The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

บทนำ: "วิญญาณ" ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ

Introduction: "soul"  according to 
Buddhaphumi's philosophy

๑.บทนำ 

      การศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของจิตวิญญาณตามหลักปรัชญาในดินแดนพุทธภูมิ    เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่น่าสนใจที่ควรศึกษา เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มนุษย์เคยได้ยินกันมาแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีใครคิดจะทิ้งเรื่องราวทางจิตวิญญาณให้ผ่านไป ผู้คนก็ยังเอาข้อเท็จจริงในเรื่องวิญญาณนี้เล่าให้คนรุ่นหลังได้ฟัง ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้แต่อย่างใด เพราะมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ แต่พวกเขาต้องการจะรู้ ก็จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป  ไม่ว่าผลการพิสูจน์คำตอบว่าจริงหรือเท็จ เพราะพยานหลักฐานทางปรัชญานั้นเป็นพยานบุคคลที่ยังไม่มีความรู้เหนือประสาทสัมผัสของตนเองขึ้นไป จึงมองไม่เห็นวิญญาณของคนตายออกจากร่างกายของสัตว์น้อยใหญ่ ตัวอย่าง  ในยุครุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ 
ชาวอารยันเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่า เทพเจ้ามีเมตตาต่อมนุษย์ และสามารถช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ด้วยการบูชาเทพเจ้าผ่านการทำพิธีบูชาของพราหมณ์เท่านั้น  เมื่อการบูชาเทพเจ้าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของชาวอนุทวีปอินเดีย ด้วยของมีค่าต่าง ๆ ตามที่พราหมณ์ใช้ เมื่อเสร็จสิ้นพิธี ของมีค่าต่าง ๆ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพราหมณ์และได้สร้างความมั่งคั่งให้กับนิกายต่างๆ ของพราหมณ์  แต่การบูชาเทพเจ้าไม่ใช่พราหมณ์อารยันเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีพราหมณ์ดราวิเดียนทำพิธีบูชาน้ำเป็นเทวดา ดังนั้นเมื่อการทำบูชาเพื่อรักษาศรัทธาในเทพเจ้าของนิกายของตนและผูกขาดการบูชาไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว นิกายต่าง ๆ  ได้หาเหตุผลที่จะยกย่องเทพเจ้าของนิกายของตนและหาวิธีจำกัดสิทธิและหน้าที่บูชายัญซึ่งกันและกัน เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ตามจารีตประเพณี จึงใช้โอกาสนี้ที่จะจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ ดราวิเดียนจึงเสนอความเห็นต่อรัฐสภา เพื่อให้นำหลักคำสอนของพราหมณ์มาบัญญัติกฎหมายจารีตปะเพณีว่าด้วยวรรณะโดยอ้างว่าพระพรหมสร้างมนุษย์ พระองค์จึงสร้างวรรณะให้ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด เพื่อความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชนและความเจริญรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะเข้าประชุมพิจารณาเรื่องนี้เห็นพ้องกันว่า การบูชายัญนำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์ในทุกนิกาย ในอนาคต มหาราชาอาจแต่งตั้งพราหมณ์ดราวิเดียนเป็นปุโรหิตเช่นเดียวกับพราหมณ์อารยัน เพื่อความมั่นคงของประเทศและความรุ่งเรืองของชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว รัฐสภาแห่งอาณาจักรโกลิยะและอาณาจักรอื่น ๆ จึงนำหลักคำสอนของพราหมณ์ มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ และไม่สามารถเพิกถอนกฎหมายได้เพราะเป็นข้อห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารประเทศที่ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว

           ดังนั้น เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะในอาณาจักรสักกะ ผู้ใดกระทำความผิดโดยสมรสข้ามวรรณะนั้น อันเป็นเหตุให้เกิดวรรณะไม่บริสุทธิ์ ต้องรับโทษตามกฎหมาย  เพราะเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน ต้องถูกลงโทษจากคนในสังคมที่พำนักอาศัย ที่คู่สมรสต้องละทิ้งวรรณะเป็น "จัณฑาล" และถูกขับไล่จากสังคมนั้น ส่วนวิธีการลงโทษเรียกว่า"พรหมทัณฑ์"(punisment) หากสมาชิกในครอบครัวมีส่วนพัวพันกับการกระทำผิดกฏหมายด้วย ก็จะถูกไล่ออกจากสังคมนั้น ดังนั้นเมื่อลูกสาวคบหากับชายจัณฑาล พ่อแม่ห้ามแต่ไม่เชื่อฟัง พ่อก็จะตัดสินใจฆ่าลูกสาวของตัวเองเพื่อรักษาเกียรติยศของครอบครัว ข้อเท็จจริงฟังได้เช่นนี้ ชีวิตมนุษย์จึงถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าตามบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะและกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดห้ามมิให้ยกเลิกกฏหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะที่บัญญัติกฎหมายไว้ดีแล้ว ชีวิตของผู้คนจึงมืดมนดั่งที่พวกพราหมณ์สาปแช่งไว้ 

         เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนป่าไม้สาละลุมพินี อาณจักรสักกะ พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชาและอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ทรงมีพระโอรสด้วยกัน ๑ พระองค์คือเจ้าชายราหุลและทรงอาศัยอยู่อย่างมีความสุขในปราสาท ๓ หลังในเขตพระราชวังพระนครกบิลพัสดุ์ ในพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา พระองค์ทรงเบื่อหน่ายกับกิจกรรมทางอารมณ์ที่น่ารื่นรมย์ในปราสาท ๓  หลัง เป็นเวลาหลายปี เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมราษฏรในพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงเห็นความทุกข์ยากของจัณฑาลหลายร้อยคนที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในวัยแก่ชรา เจ็บป่วยไข้ และนอนตายบนถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ ทำให้พระองค์ทรงรู้สึกเศร้าในพระทัยยิ่งนัก แต่ด้วยความเมตตาของเจ้าชายสิทธัตถะต่อจัณฑาล เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งเป็นปุโรหิต พระองค์ทรงตรัสถามถึงความเป็นมาของพระพรหมและอิศวร แต่ไม่มีพราหมณ์ในฐานะปุโรหิต ผู้ใดอธิบายที่มาของพระพรหมและพระอิศวรให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง  เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยผนวช และพัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนตรัสรู้กฎธรรมชาติของวัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ ด้วยญาณทิพย์ว่าเมื่อมนุษย์ตายวิญญาณจะออกจากร่างกายและเกิดใหม่ตามอารมณ์ของกรรมที่สั่งสมไว้ในจิตใจ 

       เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงที่กล่าวข้างต้นแล้ว  พระพุทธเจ้าทรงสอนว่ามิให้ตกลงใจเชื่อข้อเท็จจริงที่ได้ยินสืบต่อกันมา เพราะตำราหรือคัมภีร์ที่ตนศึกษา เพราะเป็นอาจารย์ของตน  ฯลฯ ทำให้ผู้เขียนสงสัยและชอบค้นคว้าเรื่อง ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับ"วิญญาณ" ในพระไตรปิฎกต่อไป โดยรวบรวมหลักฐานจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ พยานเอกสาร พระไตรปิฎมหาจุฬาฯ  พระไตรปิฎกฉบับหลวง  อรรถกถา ความคิดเห็นของนักวิชาการในยุคสมัยปัจจุบันเป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบเรื่องวิญญาณในพระไตรปิฎก การให้เหตุผลของคำตอบในบทความนี้เป็นความรู้ที่เข้าเกณฑ์ในการตัดสินความจริงตามสมควร และไม่มีเหตุสงสัยในข้อเท็จจริงอีกต่อไป บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับพระวิทยากรในการบรรยายประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้าในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลและกระบวนการคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานจะเป็นประโยชน์แก่นิสิตปริญญาเอกสาขาปรัชญาและศาสนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัยในระดับปริญญาเอกอย่างสมเหตุสมผลผ่านเกณฑ์การตัดสินความรู้ทั้งข้อเท็จจริงและหลักธรรมทางพุทธศาสนาและทฤษฎีความรู้ในญาณวิทยาเป็นต้น  


บรรณานุกรม
๑.http://dictionary.sanook.com/search/นิพพาน
๒.พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒๕ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท๓ จิตวรรค๔. สังฆรักขิตเถรวัตถเรื่องพระสังฆรักขิตเถระ 

5 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Unknown กล่าวว่า...

เขียนใด้ดีมากครับ

Unknown กล่าวว่า...

ครับจิตเราต้องควบคุมตลอดเวลาเพราะเป็นธรรมดาที่จิตเราทุกคนจะไหลลงไปในสังสารวัฎ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ