Introduction: Wat Thamdao Khao Kaew according to Buddhaphumi's philosophy
๑.บทนำ
พระพุทธศาสนามีต้นกำเนิดมาจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสีในสมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองแห่งแคว้นกาสี ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงยกเมืองนี้ให้เป็นของขวัญวันอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางเวเทหฺิ ซึ่งเป็นกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล ในรัชสมัยพระเจ้าพรหมทัตทรงเป็นมหาราชาปกครองแคว้นกาสี พระองค์ทรงได้ประกาศให้ชาวแคว้นกาสีทั่วประเทศทราบว่า พระองค์ทรงได้ประกาศให้อุทยานอิสิปตนมฤคทายวันเป็น เขตอภัยทาน(animal sanctuary)หรือในเขตปัจจุบันเรียกว่า "เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า" ห้ามมิให้ผู้คนล่าสัตว์ป่าทุกชนิดและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกวางป่า
เมื่อป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นเขตอภัยทาน ในยุคต่อมา นักบวช (priast) ฤาษี (acetic) พวกปริพาชกและพราหมณ์ ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่พำนักเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตในการบำเพ็ญตบะ เพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ และกำหนดชีวิตมนุษย์ โดยสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา และห้ามมิให้มนุษย์แต่งงานข้ามวรรณะ หากไม่เชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยัน พวกเขาจะถูกสังคมลงโทษ ด้วยการถูกขับไล่ออกจากถิ่นพำนัก กลายเป็นจัณฑาลต้องใช่ชีวิตเร่ร่อนไปตลอดชีวิตตามคำสาปแช่งของพราหมณ์
ในยุคต่อมา ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นสถานที่ถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในพระนครพาราณสีของแคว้นกาสี ในปัจจุบันชาวอินเดียเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "วัดพระพุทธเจ้า" (Buddha temple) ตำบลสารนารถ อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นครั้งแรกพระรัตนตรัยจึงกำเนิดขึ้นถือเป็นสิ่งสูงสุดที่ชาวพุทธควรบูชาและยึดถือเป็นที่พึ่ง ก็คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์โดยพระศากยมุนีพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิต พระองค์ทรงนำหลักธรรมที่แสดงกฎธรรมชาติอันเป็นแก่นแท้แห่งชีวิตมนุษย์ทั้งปวงเพื่ออธิบายให้ปัญจวัคคีย์จนเกิดความเลื่อมใสและตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
เมื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนเกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์เฉกเช่นพระพุทธเจ้า ปัญจวัคคีย์จึงเป็นพระสงฆ์กลุ่มแรกในพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในป่าอิสิปตนมฤคทายวันแห่งนี้และนับเป็นศาสนสถานแห่งแรกในพระพุทธศาสนาดังนั้น ผู้เขียนจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าพระพุทธศาสนามีถิ่นกำเนิดในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในป่ามหาโพธิ์ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งแคว้นมคธ พระองค์ทรงประสูติที่ป่าสาละในสวนลุมพินีแห่งแคว้นสักกะ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่จังหวัดหมายเลข ๕ ของประเทศเนปาล และทรงปรินิพพานที่ป่าสาละในสาลวโนทยาน เมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวงแห่ง แคว้นมัลละ ในปัจจุบันเรียกว่า "อำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เป็นต้น
พระพุทธศาสนามีต้นกำเนิดมาจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสีในสมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นกษัตริย์ผู้ปกครองแห่งแคว้นกาสี ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงยกเมืองนี้ให้เป็นของขวัญวันอภิเษกสมรสระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางเวเทหฺิ ซึ่งเป็นกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล ในรัชสมัยพระเจ้าพรหมทัตทรงเป็นมหาราชาปกครองแคว้นกาสี พระองค์ทรงได้ประกาศให้ชาวแคว้นกาสีทั่วประเทศทราบว่า พระองค์ทรงได้ประกาศให้อุทยานอิสิปตนมฤคทายวันเป็น เขตอภัยทาน(animal sanctuary)หรือในเขตปัจจุบันเรียกว่า "เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า" ห้ามมิให้ผู้คนล่าสัตว์ป่าทุกชนิดและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกวางป่า
เมื่อป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นเขตอภัยทาน ในยุคต่อมา นักบวช (priast) ฤาษี (acetic) พวกปริพาชกและพราหมณ์ ได้ใช้สถานที่แห่งนี้ เป็นสถานที่พำนักเพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตในการบำเพ็ญตบะ เพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ และกำหนดชีวิตมนุษย์ โดยสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา และห้ามมิให้มนุษย์แต่งงานข้ามวรรณะ หากไม่เชื่อในคำสอนของพราหมณ์อารยัน พวกเขาจะถูกสังคมลงโทษ ด้วยการถูกขับไล่ออกจากถิ่นพำนัก กลายเป็นจัณฑาลต้องใช่ชีวิตเร่ร่อนไปตลอดชีวิตตามคำสาปแช่งของพราหมณ์
ในยุคต่อมา ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นสถานที่ถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ในพระนครพาราณสีของแคว้นกาสี ในปัจจุบันชาวอินเดียเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "วัดพระพุทธเจ้า" (Buddha temple) ตำบลสารนารถ อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นครั้งแรกพระรัตนตรัยจึงกำเนิดขึ้นถือเป็นสิ่งสูงสุดที่ชาวพุทธควรบูชาและยึดถือเป็นที่พึ่ง ก็คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์โดยพระศากยมุนีพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้กฎธรรมชาติแห่งชีวิต พระองค์ทรงนำหลักธรรมที่แสดงกฎธรรมชาติอันเป็นแก่นแท้แห่งชีวิตมนุษย์ทั้งปวงเพื่ออธิบายให้ปัญจวัคคีย์จนเกิดความเลื่อมใสและตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
เมื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตจนเกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์เฉกเช่นพระพุทธเจ้า ปัญจวัคคีย์จึงเป็นพระสงฆ์กลุ่มแรกในพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในป่าอิสิปตนมฤคทายวันแห่งนี้และนับเป็นศาสนสถานแห่งแรกในพระพุทธศาสนาดังนั้น ผู้เขียนจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าพระพุทธศาสนามีถิ่นกำเนิดในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในป่ามหาโพธิ์ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งแคว้นมคธ พระองค์ทรงประสูติที่ป่าสาละในสวนลุมพินีแห่งแคว้นสักกะ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่จังหวัดหมายเลข ๕ ของประเทศเนปาล และทรงปรินิพพานที่ป่าสาละในสาลวโนทยาน เมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวงแห่ง แคว้นมัลละ ในปัจจุบันเรียกว่า "อำเภอกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย เป็นต้น
วัดถ้ำดาวเขาแก้วเป็นหนึ่งในหลายหมื่นวัดทั่วราชอาณาจักรไทย สังกัดพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท จัดตั้งขึ้นเป็นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไทย พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อให้พระสงฆ์ใช้เป็นศาสนสถานที่ปฏิบัติบูชาในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เป็นวัดป่าที่มีแนวคิดให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ป่าตามธรรมชาติเหมือนพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล เพื่อพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติตามอริมรรคมีองค์ ๘ ตามคำสอนพระพุทธเจ้าให้มีความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่รู้ได้ด้วยตนเอง
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติธรรมก็ไม่มีความรู้แม้จะเรียนมามากก็เป็นเพียงความรู้ระดับสัญญาเท่านั้น เดิมพื้นที่วัดถ้ำดาวเขาแก้วเป็นภูเขาหัวโล้นเพราะป่าถูกชาวบ้านบุกรุกถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย เมื่อดินเริ่มแห้งแล้งเพราะขาดน้ำในการเกษตร หมดสภาพที่จะปลูกพืชให้งดงามต่อไปได้ก็จะไปบุกรุกป่าสงวนอื่น ๆ ต่อไป เมื่อไม่มีป่าดงดิบซึ่งเป็นที่สัปปายะให้พระภิกษุได้นั่งสมาธิเพื่อตัดอารมณ์โลกธรรม๘ ประการ เหมาะกับพระภิกษุผู้เบื่อหน่ายในอารมณ์ทางโลกมนุษย์ด้วยกัน เป็นต้น เมื่อที่ตั้งของวัดนี้เคยเป็นภูเขาหัวโล้นเกิดจากการบุกรุกป่าบนภูเขาเพื่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรราษฏรที่ อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณภูเขาแห่งนี้ เมื่อพื้นดินที่บุกรุกไม่มีประโยชน์สำหรับการเพาะปลูกอีกต่อไปเพราะแร่ธาตุในพื้นดินหมดลง และผืนป่าถูกทำลายจนไม่เหลือต้นไม้ไว้เป็นม่านธรรมชาติบดบังทะเลหมอกเพื่อกลั่นตัวเป็นเม็ดฝนได้อีกต่อไป ทำให้เกิดภัยแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พื้นดินจึงไม่มีประโยชน์ในการเพาะปลูกอีกต่อไป
เมื่อพระครูประโชติบุญญาภรณ์เจ้าอาวาสวัดถ้ำดาวเขาแก้วซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้ภูเขาลูกนี้สร้างพุทธอุทยานเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าและปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นร่มเงาแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อใช้ต้นไม้เป็นที่หลีกเร้นภาวนาและตัดโลกธรรม ๘ มาสู่ชีวิตของตนเองตลอดเวลา โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตมนุษย์ มีจิตวิญญาณอยู่ในร่างกายและชอบเก็บอารมณ์โลกธรรม ๘ จนกลายเป็นสัญญาอยู่ในดวงวิญญาณของตนเอง เป็นเหตุให้จิตวิญญาณนำสัญญาของอารมณ์ต่างๆ นั้น มาปรุงแต่งให้เป็นความรู้ต่าง ๆ จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสสะของตนเองแล้วเกิดความชอบใจ จิตวิญญาณย่อมเกิดปีติและความสุข
แต่ถ้าเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองแล้ว จิตวิญญาณเห็นอากัปกิริยาที่แสดงต่อผู้อื่นด้วยถ้อยคำหยาบกระด้าง เมื่อจิตวิญญาณรับรู้แล้ว เกิดความไม่พอใจ มีแต่ความทุกข์ไม่มีสุข ยิ่งเป็นคนที่มีชีวิตอ่อนแอ ไม่มีสมาธิ ไม่มั่นคงในอุดมการณ์ของชีวิต ย่อมเกิดความหวั่นไหวในการปฏิบัติต่อหน้าที่ต่อผู้อื่นบริสุทธิ์และยุติธรรม จำเป็นต้องฝึกฝนตนเองตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้เกิดสติในความสามารถ ที่จะระลึกรู้ถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตและสั่งสมอยู่ในจิตใจ และนำความรู้นั้นมาใช้แก้ปัญหาต่าง ๆที่ผ่านมาเข้าในชีวิตได้ด้วยตนเองย่อมเกิดปิติสุขในชีวิตของตนเองได้
ดังนั้น เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแล้ว ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่าอย่าเชื่อทันทีว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินเพราะเล่าสืบต่อกันมา ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าไม่จริง จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอก่อน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่อง Wat Thamdao khaokeaw (วัดถ้ำดาวเขาแก้ว)ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ บทความที่เขียนขึ้นในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระวิทยากรใช้บรรยายให้กับผู้แสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง ได้ฟังและมีเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากนี้สาเหตุของการเขียนบทความนี้ผู้เขียนระลึกถึงคุณงามความดีของพระครูประโชติบุญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ได้เมตตาให้ใช้สถานที่ของวัดถ้ำดาวเขาแก้ว เป็นสถานที่พัฒนาศักยภาพของนิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญาและพระพุทธศาสนา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครราชสีมาต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งเป็นบุญกุศลอย่างยิ่งที่ฝากไว้ ในพระพุทธศาสนานและเพื่อเป็นการรักษาแนวทางประพฤติวัตรและปฏิบัติธรรมแก่อนุชนที่เกิดในภายหลังได้ ให้มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนายิ่ง ๆ ต่อไปและกระบวนการพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์นิสิตในระดับปริญญาเอกสาขาปรัชญา พระพุทธศาสนา และนิติศาสตร์ใช้เป็นแนวทางในการวิจัยระดับปริญญาเอก ให้ได้ความรู้ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ปรากศจากข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไป
9 ความคิดเห็น:
เยี่ยมมากครับพระอาจารย์ผมกดติดตามแล้ว
เป็นโครงการที่ดีครับได้รับกรรมฐานวุฐฐานวิธีที่ดี และเป็นที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
ผมใด้เข้าร่วมโครงการนี้ครับ
สาธุครับ สถานที่สัปปายะดีครับ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
เรียนรู้ ลงมือทำ สำเร็จผล
สาธุๆ ครับผม
เยี่ยมมากครับพระอาจารย์...
ประวัติพระพุทธศาสนาเป็นสิ่วที่ควรจดจำ สาธุ
แสดงความคิดเห็น