The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ปัญหาญาณวิทยาของ "ยุคศิวิไลซ์ "

Epistemological problems of the "Civilized Era."

บทนำ  

                  โดยทั่วไป   เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยุคศิวิไลซ์    จากคำเทศนาของพระภิกษุทั้งในนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน  จากตำราเรียน หรือจากเว็บไซต์ทำนายดวงชะตาต่าง ๆก็จะว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ   เกิดขึ้นมากมายในอนาคต  แม้ว่าเราจะยอมรับข้อเท็จจริงเหล่านี้โดยปริยายว่าเป็นความจริง    แต่ตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ตรัสสอนว่าเมื่อเราได้ยินความคิดเห็นในเรื่องใด อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงให้สงสัยไว้ก่อน    จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงพอแล้ว       มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงในความจริงในเรื่องนั้น ๆ       ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ข้อความเห็นที่เราได้ยินก็ไม่น่าเชื่อ จึงไม่สามารถยืนยันความจริงในเรื่องนั้นได้     เนื่องจากพยานหลักฐานทางปรัชญาก็คือมนุษย์ (eyewitness)ที่เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้    มักจะมีคติต่อผู้อื่นและอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖    ของร่างกายมนุษย์มีขอบเขตในการรับรู้ต่อสิ่งรอบตัวมนุษย์ที่จำกัด      ข้อความเห็นที่พวกเขาแสดงความคิดเห็นข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งเรืองใด        อาจมีสาเหตุมาจากอคติ  ความไม่รู้เนื่องจากขาดการศึกษา       หรือไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส จึงขาดความน่าเชื่อถือและไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการหรือนักปรัชญาทำให้เกิดความสงสัยของคนในสังคมว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความจริง"       เช่น ปัญหาการแต่งงานข้ามวรรณะของคนในสังคมก่อนพุทธกาล      ปัญหาสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงหลบหนีออกจากพระราชวังกบิลพัสดุ์         พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ตรัสรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ซึ่งเป็นความรู้ที่เหนือของเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้น       หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงหรือคาดเดาความจริง ก็ถือว่าข้อเท็จจริงนั้นยังไม่ชัดเจนย่อมทำให้เราสงสัยถึงที่มาของเรื่องราวเหล่านั้น   นักปรัชญาจึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้   เมื่อได้ยินข้อความเห็นในเรื่องใด    จะต้องสงสัยว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง    จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานไว้เป็นข้อมูล      เพื่อการวิเคราะห์และหาเหตุผลมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น    ส่วนหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ ในหลักญาณวิทยาในฐานะพยานบุคคล (witness)        จะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของชีวิตและสั่งสมอยู่ในจิตใจเท่านั้นจึงถือเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อและตรวจสอบได้  

              ตามทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมว่า"ที่มาของความรู้ของมนุษย์จะต้องเป็นความรู้  ที่ได้รับจากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสเท่านั้น  และสั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์เท่านั้น"     เมื่อศึกษาประวัติศาสตร์แนวคิดของมนุษย์  จากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ  เราได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยพราหมณ์รุ่งเรือง   มนุษย์สนใจศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความจริงของมนุษย์   และเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะ      เพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา  นอกจากนี้พระพรหมยังสามารถช่วยให้มนุษย์บรรลุความปรารถนาในชีวิตด้วยการบูชาสิ่งมีค่า      เมื่อเสร็จแล้วสิ่งของมีค่าเหล่านี้        ตกเป็นของพราหมณ์ผู้ทำพิธี และนำความมั่งคั่งมาสู่นิกายพราหมณ์ต่าง ๆ       การบูชาจึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ   เมื่อการบูชาเทพเจ้าเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน พราหมณ์ทุกนิกายแข่งขันกันเพื่อบูชาเทพเจ้าและสรรเสริญเทพเจ้า   เพื่อรักษาศรัทธาในเทพเจ้าของนิกายของตน      ในที่สุดการแข่งขันบูชาเทพเจ้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง    เมื่อพวกพราหมณ์อารยันพยายามหาวิธีจำกัดสิทธิ    และหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียนในการบูชาเทพเจ้า  เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต (priesthood)    ที่ปรึกษาของกษัตริย์   พวกพราหมณ์จึงมีอิทธิพลทางการเมือง        พวกเขานำเสนอคำสอนของพราหมณ์ต่อรัฐสภาศากยวงศ์          เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และตรากฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ     โดยอ้างว่า          พระพรหมได้สร้างมนุษย์จึงสร้างวรรณะให้มนุษย์ทุกคนที่พระองค์สร้างขึ้นมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา   และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยวรรณะ       จนกลายเป็นนักโทษสังคมตลอดชีวิต  เป็นต้น 

         เมื่อชีวิตมนุษย์ทุกคนมีความไม่เที่ยง  ความคิดของมนุษย์ก็เป็นไม่เที่ยงเช่นกัน   เมื่อความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์โบราณ      ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง      ชีวิตของมนุษย์ทุกคนตกอยู่ในความมืดมิด         เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาดังกล่าว       แต่พระองค์ไม่สามารถปฏิรูปสังคมให้หายจากความมืดมน พระพุทธเจ้าทรงรู้จักพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธิการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘         โดยทั่วไปแล้ว  บุคลิกภาพของมนุษย์มีความกลัวซ่อนอยู่ในใจโดยเฉพาะคนที่มีอำนาจมากกว่าตนในด้านความรู้    หน้าที่การงานและตระหนักรู้เหนือประสาทสัมผัสขึ้นไปเช่น ผู้มีอำนาจทำมนต์ดำเพื่อให้คนอื่นป่วยในชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพวกเขามีชีวิตอ่อนแอเกินไปจิตใจก็เต็มไปด้วยกิเลส      วิตกกังวล  และอารมณ์ฟุ้งซ่านมากเกินไป จนไม่สามารถทำสมาธิได้    กลายเป็นคนหยาบคายชอบสร้างปัญหาจึงไม่มีบุคลิกอ่อนโยนและไม่เหมาะสมที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไม่มั่นคงในอุดมคติของชีวิตและอ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนเองต่อผู้อื่น     จนขาดสติที่จะระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและขาดปัญญาในการนำความรู้นั้น ไปใช้แก้ปัญหาด้วยตนเอง เป็นต้น  เมื่อชีวิตมีอคติเพราะความกลัว ความโกรธ    ความรักใคร่ และความโง่เขลา พวกเขาจำเป็นต้องแสวงหาที่พึ่งทางจิตวิญญาณเพื่อหาทางออกจากปัญหาชีวิตด้วยความช่วยเหลือจากหมอดู คนทรง (medium)  นักจิตวิทยาและพระวิปัสสนาจารย์ (Vipassana instructor) เป็นต้น ดังนั้น เมื่อคนเรามีปัญหาในชีวิต  คนจึงมักจะขาดสติปัญญา        เพราะเราไม่สามารถรู้ทันความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเองได้   เพื่อใช้ความรู้นั้นในการแก้ปัญหาและพิจารณาข้อเท็จจริงก่อนตัดสินใจว่า ข้อเท็จจริงนั้นเป็นจริงหรือเท็จ?  ก่อนที่เขาลงมือกระทำความผิดต่อหลักศีลธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและกฎหมายได้  

           การทำนายอนาคต    แม้อนาคตจะไม่แน่นอน แต่มนุษย์ทุกคนก็อยากจะรู้ล่วงหน้าจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของพวกเขา โดยเฉพาะอาชีพ เศรษฐกิจ สถานะทางสังคมและสุขภาพกาย เป็นต้น แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจากกิเลสที่แสดงออกตามเจตนาของตนก็ตาม คือพวกเขาก็ไม่มีความเข้าใจที่จะอธิบายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอนาคตของผู้คนในสังคม ผู้มีญาณทิพย์เช่นพระพุทธเจ้าทรงสามารถอธิบายข้อเท็จจริงของชีวิตนี้ได้อย่างง่ายดาย  แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้พัฒนาศักยภาพชีวิตด้วยการทำสมาธิ ชีวิตจะอ่อนแอ เพราะขาดกำลังสมาธิ จิตที่ไม่บริสุทธิ์ สั่งสมอารมณ์และกิเลสตัณหามากมาย   จึงชอบมีอคติต่อผู้อื่น มีเพียงความมืดมิดที่เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้า บุคลิกภาพหยาบไม่เหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ไม่มั่นใจในอุดมคติของชีวิตและอ่อนไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อผู้อื่น เป็นต้น ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เข้ามา เพราะไม่สามารถจำความรู้จากประสบการณ์ชีวิตในอดีตที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาชีวิตได้ แม้จะมีที่ปรึกษามาคอยช่วยเหลือ แต่ก็ต้องสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่ยังมีข้อสงสัย และทำนายความเป็นไปของชีวิต ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่เป็นความจริงเสมอไป เช่นการลงทุนในธุรกิจในปัจจุบันคือการตลาดทางอินเตอร์เน็ต หากจ้างพนักงาน โดยไม่ใช้เทคโนโลยี่ด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตโดยตรงกับผู้บริโภค ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะคลอบคลุมค่าใช้จ่าย อาจทำให้ธุรกิจล้มละลายได้ เมื่อการดำเนินธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ชีวิตไม่มั่นคง หรือบ้านเมืองไม่มีความสงบสุขตามหลักศีลธรรมและกฎหมาย แต่ผู้คนใช้ชีวิตอย่างไม่ละมัดระวัง ขาดการศึกษาที่จะเข้าใจชีวิต เขาจึงคิดกับตัวเองว่าสังคมไม่ยุติธรรมกับเขา เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่คนกลุ่มเล็ก ๆ  ออกมาประท้วงทางการเมือง ประเทศจึงขาดความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมายหรือเมื่อ COVID -19 แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านการหายใจ ระหว่างบุคคลในที่ทำงาน ตลาด โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า การบริการรถไฟฟ้าใต้ดินสาธารณะเป็นวิถีชีวิตทางสังคมแบบสุ่มเสี่ยง แต่มนุษย์มักจะประมาทเลินเล่อ เพราะพวกเขาขาดความระมัดระวังที่ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ของตนเอง  ผู้กระทำผิดอาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้แต่ไม่เพียงพอ กรรมส่งผลให้ติดเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น     

          ในยุคมืดแห่งปัญญา  เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ก็ได้ยินข้อเท็จจริงว่า ในสมัยรุ่งเรืองของพราหมณ์     ถือเป็นยุคมืดแห่งปัญญาของมนุษยชาติ เพราะคำสอนของพราหมณ์เกี่ยวกับพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะ เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ที่ตราขึ้นในอาณาจักรสักกะ    เมื่อการบูชาเทพเจ้าสร้างรายได้มหาศาลและความมั่งคั่งให้กับพราหมณ์นิกายต่าง ๆ หารายได้จากการบูชา กลายเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจในหมู่พราหมณ์  เพื่อรักษาศรัทธาและผูกขาดการบูชาเทพเจ้าในนิกายของตน เพื่อความมั่นคงของประเทศ  ปุโรหิตได้ให้คำแนะนำต่อสมาชิกรัฐสภา เพื่อนำหลักคำสอนของพราหมณ์ไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์นิกายอื่นในการทำประกอบพิธีบูชายัญ โดยแบ่งชาวสักกะออกเป็น ๔ วรรณะคือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เป็นต้น เมื่อคำสอนของพระพรหมณ์เป็นกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ ย่อมมีสภาพบังคับของกฎหมายคือการสมรสข้ามวรรณะ และห้ามประชาชนปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นหากฝ่าฝืนถือว่า  กระทำผิดต่อบทบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีและคำสอนในศาสนาพราหมณ์อย่างร้ายแรง  ต้องเสียสิทธิและหน้าที่ในวรรณะเดิม และกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะให้อำนาจกับคนในสังคมขับไล่ผู้กระทำความผิดออกจากสังคมได้  เมื่อถูกคนในสังคมขับไล่กลายเป็นจัณฑาล และต้องหนีจากสังคมเก่าไปใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในเมืองใหญ่ตลอดชีวิต และใช้ชีวิตในวัยชรา ล้มป่วยและตายบนท้องถนนในเมืองใหญ่ เป็นต้น 

          เมื่อชาวอนุทวีปอินเดียเชื่ออย่างมั่นใจว่า พระพรหมสร้างมนุษย์ และ ช่วยให้ผู้คนประสบความสำเร็จในชีวิตด้วยการทำพิธีบูชายัญร่วมกับพราหมณ์เพื่อติดต่อกับเหล่าทวยเทพ ผลคือมนุษย์ปฏิเสธที่จะพัฒนาศักยภาพชีวิตของตน เนื่องจากมีเพียงเทพและเทวดาเป็นที่พึ่งเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลนักโทษที่ถูกลงโทษจากคนในสังคมเพราะกระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะอย่างร้ายแรง  พระองค์ทรงเกิดความเมตตาและพระกรุณาอันยิ่งใหญ่ต่อจัณฑาลซึ่งเป็นประชาชนของพระองค์เช่นเดียวกับชนวรรณะอื่น ๆ  พระองค์ต้องการปฏิรูปสังคมในแคว้นต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีป  แม้พระองค์จะสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชาจากสำนักของครูวิศวามิตรก็ตาม   แต่พระองค์ทรงไม่มีความรู้เหนือประสาทสัมผัสถึงการมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์อารยัน และการมีอยู่ของเทวดาตามคำสอนของพราหมมิลักขะแต่อย่างใด เพราะว่าพระองค์ทรงไม่สามารถประกอบพระราชพิธีบูชายัญได้ด้วยพระองค์เอง เพราะเป็นการกระทำความผิดกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ ที่ห้ามมิให้คนวรรณะอื่นที่ทิใช่พราหมณ์ทำพิธีบูชายัญ  แต่พระองค์ทรงชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป  พระองค์ตัดสินพระทัยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจากพราหมณ์ปุโรหิต พวกเขาให้การยืนยันต่อพระองค์ถึงการมีอยู่ของพระพรหมณ์และพระอิศวร เพราะปุโรหิตรุ่นก่อน ๆ เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรนี้ปรากฏพระวรกายในแคว้นสักกะมาก่อน พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมา เมื่อรายได้ของพราหมณ์จากการสังเวยมหาศาลและสร้างความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์เจ้าของเทวสถานทั่วอนุทวีป ถ้าพราหมณ์ในนิกายใดทำพิธีบูชายัญ เพื่อช่วยให้มหาราชาพระองค์ประสบความสำเร็จในการปกครองรัฐ พระองคฺ์ทรงศรัทธและแต่งตั้งเป็นปุโรหิต เป็นพราหมณ์ที่ปรึกษาของมหาราชาในด้านกฎหมาย ขนบธรรมและจารีตประเพณี และนโยบายทางการเมืองของรัฐนั้น เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคมในสมัยนั้น พราหมณ์มิลักขะทำพิธีบูชายัญต่อเทวดา และมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศด้วย เมื่อพราหมณ์ชาวอารยันมองเห็นอนาคตทางการเมืองของประเทศ ก็จะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ของคนสองเชื้อชาตินี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ชาวอารยันในประเทศต่าง ๆ  จึงคิดหาวิธีการจำกัดสิทธิและหน้าที่ของชาวมิลักขะในการศึกษา อาชีพ และทำพิธีบูชายัญสาธยายพระเวทเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง  ตัวอย่างเช่น ในรัฐโกลิยะในยุคพระเจ้าโอกกากราชพวกพราหมณ์ปุโรหิตชาวอารยัน แนะนำสมาชิกรัฐสภาชาวโกลิยะบัญญัติกฎหมายวรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพวกมิลักขะ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของรัฐศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปกครองโดยชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียว การประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมครั้งยิ่งใหญ่สำหรับมนุษยชาติ เมื่อมนุษย์ทุกคนถูกริดรอนสิทธิและหน้าที่ของตนต่อประเทศชาติ แม้แต่คนได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้ ก็ขาดการพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้มีความรู้ในระดับเหนือประสาทสัมผัสขึ้นไปการแต่งงานข้ามวรรณะทำให้ชนวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทรต้องสละวรรณะ ออกไปใช้ชีวิตข้างถนน เพราะถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมและถูกเหยียดผิวกันซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมจนถึงยุคปัจจุบันนี้      

ยุคศิวิไลย์ในสมัยพุทธกาล

            เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นปัญหาที่แท้จริงของจัณฑาลที่ต้องใช้ชีวิตเร่รอนไปตามท้องถนน     เพราะกระทำผิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์    และกฎหมายวรรณะด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะ    พวกเขาจึงถูกคนในสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัย เนื่องจากการแต่งงานข้ามวรรณะ   ต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะที่มีอยู่เดิมโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นการประกอบชีพ     การศึกษา  การมีส่วนในการปกครองประเทศและการทำพิธีบูชาในศาสนาของตน    เนื่องจากกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี มีบทบัญญัติที่ชัดเจน ห้ามมิให้คนวรรณะอื่น ๆ ประกอบอาชีพของคนวรรณะอื่น เช่น การประกอบพิธีกรรมบูชายัญซึ่งสิทธิและหน้าที่ของวรรณะพราหมณ์        ห้ามวรรณะอื่นทำหน้าที่บูชายัญและสาธยายพระเวท     เป็นต้น   การแต่งงานข้ามวรรณะเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะลูกที่เกิดมานั้นไม่รู้ว่าตนอยู่ในวรรณะใด      จะถูกลงโทษตามกฎหมายจารีตประเพณีโดยคนในสังคมให้ขับไล่พวกเขาออกจากบ้านที่อาศัย     และใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมายบนถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ และพระนครใหญ่อื่น ๆ  

                เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของคนจัณฑาลใช้ชีวิตเร่ร่อนที่อาศัยบนถนนในวัยชรา ยามเจ็บป่วย และยามตาย เป็นการยากที่จะแก้ไขให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้    พระองค์ทรงเสนอการปฏิรูปสังคมต่อรัฐสภาศากยวงศ์ เพื่อแก้ไขปัญหาของคนจัณฑาลและให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกัน  ในการศึกษา การทำงาน และการประกอบพิธีบูชายัญตามความเชื่อของตนเอง         แต่รัฐสภาไม่อนุมัติกฎหมายปฏิรูปสังคมที่ะยกเลิกวรรณะ เพราะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดแห่งแคว้นสักกะ  และมีกระทบต่อผลประโยชน์ของพราหมณ์อารยันจากเครื่องบูชายัญ   ที่มีมูลค่ามหาศาลที่ใช้บูชายัญในแต่ละปี     การแต่งตั้งปุโรหิตชาวมิลักขะจึงมีผลกระทบ ต่อการกำหนดนโยบายทางการเมืองของมหาราชในเรื่องความมั่นคงของประเทศ และเป็นเรื่องยากสำหรับชาวอารยันที่จะปกครองประเทศเพียงฝ่ายเดียวให้เจริญรุ่งเรือง        เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคม ทรงศึกษาหลักฐานจากข้อมูลของประเทศด้านเศรษฐกิจ การเมือง    สังคม และศาสนา เป็นต้น        ทรงเห็นว่าความชรา   ความเจ็บป่วยและความตายของมนุษย์ทุกคน  เป็นเรื่องปกติธรรมที่มนุษย์ทุกวรรณะต้องเผชิญเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงมิได้       เป็นเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยว่าเมื่อพระพรหมสร้างมนุษย์จากพระกายของพระองค์     และสร้างวรรณะเพื่อให้สิทธิและหน้าที่ให้กับมนุษย์ทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา     ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงทำไมพระพรหมไม่สร้างความเป็นอมตะของมนุษย์        และพระพรหมมีประวัติความเป็นมาอย่างไร  ไม่มีใครอธิบายได้ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปการเมืองผ่านระบบรัฐสภาได้         ดังนั้น พระองค์ทรงตัดสินพระทัยผนวชเป็นนักบวช    เพื่อศึกษาความจริงของชีวิตว่าพระพรหมสร้างมนุษย์     และทรงสร้างสิทธิและหน้าที่ให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะตามคำสอนของพราหมณ์           ต่อมาพระโพธิสัตว์สิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘      จนกระทั้งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทำให้มนุษย์ได้รู้ความจริงเกี่ยวกับชีวิตตนเองว่า      มนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาจากร่างกายของพระพรหม และพระพรหมไม่ได้สร้างวรรณะ เพื่อให้สิทธิและหน้าที่ในการทำงานตามวรรณะที่เกิดแต่ประการใด         แต่เกิดจากอคติของมนุษย์จึงบัญญัติกฎหมายขึ้นมา     เพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ แต่มนุษย์มีร่างกายและจิตเป็นปัจจัยแห่งชีวิต     ชะตาชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับเจตนาการกระทำของตน       และสั่งสมเป็นสัญญาในดวงจิตเช่นนั้น เมื่อความตายมิใช่จุดจบของชีวิต          แม้ร่างกายจะเสื่อมสลายไปแต่วิญญาณไม่สลายไปพร้อมกับร่างกาย      เมื่อจิตปล่อยร่างกายไปจุติในโลกหนึ่ง           ส่วนจะเป็นโลกใดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้      การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าถึงสัจธรรมแห่งกฎธรรมชาติของมนุษย์    เมื่อพระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสถและอุบาสิกาในสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน  ลงมือปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมบรรลุเป็นพระอริยบุคคลเช่นหลวงปู่ฝัน หลวงปู่มั่น หลวงปู่หลุยส์ หลวงปู่เทศน์ได้ลงมือปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ ๘ ได้ผลอย่างเดียวกันคือความรู้ในระดับอภิญญา ๖  เป็นต้น

 ยุคศิวิไลย์หลังสมัยพุทธกาล 

           เริ่มต้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอาณาจักรโมริยะ เป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี ที่พระองค์ทรงส่งพระธรรมทูตสายต่างประเทศไปเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าไปยังดินแดนต่าง  ๆ ทั่วโลก เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คนรอบโลก ด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ (The Noble Eightfold Paths) ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ผู้คนมีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ จนกว่าจิตใจจะบริสุทธิ์ปราศจากอคติ และความคับข้องใจ มีบุคคลิกที่อ่อนโยนเหมาะกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น ชีวิตมั่นคงในอุดมคติ และไม่หวั่นไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตนที่ผ่านนา เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้คนให้มากขึ้น จนมีทักษะในการให้เหตุผล เพื่อยืนยันความจริงของคำตอบในปัญหาที่สงสัยและมีเนื้อหาทางวิชาการมากขึ้น แต่ความรู้เป็นสิ่งที่สามารถรู้ได้ด้วยตัวเองเท่านั้น และมักจะสูญเสียไปกับความตายของเจ้าของความรู้นั้น เพื่อปกป้องและรักษาภูมิปัญญาของมนุษยชาติให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและกลายเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ มนุษย์เริ่มพัฒนาตัวอักษรแทนคำพูด และบันทึกความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเนื้อหาของความรู้ถูกแยกจากกันชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถแบ่งความรู้ออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้มากขึ้น      แต่เนื่องจากอคติของมนุษย์  พวกเขามองหาเหตุผล  ที่จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและคนรอบข้างในข้อพิพาทเกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายในการตัดสินใจข้อโต้แย้งของผู้คนในสังคม หรือการวินิจฉัยของแพทย์นั้น ต้องเป็นความรู้ที่ชัดเจนหรือความรู้แท้จริงที่เกี่ยวกับโลก ดาวเคราะห์ และจักรวาลที่มีอยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ทรงพลังกว่า เพื่อดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลหลายแสนปีแสง ในยุคต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อไปได้ศึกษาข้อมูลแล้วและยังมีข้อสงสัย จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อค้นหาคำตอบของข้อสงสัยที่ไม่รู้จบ ในยุคปัจจุบันมนุษยชาติพัฒนาศักยภาพและทักษะชีวิต เพื่อสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเพื่อแบ่งปันข้อมูล  โปรแกรม อุปกรณ์ต่าง ๆ  และพัฒนาโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กเพื่อการศึกษา ถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ ถ่ายทอดสดและทำงานผ่านแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย เพื่อแบ่งปันความรู้มากมายเกี่ยวกับการศึกษา การพนัน ศาสนา หรือการทำนายอนาคต แต่ไม่ใช่ว่ามนุษย์ทุกคนจะเป็นคนดีเพราะมนุษย์ทุกคนมีอคติ รู้จักใช้เหตุผลเพื่อชนะกัน ดูหมิ่นกันซึ่งกันและกัน สรรเสริญกันและกัน แต่เชื่อในสิ่งที่พวกเขาคิดและไม่ฟังเหตุผลของคนอื่น ดังนั้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตจึงมีปัญหาว่าเรื่องจริงหรือเท็จของเรื่องราวที่แบ่งปันบนอินเตอร์เน็ต 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ