Epistemological problems: Bodhgaya, Buddha's Enlightenment Place according to Buddhaphumi's Philosophy
ในการศึกษาแนวคิดทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์ โลก ธรรมชาติและเทพเจ้า เป็นต้น เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือเรื่องอื่นใด จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริง ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้นไม่น่าเชื่อถือและไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงนั้นเป็นความจริงได้ เพราะข้อเท็จจริงจากพยานบุคคลเพียงปากเดียว เหตุที่ว่าข้อเท็จจริไม่น่าเชื่อถือและรับฟังเป็นความจริงยังไม่ได้ เพราะทุกคนมีอคติต่อผู้อื่นและมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ได้ หรือสิ่งที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ขึ้นไป เพราะมนุษย์ยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเอง หรือในพระพุทธศาสนาถือว่าผู้นั้นยังไม่ได้ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ หลักฐานหรือที่มาของความรู้ของมนุษย์ ต้องเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ตามแนวคิดทางญาณวิทยาว่าด้วยที่มาของความมนุษย์ที่ถือว่าเป็นความรู้แท้จริงได้ มีนักปรัชญาตั้งทฤษฎีความรู้ไว้หลายทฤษฎีด้วยกัน การศึกษาที่มาของความรู้เกี่ยวกับความจริงของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ผู้เขียนใช้ทฤษฎีความรู้เชิงประจักษ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทฤษฎีประจักษ์นิยม ซึ่งมีแนวคิดว่าบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้นจึงถือว่าเป็นความรู้แท้จริงได้ในยุคปัจจุบันนั้นชาวพุทธทั่วโลกที่เกิดนอกสาธารณรัฐอินเดีย ที่ยังคงศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ศึกษาพระพุทธศาสนาในสถาบันการศึกษาทั่วโลก ที่เปิดสอนหลักสูตรบาลีและการศึกษาพระพุทธศาสนาสำนักปฏิบัติธรรมในวัดต่างๆทั่วโลกและพระไตรปิฎกว่าพระโพธิสัตว์ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ

แต่ปัจจุบันชาวพุทธทั่วโลกยอมรับว่าวัดมหาโพธิ์ (Mahabodhi temple) ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เป็นสถานที่ตรัสรู้ของศากยนีพระพุทธเจ้าจริง แต่ชาวพุทธหลายล้านคนทั่วโลกที่เกิดในภายหลังยังคงมีความสงสัยเกี่ยวกับความจริงของต้นพระศรีมหาโพธิ์ทางทิศตะวันตกของพระมหาเจดีย์พุทธคยา เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าจริง เนื่องจากสภาพเดิมของสถานที่ตรัสรู้ที่เคยเป็นป่า ผ่านไปเกือบ ๒,๕๐๐กว่าปี ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปจะรับฟังข้อเท็จจริงจากคำบอกเล่าของบุคคลเพียงฝ่ายเดียวที่ไปแสวงบุญใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ แต่เมื่อฟังน้ำหนักของเหตุผลยังขาดรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาจากอดีตถึงปัจจุบัน คำตอบจึงมีน้ำหนักของเหตุผลน้อยไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงให้หายสงสัยได้ ผู้เขียนจำเป็นต้องหาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารและพยานวัตถุอื่นมาวิเคราะห์เพิ่มเติมกันต่อไป

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ผู้เขียนมีโอกาสไปจาริกแสวงบุญเป็นครั้งแรก ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในมหาปรินิพพานสูตร ก่อนที่จะพระองค์จะปรินิพพาน และได้รู้จักการมีอยู่ของสถานที่ตรัสรู้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าจากการบรรยายพุทธประวัติของนิสิตปริญญาเอกรุ่นพี่ว่าสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ในตำบลพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย ห่างจากมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ๒๖๐ กิโลเมตร ซึ่งผู้เขียนศึกษาและอาศัยอยู่และศึกษาอยู่ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ตามที่อธิบายไว้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หากผู้เขียนไม่ได้เดินทางไปศึกษาที่อินเดีย ก็จะไม่เห็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ชีวิตในฐานะนักบวชในพระพุทธศาสนาจะสูญเปล่า เพราะยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการจาริกแสวงบุญจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตน เมื่อคณะแสวงบุญของนักศึกษาไทยจาก ๓ มหาวิทยาลัยในเมืองพาราณสีเดินทางมาถึงตำบลพุทธคยา โดยได้รับความเมตตาของพระเทพโพธิเวิเทศ (ทองยอด) พักที่วัดไทยพุทธคยาเป็น ๑ คืน ในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น คณะของเราเข้าไปในวัดมหาโพธิ์ (Mahabodhi temple) ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อคณะของเราเดินลงจากรถบัสที่มาจอดหน้าวัดศรีลังกา ผู้เขียนมองเห็นเจดีย์พุทธคยาตั้งตระหง่านแต่ไกลในช่วงปี ๒๐๐๒ มีผู้แสวงบุญน้อยมากเนื่องจากในช่วงฤดูฝน ผู้แสวงบุญไม่นิยมเดินทางมาแสวงบุญ จึงไม่ต้องเดินเข้าแถวเพื่อสักการะหลวงพ่อพุทธเมตตาเหมือนในปัจจุบัน พระธรรมวิทยากรรุ่นพี่เล่าให้เราฟังว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในปัจจุบัน ปลูกโดยเซอร์คันนิ่งแฮมชาวอังกฤษเมื่อ ๑๓๐ ปีก่อน เป็นผู้ทำให้พระพุทธศาสนากลับมามีชีวิตอีกครั้งในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ทำให้ชาวพุทธทั่วโลกหลั่งไหลไปยังสถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา สถานที่ปรินิพพานและสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เพื่อได้เปิดโอกาสให้ตัวเองและมีชีวิตอย่างมีความหวังอีกครั้งในการเรียนรู้ตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อชำระกิเลสที่ทำให้ผู้คนรู้โดดเดี่ยวและทุกข์ทรมานในชีวิต กลับมาสู่ความสงบสุขอีกครั้ง
๑.พยานเอกสารพระไตรปิฎก เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ (ฉบับมหาจุฬาฯ) มหาวรรคภาค ๑ มหาขันธกะ ๑ โพธิกถา ข้อ ๑. ได้กล่าวไว้ว่า"สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเมื่อแรกตรัสรู้ประทับอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตำบลอุรุเวลาเสนานิคม "
ตามหลักฐาน ในพระไตรปิฎของฉบับมหาจุฬาฯ นั้น ผู้เขียนได้รับฟังข้อเท็จจริงเป็นข้อยุติได้ว่าศากยมุนีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อไม่มีคัมภีร์อื่นยกข้อความมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ โดยให้เหตุผลเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแล้ว สถานที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในวัดมหาโพธิ์นั้น เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล เป็นความจริงปราศจากข้อสงสัยในเหตุผลแต่ประการใด จึงผู้เขียนเชื่อว่าใต้ต้นพระศรีมหาโพธิวัดมหาโพธิ์เป็นสถานที่ตรัสรู้จริงของพระพุทธเจ้าจริงตามที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ จริง
๒.พยานเอกสารดิจิทัลแผนที่โลกของกูเกิล เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลบนแผนที่โลกกูเกิล มีระบุไว้ชัดเจนเป็นภาษาอังกฤษว่า Mahabodhi temple เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำ Falgu River (คือแม่น้ำเนรัญชราในสมัยพุทธกาล) อยู่ห่างกันประมาณ ๑๐๐ เมตรซึ่งข้อเท็จจริงในแผนที่โลกกูเกิลก็สอดคล้องกับข้อความในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ (ฉบับมหาจุฬาฯ) มหาวรรคภาค ๑ มหาขันธกะ ๑ โพธิกถา ข้อ ๑. ได้กล่าวไว้ว่า "สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเมื่อแรกตรัสรู้ประทับอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตำบลอุรุเวลาเสนานิคม"
เมื่อผู้เขียนวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎก ยืนยันเหตุผลสอดคล้องต้องกันกับแผนที่โลกกูเกิลโดยไม่มีข้อสงสัยในเหตุผลยืนยันของความจริงอีกต่อไป แม้ในปัจจุบัน สถานที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้จะอยู่ห่างออกจากริมฝั่งของแม่น้ำเนรัญชราไปสักระยะ แต่ก็ไม่เป็นที่น่าสงสัยแต่อย่างใด เพราะเวลาผ่านไปเส้นทางของกระแสน้ำเนรัญชราจะเปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละปีไม่เท่ากัน โดยธรรมชาติย่อมพัดพา ทรายและไหลไปตามกระแสน้ำเข้าท่วมแม่น้ำเนรัญชราทำให้ตื้นเขินทุกปี ทำให้ที่ตั้งของต้นพระศรีมหาโพธิ์อยู่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา และเมื่อตรวจสอบที่ตั้งของวัดมหาโพธิ์เป็นสถานที่ตั้งของพระมหาเจดีย์พุทธคยาแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า อาณาเขตติดต่อด้านทิศเหนือจดวัดพุทธโบราณที่ยังไม่ได้ขุดค้น ถนนทางเข้าเจดียพุทธคยา -ด้านทิศใต้จดวัดป่าพุทธคยา -ทิศตะวันตกวัดศรีลังกา-ทิศตะวันออกติด ร้านค้าซื้อขายสินค้ากันวังมหันต์และแม่น้ำเนรัญชรา เป็นต้น
๓.ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ต้นพระศรีมหาโพธิ์บันทึกอย่างชัดเจนว่า ประมาณ ๒๐๐ ปี สมัยหลังพุทธกาล ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นเมารยะมีเมืองหลวงชื่อพระนครปัฏตาลีบุตร พระองค์ทรงศรัทธาในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาและพระองค์เสด็จออกจากพระราชวังที่เมืองปัฏตาลีบุตร มายัง ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ระยะทาง ๑๗๕ กิโลเมตร พระองค์ทรงปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์ ให้มีความเข้มแข็ง ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงประทับอยู่เป็นประจำอยู่หลายวันโดยไม่เสด็จกลับพระราชวังปัฏตาลีบุตร ทรงดูแลต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นอย่างดี นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดงานสมโภชน์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ทุกปี
ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลเป็นต้นมาต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ตั้งอยู่ติดกับริมฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธนั้น แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ๒๕๐๐ กว่าปีแล้ว ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรานั้น กลายเป็นสถานที่ตั้งของพระราชวังมหันต์ ของนักบวชในศาสนาฮินดู และร้านค้าจำนวนหลายร้อยร้านตั้งขึ้นมาตลอดริมฝั่ง มีถนนเลียบฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเสียแล้วแม่น้ำเนรัญชราที่มีน้ำใสเย็นไหลรินตลอดเวลา และเคยเป็นแม่น้ำที่ยาวไกลมีริมฝั่งแม่ที่เคยกว้างไกลหลายกิโลเมตร เคยติดเชิงเขาดงคสิรินั้น สายน้ำได้เหือดแห้งไปจนหมดสิ้นแล้วเหลือแต่กระแสทรายไหลมาตามสายน้ำนั้น ต้นพระศรีมหาโพธิ์เคยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา สถานที่ตรัสรู้ของศากยมุนีพระพุทธเจ้านั้นเคยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชราก็เริ่มห่างออกไปจากฝั่งแม่น้ำไปเรื่อย ๆ เพราะในแต่ละปีนั้น กระแสน้ำไหลของแม่น้ำเนรัญชราได้พัดพาเอาทรายปริมาณจำนวนมหาศาลมาทับถม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราให้ตื้นเขิน เส้นทางเดินของกระแสแม่น้ำคับแคบลงไปทุก ๆ ปี ต้นพระศรีมหาโพธิ์เคยติดกับริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราจึงห่างจากแม่น้ำเนรัญชราไกลกว่าเดิม ๒๐๐-๓๐๐ เมตร ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเคยมีชื่อเป็นตำบลหนึ่งในแคว้นมคธนั้นปัจจุบันถูกเปลื่ยนชื่อเรียกว่าอำเภอคยา เป็นต้น เมื่อตำบลอุเวลาเสนานิคมมีผู้คนอาศัยมากขึ้น และเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำจากแม่น้ำเนรัญชราเหมาะแก่การเพาะปลูกทำนา ผู้คนที่นี้จึงมีอาชีพเกษตรกรรมมีภูเขาน่ารื่นรมย์เหมาะสำหรับศากยมนีพระโพธิสัตว์ทรงใช้เป็นสถานปฏิบัติธรรมเพื่อแสวง หาความรู้และความจริงของชีวิต ในช่วงแรกพระโพธิสัตว์ทรงเลือกวิธีการบำเพียรทุกรกิริยา ณ ภูเขาดงคสิริเป็นเวลาถึงหกปี ในที่สุดพระโพธิสัตว์เป็นลมล้มลงไปเกือบจะสิ้นพระชนม์ชีพที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราจนเวลาผ่านไปเกือบจะถึงเวลาห้าโมงเย็น เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงได้สติระลึกถึงการบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยการอดอาหารและทรมานพระวรกายที่ผ่านมาเห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นมิจฉาทิฐิเป็นวิธีการลงมือปฏิบัติแล้วสูญเปล่า ไม่เกิดมรรคผลอันใดให้ชีวิตมนุษย์ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ทรงพิจารณาคิดหาเหตุผลแล้วควรจะพัฒนาศักยภาพต่อไปอย่างไร ทรงระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ของประสาทสัมผัสที่เคยปฏฺิบัติธรรมมาตั้งแต่ในอดีตนั้นทรงจำได้ว่า เมื่อครั้งพระองค์มีพระชนมายุเยาว์วัย ทรงได้เจริญอาณาปานสติที่ใต้ต้นหว้ากอ จนกระทั้งสมาธิของพระองค์ทรงบรรลุถึงฌาน ๔ ทรงดำริว่าวิธีการนี้เหมาะสมที่พระองค์จะทรงนำมาใช้ปฏิบัติสมาธิ เมื่อปฏิบัติแล้วพระองค์ทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติพบสัจธรรมของชีวิต เป็นต้น.
ในปี พ.ศ. ๒๕๒ พระนางติสยรักษ์ พระมเหสีองค์ที่ ๕ ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ไม่ทรงไม่ยินดีในพระทัยที่พระสวามีทรงเอาใจใส่ต้นพระศรีมหาโพธิ์มากกว่าตัวพระนางดิสยรักษ์เอง ส่งผลให้พระนางทรงสั่งให้ข้าราชบริพารตัดกิ่งของพระศรีมหาโพธิทิ้งให้เหลือแต่ตอ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเสียพระทัยมากและทรงสวดมนต์และตั้งจิตอธิษฐานขอให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ฟื้นคืนชีพ และทรงรดต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้วยน้ำนม เพียงไม่กี่วัน ต่อมากิ่งก้านของต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็งอกขึ้นมาตามแรงอธิษฐานของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ทรงสร้างกำแพงสูง ๑๐ เมตรรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้วยความเคารพศรัทธา และกำแพงนั้นคงทนมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อทรงระลึกถึงเหตุการณ์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์เกือบตายลงด้วยน้ำมือของมนุษย์ครั้งหนึ่งแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพิจารณาว่าในวันข้างหน้านั้นต้นพระศรีมหาโพธิ์อาจถูกทำลายลงไปจากภัยจากธรรมชาติหรือจากน้ำมือมนุษย์อีก สัญญาของสถานที่ตรัสรู้ที่เคยมีอยู่ในจิตของมนุษย์รุ่นนั้นก็สูญหายไปกับความตายของมนุษย์ผู้นั้น พุทธบริษัทในรุ่นหลังไม่อาจจะรักษาสถานที่ตรัสรู้ให้เป็น ๑ ใน ๔ ของสังเวชนียสถานคงอยู่ต่อไปอีกได้ เพราะมีภัยจากศาสนิกในลัทธิศาสนาอื่น พระองค์จึงทรงโปรดฯ ให้สร้างเจดีย์ขนาดเล็กเป็นหลักฐานไว้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้เพื่อให้อนุชนในรุ่นหลังผู้ยังมีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้าและระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า จิตได้ตั้งความปรารถนาจะเดินทางมาแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เพื่อปฏิบัติบูชาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์และน้อมระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้จิตวิญญาณของพวกเขาบรรลุถึงความจริงตามกฎธรรมชาติ อันเป็นความรู้ในหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและนำมาแจกแจงอธิบายให้เหมาะสมกับอุปนิสัยของมนุษย์แต่ละคน ดังนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวิหารขนาดเล็ก ๆไว้ มีส่วนสูงไม่ถึงกิ่งก้านต้นพระศรีมหาโพธิ์ในชั้นล่างสุด เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นสถานตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไว้ให้อนุชนรุ่นหลังมาปฏิบัติธรรม เพื่อข้ามพ้นความสงสัยในการมีอยู่ของพระพุทธองค์ พระเจ้าศศางกาเป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นเบงกอลทรงนับถือศาสนาฮินดู และศรัทธาในศาสนาฮินดูมาก เมื่อทรงเห็นว่าพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากโดยเฉพาะในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ มีวัดตั้งอยู่ในทุกหนทุกแห่งทั่วชมพูทวีป พระองค์ทรงทำลายล้างพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ในรัชกาลของพระองค์ด้วยการส่งทหารไปทำลายวัดวาอาราม ส่งกองทหารมาตัดโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ขุดลงไปถึงรากโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์และใช้ไฟเผา แล้วราดด้วยน้ำอ้อย เพื่อมิให้ชาวพุทธได้มาปฏิบัติบูชาในสถานที่ประสูติอีกต่อไป ต่อมาอีกเป็นเวลาหลายเดือน พระเจ้าปูรณวรมันทรงปกครองแคว้นมคธ ทรงเสด็จมาทำนุบำรุงรักษาต้นพระศรีมหาโพธิ์ด้วยน้ำนมหลายพันตัว จนต้นพระศรีมหาโพธิ์ฟื้นคืนชีพมาอีกครั้งหนึ่ง มูลเหตุที่สร้างเจดีย์พุทธคยาพระพุทธเจ้าทรงยกสถานที่ตรัสรู้เป็นหนึ่งใน ๔ สังเวชนียสถานก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว หากพุทธบริษัท ๔ ทรงระลึกถึงพระองค์ ให้เดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ ด้วยศรัทธาเมื่อถึงกาละแล้วจิตวิญญาณจะได้ไปเกิดในโลกสวรรค์
ผู้เขียนรับรู้เรื่องราวของการจาริกแสวงบุญในแดนพุทธภูมิของพระธุดงค์ในสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดียอยู่นั้น พระธุดงค์ในยุคก่อนได้เล่าต่อ ๆ กันมาว่าพวกเขาเดินด้วยเท้าเปล่าจากประเทศไทยผ่านประเทศพม่า บังคลาประเทศกว่าจะถึง ตำบลพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดียนั้น ก็ใช้เวลา ๒ เดือน แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นยุคกึ่งพุทธกาลแล้ว รัฐบาลกลางของอินเดีย ได้เปิดสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ให้กับประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาไปเช่าที่ดิน ๙๙ ปีสร้างวัดในสังเวชนียสถานได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากชาวฮินดูผู้เคร่งครัดในศาสนาฮินดูก็ตาม เพราะเป็นการส่งเสริมให้ศาสนาพุทธ ที่สูญหายไปจากประเทศอินเดียกว่าหนึ่งพันห้าร้อยปีแล้วฟื้นคืนชีพ แต่เมื่อสิ้นสุดการประชุมรัฐสภาของสาธารณรัฐอินเดียในยุคนั้นแล้ว ทุกฝ่ายเห็นว่าไม่ว่าฝ่ายใดจะสนับสนุนหรือคัดค้านการเปิดประเทศให้ชาวพุทธนานาชาติมาสร้างวัดในสังเวชนียสถานทั้ ๔ เมืองก็ตาม จะเกิดโต้เถียงด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตาม พระศากยมุนีพุทธเจ้านั้นทรงเป็นคนอินเดียโดยกำเนิดและนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน ต่อมาพระองค์ทรงออกผนวชและทรงตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิต ควรจะส่งเสริมให้สถานที่เหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมและหารายได้เข้าประเทศมากยิ่งขึ้น จากผู้แสวงบุญทั่วโลกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในด้านการบริการอาหาร และที่พักแรมระหว่างเดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นต้น ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า เมื่อสร้างเจดีย์พุทธคยาขนาดใหญ่ขึ้นจะต้องมีการรื้อถอนพระเจดีย์ขนาดเล็กใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกและมีการสร้างหลวงพ่อพุทธเมตตาตั้งไว้แทน ตรงกับสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งเจริญวิปัสสนนากรรมฐานอย่างสภาพที่เราเห็นในทุกวันนี้ สถานที่ตรัสรู้ ปัจจุบันตั้งใต้พระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๔ ด้านทิศตะวันตกของพระมหาเจดีย์พุทธคยาในอดีดล่วงมาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชมีพระราชศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงมาปฏิบัติธรรมในวันธรรมะสวนเป็นประจำมิเคยขาดต่อมาพระองค์ได้ทรงสร้างวิหารขนาดเล็กๆไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รูว่าสถานที่แห่งนี้เป็นตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้คนที่มาปฏิบัติได้ย้อนระลึกคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันเป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ที่ทรงค้นพบ พระสงฆ์สาวกที่เป็นปฏิบัติตนจนเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาจากพยานหลักฐานที่แสดงมาทั้งหมดผู้เขียนเห็นว่า ข้อความในพระไตรปิฎกนั้นยืนยันว่าพระศากยมุนีพุทธเจ้านั้น ทรงตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราสอดคล้องสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ปรากฎหลักฐานในแผนที่โลกกูเกิลที่ระบุไว้ในแผนที่จริง ดังนั้นผู้เขียนจึงเชื่อว่าสถานที่ตั้งของวัดมหาโพธิคือสถานที่ตรัสรู้ของพระศากยมุนีพุทธเจ้านั้นจริงดังเหตุผลที่อธิบายไว้ดังกล่าวข้าง
๑.http://www.royin.go.th/dictionary/
๒.http://www.84000.org/Tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=1
๒.http://www.84000.org/Tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=4&A=1
๓.https://en.wikipedia.org/wiki/Tissarakkha
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น