Introduction: "soul" according to Buddhaphumi's philosophy
๑.บทนำ
การศึกษาปัญหาปรัชญาเรื่องความจริงของวิญญาณ ตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ควรศึกษา เพราะเป็นข้อเท็จจริง ที่มนุษย์ได้ยินกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีใครคิดจะทิ้งเรื่องจิตวิญญาณเอาไว้เบื้องหลังผู้คนก็ยังคงบอกข้อเท็จจริงในเรื่องวิญญาณให้คนรุ่นหลังฟัง ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐาน มาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนี้ก็ตาม เนื่องจากมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ แต่ต้องการจะรู้ จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป ไม่ว่าผลการพิสูจน์คำตอบว่าจริงหรือเท็จก็ตาม เพราะหลักฐานทางปรัชญานั้นเป็นพยานบุคคลที่ยังไม่มีความรู้เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ขึ้นไป จึงไม่สามารถมองเห็นวิญญาณของผู้ตายออกจากร่างของสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ เช่น ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ชาวอารยันเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่า เทพเจ้ามีเมตตาต่อมนุษย์และสามารถช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ก็ด้วยการบูชาเทพเจ้าผ่านพิธีบูชาของพราหมณ์เท่านั้น เมื่อการบูชาเทพเจ้าเป็นส่วหนึ่งของชีวิตประจำวันปกติ ของชาวอนุทวีปอินเดียด้วยของมีค่าต่าง ๆ ที่พวกพราหมณ์ใช้ เมื่อพิธีกรรมเสร็จสิ้นของมีค่าเหล่านั้น ก็กลายเป็นสมบัติของพราหมณ์และสร้างความมั่งคั่งให้กับนิกายต่างๆ ของพราหมณ์ แต่การบูชาเทพเจ้าไม่ได้มีไว้สำหรับพราหมณ์อารยันเท่านั้น ยังมีพราหมณ์ดราวิเดียนที่ทำพิธีบูชาน้ำเป็นเทวดา ดังนั้น เมื่อมีการทำบูชาเพื่อรักษาศรัทธาในเทพเจ้าของนิกายของตนและผูกขาดการบูชาเพียงฝ่ายเดียว พราหมณ์นิกายต่าง ๆ ก็หาเหตุผลที่จะยกย่องเทพเจ้าของนิกายของตน และหาวิธีจำกัดสิทธิและหน้าที่ของกันและกันในการบูชายัญ เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี พวกพราหมณ์อารยันจึงใช้โอกาสนี้ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียน จึงเสนอต่อรัฐสภาให้ใช้คำสอนของพราหมณ์ในการบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยอ้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงสร้างวรรณะให้ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เพื่อความสงบสุขและเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน และความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเท่านั้น เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะพิจารณาเรื่องนี้ พวกเขาเห็นพ้องกันว่าการบูชายัญจะนำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์ทุกนิกาย ในอนาคต มหาราชาอาจแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิตเช่นเดียวกับพราหมณ์อารยัน เพื่อความมั่นคงของประเทศและความรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว รัฐสภาแห่งอาณาจักรโกลิยะและอาณาจักรอื่น ๆ จึงนำหลักคำสอนของพราหมณ์ มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ และไม่สามารถเพิกถอนกฎหมายได้เพราะเป็นข้อห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว
ดังนั้น เมื่อกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะประกาศใช้ในอาณาจักรสักกะ ผู้ใดกระทำความผิดในการร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะนั้น ซึ่งส่งผลให้วรรณะไม่บริสุทธิ์ จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย เพราะเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย บุคคลเหล่านี้จะถูกลงโทษโดยคนในสังคมที่ตนพำนักอาศัย ที่คู่สมรสต้องชจะต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมโดยปริยาย เป็น "จัณฑาล" และถูกขับไล่จากสังคมนั้น ส่วนวิธีการลงโทษเรียกว่า"พรหมทัณฑ์"(punisment) หากสมาชิกในครอบครัวมีส่วนพัวพันกับการกระทำผิดกฏหมายด้วย ก็จะถูกไล่ออกจากสังคมนั้น ดังนั้นเมื่อลูกสาวคบหากับชายจัณฑาล พ่อแม่ห้ามแต่ไม่เชื่อฟัง พ่อก็จะตัดสินใจฆ่าลูกสาวของตัวเองเพื่อรักษาเกียรติยศของครอบครัว ข้อเท็จจริงฟังได้เช่นนี้ ชีวิตมนุษย์จึงถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าตามบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะและกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดห้ามมิให้ยกเลิกกฏหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะที่บัญญัติกฎหมายไว้ดีแล้ว ชีวิตของผู้คนจึงมืดมนดั่งที่พวกพราหมณ์สาปแช่งไว้
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนป่าไม้สาละลุมพินี อาณจักรสักกะ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชาและอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ทรงมีพระโอรสด้วยกัน ๑ พระองค์คือเจ้าชายราหุลและทรงอาศัยอยู่อย่างมีความสุขในปราสาท ๓ หลังในเขตพระราชวังพระนครกบิลพัสดุ์ ในพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระองค์ทรงเบื่อหน่ายกับกิจกรรมทางอารมณ์ที่น่ารื่นรมย์ในปราสาท ๓ หลัง เป็นเวลาหลายปี เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมราษฏรในพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงเห็นความทุกข์ยากของจัณฑาลหลายร้อยคนที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในวัยแก่ชรา เจ็บป่วยไข้ และนอนตายบนถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกเศร้าในพระทัยยิ่งนัก แต่ด้วยความเมตตาของเจ้าชายสิทธัตถะต่อจัณฑาล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งเป็นปุโรหิต พระองค์ทรงตรัสถามถึงความเป็นมาของพระพรหมและอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์ในฐานะปุโรหิต ผู้ใดอธิบายที่มาของพระพรหมและพระอิศวรให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยผนวช และพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้กฎธรรมชาติของวัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ ด้วยญาณทิพย์ว่าเมื่อมนุษย์ตายวิญญาณจะออกจากร่างกายและเกิดใหม่ตามอารมณ์ของกรรมที่สั่งสมไว้ในจิตใจ
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนว่ามิให้ตกลงใจเชื่อข้อเท็จจริงที่ได้ยินสืบต่อกันมา เพราะตำราหรือคัมภีร์ที่ตนศึกษา เพราะเป็นอาจารย์ของตน ฯลฯ ทำให้ผู้เขียนสงสัยและชอบค้นคว้าเรื่อง ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับ"วิญญาณ" ในพระไตรปิฎกต่อไป โดยรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ พยานเอกสาร พระไตรปิฎมหาจุฬาฯ พระไตรปิฎกฉบับหลวง อรรถกถา ความคิดเห็นของนักวิชาการในยุคสมัยปัจจุบันเป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบเรื่องวิญญาณในพระไตรปิฎก การให้เหตุผลของคำตอบในบทความนี้เป็นความรู้ที่เข้าเกณฑ์ในการตัดสินความจริงตามสมควร และไม่มีเหตุสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับพระวิทยากรในการบรรยายประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและกระบวนการคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานจะเป็นประโยชน์แก่นิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและศาสนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยในระดับปริญญาเอกอย่างสมเหตุสมผลผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้ทั้งข้อเท็จจริงและหลักธรรมทางพุทธศาสนาและทฤษฎีความรู้ในญาณวิทยาเป็นต้น

๑.บทนำ
การศึกษาปัญหาปรัชญาเรื่องความจริงของวิญญาณ ตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ควรศึกษา เพราะเป็นข้อเท็จจริง ที่มนุษย์ได้ยินกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีใครคิดจะทิ้งเรื่องจิตวิญญาณเอาไว้เบื้องหลังผู้คนก็ยังคงบอกข้อเท็จจริงในเรื่องวิญญาณให้คนรุ่นหลังฟัง ถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐาน มาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนี้ก็ตาม เนื่องจากมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ แต่ต้องการจะรู้ จึงจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป ไม่ว่าผลการพิสูจน์คำตอบว่าจริงหรือเท็จก็ตาม เพราะหลักฐานทางปรัชญานั้นเป็นพยานบุคคลที่ยังไม่มีความรู้เหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ขึ้นไป จึงไม่สามารถมองเห็นวิญญาณของผู้ตายออกจากร่างของสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ เช่น ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ชาวอารยันเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่า เทพเจ้ามีเมตตาต่อมนุษย์และสามารถช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ก็ด้วยการบูชาเทพเจ้าผ่านพิธีบูชาของพราหมณ์เท่านั้น เมื่อการบูชาเทพเจ้าเป็นส่วหนึ่งของชีวิตประจำวันปกติ ของชาวอนุทวีปอินเดียด้วยของมีค่าต่าง ๆ ที่พวกพราหมณ์ใช้ เมื่อพิธีกรรมเสร็จสิ้นของมีค่าเหล่านั้น ก็กลายเป็นสมบัติของพราหมณ์และสร้างความมั่งคั่งให้กับนิกายต่างๆ ของพราหมณ์ แต่การบูชาเทพเจ้าไม่ได้มีไว้สำหรับพราหมณ์อารยันเท่านั้น ยังมีพราหมณ์ดราวิเดียนที่ทำพิธีบูชาน้ำเป็นเทวดา ดังนั้น เมื่อมีการทำบูชาเพื่อรักษาศรัทธาในเทพเจ้าของนิกายของตนและผูกขาดการบูชาเพียงฝ่ายเดียว พราหมณ์นิกายต่าง ๆ ก็หาเหตุผลที่จะยกย่องเทพเจ้าของนิกายของตน และหาวิธีจำกัดสิทธิและหน้าที่ของกันและกันในการบูชายัญ เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี พวกพราหมณ์อารยันจึงใช้โอกาสนี้ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียน จึงเสนอต่อรัฐสภาให้ใช้คำสอนของพราหมณ์ในการบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยอ้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ ดังนั้นพระองค์จึงสร้างวรรณะให้ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เพื่อความสงบสุขและเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน และความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเท่านั้น เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะพิจารณาเรื่องนี้ พวกเขาเห็นพ้องกันว่าการบูชายัญจะนำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์ทุกนิกาย ในอนาคต มหาราชาอาจแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิตเช่นเดียวกับพราหมณ์อารยัน เพื่อความมั่นคงของประเทศและความรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว รัฐสภาแห่งอาณาจักรโกลิยะและอาณาจักรอื่น ๆ จึงนำหลักคำสอนของพราหมณ์ มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ และไม่สามารถเพิกถอนกฎหมายได้เพราะเป็นข้อห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว
ดังนั้น เมื่อกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะประกาศใช้ในอาณาจักรสักกะ ผู้ใดกระทำความผิดในการร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะนั้น ซึ่งส่งผลให้วรรณะไม่บริสุทธิ์ จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย เพราะเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย บุคคลเหล่านี้จะถูกลงโทษโดยคนในสังคมที่ตนพำนักอาศัย ที่คู่สมรสต้องชจะต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมโดยปริยาย เป็น "จัณฑาล" และถูกขับไล่จากสังคมนั้น ส่วนวิธีการลงโทษเรียกว่า"พรหมทัณฑ์"(punisment) หากสมาชิกในครอบครัวมีส่วนพัวพันกับการกระทำผิดกฏหมายด้วย ก็จะถูกไล่ออกจากสังคมนั้น ดังนั้นเมื่อลูกสาวคบหากับชายจัณฑาล พ่อแม่ห้ามแต่ไม่เชื่อฟัง พ่อก็จะตัดสินใจฆ่าลูกสาวของตัวเองเพื่อรักษาเกียรติยศของครอบครัว ข้อเท็จจริงฟังได้เช่นนี้ ชีวิตมนุษย์จึงถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าตามบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะและกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดห้ามมิให้ยกเลิกกฏหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะที่บัญญัติกฎหมายไว้ดีแล้ว ชีวิตของผู้คนจึงมืดมนดั่งที่พวกพราหมณ์สาปแช่งไว้

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนป่าไม้สาละลุมพินี อาณจักรสักกะ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชาและอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ทรงมีพระโอรสด้วยกัน ๑ พระองค์คือเจ้าชายราหุลและทรงอาศัยอยู่อย่างมีความสุขในปราสาท ๓ หลังในเขตพระราชวังพระนครกบิลพัสดุ์ ในพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระองค์ทรงเบื่อหน่ายกับกิจกรรมทางอารมณ์ที่น่ารื่นรมย์ในปราสาท ๓ หลัง เป็นเวลาหลายปี เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมราษฏรในพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงเห็นความทุกข์ยากของจัณฑาลหลายร้อยคนที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในวัยแก่ชรา เจ็บป่วยไข้ และนอนตายบนถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกเศร้าในพระทัยยิ่งนัก แต่ด้วยความเมตตาของเจ้าชายสิทธัตถะต่อจัณฑาล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งเป็นปุโรหิต พระองค์ทรงตรัสถามถึงความเป็นมาของพระพรหมและอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์ในฐานะปุโรหิต ผู้ใดอธิบายที่มาของพระพรหมและพระอิศวรให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยผนวช และพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้กฎธรรมชาติของวัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ ด้วยญาณทิพย์ว่าเมื่อมนุษย์ตายวิญญาณจะออกจากร่างกายและเกิดใหม่ตามอารมณ์ของกรรมที่สั่งสมไว้ในจิตใจ
เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนว่ามิให้ตกลงใจเชื่อข้อเท็จจริงที่ได้ยินสืบต่อกันมา เพราะตำราหรือคัมภีร์ที่ตนศึกษา เพราะเป็นอาจารย์ของตน ฯลฯ ทำให้ผู้เขียนสงสัยและชอบค้นคว้าเรื่อง ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับ"วิญญาณ" ในพระไตรปิฎกต่อไป โดยรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ พยานเอกสาร พระไตรปิฎมหาจุฬาฯ พระไตรปิฎกฉบับหลวง อรรถกถา ความคิดเห็นของนักวิชาการในยุคสมัยปัจจุบันเป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบเรื่องวิญญาณในพระไตรปิฎก การให้เหตุผลของคำตอบในบทความนี้เป็นความรู้ที่เข้าเกณฑ์ในการตัดสินความจริงตามสมควร และไม่มีเหตุสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับพระวิทยากรในการบรรยายประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและกระบวนการคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานจะเป็นประโยชน์แก่นิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและศาสนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยในระดับปริญญาเอกอย่างสมเหตุสมผลผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้ทั้งข้อเท็จจริงและหลักธรรมทางพุทธศาสนาและทฤษฎีความรู้ในญาณวิทยาเป็นต้น
บรรณานุกรม
๑.http://dictionary.sanook.com/search/นิพพาน
๒.พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท๓ จิตวรรค๔. สังฆรักขิตเถรวัตถเรื่องพระสังฆรักขิตเถระ
5 ความคิดเห็น:
สาธุครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ
เขียนใด้ดีมากครับ
ครับจิตเราต้องควบคุมตลอดเวลาเพราะเป็นธรรมดาที่จิตเราทุกคนจะไหลลงไปในสังสารวัฎ
แสดงความคิดเห็น