The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บทนำ: พุทธคยา, สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในปรัชญาแดนพุทธภูมิ

Introduction: the Bodhgaya,  Buddha's Enlightenment Place in Buddhaphumi 's philosophy


สารบาญ
๑. บทนำ
๒. ที่มาของความรู้ : สถานที่ตรัสรู้
๓. วิธีปฎิบัติบูชาในสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๑.บทนำ
      
            เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ  ผู้เขียนได้ทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในสมัยก่อนพุทธกาล "อุรุเวลาเสนานิคม" แห่งแคว้นมคธ      ปัจจุบันคือตำบลพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร เป็นสถานที่ที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงค้นพบมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นหนทางปฎิบัติธรรม เพื่อบรรลุความจริงเหนือวิสัยของมนุษย์หรือที่เราเรียกว่า "การตรัสรู้" กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ที่ว่าชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยร่างกายและจิตใจในครรภ์มารดารวมกันเป็นเวลา ๙ เดือน แล้ว  เกิดเป็นทารกและเติบโตเป็นมนุษย์      ก็จะตั้งชื่อให้เป็นคนใหม่  แคว้นสักกะเป็นรัฐนับถือศาสนาพราหมณ์ เพราะคำสอนของพราหมณ์อารยันนั้น เป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี โดยแบ่งชาวแคว้นสักกะออกเป็น ๔ วรรณะคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร เป็นต้น ส่วนคนจัณฑาลเป็นนักโทษที่ถูกสังคมลงโทษ เพราะพวกกเขาได้กระทำความผิดฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์อและกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีอย่างร้ายแรงด้วยการมีเพศสัมพันธ์กับคนต่างวรรณะหรือปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น  พวกเขาจึงถูกคนในสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริง   และรวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างเพียงแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จตามข้อกล่าวหานั้น  หากข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหามีความสมเหตุสมผล ก็จะถูกคนในสังคมลงโทษโดยขับไล่ออกจากสังคมที่เคยพำนักอาศัยไปตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในพระนครใหญ่ แม้จะแก่  ป่วย และนอนตายอยู่ข้างทางและต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิม เป็นต้น 

     เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฎรในพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นปัญหาความทุกข์ยากในหมู่จัณฑาล ซึ่งถูกคนในสังคมลงโทษ  ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ และพระนครใหญ่อื่น ๆ ไปตลอดชีวิต เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเมตตากรุณาธิคุณต่อจัณฑาลเพื่อช่วยจัณฑาลให้พ้นทุกข์ พระองค์ทรงสืบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และรวบรวมหลักฐานจากคำให้การของปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา เป็นต้น พระองค์ทรงได้ฟังข้อเท็จจริงได้เบื้องต้นว่า คำสอนของพราหมณ์นั้นพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา แม้ปุโรหิตจะยืนยันความจริงในเรื่องนี้ว่า พระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์และโลกจริงก็ตาม  แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามความเป็นมาของพระพรหมและพระอิศวรแล้ว   แต่ไม่มีปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ เมื่อคำให้การของปุโรหิตมีข้อพิรุธ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยการมีอยู่ของเทพเจ้าและพระองค์ทรงพิจารณาแล้ว เห็นว่าพระองค์ทรงไม่เชื่อการมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์ปุโรหิต  เป็นต้น

            เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่เชื่อการมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์แล้ว พระองค์ทรงตัดสินพระทัย เสนอกฎหมายยกเลิกระบบวรรณะในแคว้นสักกะต่อรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะ   โดยมีพระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นประธานรัฐสภาศากยวงศ์ แต่รัฐสภาศากยวงศ์ร่วมกันพิจารณาแล้วลงมติเป็นเอกฉันทฺไม่อนุมัติกฎหมายยกเลิกวรรณะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอมาเพราะเห็นว่ากฎหมายยกเลิกวรรณะขัดต่อธรรมของกษัตริย์ที่เรียกว่า"หลักนิติศาสตร์" ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ในการปกครองประเทศที่เรียกว่า"หลักอปริหานิยธรรม" ซึ่งเทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเขียนขึ้นมาในยุคปัจจุบัน  

   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงดำริถึงปัญหาจัณฑาลที่ขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ยังไม่ได้รับการแก้ไข ให้มีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกับวรรณะอื่น ทรงมองเห็นว่าในวันข้างหน้า แม้พระองค์ทรงดำรงสิทธิ และหน้าที่ตามวรรณะกษัตริย์ในการปกครองประเทศต่อไป ทรงดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยต่อจากพระบิดา แต่ไม่สามารถเสนอกฏหมายเพื่อการปฏิรูปสังคมให้ประชาชน มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมกันได้ ปัญหาเรื่องวรรณะคงไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดสิ้นไปได้เพราะขัดต่อธรรมของกษัตริย์ในการปกครองประเทศนั้นเองแล้ว  พระองค์จะปฏิรูปสังคมให้สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อทรงระลึกถึงสาเหตุของปัญหาว่า หากพระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาจริงเหตุใด  พระองค์จึงไม่สร้างมนุษย์อมตะอย่างพระองค์แต่ปล่อยให้คน ๔ วรรณะต้องแก่ชรา ต้องเจ็บป่วยไข้และต้องตายเช่นพวกจัณฑาล ที่พระองค์ทรงเห็นสองข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ 

          ด้วยเหตุผลของคำตอบข้างต้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าที่ไม่มีอยู่จริง แม้คำสอนของศาสนาพราหมณ์ จะมีหลักปฏิบัติบูชายัญ เพื่อเข้าถึงความจริงของการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวรก็ตาม หากเจ้าชายสิทธัตถะจะทรงลงมือปฏิบัติบูชายัญด้วยพระองค์เอง แล้วมีใครให้คำตอบแก่พระองค์ได้แม้พวกพราหมณ์ให้เหตุผลของคำตอบว่าผู้เกิดก่อนเคยเห็นพระพรหมก่อนพวกเกิดภายหลังเมื่อนึกถึงข้อเท็จจริงได้เช่นนี้แล้ว พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาเหตุผลของคำตอบในสัจธรรมของชีวิตด้วยพระองค์เอง   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงศึกษาหาความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นเวลาถึง ๖ ปี    ทรงบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์ตามกฎธรรมชาติที่เรียกว่า"อภิญญา๖" ทรงตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า      ความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์นั้นมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และตกอยู่ภายใต้ในกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏของมนุษย์ ทิพยจักษุของพระองค์ทรงเห็นจิตวิญญาณมนุษย์ไปเกิดใหม่ในโลกอื่น ๆ ตามกรรมของตัวเอง ทำให้พระองค์เกิดนิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) ของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไม่รู้จักจบสิ้นทรงชำระกิเลสที่สั่งสมในจิตวิญญาณมายาวนานด้วยความรู้ที่เรียกว่า "อาสวักขยญาณ" ผลของการตรัสรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ทำให้มนุษย์มีความรู้ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ให้บรรลุถึงอุดมคติสูงสุด ที่มนุษย์ควรเป็นในชาตินี้ได้ 

        ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าเราจะรู้ความจริงได้อย่างไรว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าใช้ปฏิบัติธรรม จนกระทั่งตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์นั้นตั้งริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ เมื่อ ๒,๖๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้น  ในยุคปัจจุบันนั้นสถานที่ตรัสรู้นั้นตั้งอยู่ที่ไหนในสาธารณรัฐอินเดีย ผู้เขียนจึงตัดสินใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ Buddha's Enlightenment  Place (สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า)   โดยสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ได้แก่ พระไตรปิฎก   อรรถกถา  บทความวิชาการต่าง ๆ  บันทึกของนักแสวงบุญชาวจีน ๒ ท่านคือ สมณะฟาเหียน   และพระถัมซั่ม  พยานวัตถุได้แก่ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช และสถานโบราณอีกหลายแห่ง สร้างขึ้นมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเรื่องพุทธคยา, สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ว่าเป็นความจริงที่มีความสมเหตุสมผล เป็นต้น  ผู้เขียนจะเขียนคำตอบในรูปบทความ เชิงวิเคราะห์ เนื้อหาของบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่พระนักเทศน์ใช้บรรยายแก่ผู้แสวงบุญในแดนพุทธภูมิ ให้เป็นความรู้ และความเข้าใจในความจริงเป็นไปในแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้กระบวนการพิจารณาความจริง จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนิสิตระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา ใช้เป็นแนวทางวิเคราะห์ความรู้ ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัย ในเหตุผลของความเป็นจริงในพระพุทธศาสนาอีกต่อไป. 

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับ กว่าอาจารย์จะมาถึงจุดปัจจุบัน อนุโมทนาบุญด้วยครับ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ