Analysis: We differ only in our ideas based on the philosophy of the Buddha's land.

บทนำ เรา(มนุษย์)ต่างกันที่ความคิด
โดยทั่วไป ผู้เขียนเห็นคนด้วยกันว่าทุกคนจะมีรูปร่างหน้าตาหล้ายคลึงกัน แต่ก็แตกต่างกันในรายละเอียด เช่น สีผิว ขนาดตัว เป็นต้น แต่ในร่างกายของคนมีจิตอาศัยอยู่และจิตใช้ร่างกายรับรู้เรื่องต่าง ๆ ก่อให้จิตสงสัยและคิดเพื่อหาเหตุผลของคำตอบที่เรียกว่า" ความรู้" จนกระทั่งมีข้อมูลของความรู้มีอยู่ในจิตของมนุษย์ แต่ความรู้จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของ เมื่อนำความรู้ไปใช้ในการทำงานตอบสนองความต้องการของนายจ้างโดยจ่ายเงินค่าตอบแทน รายได้จากการทำงาน ทำให้ฐานะทางสังคม หน้าที่การงาน ที่อยู่อาศัย และเศรษฐกิจเกิดความแตกต่างกัน แต่สุดท้ายแล้ว มนุษย์ก็ตายเหมือนกันทุกคน
ชีวิตมิใช่ตัวตนที่แท้จริงเลย เพราะชีวิตมีสภาพของการเกิด มีอยู่และตายไป ส่วนด้านจิตวิญญาณมีธรรมชาติรับรู้เรื่องราวและปรากฏการณ์ทางสังคมของโลก โดยผ่านอินทรีย์ทั้งหกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่เมื่อผัสสะแล้วก็สงสัย และแสวงหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบในความจริงของชีวิตนั้น คำตอบมีเหตุผลที่แตกต่างกันไปตามข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ ระยะในการเก็บข้อมูล ดังนั้นมนุษย์ในยุคปัจจุบันจึงมีอยู่สองประเภทโดยอาศัยเหตุผลของการแบ่งประเภทจากการพัฒนาจิตวิญญาณของตนเองตามวิธิปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ก่อนเป็นพระพุทธเจ้า กล่าวคือ
๓.๑ ปุถุชน
๓.๒ อริยบุคคล
๓.๑ ปุถุชน โดยทั่วไป ปุถุชนใช้จิตวิญญาณของตัวเองรับรู้อารมณ์เรื่องราวผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของตัวเอง จิตก็เกิดความสงสัย ก็คิดของมนุษย์ ทำให้เกิดของความรู้ที่สมเหตุผล สามารถอธิบายได้ให้เกิดความเข้าใจปราศจากข้อสงสัยในความจริงนั้นได้ ถ้าหากการคิดของมนุษย์ปราศจากการคิดหาเหตุผลแล้วอาจเป็นความรู้ที่ปราศจากความเหตุสมผล ไม่สามารถอธิบายให้เกิดความเข้าใจได้ย่อมเกิดความสงสัยในความรู้นั้นก็กลายความรู้ที่เป็นความเท็จได้ เพราะไม่สมเหตุสมผลของความจริงในความรู้นั้นปุถุชนบางคน มีจิตวิญญาณที่อ่อนแอเมื่อมีสิ่งใดมาผัสสะ ความเกิดความตกใจกลัวเพราะขาดสติ จิตวิญญาณก็จะขาดการระลึกถึงประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมาที่สั่งสมเป็นความรู้ และความจริงทำจิตไม่เท่าทันอารมณ์ที่เข้ามาใหม่ เรื่องราวเหล่านี้ตนเคยมีประสบการณ์หรือ แล้วใช้จิตวิญญาณพิจารณาว่าเป็นความรู้ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ ก่อนตัดสินใจย่อมในสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มาผัสสะนั้น

เมื่อจิตวิญญาณตัวเองผัสสะกับสิ่งใดซึ่งเป็นสิ่งภายนอกชีวิตมนุษย์ ย่อมคิดจากสิ่งนั้นเป็นธรรมดา กล่าวคือ เมื่อตาของตนเห็นชีวิตของมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมเกิดความสงสัยว่า เคยพบปะหรือคุ้นเคยพบเห็นที่ใดย่อมระลึกถึงประสบการณ์ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมา เมื่อมนุษย์ได้ยินเสียงใดเสียงหนึ่งย่อมระลึกได้ว่า เคยได้ยินได้ฟังที่ไหนมาก่อน เช่น เสียงน้ำตก แต่บริเวณแถวนั้นนั้นไม่มีน้ำตก เมื่อได้ยินเสียงน้ำไหลมาอย่างรุนแรง ทำให้ระลึกได้ว่า เป็นน้ำป่าที่ไหลมาอย่างรุนแรงสามารถทำลายล้างทุกสิ่งอย่างได้ ต้องหาทางหลบภัยจากการทำลายล้างจากกระแสน้ำที่ไหลรุนแรงนั้นเป็นต้น ในกรณีมีเรื่องเล่าว่าที่ป่าช้าของวัดนั้นมีผีดุ เป็นดวงวิญญาณที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยประสาทสัมผัสธรรมดา ที่จะมาหลอกหลอนให้ตัวเราเกิดความกลัวจนขาดสติจิตวิปลาสหลายคนไม่เชื่อว่ามีผีดุหรือหลายเชื่อแม้ไม่เคยเห็นผี เป็นต้น
โดยปกติปุถุชน จิตวิญญาณของพวกเขาย่อมระลึกถึงแต่เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านประสาทสัมผัสเข้าในแต่ละวัน เสพติดกับอารมณ์ความทุกข์ ความสุขที่ผ่านประสาทสัมผัสเข้ามาสู่จิตวิญญาณตลอดเวลานั้น อันเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ได้ผัสสะกับชีวิต ตัวอย่างเช่นมนุษย์เป็นสัตว์มีกิเลส ชอบคิดเพราะจิตริษยาผู้อื่น เมื่อจิตวิญญาณได้พบบุคคลอื่นที่ตนไม่ชอบหน้า ย่อมพูดจาเยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี เพื่อยกยอตัวเองด้วยเหตุผลว่าตัวเองมีชีวิตที่สูงส่งกว่าผู้อื่นกว่าผู้อื่นในด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นต้นเหตุทำให้เกิดทะเลาะวิวาททำร้ายซึ่งกันและกันตลอดเวลา เมื่อกระทำไปแล้ว เป็นการละเมิดศีลธรรมอันดีของประชาชน ทำให้ไม่เกิดความสงบสุขในสังคม กรรมดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นคดีความต้องเสียค่าใช้จ่ายในเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมว่าจะเป็นว่าจ้างทนายความในการดูแลคดี เป็นต้น ในขณะเดียวกันกรรมที่เกิดจากการกระทำของตัวเองนั้นยังกลายเป็นสัญญานอนเนื่องอยู่ในจิตของผู้กระทำกรรมด้วย ห่อหุ้มจิตวิญญาณของตัวเองไว้อย่างนั้น ติดตามจิตที่จุติไปสู่ทุคติภูมิด้วย ความรู้ระดับนี้ปุถุชนผู้ไม่ได้พัฒนาศักยภาพทางจิตของตัวเอง ย่อมไม่มีปัญญาญาณ มีจิตวิญญาณเป็นผู้หยั่งรู้เห็นการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของตัวเองได้ จิตวิญญาณยังอยู่ในสภาพของความโง่เขลาที่เรียกว่าอวิชชา จิตวิญญาณย่อมใช้ชีวิตตัวเอง ยังมัวเมาในรูปรส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธรรมารมย์อันรื่นรมย์เท่านั้น.
๓.๒ อริยบุคคล ก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้กฏธรรมชาติที่เป็นความรู้และความจริงของชีวิต มนุษย์ทั่วโลกในยุคสมัยนั้น ยังมีข้อจำกัดในความรู้และความจริงเกี่ยวกับของชีวิตตนเอง เพราะความเป็นความรู้ที่มนุษย์บรรลุถึงได้ ต้องอาศัยการพัฒนาศักยภาพทางจิตวิญญาณของตัวเองเท่านั้น แต่เมื่อมนุษย์พร้อมกับความโง่เขลา จึงยังไม่รู้จักวิธีการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความรู้เกินขอบเขตประสาทสัมผัสของชีวิตตัวเองขึ้นไป โดยทั่วไปในยุคนั้นมนุษย์มีแต่ความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากข้อจำกัดทางการศึกษา รัฐบาลในยุคก่อนพุทธกาลกำหนดสิทธิหน้าที่เป็นของคนวรรณะสูงเท่านั้นมีสิทธิได้รับการศึกษา ในแง่แนวคิดปรัชญาการเมืองในยุคนั้น ผู้ปกครองเกรงว่าหากชาวพื้นเมืองดั่งเดิมนั้นมีการศึกษาจะทำให้ปกครองยากเพราะจะแสดงอำนาจต่อรองในทางปกครองในสิทธิหน้าที่ในการทำงาน จะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐ คนในวรรณะต่ำจึงถูกจำกัดสิทธิ ไม่อาจพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มีความคิดที่มีเหตุผล ทำไปใช้เพื่อให้ตนมีชีวิตที่ดีกว่าวิถีชีวิตแบบเดิม ๆ ได้ แม้ความเชื่อจะเป็นข้อจำกัดของชีวิต ข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับวิชชาและจรณะซึ่งเป็นวิถีการศึกษาทั้งปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป ให้ชีวิตมีศักยภาพบรรลุถึงความรู้เกี่ยวกับชีวิตในระดับอภิญญา ๖ อีกทั้งระบบการศึกษานั้นมีข้อจำกัดมีแต่บุคคลอยู่ในวรรณะสูงเท่านั้น.
แต่เมื่อสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ได้เจริญสมาธิจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทำให้มนุษยชาติค้นพบความรู้ และความเป็นจริงของชีวิตตนเองรู้ว่า ความตายของชีวิตมนุษย์นั้นไม่ทำให้ชีวิตตายแล้วสูญสิ้น เพราะองค์ประกอบชีวิตมนุษย์ไม่ได้มีแค่ร่างกาย แต่ยังมีจิตไปจุติจิตในภพภูมิใหม่ส่วนจะเป็นภพภูมิไหน ขึ้นอยู่กรรมที่สั่งสมอยู่ในจิตของตัวเอง กระบวนการของชีวิตหมุนเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนี้เรื่อยไปไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดยังใช้ชีวิตมัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมมารมย์ สิ่งเหล่านี้ย่อมสั่งสมนอนเนื่องอยู่ในจิต เมื่อสิ้นชีวิตลงไปตามจิตวิญญาณไปจุติจิตในภพใหม่ด้วย
ดังปรากฎพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ] อังคุตตรนิกาย เอก- ทุก-นิบาต ในติกัณณสูตร ข้อ ๕๙ .....เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส...ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดังนี้ ภิกษุนั้นจิตน้อมไปเพื่อจุตูปปาตญาณ......
ข้อความจากพระไตรปิฎกข้างต้นนั้นเราวิเคราะห์โดยแยกเป็นประเด็นออกได้ดังนี้ กล่าวคือ
๑. เมื่อบุคคลมีสมาธิ ด้วยการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ปฏิบัติกรรมฐาน
๒. โดยประการใดที่เหมาะกับจริตตนเช่น อาณาปาณสติ พุทโธ ยุบหนอพองหนอ เป็นต้น
๓. จิตเป็นสมาธิหลังจากฝึก จิตจะจดกับอารมณ์เดียวและอารมณ์อื่น ๆ ทั้งหมดที่เข้าสัมผัสจะถูกปัดทิ้งไปจากความกดดันของผู้ปฏิบัติธรรมก่อให้เกิดอารมณ์ร้อนรนและเป็นทุกข์
๔. จิตใสซื่อบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสและความขุ่นมัว กล่าวคือ เมื่อกิเลสภายนอกประสาทสัมผัสทั้งหก ไม่สามารถน้อมเข้ามาในจิตได้ เพราะจิตมั่นคงไม่หวั่นไหวในสิ่งต่าง ๆ มาผัสสะและจิตสามารถตัดสัญญาและชำระความขุ่นมัวที่ห่อหุ้มจิตเพื่อชำระจิตบริสุทธิ์หมดได้.
๕. จิตนุ่มนวลเหมาะแก่การใช้งาน กล่าวคือ จิตชำระความขุ่นมัวมีอยู่ในจิตนั้น ความหยาบกระด้าง อารมณ์เกิดขึ้นกับจิตมันจะหายไป ทำให้จิตสามารถประกอบธุรกิจการงานต่างๆ ได้
๖. จิตมั่นคงไม่หวั่นไหว กล่าวคือเมื่อฝึกมากขึ้น และอดทนต่อสิ่งที่จะเข้ามาได้ ย่อมไม่กลัว ท้อถอย อ่อนแอในการดำเนินกิจการงานต่าง ๆ
๗. จิตสามารถบรรลุธรรมระดับต่าง ๆ เรียกว่า อภิญญา ๖ ได้

๔. มนุษย์พัฒนาแนวคิดทำให้เกิดปรัชญา
เมื่อชีวิตของมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวตลอดเวลา จิตวิญญาณมนุษย์รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ผ่านอินทรีย์ ๖ หรือประสาทสัมผัสของมนุษย์และแปรสภาวะเหล่านั้นเป็นพลังงานเข้าสู่จิตมนุษย์ เมื่อสภาวะของอารมณ์เหล่านั้น เข้าสู่จิตมนุษย์ จิตมนุษย์มีธรรมชาติเป็นผู้รับรู้ เมื่ออารมณ์ของเรื่องราวสิ่งแวดล้อมเป็นนามธรรมเข้าสู่จิตมนุษย์แล้ว แต่ธรรมชาติของจิตเป็นผู้คิดวิเคราะห์จากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รับรู้นั้น เมื่อรับรู้แล้ว มนุษย์ต้องใช้สติพิจารณาว่าสิ่งที่มาผัสสะนั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร เมื่อจิตวิญญาณพิจารณาสิ่งที่มาผัสสะแล้วจะเกิดองค์ความรู้นั้นขึ้น ความรู้นั้นของผู้ใช้จิตพิจารณา และสั่งสมอยู่ในจิตของผู้นั้นความรู้เป็นสิ่งมีได้เฉพาะตน ไม่มีแย่งเอาทรัพย์สินทางปัญญาของตนไปได้ ส่วนความรู้มีอยู่ในจิตวิญญาณนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จขึ้นอยู่กับความสอดคล้องกับความจริงอันเป็นปัจจัยภายนอกที่เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติและสังคมมนุษย์.
๔.๑ ความรู้เกิดขึ้นจากสงสัยขึ้นในจิตของมนุษย์ เมื่อชีวิตมนุษย์ต้องผัสสะกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ย่อมเกิดความสงสัยในสิ่งที่มาผัสสะนั้น ตัวอย่าง เช่น ในสมัยก่อนพุทธกาลพวกพราหมณ์สอนชนวรรณะต่าง ๆ ว่า มนุษย์ทุกคนนั้น คือ บุคคลที่พระพรหมณ์ทรงสร้างขึ้นมาจากส่วนต่าง ๆ ของพระพรหม เมื่อพระพรหมสร้างพวกเขาขึ้นมาแล้ว ทรงลิขิตโชคชะตาพวกเขาด้วยการกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้พวกเขาประกอบอาชีพตามคำสั่งของพระพรหมกำหนดให้ทำตลอดทั้งชีวิต พวกเขาเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ของตัวเองไม่ได้เพราะไม่รักในสิ่งตนเป็น ไม่ชอบในสิ่งที่ตนทำก็ตามแต่เป็นเพราะพระพรหมลิขิตโชคชะตาให้ดำเนินชีวิตไปอย่างนั้น ทำให้เกิดชนชั้นในสังคม เกิดการดูถูกเหยียดหยาม ถูกการเลือกปฏิบัติในใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะคนวรรณะต่ำไม่มีสิทธิใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่น บ่อน้ำสาธารณะ การเข้าไปฟังบทสวดคัมภีร์พระเวทเพราะเป็นสิทธิของคนวรรณะสูง ตามที่พรหมลิขิตไว้ เป็นต้น แม้ชนวรรณะสูงจะกล่าวอย่างมีเหตุผลว่าพระพรหมลิขิตก็ตาม แต่มีคนส่วนหนึ่ง กล่าวว่าไม่เคยเห็นพระพรหมอย่างใดตั้งแต่เกิด แต่ก็มีผู้โต้แย้งว่ามีผู้เกิดก่อนเราเคยเห็นพระพรหมมิฉะนั้น จะกล่าวอ้างเรื่องราวของพระพรหมได้อย่างไร เป็นต้นผลของการโต้แย้งแนวคิดทางอภิปรัชญาเรื่องราวของพระพรหม จึงไม่อาจสรุปด้วยที่มาของความรู้จากทฤษฎีความรู้จากประสบการณ์ทางประสัมผัสได้หรือเรียกทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมได้ ผู้มีบ่อเกิดของความรู้เกี่ยวกับลมพายุในทะเลจากการกระทบของประสาทสัมผัสตัวเองว่า ความรู้เกี่ยวกับลมพายุในทะเลนั้น อะไรคือความเป็นจริงอันเป็นต้นเหตุให้เกิดพายุในทะเล มี อะไรเป็นที่มาของความรู้ของมนุษย์และปฏิบัติอย่างไรให้ถึงบรรลุถึงความจริงนั้น

ในพุทธปรัชญาเถรวาท สงสัยในความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์ว่าความแท้จริงของชีวิตมนุษย์ตายแล้วสูญหรือชีวิตตายแล้วไม่สูญ ในแนวคิดทางปรัชญาก่อนสมัยพุทธกาล มีแนวคิดของเจ้าสำนักหลายลัทธิสอนเชื่อว่า ชีวิตตายแล้วสูญกรรมที่คนวรรณะสูงกระทำต่อชนวรรณะต่ำนั้นสิ้นสุดลง เพียงภพชาติของโลกมนุษย์นี้ ชาติหน้าไม่มีอยู่จริง เพราะในอดีตนั้น คนวรรณะสูงเบียดเบียนคนในวรรณะต่ำไว้มาก พวกพราหมณ์มักจะสอนเรื่องชาติหน้าไม่มีอยู่จริง ชีวิตมนุษย์ตายแล้วสูญเป็นต้น ดังนั้นแนวคิดทางอภิปรัชญาของปรัชญาศาสนาพราหมณ์สอนให้เชื่อว่าชีวิตตายแล้วสูญเกือบทุกสำนักก็ว่าได้ ส่วนแนวคิดทางญาณวิทยาที่มาของความรู้เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ มีที่มาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์และความคิดจากเหตุผลของพวกพราหมณ์ ด้วยการประกอบพิธีกรรมบูชายัญสัตว์เพื่อตอบสนองความต้องการของเทพเจ้า การบูชายัญหรือประกอบพิธีกรรมต้องใช้จ่ายทรัพย์จำนวนมหาศาลเป็นเหตุผลหนึ่ง ชนวรรณะต่ำไม่มีรายเพียงพอจึงกันเสื่อมศรัทธาในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ทำให้ผู้คนส่วนหนึ่งสละบ้านเรือน หน้าที่การงานทางสังคม ออกบวชเป็นปริพาชก เดินธุดงค์ไปสู่ที่ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพจิตให้บรรลุถึงความรู้สูงสุดของมนุษย์เข้าไปสู่สำนักต่างๆ ที่เปิดสอนเรื่องของการใช้ชีวิต เพื่อชำระล้างกิเลสที่มีอยู่ในจิตด้วยวิธีการบำเพ็ญทุกรกิริยาหรือการประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาไฟให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้
เหตุผลที่แนวคิดของปรัชญาศาสนาพราหมณ์เป็นความรู้ที่มีอิทธิพลการครอบงำความคิดของการดำเนินชีวิตประชาชนในชมพูทวีป เพราะประชาชนในวรรณะต่ำขาดการศึกษา ทั้งทางด้านปริยัติคือคัมภีร์พระเวทเพราะอยู่ในวรรณะต่ำไม่มีสิทธิเรียนรู้คัมภีร์พระเวท ทำให้เกิดความเชื่อปราศจากความคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผลของตัวมนุษย์เอง ส่วนพวกวรรณะพราหมณ์ได้รับการศึกษาในสถาบันการศึกษาของปรัชญาศาสนาพราหมณ์ พวกพราหมณ์เหล่านี้เป็นคนวรรณะสูงที่ได้รับการศึกษามากกว่าวรรณะอื่น ๆ จึงประกอบอาชีพปรึกษาปัญหาการใช้ชีวิตและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้เทพเจ้าช่วยมนุษย์จากความทุกข์เกิดจากกดดันจากปัญหาในสังคม พวกพราหมณ์เป็นคนฉลาด อาศัยความรู้จากการคิดวิเคราะห์จากผัสสะได้ ทำให้เป็นคนมีเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์คนในสังคมเป็น และสวดมนต์เป็นเวลานานทำให้จิตของพวกเขามีสมาธิ หาวิธีการครอบงำจิตของผู้คนในสังคมและรู้จักวิธีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์เพื่อทำนายทายทักโทษภัยของชีวิตได้.
เมื่อมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมในทางศาสนา จึงไม่มีหน้าที่ต้องใช้แรงงานในการทำเกษตรกรรมทางทำไร่ ไถนา เหมือนคนในวรรณะอื่น ๆ ที่ต่ำกว่าพวกพราหมณ์ นอกจากยังไม่ได้รับอนุญาตให้ศึกษาคัมภีร์พระเวท ความคิดของคนวรรณะต่ำจึงอยู่กับความไม่รู้ของวิถีชีวิตจริงของมนุษย์เพราะไม่ได้รับการศึกษา จึงไม่รู้เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ของตัวเอง และวิธีการใช้ความรู้มาจากนึกคิดตนเองให้เกิดประโยชน์ และดำรงอยู่อย่างมีความสุขและอย่างสะดวกสบาย เมื่อคิดไม่เป็นต้องอาศัยความคิดของคนอื่นโดยได้รับอิทธิพลความคิดจากมนุษย์ด้วยกันเอง ทำให้ชีวิตตัวเองถูกคนอื่นครอบงำให้เป็นผู้ตามความรู้และความคิดของผู้อื่น โดยเฉพาะแนวคิดที่ว่ามนุษย์ประสบเคราะห์กรรมของความเป็นไปในทางดีและร้ายที่ทุกคนต้องเจอะเจอนั้น เป็นเพราะว่าโชคชะตาของมนุษย์แต่ละคนถูกกำหนดไว้แล้วโดยอำนาจของพระพรหมซึ่งเป็นสิ่งสูงสุด เป็นสิ่งที่อยู่เหนือชีวิตที่มนุษย์ไม่อาจเข้าถึงด้วยการประสาทสัมผัสด้วยตนเองได้ เมื่อมนุษย์เชื่อว่าชีวิตตนเอง จึงถูกกำหนดโชคชะตาของความเป็นไปของวิถีชีวิตไว้แล้ว มนุษย์จำเป็นต้องยอมรับต่อโชคชะตากรรมที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตของตนไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงได้ ทั้งที่ความสุขและความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่จิตตน. แต่มนุษย์เป็นสัตว์ฉลาดที่มีจิตรู้จักคิดและจินตนาการถึงเหตุการณ์ย้อนหลังได้ ทำให้มนุษย์มองเห็นทางออกของชีวิตด้วยการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงเทพเจ้า ให้ช่วยเหลือตนเองให้จากความทุกข์ของชีวิตให้เทพเจ้าพอใจ ตามคำสั่งสอนของพราหมณ์ซึ่งเป็น"ผู้นำทางจิตวิญญาณ" เพราะบุคคลเหล่านี้มีเวลาศึกษาเรียนรู้ความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ในสังคมตลอดเวลา แนวความคิดและพฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขา จึงมีความก้าวหน้ามีความคิดเป็นเหตุผลเหนือความคิดของบุคคลอื่น เขาสามารถพูดโน้มน้าวจูงใจให้บุคคลที่มีความอ่อนแอทางศักยภาพทางจิต จิตมีอวิชชาความไม่รู้จักคิด ใช้จิตพิจารณาความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของตนได้อย่างเท่าทัน พวกเขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของพวกพราหมณ์ ชี้นำความคิดด้วยการ ให้พวกเขาประกอบพิธีกรรมบูชาตามความเชื่อที่ว่าเป็นความจริงการบูชาด้วยอามิสบูชาเหล่านั้นจะช่วยให้ผู้มีอำนาจสูงสุดพอใจ และบันดาลให้ตนเองประสบโชคแต่สิ่งดีงามของชีวิตในแต่ละปีได้ ในโลกปัจจุบันอุดมการณ์ของความฝัน มนุษย์ได้เปลื่ยนแปลงไปเพราะมนุษย์เป็นสัตว์ฉลาด และมีเหตุผลเอาความร่ำรวยเป็นเครื่องชี้วัดความสุข พอใจของชีวิตวิถีการศึกษาความเป็นไปของมนุษย์มุ่งแสวงหาความรู้เพื่อนำมาซึ่งความร่ำรวยมั่งคั่ง มนุษย์จึงศึกษาแสวงหาวิธีการการนำความรู้ไปสู่ความร่ำรวยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การศึกษาของมนุษย์มุ่งสนองความอยากของมนุษย์เป็นหลักที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด ดังนั้นอาชีพที่นำชีวิตไปสู่ความร่ำรวยมีมูลค่าเป็นทรัพย์สินเงินทองนั้นมีมูลค่ามากมายมหาศาลเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้ ทำให้วิชาปรัชญา ไม่ได้รับความสนใจใคร่ศึกษาจากบุคคลทั่วไปเท่าไหร่นัก เพราะคุณค่าของคน ที่จะประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตนั้นน่าจะวัดจากการมีเงินเป็นเครื่องมือวัดความร่ำรวยอย่างสมเหตุสมผลนั้น แม้เงินจะเป็นสิ่งถูกสมมติขึ้นมาก็ตาม แต่ทุกคนก็ลืมไปว่าเงินนั้นเป็นสิ่งสมมติมาจากความคิดของคน คนเป็นผู้พัฒนาเงินให้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายวัตถุต่าง ๆ เพื่อสนองความอยากมี อยากได้ อยากเป็นของมนุษย์ทั้งสิ้น เมื่อความคิดของคนเปลื่ยนแปลงไปคุณค่าของเงินก็เปลื่ยนแปลงไปด้วยเช่นเดียวกัน ยิ่งทุกวันนี้มนุษย์ทำให้วิถีชีวิตมนุษย์โลกได้เปลี่ยนแปลงไป เพราะมนุษย์มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือแชร์ความรู้จากประสบการณ์ของตัวเองยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ การแข่งขันทางความคิดสร้างสิ่งใหม่ ๆ ยิ่งมีมากขึ้นทุกวันอีกด้วย

แม้ในปัจจุบันนี้ มนุษย์มีความเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุมากขึ้นจนกระทั่งสร้างโลกออนไลน์เชื่อมติดต่อกันทำให้มนุษย์รู้สึกใกล้ชิดกันแม่จะอยู่ห่างกันออกไปเป็นหมื่น ๆ กิโลเมตรก็ตามทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์ได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าในเวลาอดีตที่ผ่านมา แต่ความใกล้ชิด นำมาซึ่งความทุกข์เพราะมีการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันมากขึ้น ทำให้ความรู้ที่มากระทบจิตทำให้เกิดความรู้ขึ้นและมีการเรียนรู้จากความรู้นั้น แม้จะเป็นความรู้และความจริงที่ผิดศีลธรรมและจารีตประเพณีก็ตาม ก็นำความรู้นั้นไปประพฤติปฏิบัติทำให้เกิดปัญหาทางจริยธรรมว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรประพฤติหรือไม่ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้มนุษย์มีความรู้ ที่เป็นความจริงว่าชีวิตไม่ได้มีองค์ประกอบแค่ร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงอาศัยอยู่ในร่างกายของตนด้วย เมื่อชีวิตของมนุษย์สิ้นลงไป จิตวิญญาณจะออกจากร่างกายที่แตกสลายหมดสภาพการเป็นเรือนให้จิตวิญญาณอาศัยอยู่เพื่อรับรู้เรื่องราวของโลกอีกต่อไปส่วนจิตวิญญาณจะไปจุติในภพชาติอื่น ๆ ต่อไป ส่วนเป็นภพชาติใดนั้น ขึ้นอยู่กับกระทำของชีวิตตนว่า คุณค่าของการกระทำนั้นเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม เพราะผลกรรมที่กระทำไปยังเป็นสัญญา(จำ) นอนเนื่องอยู่ในจิตวิญญาณของตนต่อไป
จิตวิญญาณของมนุษย์จึงเป็นตัวตนผ่านการเดินทางข้ามกาลเวลาไม่รู้กี่อสงไขยกี่แสนกัปป์แล้ว และจิตวิญญาณสั่งสมวิบากกรรมที่จรผ่านชีวิตเข้ามา เพราะการมัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธัมมารมย์ ในภพชาติต่าง ๆ ที่จิตเดินไปท่องเที่ยวมา เป็นต้น ความมัวเมาในสิ่งเหล่านั้นเกิดจากจิตวิญญาณผัสสะสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วทำให้จิตมีอาการเกิดอารมณ์ของตัณหา ในความอยากมี อยากได้ อยากเป็น ผลของการกระทำมีคุณค่าของอกุศลกรรม เมื่อสิ้นชีวิตลงไป อกุศลกรรมที่ห่อหุ้มจิตวิญญาณไว้ จะนำจิตวิญญาณเดินทางไปจุติจิตในทุคติภูมิเพื่อรับผลของการกระทำตัวต่อไป ถ้าผลของการกระทำตามอารมณ์ของตัณหาเป็นกุศลกรรม เมื่อสิ้นชีวิตลงไปตัวตนของจิตวิญญาณจะไปจุติจิตในสุคติภูมิเป็นต้น
แต่มนุษย์ผู้จะเห็นความจริงของจิตวิญญาณไปจุติจิตให้ภพภูมิต่างๆ ได้นั้น มนุษย์ต้องเข้าคอสต์ฝึกฝนตนเอง เพื่อชำระกิเลสตัณหาที่สั่งสมอยู่ในกระแสจิตวิญญาณของตนเองมายาวนานแล้ว เช่นเดียวกับกระแสของแอฟฟริเคชั่น ที่มนุษย์สร้างขึ้นปล่อยลงระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อสั่งสมในโทรศัพท์มากจนระบบอินเตอร์เน็ตช้า ไม่ทันอารมณ์ความต้องการของมนุษย์ผู้อินเตอร์เน็ตนั้น ด้วยการปฏิบัติธรรมตามวิธีการตามมรรคมีองค์ ๘ จิตวิญญาณจึงจะบรรลุความรู้และความจริงในระดับถึงอภิญญา ๖ ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นย่อมเห็นการเวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏของจิตวิญญาณของตนเอง เห็นตนเองสิ้นชีวิตลงไปตัวตนของจิตวิญญาณจะออกจากร่างไปจุจิตในภพอื่นต่อไป เมื่อจิตวิญญาณเกิด มนุษย์ เทวดา สู่ภพใดในสวรรค์ นรก ทุกคติ อบายต่าง ๆ น้อมรับเอาประสบการณ์ในเรื่องราวของภพนั้น ๆ ผ่านอินทรีย์ ๖ ส่วนของเรือนกาย มาใส่ไว้ในจิตวิญญาณตลอดเวลา จิตวิญญาณจึงเก็บไฟล์ต่าง ๆ หลายร้อยล้านเรื่องราวไว้เป็นสัญญาในจิตของตนเอง และไฟล์เรื่องต่าง ๆ ตามตัวตนของจิตวิญญาณเดินทางไปท่องเที่ยวในภพภูมิไหนก็ตาม สัญญาแห่งความทรงจำเคยมีอยู่ในภพเดิม ๆ นั้น ไม่เคยสูญหายไปจากจิตวิญญาณแต่อย่างใด ยังห่อหุ้มจิตวิญญาณของพวกเขาอยู่อย่างนั้นไม่มีวันจบสิ้น แม้พวกเขาจะเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้กี่รอบแล้วก็ตาม
หากพวกเขาอยากเรียนรู้วิบากกรรมของชีวิตที่ผ่านมานั้น ไม่มีวิธีการอื่นใด จะทำได้นอกจากปฏิบัติบูชาตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย วิธีการปฏิบัติตนตามมรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น จิตวิญญาณของพวกจะย้อนระลึกถึงวันเก่า ๆ พวกเขาย้อนหลังได้ พวกเขาจะเล่าเรื่องของประสบการณ์ของชีวิต ที่พรั่งพรู่ดุจกระแสน้ำที่หลั่งไหลออกมาไม่วันที่เหือดแห้งแต่อย่างใด ดังนั้น ชีวิตมนุษย์ทุกคน แม้ดูเหมือนจะว่างเปล่าจากตัวตนแต่ในชีวิต เพราะเมื่อตายไปเหลือแต่เถ้ากระดูกไม่เป็นสิ่งไม่มีรูปร่างของมนุษย์อีกต่อไป แต่ดวงจิตวิญญาณอันลึกลับที่มีธรรมชาติเป็นกระแสเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ โทรทัศน์ คลื่นของสมาร์ทโฟนที่ซ่อนเร้นประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านกาลเวลาอันน่าสะพรึ่งกลัว และความสดใสของธรรมชาติ ที่ผู้คนได้ผัสสะประทับบจิตไม่เคยลืมเลือนจากหัวใจของผู้คน จิตวิญญาณจึงเป็นศูนย์กลางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันน่าค้นหาของมนุษย์ เพราะเป็นศูนย์รวมของการเดินทางผ่านกาลเวลาเมื่อเราศึกษาหาความรู้ผ่านประสาทสัมผัสของเราเข้าสู่จิต เราเห็นว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่าง จากสัตว์น้อยใหญ่ทั่วไปจนเรียกว่าสัตว์ประเสริฐก็ตามแต่ในขณะเดียวกัน มนุษย์เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงที่มีโดยสมมติ มีสภาวะความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปและเวียนว่ายเกิดในวัฏสงสารต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด

ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะมนุษย์แต่ละคนมีจิตวิญญาณตัวตนแท้จริง จิตวิญญาณของพวกเขามีธรรมชาติเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง มีลักษณะเป็นดวง อาศัยอยู่ในร่างกายเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อร่างกายหมดสภาพเป็นที่อยู่อาศัยของจิตอีกต่อไป จิตวิญญาณของมนุษย์จะออกจากร่างกายไปสู่ภพภูมิอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ นี่คือลักษณะตามธรรมชาติของจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคน ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ในระหว่างดำรงธาตุขันธ์มีอยู่เป็นมนุษย์อยู่ จิตวิญญาณมนุษย์อาศัยร่างกายนี้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลก หรือปัจจัยภายนอกที่มาผัสสะชีวิตตลอดเวลา ทำให้จิตวิญญาณเกิดแนวคิดเหตุผลของความรู้และความจริงของตนที่แตกต่างกันออกไปตามความเข้าใจของตนเอง หรือมีความเห็นไปตามกระแสของแนวคิดของผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัย ที่มีความเชื่ออย่างนั้น มนุษย์ทุกคนแม้จะมีรูปร่างหน้าตา บุคลิกภาพหลายอย่างมีลักษณะใกล้เคียงกันก็ตาม แต่หาใช่ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ไม่เพราะจิตวิญญาณมีอยู่ในร่างกายมนุษย์ที่เป็นตัวตนที่แท้จริงนั้น จะมีธรรมชาติของความรู้ตัวที่พอใจหรือไม่พอใจตลอดเวลา บางเวลาที่อยู่ในสังคมนั้นจิตวิญญาณขอเลือก ที่จะไม่แสดงความรู้สึกไม่พอใจมนุษย์คนใด เพื่อรักษามารยาทในสังคมในยามที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยภยันตรายให้คนอื่นหรือศัตรูให้รู้ว่าตนเองกำลังคิดจะทำอะไร อาการที่มนุษย์ที่แสดงออกมาในบางเวลานั้นจึงมิใช่ตัวตนที่แท้จริงนอกจากนี้คนหลายมักกล่าวว่ามนุษย์รู้จักผู้คนมากมาย แต่ไม่เคยรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคนนั้นเลย.
ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงของชีวิต ชีวิตมนุษย์โดยทั่วไปตกอยู่ในอำนาจของอวิชชาความโง่เขลา เว้นแต่ผู้นั้นจะพัฒนาศักยภาพของชีวิตสู่ความเป็นอริยบุคคล เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น