะสูง ดังนั้นชนวรรณะกษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ในชมพูทวีปจึงไม่คิดยกเลิกระบบวรรณะแต่อย่างใด แม้แต่ในยุคสมัยอังกฤษปกครองอินเดียก็ตาม ความเชื่อนี้จึงเป็นความคิดที่ได้ปลูกฝังและสั่งสมอยู่ในจิตของชาวชมพูทวีปซ้ำซากอยู่อย่างนั้น เป็นเวลาสองพันกว่าปีแล้ว กลายเป็นความเชื่อที่ผัสสะแล้ว ไม่ต้องคิดหาเหตุผลของความรู้และความจริงอีกต่อไป พวกเขาเชื่ออยู่ย่างนั้นเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยปัจจุบันแล้ว แม้จะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญสร้างชาติขึ้นมาใหม่ได้ยกเลิกเรื่องวรรณะในสังคมของสารณรัฐอินเดียแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่อาจยกเลิกความเชื่อเรื่องวรรณะในจิตวิญญาณของผู้คนเพราะกลายเป็นกฎทางสังคมแล้ว.
มูลเหตุให้เชื่อและประกอบพิธีกรรม เมื่อเราวิเคราะห์จากหลักคำสอนพระพุทธเจ้าในเรื่อง "วิชชา ๓" เราจะค้นพบว่าธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทั่วไปนั้นจะมีระดับจิตไม่มีสมาธิ ไม่มีความบริสุทธิ์มีกิเลสสั่งสมอยู่ในจิตมากมีความไม่มั่นคงกับความคิดของตัวเอง และประการสุดท้ายจิตตัวมนุษย์เองก็มีความหวั่นไหว เมื่อมีอารมณ์ของความผิดหวัง ไม่พอใจ มากระทบจิตตนเองตลอดเวลาทำให้เกิดความทุกข์ดังนั้น เมื่อจิตของมนุษย์มีความทุกข์เพราะรับรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของภัยในวัฏสงสารที่จรเข้ามาสู่ชีวิต เป็นความรู้ของมนุษย์ที่มีบ่อเกิดมาจากปรากฎการณ์ของธรรมชาติบนโลกมนุษย์ที่หาเหตุผลไม่ได้ ในบางครั้งชีวิตมนุษย์ต้องล่มสลายลงไปอย่างสิ้นเนื้อปะดาตัวเพราะการเล่นการพนันหุ้นตกพึ่งอาศัยตนเองไม่ได้ ไม่มีที่อยู่อาศัยเพื่อพักผ่อนหลับนอนอีกต่อไปเพราะบ้านถูกยึดมาชดใช้หนี้ ไม่มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น เป็นปรากฎการณ์อยู่เหนือความคาดหมายของชีวิตตน ตัวอย่างเช่น
-เมื่อมีฝนตกหนักน้ำป่าไหลทะลักจากภูเขาสูง ลงสู่พื้นล่างอย่างรวดเร็วในขณะมนุษย์กำลังหลับไหลในบ้านพักอาศัยของตน ไม่อาจเตรียมตัวเตรียมใจที่จะหลบภัยที่มาถึง ทำให้ทุกสิ่งอย่างในชีวิตพังทลายลงไปต่อหน้าต่อตาของตนอย่างรวดเร็ว เงินทองจากการขายพืชไร่สวนนั้นหายไปกับสายน้ำ จนสิ้นเนื้อประดาตัวและชีวิตแทบเอาตัวไม่รอด เป็นต้น.
-นักธุรกิจร่ำรวยมหาศาลขยายธุรกิจ โดยไม่ศึกษาความเป็นไปที่เปลื่ยนแปลงของโลกทางการเมือง เศรษฐกิจ และนิสัยของคนในสังคม รวมทั้งจริตของลูกน้องบริวารสมบัติธุรกิจล่มสลายเพียงชั่วคืนเพราะน้ำมันขึ้นราคา สินค้าขายไม่ได้ตามเป้าหมายของการลงทุนเพราะไม่ได้ศึกษาความเป็นของคนในสังคม เป็นต้น

-ผู้มีอาชีพในวงการบันเทิงมีชื่อเสียงในสังคมบันเทิง ไม่ได้เตรียมตัวกับชื่อเสียงที่ตกต่ำรายได้ลดลงอย่างรวดเร็วเพราะหลงในชื่อเสียงและความประสบความสำเร็จอย่างงดงามตลอดทั้งปี แต่เมื่อผลงานเรื่องต่อไปไม่ประสบความสำเร็จดังคาดหวังย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ของชีวิต
-สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้อยู่แล้วเพียงแต่ตั้งอยู่ในความประมาทของชีวิตด้วยการเก็บเงิน ทรัพย์สินบางอย่างไว้ใช้ยามที่ชีวิตตนตกต่ำลง เป็นต้น
-ส่วนปัจจัยภายในจิตของมนุษย์เอง จิตมนุษย์มีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสในเรื่องราวต่าง ๆ มากมายหลายร้อยพันเรื่องตลอดชีวิต เมื่อประสบความสำเร็จทำให้ต้องนำสิ่งเหล่านี้มาคิดทำให้เกิดอัตตา มีอัตตา หลงตัวเองมีทิฏฐิสูงไม่ยอมเปลื่ยนแปลงความคิดเห็นตัวเอง ไม่ยอมฟังความคิดเห็นของคนอื่น จิตมีอารมณ์แปรปรวนอยู่เสมอ จิตไม่มีสมาธิย่อมไม่สามารถจัดการกับสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับตนได้ ตนจึงไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานเช่นเดียวกัน ชีวิตย่อมไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน
-นักธุรกิจร่ำรวยมหาศาลขยายธุรกิจ โดยไม่ศึกษาความเป็นไปที่เปลื่ยนแปลงของโลกทางการเมือง เศรษฐกิจ และนิสัยของคนในสังคม รวมทั้งจริตของลูกน้องบริวารสมบัติธุรกิจล่มสลายเพียงชั่วคืนเพราะราคาน้ำมันขึ้นสินค้าขายไม่ได้ตามเป้าหมายของการลงทุนเพราะไม่ได้ศึกษาความเป็นของคนในสังคม เป็นต้น
โดยทั่วไปชีวิตของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปนั้นจะมีบุคคลลักษณะเป็นคนมีสมาธิสั้นจึงไม่มีวิญญาณที่เข้มแข็ง ไม่ค่อยเจตนาที่บริสุทธิ์มากด้วยกิเลสที่จรเข้ามาสู่จิตวิญญาณ ก่อให้เกิดความเศร้าหมองในชีวิต ขาดสติแสดงความหยาบกระด้างทางอารมณ์ออกทางสีหน้าตาและท่าทางไม่อ่อนน้อมถ่อมตนมีความตึงเครียดของชีวิตอยู่ตลอดเวลา จิตไม่มั่นคงไม่ซื่อสัตย์กับความคิดเห็นของตัวเองที่สำคัญจิตกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งผ่านอินทรีย์ ๖ ของจิตวิญญาณของตัวเองเกิดความหวั่นไหวและจิตวิญญาณกลัวในสิ่งตนคิดและยังมาไม่ถึง เมื่อจิตวิญญาณเกิดความกลัวเพราะความไม่แน่นอนชีวิต ดังนั้นมนุษย์จึงคิดหาวิธีการหลุดพ้นจากสิ่งพันธนาการของชีวิตที่เกิดขึ้นในจิตวิญญาณของตนเอง มนุษย์มีวิธีการหลายวิธีด้วยกัน ผู้มีปัญญามากมักใช้วิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติเพื่อตรัสรู้ แต่สำหรับผู้อ่อนแอในชีวิต มักเลือกวิธีการประกอบพิธีกรรมในสถานศักดิ์สิทธิ์ เช่นแม่น้ำคงคา เป็นต้น จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่มนุษย์ผู้อ่อนแอไม่มีความมั่นใจในชีวิต มักเลือกคิดที่จะทำให้ตนเองพ้นจากปัญหาที่จรเข้ามาสู่ชีวิต
๔. การบูชาไฟที่แม่น้ำคงคา
ออการเดินทางไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเพื่อร่วมประกอบพิธีอารตีบูชาหรือพิธีบูชาไฟในยามค่ำคืนในช่วงฤดูหนาวเป็นการประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกพราหมณ์ในศาสนาฮินดูประมาณ ๗ คน ในช่วงเวลาเย็นประมาณ ๑๙.๐๐ น. ของทุกวัน หลังจากแม่น้ำคงลดลงไปมากแล้ว ที่ท่าน้ำอัศวเมศตั้งอยู่บนฝั่งสวรรค์ทิศตะวันตกของเมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เพราะพวกเขาเชื่อว่าฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาในเมืองพาราณสี เป็นดินแดนอันเป็นสถานที่เกิดของพระศิวะ เมืองพาราณสีจึงเป็นเมืองหนึ่งในแปดเมืองศักดิ์สิทธิ์ตามคำสอนของศังกราจารย์ ผู้ปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ให้เป็นศาสนาฮินดู ที่แนวคิดเรื่องพระศิวฝั่งรากลึกลงสู่จิตวิญญาณของชาวฮินดูประมาณ ๘๐๐ ล้านคน มายาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ ปีเป็นพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นมาให้แก่ชาวอินเดียนับถือศาสนาฮินดูนับล้านคนที่ที่เดินทางมาตามความเชื่อในศาสนาฮินดูจากเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดีย มามีส่วนร่วมในการประกอบพิธีบูชาไฟในทุกๆ วัน
ในแต่ละปี มีชาวฮินดูหลายล้านคนเดินทางมาบูชาไฟทุกวันตลอดทั้งปี ชาวฮินดูหลายร้อยคนที่มารอบูชาไฟที่ท่าอัศวเมธ ตั้งแต่ช่วงค่ำแล้วในฤดูร้อนอากาศบนท้องฟ้าในเมืองพาราณสี จะมืดช้ากว่าปกติ จะมืดคำก็เกือบ ๑๙.๐๐ น. ส่วนในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นเต็มไปด้วยหมอกจะมืดเร็ว ก็จะเริ่มพิธีบูชาไฟประมาณ ๖ โมงเย็น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเล่าสู่กันฟังสำหรับนักท่องเที่ยวว่าในแต่ละฤดูนั้น เวลาเริ่มต้นทำพิธีบูชาไฟไม่แน่นอน ผู้เขียนเคยมาที่ฝั่งแห่งนี้ในฤดูหนาว เมื่อมาถึงท่าอัศวเมธตอน ๑ ทุ่มปรากฎว่าพิธีอารตีบูชาได้เสร็จสิ้นพิธีการแล้ว โดยปกติพิธีบูชาจะทำในตอนเช้าและตอนเย็นของทุก ๆ วัน ๆ ละ ๒ ครั้ง จนกลายเป็นวิถีชีวิตที่เคยชินของชาวฮินดูที่เคร่งครัดมาอามิสบูชาในแต่ละวัน การได้มาชมพิธีอารตีบูชาในตอนเช้าและตอนเย็นเป็นเรื่องของบุญวาสนาของคนนั้น เนื่องจากการเรียนรู้วิถึชีวิตของผู้คนนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใด จะทำให้เรามองผู้คนในโลกอย่างเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ผู้อื่นมากขึ้น โดยทั่วไป สภาพทางกายภาพของแม่น้ำคงคาสายนี้เหมือนแม่น้ำทั่วไป คือน้ำขุ่นด้วยสีโคลนตลอดสาย แต่แม่น้ำคงคานี้กลายเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทันทีด้วยเหตุผลของคำตอบ ตามคำสอนของพราหมณ์นักบวชในศาสนาฮินดูในโลกนี้ยังมีผู้คนที่อ่อนแอ ไม่มีสมาธิ ไม่มั่นคงและหวั่นไหวในปัญหาของชีวิต เมื่อได้ฟังเหตุผลของความศักดิ์สิทธิ์ย่อมเกิดความศรัทธานำไปสู่การอามิสบูชา เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์นี้ความศรัทธาในเทพเจ้าองค์นี้ถูกปลูกฝังอยู่ในจิตใจของผู้คนมานานหลายพันปี ทุกปีผู้มีศรัทธาจำนวนหลายล้านคน เดินทางไปยังแม่น้ำคงคาที่ไหลผ่านเมืองพาราณสี หากแม่น้ำคงคาสายนี้ไม่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณของชาวฮินดูด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีขึ้นและบรรลุถึงความฝัน คงไม่มีผู้แสวงบุญคนใดอยากมาอามิสบูชาที่แม่น้ำคงคาแน่นอน
แต่แม่น้ำคงคาเป็นกระแสน้ำไหลลงมาพร้อมกับความเชื่อของมนุษย์ที่ว่าโชคชะตาของมนุษย์ถูกกำหนดไว้แล้วโดยพระพรหมเพราะเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา พิธีกรรมจึงถูกกำหนดขึ้นจากความคิดของมนุษย์ที่อธิบายความหมายของการกระทำและสิ่งของที่ใช้บูชาในพิธีกรรมของมนุษย์ เพื่อให้พระพรหมบันดาลให้ผู้นั้นประสบความสำเร็จในสิ่งตนปรารถนาด้วยความเข้มแข็งอดทนและสติปัญญาของตนเองเสมอ เพื่อถวายความดีแก่พระพรหมและเมื่อประกอบพิธีกรรมสิ้นสุดลงแล้วไม่ว่า ด้วยเหตุผลใดที่อธิบายแก่มนุษย์ให้เข้าใจได้ผู้มีความเชื่อในพระพรหมนั้นย่อมมีความคาดหวังพระพรหมจะสร้างสรรค์ให้ตนเองนั้น ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขนั้น
แต่ความสำเร็จเหล่านี้ล้วนแต่ตัวมนุษย์เองนั้น เป็นผู้ลงมือกระทำกิจกรรม เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตตนเองทั้งสิ้น เพื่อเดินทางบรรลุให้ถึงจุดหมายปลายทางของชีวิตในรูปแบบฉบับที่ตนต้องการแม้บทเรียนของความทุกข์ที่เกิดจากจิตอาลัยในสิ่งต่างๆที่เป็นประสบการณ์ที่ผ่านจรผ่านชีวิตเข้ามาแล้ว ย่อมก็ถูกเก็บสั่งสมไว้กับจิตบุคคลนั้นและห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่นไปจุติจิตพร้อมกับบุคคลนั้น คนที่เกิดมาใหม่ก็ต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่อยู่อย่างนี้และเป็นอย่างนี้ต่อไปในวัฏฏะสงสารพร้อมกับความรู้ไม่รู้อยู่อย่างนี้ตลอดไปมนุษย์จึงไม่กลัวการอุบัติมาเกิดเป็นมนุษย์อีก แม้เจอภัยอะไรอีกมากมายในวัฏฏสงสารอย่างซ้ำซากอาจเป็นเพราะความไม่รู้ที่ฝักรากลึกมายาวนาน แต่กลัวที่จะตายเหมือนชีวิตของตนตายแล้วสูญเพราะแค่ความอาลัยอยู่ในจิตตนเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นปรากฎการณ์ที่เห็นบนโลกมนุษย์นี้ล้วนไม่แน่นอนและจิตมนุษย์เองยังขึ้ขลาดหวาดกลัวความไม่แน่นอนของอนาคตและยังเชื่ออำนาจภายนอกตัวมนุษย์มากกว่าพลังจิตของตนแล้ว การประกอบพิธีกรรมยังเป็นสิ่งจำเป็นของผู้คนในสังคมโลกเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นเครื่องนำทางจิตไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของตนอยู่เสมอ ๆ และนับวันจะมีเหตุผลของผู้ประกอบพิธีกรรมมีความซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน พิธีอารตีบูชาเป็นการบูชาในยามค่ำคืนเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวไทย และอินเดียในยามค่ำคืนเขาประกอบพิธีในทุกวันจุดประสงค์ของการบูชา เพื่อแสดงความจงรักภักดิ์ต่อเทพเจ้าในศาสนาของเขา โดยเชื่อมจิตวิญญาณของตนเองต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาในศาสนาฮินดูและส่งเสริมการท่องเที่ยวของเขา การประกอบพิธีกรรมใช้เวลานานพอสมควรประกอบการร่ายรำบูชา เพื่อให้เทพเจ้าประทานพรให้ตนเองประสบความสำเร็จในหน้าที่งานของตน ยังมีผู้คนมากมายมาเที่ยวชม และตั้งความปรารถนาอยากประสบความสำเร็จตลอดทั้งชีวิตเช่นกัน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น