The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับ "วิญญาณ" ในพระไตรปิฎก

Epistemological problems regarding the "soul" in Tripitaka
(ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับ"วิญญาณ"ในพระไตรปิฎก) 

บทนำ         

            โดยทั่วไปแล้ว ชาวพุทธทั่วโลกเคยได้ยินความจริงเกี่ยวกับวิญญาณ มาจากคำเทศนาของพระภิกษุทั้งพระพุทธศาสนาทั้งในนิกายเถรวาทและนิกายมหายานสืบทอดกันมากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว และชาวพุทธส่วนใหญ่ก็ยอมรับโดยปริยายว่าเป็นเรื่องจริง โดยไม่มีการสืบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ  เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในเรื่องจิตวิญญาณนี้  แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ  ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา อย่าเพ่งเชื่อทันที เราควรสงสัยก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลให้เรามาอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของวิญญาณนั้น หากเราไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาจากพยานเพียงคนเดียวนั้น ยังคงเป็นที่น่าสงสัยและไม่น่าเชื่อถือ เป็นไม่ได้จะฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง เพราะมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของตนเองและ มีข้อจำกัดในการได้รับรู้ความจริงที่สมมติขึ้นและความจริงขั้นปรมัตถ์  นอกจากนี้ มนุษย์มักจะมีอคติต่อผู้อื่น เพราะความไม่รู้ของตนเอง ความเกลียดชัง ความกลัวและความชอบส่วนบุคคล เป็นต้น 

       แต่โดยทั่วไปพยานหลักฐานทางปรัชญาในสมัยรุ่งเรืองของพราหมณ์เป็น "พยานบุคคล" หรือประจักษ์พยานนั้นไม่น่าเชื่อถือ เพราะจิตวิญญาณมีขอบเขตการรับรู้ที่จำกัดผ่านอวัยวะอินทรีย์ ๖ อย่าง ดังนั้นจึงไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริงของปรากฎการณ์ทางสังคม และธรรมชาติทั้งหมดได้ทุกเรื่อง และมนุษย์มักอคติต่อกันมักให้ข้อเท็จจริงไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ของความจริง ซึ่งเป็นการกระทำผิดต่อศีลธรรมและกฎหมาย เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกพวกพราหมณ์อารยันสอนชาวสักกะและชาวโกฬิยะว่าพระพรหมและพระอิศวรว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะที่เกิดมาเท่านั้น   ส่วนมนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นมาตายแล้วสูญสิ้นไม่มีวิญญาณออกจากร่างแต่อย่างใด กรรมที่มนุษย์กระทำต่อกันไม่มีผลอะไรต่อกัน คำสอนของพราหมณ์อารยันกลายเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาการประกอบอาชีพ การเมือง  และความอิสระในการใช้ชีวิตในสังคมชีวิตของผู้คนในยุคอินเดียโบราณจึงมืดมนเพราะขาดอำนาจทางการศึกษาในการวิเคราะห์พยานหลักฐานเพื่อหาเหตุผลที่จะอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบเกี่ยวกับพระพรหมและพระอิศวรรวมทั้งเทพเจ้าอื่น  ทำให้ขาดอิสระในการประกอบอาชีพตามความฝันของตนเอง จึงไม่เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง  จึงไม่มีอิทธิพลต่อการออกแบบอาณาจักรที่ตน อาศัยอยู่ตามความอำนาจอธิปไตยในประเทศและขาดอิสระทำพิธีกรรมทางศาสนา   เพือเป็นหลักปฏิบัติบรรลุถึงความสำเร็จของตนเอง เป็นต้น  เมื่อนำคำสอนของศาสนาพราหมณ์มองเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อปุโรหิต (priesthood) นำเสนอคำสอนทางศาสนาพราหมณ์ไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ มีสภาพบังคับให้คนในอาณาจักรโบราณเหล่านั้นต้องปฏิบัติตาม  ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายต้องถูกลงพราหมทัณฑ์โดยคนในสังคมขับไล่ออกจากถิ่นพำนักของตนเองกลายเป็นจัณฑาลต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนตลอดชีวิตบนท้องถนนในพระนครใหญ่ เพราะหมดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวรรณะแล้ว  เจ้าชายสิทธัตถะทรงพบนิมิต ๔ หมายถึงคนวรรณะทั้ง ๔  กระทำความผิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ พวกเขาถูกลงโทษตลอดชีวิตจากคนในสังคมด้วยการขับไล่ออกจากสังคม 

       ตามกระบวนการคิดทางปรัชญา  เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นว่าเป็นความจริง  ก็ต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นด้วยหากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง   ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมีเหตุผลเพียงเล็กน้อยและไม่น่าเชื่อถือนักปรัชญาถือว่าข้อเท็จจริงนั้นไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง  เพราะหลักฐานมีเพียงด้านเดียวของผู้เล่าข้อท็จจริงอาจเกิดจากอคติของผู้เล่า   หรือพยานหลักฐานไม่มีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในใจของตนเอง เป็นต้น  เพื่อแก้ปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จเพื่อใช้หลอกลวงผู้อื่น  เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ยินข้อเท็จจริงจากพราหมณ์ปุโรหิตได้ว่า   พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนเกิดมา   และพวกเคยพบพระพรหมและอิศวรในแคว้นสักกะมาก่อน   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามว่าพระพรหมและพระอิศวรมีประวัติความเป็นมาอย่างไร?    แต่ไม่มีพราหมณ์ปุโรหิตตอบพระองค์ได้ ทำให้พระองค์ทรงสงสัยการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น  เมื่อความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าเป็นความรู้เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์จะรับรู้ได้เพื่อพิสูจน์การมีอยู่จริงของเทพเจ้าทั้งสององค์   เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกบวชเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนเองหรือไม่ มีเหตุผลเพียงใด       

        เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ๑. พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ภาค ๑ วิชชา จุตูปปาตญาณ[๑๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิฟัง บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมองอ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้เราน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์กำลังเกิดจุติ กำลังอุบัติทั้งชั้นต่ำและชั้นสูงงามและไม่งามเกิดดีหรือไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะมีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดพวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในอบายทุคติ วินิบาตนรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต  ไม่กล่าวร้ายพระอริยะมีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ 

       ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงพัฒนาศักยภาพในชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยมรรคมีองค์ ๘  ทรงเกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทั่วไป และเห็นดวงวิญญาณของสัตว์น้อยใหญ่ออกจากร่างที่ตายแล้วไปจุติอีกในภพภูมิอื่น ๆตามกรรมของตัวเองที่สั่งสมอยู่ในดวงวิญญาณ  หากบุคคลใดประพฤติกายสุจริต วจีสุจริตและมโนสุจริตก็จะเป็นในภพภูมิที่ดีที่เรียกว่าสุคติภูมิ   หากผู้ใดประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เมื่ออารมณ์กรรมสั่งสมอยู่ในดวงวิญญาณก็ไปเกิดในทุคติภูมิ เป็นต้น  

        ปัญหาที่ต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งว่าวิญญาณคืออะไร  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ พระสุตตปิฎกเล่มที่ ๑๗  ขุททกนิกาย ธรรมบท ๓.จิตวรรค ๑.เมฆิยเถรวัตถุ พระผู้มีพระภาคพระคาถานี้ แก่พระสังฆรักขิตเถระ [๓๗] คนเหล่าใดสำรวมจิต  เที่ยวไปดวงเดียว  ไม่มีรูปร่างอาศัยอยู่ในถ้ำ คนเหล่านั้นจะหลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร 

       เมื่อศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกข้างต้นแล้ว ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงว่าธรรมชาติของวิญญาณมนุษย์ เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างอยู่ในร่างกายของมนุษย์เกิดจากการปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา ปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมกันเป็นเวลา ๙ เดือน และเกิดเป็นมนุษย์ใหม่เมื่อจิตวิญญาณมีลักษณะไร้รูปร่างเหมือนคลื่นโทรศัพท์หรือคลื่นอินเตอร์เน็ต  มีลักษณะเป็นดวงที่ต้องไปจุติจิตพร้อมกับอารมณ์กรรมที่ห่อหุ้มจิตในภพภูมิต่างๆเป็นไปตามกรรมของตนเอง เป็นต้นนอกจากนี้ธรรมชาติของวิญญาณ หรือจิตใจนั้นอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์มีลักษณะเป็นถ้ำ เมื่อเราพิจารณาร่างกายของมนุษย์ทุกคนที่มีลักษณะเป็นถ้ำเราจะเห็นว่าตรงกระโหลกศรีษะที่บรรจุก้อนสมอง และเป็นจุดเชื่อมต่อเส้นประสาททั่วร่างกายแล้ว จิตของมนุษย์จึงอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ปัญหาของชาวโลกมักจะกล่าวกันว่าคนเรียนเก่งเพราะสมองดีเรื่องนี้เป็นความจริงหรือไม่เมื่อเราศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า เราเห็นสมองเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง แต่จิตไม่มีรูปร่าง  ดังนั้นจิตจึงไม่ใช่สมองอย่างที่นักวิชาการสมัยใหม่เข้าใจกัน   เพราะเมื่อมนุษย์ตายไป ก้อนสมองถูกเผาไฟเหลือแต่เถ้าฝุ่นเท่านั้น อารมณ์กรรมที่สั่งสมอยู่ในก้อนสมองคงถูกทำลายไปด้วย กรรมที่กระทำผิดต่อกันย่อมสิ้นสูญไปด้วยเมื่อวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ต้องอาศัยอยู่ในร่างกายจนกว่าชีวิตของมนุษย์จะตายและใช้ร่างกายเชื่อมต่อกับอารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆและจิตวิญญาณก็น้อมรับอารมณ์นั้นสั่งสมในจิตใจ เป็นต้นเมื่อจิตวิญญาณเชื่อมต่อวัตถุต่างๆ เช่นรถยนต์บ้านพร้อมที่ดิน กระเป๋ายี่ห้อดัง เมื่อมนุษย์ตายไป  จิตวิญญาณ ไม่สามารถเอาวัตถุกรือมรดกเหล่านั้นจับใส่จิตวิญญาณไปเกิดยังโลกอื่นไปได้ด้วย เพราะวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เป็นต้น เอาไปได้เฉพาะอารมณ์ของสิ่งเหล่านั้นสั่งสมไว้ในจิตใจและติดตัวไปเกิดในโลกอื่น ๆ ต่อไป     (ยังมีต่อ)        

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ