Introduction: the Bodhgaya, Buddha's Enlightenment Place in Buddhaphumi 's philosophy
สารบาญ
๑. บทนำ
๒. ที่มาของความรู้ : สถานที่ตรัสรู้
๓. วิธีปฎิบัติบูชาในสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ผู้เขียนนับถือพระพุทธศาสนาโดยกำเนิด เนื่องจากพ่อแม่นับถือพระพุทธศาสนา ตามประเพณีที่บรรพบุรุษปฎิบัติต่อ ๆ กันมา บทเรียนแรก คือ การเรียนรู้เรื่อง "บุญกิริยาวัตถุ" ๓ ประการคือ การให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา โดยการทำบุญโดยการใส่บาตรพระสงฆ์เป็นประจำทุกวันที่หน้าบ้าน เมื่อเติบโตขึ้นได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่วัดในหมู่บ้าน และศึกษาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เมื่อผู้เขียนอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาจากสำนักของนักธรรมสนามหลวง ที่ตั้งอยู่ในวัดแห่งหนึ่งที่ผู้เขียนจำพรรษาในเวลานั้น
เมื่อผู้เขียนศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจากตำราเรียนและพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ผู้เขียนได้รับรู้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น "อุรุเวลาเสนานิคม" ตั้งอยู่ที่แคว้นมคธ (Magadha) ซึ่งปัจจุบัน ก็คือ เมืองพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงค้นพบมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหนทางในการปฎิบัติธรรมให้บรรลุธรรมเหนือวิสัยของมนุษย์หรือที่เราเรียกว่า "การตรัสรู้" กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ ที่ระบุว่าชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยร่างกายและจิตใจในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อทารกเกิดมาเติบโตเป็นมนุษย์ พ่อแม่ก็จะตั้งชื่อให้เป็นมนุษย์คนใหม่
แคว้นสักกะเป็นรัฐของศาสนาพราหมณ์ เพราะสมาชิกรัฐสภาแห่งแคว้นสักกะ ได้บัญญัติคำสอนของพราหมณ์อารยันนั้นเป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี โดยแบ่งชาวแคว้นสักกะออกเป็น ๔ วรรณะคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร เป็นต้น เมื่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นกฎหมายจารีตประเพณี ย่อมมีสภาพบังคับตามกฎหมายคือห้ามมิให้ร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะและปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น บทลงโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายวรรณะคือการลงพรหมทัณฑ์จากสังคมส่วนคนจัณฑาลเป็นนักโทษที่ถูกสังคมลงโทษ เพราะพวกเขาได้กระทำความผิดฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรงด้วยการมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะหรือปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น พวกเขาจึงถูกคนในสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างเพียงแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่า จริงหรือเท็จตามข้อกล่าวหานั้น หากข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหามีความสมเหตุสมผล ก็จะถูกคนในสังคมลงโทษโดยขับไล่ออกจากสังคมที่เคยพำนักอาศัยไปตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในพระนครใหญ่ แม้จะแก่ ป่วย และนอนตายอยู่ข้างทางและต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิม เป็นต้น
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฎรในพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นปัญหาความทุกข์ยากในหมู่จัณฑาล ซึ่งถูกคนในสังคมลงโทษ ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ และพระนครใหญ่อื่น ๆ ไปตลอดชีวิต เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเมตตากรุณาธิคุณต่อจัณฑาลเพื่อช่วยจัณฑาลให้พ้นทุกข์ พระองค์ทรงสืบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และรวบรวมหลักฐานจากคำให้การของปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา เป็นต้น พระองค์ทรงได้ฟังข้อเท็จจริงได้เบื้องต้นว่า คำสอนของพราหมณ์นั้นพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา

แม้บรรดาปุโรหิตจะยืนยันความจริงว่า พระพรหมและพระอิศวร เป็นผู้สร้างมนุษย์และโลกก็ตาม แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามถึงประวัติความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวรแล้ว แต่ปุโรหิตคนใดไม่สามารถตอบพระองค์ได้ เมื่อคำให้การของปุโรหิตเป็นที่สงสัย เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยถึงการมีอยู่ของเหล่าทวยเทพเจ้า และพระองค์จึงทรงพิจารณาดูแล้วเห็นว่า พระองค์ทรงไม่เชื่อในความมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์ปุโรหิตแล้ว พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย ที่จะเสนอกฎหมายเพื่อยกเลิกระบบวรรณะในแคว้นสักกะต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ โดยมีพระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นประธานรัฐสภาศากยวงศ์
แต่สมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะได้พิจารณาและลงมติเป็นเอกฉันทฺ์ ไม่เห็นชอบด้วยกับกฎหมายยกเลิกวรรณะ ตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอ เนื่องจากเห็นว่า กฎหมายยกเลิกวรรณะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งแคว้นสักกะ ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เรียกว่า "ธรรมะของกษัตริย์"หรือ "หลักนิติศาสตร์" ที่ใช้ในการปกครองประเทศที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" ซึ่งเทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่เขียนขึ้นในยุคปัจจุบัน เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงดำริถึงปัญหาจัณฑาล ซึ่งสูญเสียสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายวรรณะและยังไม่ได้รับการแก้ไขให้กลับคืนสู่สถานะเดิมในสังคมได้ พระองค์ทรงเห็นว่าในอนาคต แม้พระองค์จะทรงยังคงมีสิทธิและหน้าที่ปกครองประเทศตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติ ทรงดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยต่อจากพระบิดาก็ตาม
แต่พระองค์ก็ทรงไม่สามารถเสนอกฏหมายปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันในอาชีพการงานได้ ปัญหาวรรณะก็ไม่สามารถแก้ไขได้หมดสิ้น เพราะขัดต่อหลักการปกครองประเทศของพระมหากษัตริย์ พระองค์จะปฏิรูปสังคม โดยให้ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่เท่าเทียมกันในอาชีพการงาน เมื่อพระองค์ทรงระลึกถึงสาเหตุของปัญหา ถ้าพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาแล้วตายแล้วสูญ มีชีวิตอมตะโดยไม่ต้องเป็นคนแก่ชรา คนเจ็บป่วยไข้และคนต้องตายเช่นพวกจัณฑาล ที่พระองค์ทรงเห็นสองข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์
ด้วยข้อเท็จจริง (facts) ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงสงสัยว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าที่ไม่มีอยู่จริง แม้ว่าคำสอนของศาสนาพราหมณ์จะมีการปฏิบัติในการบูชายัญ เพื่อเข้าถึงความจริงของการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรก็ตาม หากเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงบูชายัญด้วยพระองค์เอง ก็ทรงไม่สามารถทำได้เพราะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น เมื่อนึกถึงข้อเท็จจริงได้เช่นนี้แล้ว พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาเหตุผลของคำตอบในสัจธรรมของชีวิตด้วยพระองค์เอง
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นเวลาถึง ๖ ปี ทรงบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์ตามกฎธรรมชาติที่เรียกว่า"อภิญญา๖" ทรงตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า ความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์นั้นมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และตกอยู่ภายใต้ในกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของมนุษย์ ทิพยจักษุของพระองค์ทรงเห็นจิตวิญญาณมนุษย์ไปเกิดใหม่ในโลกอื่น ๆ ตามกรรมของตัวเอง ทำให้พระองค์เกิดนิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) ของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่รู้จักจบสิ้นทรงชำระกิเลสที่สั่งสมในจิตวิญญาณมายาวนานด้วยความรู้ที่เรียกว่า "อาสวักขยญาณ"

ผลของการตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ทำให้มนุษย์มีความรู้ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ให้บรรลุถึงอุดมคติสูงสุด ที่มนุษย์ควรเป็นในชาตินี้ได้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าเราจะรู้ความจริงได้อย่างไรว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรม จนกระทั่งตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้นตั้งริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ เมื่อ ๒,๖๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้น
ในยุคปัจจุบันนั้นสถานที่ตรัสรู้นั้นตั้งอยู่ที่ไหนในสาธารณรัฐอินเดียผู้เขียนจึงตัดสินใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ Buddha's Enlightenment Place (สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) โดยสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา บทความวิชาการต่าง ๆ บันทึกของนักแสวงบุญชาวจีน ๒ ท่านคือ สมณะฟาเหียนและพระถัมซั่ม พยานวัตถุได้แก่ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช และสถานโบราณอีกหลายแห่ง สร้างขึ้นมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องพุทธคยา, สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นความจริงที่มีความสมเหตุสมผล เป็นต้น
ผู้เขียนจะเขียนคำตอบในรูปบทความ เชิงวิเคราะห์ เนื้อหาของบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระนักเทศน์ใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิ ให้เป็นความรู้ และความเข้าใจในความจริงเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้กระบวนการพิจารณาความจริง จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนิสิตระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา ใช้เป็นแนวทางวิเคราะห์ความรู้ ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัย ในเหตุผลของความเป็นจริงในพระพุทธศาสนาอีกต่อไป.
1 ความคิดเห็น:
สาธุครับ กว่าอาจารย์จะมาถึงจุดปัจจุบัน อนุโมทนาบุญด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น