The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทนำ : ปรัชญาพุทธภูมิ



Introduction:  Buddhaphumi's philosophy


๑.บทนำ            

      การเขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญา  และพุทธศาสนาลงในบล็อคของผู้เขียนนั้น เป็นเรื่องยากสำหรับนักปรัชญาอย่างผู้เขียนที่จะใช้ถ้อยคำ และเหตุผลที่สวยงาม   ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเนื้อหาทางปรัชญา และพระพุทธศาสนา   เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านติดตามผลงานอยู่ตลอดเวลา     และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในบทความที่อ่านนั้น เพื่อเอาชนะความมืดมิดที่เกิดขึ้นในจิตใจ เพื่อมีความสุขในการจินตนาการจนเกิดภาพขึ้นในจิตใจจากการอ่านบทความ  ความสุขที่เกิดขึ้นในจิตใจ คือ ความสบายใจจากการเห็นภาพในจิตใจ  และมีปัญญาเข้าใจความจริงของเรื่องนั้นได้ พวกเขาสามารถคิดตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง โดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบในบทความเกี่ยวกับปรัชญา และพระพุทธศาสนาได้ แต่ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้น เป็นเรื่องยากสำหรับผู้อ่านที่จะเข้าใจความจริงในบทความวิชาการต่างๆซึ่งแตกต่างจากการอ่านนวนิยายชื่อดังหลาย ๆ  เรื่อง ที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเรื่องราวในนิยายได้อย่างง่ายดายผ่านจินตนาการของพวกเขา 

      เนื่องจากจุดประสงค์ของการเขียนบทความวิชาการ คือเมื่อนักวิชาการได้ยินความจริงเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด พวกเขาจะไม่เชื่อทันที่ว่าเป็นความจริง พวกเขาจะเกิดความสงสัยจนกว่าจะได้สอบสวนข้อเท็จจริงในประเด็นที่น่าสงสัย และหลักฐานที่รวบรวมได้ เช่น พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล และพยานเอกสารดิจิทัล เป็นต้น เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ นักวิชาการจะใช้หลักฐานนั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น  ๆ  ถือว่าเป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลและสามารถอธิบายความจริงได้อย่างตรงไปตรงมา 
       
    เมื่อบทความวิชาการไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ทางโลกได้ บทความจึงไม่สามารถสร้างความสุขและจินตนาการอันสวยงามให้เกิดขึ้นในจิตใจขณะอ่านบทความนั้น นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้อ่านไม่ชอบอ่านบทความวิชาการและคิดว่าบทความวิชาการนั้นใช้สติปัญญาทำความเข้าใจได้ยากและไม่สามารถนำความรู้จากบทความวิชาการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้หรืออย่างน้อยบทความวิชาการน่าจะช่วยให้ผู้อ่านพึงพอใจกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจินตนาการในบทความวิชาการ  

        ในปัจจุบัน มีบทความวิชาการเกี่ยวกับปรัชญาและพระพุทธศาสนาที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต มักมีเนื้อหาที่ซ้ำซากและไม่นำเสนอข้อเท็จจริงใหม่ แม้พวกเขาจะได้ใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นอย่างสมเหตุผลก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงในเนื้อหาวิชาปรัชญาและพระพุทธศาสนานั้น ไม่ดึงดูดใจสำหรับผู้อ่านที่จะอ่านบทความวิชาการเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้ทุกวัน นอกจากนี้ตัวตนของผู้เขียนบทความเหล่านั้นยังไม่ชัดเจนว่า แนวโน้มของแนวคิดทางปรัชญานั้นอยู่ในทิศทางใด เป็นนักปรัชญาจิตนิยม นักปรัชญาเหตุผลนิยม นักปรัชญาสมัยใหม่  หรือนักปรัชญาการเมือง ที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาเหล่านั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แม้ว่าผู้เขียนส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่ดี เมื่อไม่เสนอข้อเท็จจริงที่ชัดเจนต่อสังคมที่จะสามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่าง หรือเป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ตามหลักเหตุผล หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผลเพื่ออธิบายคำตอบที่แท้จริงในประเด็นต่าง ๆ อย่างสมเหตุสมผล  สิ่งนี้ทำให้เนื้อหาของบทความปรัชญาเหล่านั้น กลายเป็นการคาดคะเนความจริงของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นักวิชาการเหล่านั้นอาจใช้เหตุผลบางครั้งถูกบ้าง บางครั้งผิดบ้าง บางครั้งเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง  เมื่อการใช้เหตุผลของคำตอบนั้นน่าสงสัย วิญญูชนไม่อาจยอมรับการใช้เหตุผลของคำตอบนั้นได้ และไม่สนใจที่จะอ่านบทความในหัวข้อนั้นอีกต่อไป 

     
   แต่ผู้เขียนในฐานะอาจารย์สอนปรัชญา เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรัชญา พุทธศาสนา และวิทยาศาสตร์แล้ว วิชาเหล่านี้ล้วนเป็นความรู้ของมนุษย์บางคน ที่เราเรียกว่านักปรัชญา เจ้าชายสิทธัตถะ และนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น  มนุษย์ทุกคนมีองค์ประกอบของชีวิตเหมือนกันคือ ร่างกาย และจิตใจ ความรู้ของนักปรัชญา พระพุทธเจ้า และนักวิทยาศาสตร์    ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากอายตนะภายในร่างกายซึ่งทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างจิตใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือ เหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ดำรงสภาวะอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็หายไปจากการรับรู้ของอายตนะภายในร่างกายมนุษย์ อย่างไรก็ตามเป็นธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ เมื่อจิตใจของมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านอายตนะภายในร่างกาย พวกเขาก็จะเก็บอารมณ์เหล่านั้นและสั่งสมไว้ในจิตใจ เมื่อธรรมชาติของจิตใจรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง พวกเขาก็มักจะคิดจากสิ่งนั้นโดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม มนุษย์บางคนที่เป็นนักตรรกะ นักปรัชญา มักแสดงธรรมะตามปฏิภาณของตนเอง ตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง บุคคลเหล่านี้มักมีการใช้เหตุผลถูกบ้างผิดบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อเหตุผลของคำตอบไม่แน่นอนว่าความจริงเกิดขึ้นได้อย่างไร ? เนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอจึงสงสัยข้อเท็จจริงเรื่องนั้นที่ได้ยินมาคืออะไร ?     

     เมื่อข้อเท็จจริงของนักปรัชญาในสมัยพุทธกาลเป็นเช่นนี้ เจ้าชายสิทธัตถะ และนักวิทยาศาสตร์ ชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้มากขึ้น   พวกเขาจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น แนวคิดทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ โลก และการพิสูจน์ความมีอยู่ของเทพเจ้าตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์นั้น เมื่อพราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ นักปรัชญามีแนวคิดว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เอง และสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะทีพวกเขาเกิดมา แต่เมื่อคำสอนของพราหมณ์นั้นเป็นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ ย่อมมีสภาพบังค้บตามกฎหมายกล่าวคือห้ามมิให้ผู้คนแต่งงานข้ามวรรณะและห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น     

    แต่คนเราเกิดมาด้วยความไม่รู้ ไม่อาจควบคุมกิเลสตัณหาของตนได้ จึงกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนทางศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรง และถูกสังคมลงโทษที่เรียกว่า "พรหมทัณฑ์" เป็นต้น ดังนั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้า ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระองค์จากพราหมณ์ปุโรหิต พระองค์ก็ทรงไม่เชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ทันที แต่พระองค์ก็ทรงสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะกว่าจะได้การตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น 

   หากไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงจากคำพูดของพยานเพียงคนเดียวนั้น ขาดความน่าเชื่อถือ    เนื่องจากมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นสาเหตุมาจากความเกลียดชัง ความรัก ความกลัว และความไม่รู้ เป็นต้น นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีอวัยวะอินทรีย์ในร่างกายถึง ๖ อวัยวะ ที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เป็นต้น  เพื่อแก้ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของพยานบุคคล  นักปรัชญาจึงแสวงหาทางแก้ไขข้อจำกัดของมนุษย์โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานมาเป็นข้อมูล เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบนั้น ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียว มันมีน้ำหนักน้อยและไม่น่าเชื่อถือ นักปรัชญาจะไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าเป็นความจริงได้  เป็นต้น

    การไปเรียนต่อต่างประเทศเป็นความฝันของผู้เขียนมาตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ว่าความฝันของผู้เขียนจะไม่เป็นจริงมาแล้วกว่า ๔๓ ปี แต่ผู้เขียนก็ยังไม่ได้ละทิ้งความฝันเพราะผู้เขียนไม่มีทุนเรียน และไม่รู้ว่าจะสมัครเรียนมหาลัยต่างประเทศยังไง? อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่เคยละทิ้งความฝันนั้น เมื่อผู้เขียนมีทุนการศึกษาเพียงพอและโอกาสในชีวิตของตนเอง ในปี ค.ศ.๒๐๐๒ ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาจากคณะพุทธศาสตร์ ภาควิชาปรัชญามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ผู้เขียนได้ตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาปรัชญาและศาสนาที่Banaras Hindu University  สาธารณรัฐอินเดีย โดยตั้งเป้าหมายในชีวิตว่าหลังสำเร็จการศึกษาจะกลับมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญแห่งหนึ่ง ที่ขาดแคลนครูภาษาอังกฤษเพื่อใช้ชีวิตอย่างสงบสุขด้วยการทำสมาธิ มีชีวิตที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้    

      ส่วนเหตุผลที่เลือกเรียนที่อินเดีย   เพราะว่าค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยในอินเดียถูกกว่าที่ไทยมาก  และหน่วยงานรัฐบาลไทยก็ รับรองการจัดการศึกษาในมหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู    เมื่อผู้เขียนยื่นคำร้องผ่านฝ่ายต่างประเทศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร  เพื่อติดต่อมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูในเดือนกันยายพ.ศ.๒๕๔๕ ผู้เขียนได้รับอนุมัติให้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู  สมาคมนักศึกษาไทยแห่งเมืองพาราณสี จัดพิธีต้อนรับนักศึกษาใหม่ตามรอยพระพุทธบาทในสังเวชนียสถานทั้ง ๔  แห่ง เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาใหม่อยู่ร่วมกันและพัฒนาศักยภาพชีวิตให้นักศึกษาใหม่มีชีวิตที่เข้มแข็งผ่านการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมและฟังการบรรยายประวัติพระพุทธศาสนาในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับเถรวาทและมหายาน  อรรถกถา และบันทึกของพระภิกษุจีน เป็นต้น    
       
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา  
   เมื่อมีโอกาสได้ทำหน้าที่เป็นพระธรรมวิทยากรในการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและแนวทางการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘  เราจะต้องสามารถแสดงธรรมะให้ผู้แสวงบุญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ ณ เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตให้ผู้แสวงบุญมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นแนวทางที่ดีสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตของมนุษย์ คือการหลุดพ้นจากความทุกข์  เพียงมีความศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีความเพียรที่จะตั้งใจทำงานให้ประสบผลสำเร็จ  ต้องมีสติคือระลึกก่อนทำงานว่าโอกาสที่จะไปปฏิบัติธรรมที่เมืองศักดิ์สิทธินั้นหาได้ยากต้องมีสมาธิโดยจิตใจแน่วแน่ในการเทศนาสั่งสอนเรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา เพื่อให้จิตสงบ หรือเกิดปัญญาเห็นแจ้ง เป็นต้น เมื่อจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่น ย่อมมีบุคลิกที่สุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้  มีชีวิตที่มั่นคงตามอุดมคติ ไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นและประเทศชาติ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราต้องจดจำความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมเป็นความรู้ทางอารมณ์ในจิตใจ แล้วนำความรู้นั้นมาใช้แก้ปัญหาด้วยตนเอง 


      เมื่อผู้เขียนอุทิศตน เพื่อรับใช้พระพุทธเจ้าและได้รับนิมนต์ให้บรรยายเรื่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในสถานต่าง ๆ และเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู  นับเป็นช่วงชีวิตที่ผู้เขียนต้องทำงานหนักที่สุด แม้จะเหน็ดเหนื่อย แต่ผู้เขียนมีศรัทธาในตนเองว่า มีความสามารถที่จะทำงานทั้งสองทางให้สำเร็จลุล่วงของเป้าหมายของชีวิตได้ เพียงมีความวิริยะในการศึกษาและทำงานเป็นพระธรรมวิทยากรโดยแสดงธรรมในสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าทรงเคยแสดงธรรมนั้นโดยเราต้องตั้งสติระลึกก่อนอยู่เสมอว่าการแสดงธรรมในที่พระพุทธเจ้าเคยแสดงธรรมนั้น เป็นสิ่งที่หาได้ยาก ผู้ทำหน้าที่เป็นพระธรรมวิทยากรนั้น ต้องเป็นผู้ที่พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจเท่านั้น ต้องมีความรู้จากประการณ์ชีวิตจากการศึกษา จึงจะมีโอกาสได้แสดงธรรมในสถานที่เหล่านั้น 

     ผู้เขียนต้องจัดสรรเวลาเพื่อค้นคว้าคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาเป็นความรู้ในการบรรยายให้ผู้แสวงบุญได้ฟังและผู้เขียนต้องอ่านหนังสือวันละหลายชั่วโมงเพื่อสั่งสมความรู้ไว้ในใจ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอบปลายภาคปริญญาโทภายหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ผู้เขียนมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในปริญญาเอกต้องทำวิทยานิพนธ์ ก็ต้องศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาที่ผู้เขียนสนใจแสวงหาความรู้ โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ  อรรถกถาและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้วก็จะใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบให้เรื่องนั้น 
     ผู้เขียนเห็นว่าการบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้าใน ๔ เมืองศักดิ์สิทธิ์เป็นเวลา ๘ วันในสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล รวมถึงการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยนั้นเป็นรูปแบบของการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ในการบรรลุเป้าหมายในการทำงานและการศึกษาที่ตั้งไว้เป็นเป้าหมายในชีวิตอีกทั้งยังเป็นหนทางในการพัฒนาศักยภาพชีวิต ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาซึ่งเกินขอบเขตของคัมภีร์พระพุทธศาสนา  ที่ผู้เขียนได้ศึกษามานานหลายปี เมื่อผู้เขียนได้อธิบายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและสอนผู้แสวงบุญได้ปฏิบัติบูชาแล้วความรู้ดังกล่าวก็ไม่สูญหายไปไหน แต่ยังคงสั่งสมเป็นอารมณ์อยู่ในใจของผู้เขียนตลอดไป และเป็นความติดตัวของผู้เขียนกลับมายังราชอาณาจักรไทย 
       
   
   ผู้เขียนได้นำความรู้ที่ได้ไปสอนนักศึกษาในหลักสูตรพระพุทธศาสตร์มหาบัณฑิตทั้งด้าน ปรัชญาและพระพุทธศาสนา  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา จวบจนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อผู้เขียนเป็นอาจารย์ในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาปรัชญาและได้เห็นว่าสถาบันการศึกษาทั่วโลก จัดกระบวนการสอนและการเรียนรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ คนส่วนใหญ่ทั่วโลกมีทัศนคติว่าปรัชญา พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีระบบการศึกษาที่แตกต่างกันมาก จนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้ศึกษาระบบการศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับต่างๆของราชอาณาจักรไทยและทั่วโลกแล้ว พบว่าต้นกำเนิดของความรู้ โครงสร้างของความรู้ วิธีการแสวงหาความรู้และความสมเหตุสมผลของความรู้ ในสาขาวิชาต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นการศึกษาเพื่อแสวงหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ้น

       เมื่อปรัชญา พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ ล้วนเป็นความรู้ของมนุษย์ โดยความรู้เหล่านี้มนุษย์ได้รับมาจากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ โดยธรรมชาติของมนุษย์  เมื่อได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะเก็บความรู้เหล่านั้น เป็นหลักฐานทางอารมณ์สั่งสมอยู่ในจิตใจ  นักวิชาการก็จะใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในความรู้ด้านปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ของมนุษย์เหมือนกัน แต่แตกต่างกันเพียงรายละเอียดการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เท่านั้น  


   ตัวอย่างเช่นในทางปรัชญา เมื่อนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้นักปรัชญาไม่เชื่อความคิดเห็นทันที นักปรัชญาสงสัยข้อเท็จจริงเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง   และรวบรวมหลักฐานเพียงพอ  เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงในปัญหาที่น่าสงสัยก็ตาม แต่พยานหลักฐานของปรัชญาส่วนใหญ่เป็นมนุษย์ ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและมักมีอคติต่อมนุษย์ทำให้ชีวิตมีความมืดมน การเป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ย่อมขาดความน่าเชื่อถือ นักปรัชญาจึงให้เหตุผลของคำตอบตามปฏิภานของตนเอง การให้เหตุผลของนักปรัชญาอธิบายความจริงจึงมีผิดมีถูก เป็นต้น  

      ในพระพุทธศาสนา เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระพรหมทรงสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติตามคำสอนของพราหมณ์ สามารถสื่อสารกับเทพเจ้าผ่านพิธีบูชาของพราหมณ์เท่านั้นแต่พระองค์ทรงไม่เชื่อข้อเท็จจริงทันที ทรงสงสัยก่อนพระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้านั้น พระองค์ทรงตัดสินพระทัยสละวรรณะกษัตริย์ เพื่อทรงผนวชใช้เวลาปฏิบัติธรรมนานหลายปี 

      ตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ได้ยินข้อเท็จจริงและรับรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น และสั่งสมความรู้ไว้ในจิตใจ แต่เมื่อวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ในใจ ยังไม่พบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้นเพราะข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกาย และมักมีอคติต่อผู้อื่นทำให้ชีวิตมีความมืดมน จึงไม่มีความสามารถคิดหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของประสบการณ์เหล่านั้น ทำให้เกิดความสงสัยในความจริงของสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจในการตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติม

     เช่น คำให้การของผู้เห็นเหตุการณ์ หลักฐานเอกสาร หลักฐานวัตถุ และหลักฐานอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลในการพิสูจน์ความจริงของคำตอบ อยางไรก็ตามอายตนะภายในร่างกายของนักวิทยาศาสตร์มีการรับรู้ที่จำกัดและมักมีอคติจากความไม่รู้ หลังจากวิเคราะห์หลักฐานแล้วยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมเพราะหลักฐานไม่เพียงพอ นักวิทยาศาสตร์จึงคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลให้แม่นยำยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนสุดท้ายในการตีความข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว ก็ต้องเป็นความรับผิดชอบของนักปรัชญา พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ในการตีความข้อมูลทั้ง ๓ หัวข้อ 

       เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วผู้เขียนก็เกิดความสงสัยว่าเราสามารถสอนพระพุทธศาสนา ตามหลักปรัชญาและวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ ? โดยอาศัยการอนุมานความรู้ หาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบนั้น เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณแล้ว ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่าเมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงเรื่องราวเกี่ยวกับสิงใดสิ่งหนึ่งที่คนเล่าต่อ ๆกันมา ยึดถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและการค้นคว้าจากคัมภีร์หรือตำราเรียน เป็นต้น เราไม่ควรเชื่อทันที ควรสงสัยเสียก่อนว่า สิ่งนั้นไม่จริงจนกว่าเราจะสืบค้นข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น หลักฐานเอกสาร หลักฐานวัตถุ พยานบุคคลและพยานเอกสารดิจิทัลฯลฯ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ หลักฐานเหล่านั้น   ก็จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้  เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ดังนั้น กระบวนการแสวงหาความรู้ในพระพุทธศาสนาจึงสอดคล้องกับกระบวนการแสวงหาความรู้ทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ เพราะเริ่มต้นด้วยความสงสัยเช่นเดียวกัน เป็นต้น


ปรัชญา&แดนพุทธภูมิ
Sengupta International  Hostel  

       เมื่อครั้ง ยังเป็นนักศึกษาต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี   รัฐอุตตรประเทศ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ เมืองสังเวชนียสถาน (The four Buddhist Holy places)ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปเมืองแสวงบุญทั้ง ๔ แห่งและฟังพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้าทุกปี ซึ่งกลายมาเป็นความรู้ที่ผู้เขียนได้สั่งสมมาในจิตใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสอนนักแสวงบุญชาวไทยได้ เมื่อนักแสวงบุญหลายกลุ่มเดินทางไปยังที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งพร้อม ๆ กัน    ผู้เขียนได้รับนิมนต์ไปบรรยายเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า  ให้นักแสวงบุญชาวไทยฟังเป็นประจำ ถึงแม้จะเป็นงานที่ยากเพราะต้องอาศัยความรู้ทางพระพุทธศาสนาและศิลปะในการถ่ายทอดความรู้  ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ   เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้แสวงบุญด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘  ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

      แต่การจาริกแสวงบุญที่เมืองศักดิ์สิทธิ์นั้นยากกว่า  หากไม่มีศรัทธาที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนว่าหากเดินทางไปที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ ๔ ด้วยศรัทธา เมื่อตายไปแล้ววิญญาณจะขึ้นสวรรค์ตามหลักฐานในมหาปรินิพพานสูตร  ดังนั้นการตัดสินใจจาริกแสวงบุญจึงเป็นเรื่องยาก  เพราะชาวไทยพุทธส่วนใหญ่มีความศรัทธาในการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘    ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความเข้มแข็งด้วยการปฏิบัติสมาธิ มีจิตใจบริสุทธิ์ไม่ลำเอียงและไม่เคียดแค้นต่อผู้อื่นมีความตั้งใจแน่วแน่มั่นคงในเจตนารมณ์ของชีวิต  ไม่หวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นและสามารถแก้ปัญหาด้วยปัญญา เมื่อเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งของพระพุทธศาสนาถือเป็นศูนย์กลางการบูชา(worship) ของชาวพุทธทั่วโลกทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน   แม้ว่าทั้งสองนิกายจะมีวิธีการบูชาที่แตกต่างกัน  แต่ทั้งสองนิกายก็เชื่อในคำสอนของครูบาอาจารย์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  พวกเขายังคงปฏิบัติบูชาต่อไปด้วยความศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหวต่อความเห็นที่แตกต่างของนิกายอื่นเพราะเห็นว่าเป็นหนทางเดียวที่จะดับทุกข์ในใจได้  นอกจากนี้การไปแสวงบุญที่ประเทศอินเดียและเนปาลยังถือเป็นหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย โดยสอนให้ผู้แสวงบุญปฏิบัติบูชาตามมรรคมีองค์ ๘  คือ การศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายและสั่งสมความรู้ไว้ในใจซึ่งถือเป็นเรื่องหายากเพราะคัมภีร์ทางพุทธศาสนานั้นยังขาดข้อเท็จจริงจากหลักฐานต่าง ๆเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ   

        เมื่อชาวพุทธที่ไม่เคยไปแสวงบุญในอินเดีย  และเนปาล พวกเขาก็จะไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีชีวิตแบบพหุเทวนิยม ที่ผู้คนยังคงยึดมั่นในประเพณี (Tradition) และธรรมเนียมเกี่ยวกับวรรณะ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางสังคม  ที่พบเห็นทั่วไปในสังคมอินเดีย ทุกปีจะมีรายงานข่าวในโซเชียลมีเดียว่า การแต่งงานข้ามวรรณะ  กลายเป็นอาชญากรรมในครอบครัวโดยผู้เป็นพ่อฆ่าลูกสาวแม้ว่ากฎหมายวรรณะจะถูกยกเลิกโดยปริยาย  เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียไม่ได้ระบุวรรณะแต่รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินเดียระบุว่าชาวอินเดียมีสิทธิทางการเมือง เสรีภาพ หน้าที่  การศึกษา อาชีพและพิธีกรรมทางศาสนาเท่าเทียมกัน จนถึงขนาดที่ผู้คนทั่วโลกยกย่องสาธารณรัฐอินเดียว่าเป็นประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก     อย่างไรก็ตาม สิทธิและหน้าที่ที่เท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่สามารถทำลายความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า    พระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมา  และวรรณะให้มนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นนั้น ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมาเท่านั้น  คำสอนในเรื่องนี้จึงหยั่งรากลึกในจิตวิญญาณของชาวอินเดียมาจนถึงทุกวันนี้    

       เมื่อชาวพุทธทั่วโลกได้เดินทางไปแสวงบุญที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งเป็นประจำทุกปี   ทำให้เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งนี้ ก็กลายเป็นสถานที่แสดงธรรมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก   ครูบาอาจารย์ชาวตะวันตกบางท่าน ได้ช่วยเผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไปยังชาวพุทธทั่วโลก    การตัดสินใจของผู้เขียนในการศึกษาปรัชญาและศาสนาที่มหาวิทยาลัยบาณารัสฮินดู   ทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้เกี่ยวกับสถานที่จริงที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า และการแสวงบุญที่เมืองศักดิ์สิทธิ์ ๔ แห่งเป็นประจำทุกปี  ผู้เขียนยได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งอุทิศตนรับใช้พระพุทธเจ้าบนเส้นทางแสวงบุญระยะทาง ๑,๒๐๐กิโลเมตร เป็นเวลา ๘ วัน ผู้เขียนได้รับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ที่แตกต่างจากที่ผู้เขียนเคยได้ศึกษามา  
  
       ในการเขียนปรัชญาในบ้านเกิดของพระพุทธศาสนา  แม้ว่าผู้เขียนจะมีความรู้เกี่ยวกับสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งซึ่งถือเป็นพยานวัตถุซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยืนยันการมีอยู่ของพระพุทธเจ้าได้ก็ตาม แต่พยานเอกสารเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า  เช่น พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม(ปกสีฟ้า)   เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานเอกสาร     เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงที่ได้ฟังตามกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน    สิ่งที่ยึดถือที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา  ไม่ควรเชื่อในข่าวลือ ไม่ควรเชื่อในคำอ้างอิงในหนังสือ  ไม่ควรเชื่อในการคาดเดา ไม่ควรเชื่อในคำทำนาย   ไม่ควรเชื่อในคำตัดสินที่อิงตามความเชื่อของตนเอง  ไม่ควรเชื่อในคำพูดน่าเชื่อถือ ไม่ควรเชื่อเพราะเห็นว่าสมณะนี้เป็นครูบาอาจารย์ของเรา เป็นต้น   เมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้นมีการสร้างแผนที่โลกบนเอกสารดิจิทัลช่วยให้ชาวพุทธเข้าถึงเมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งได้ง่ายขึ้น โดยไม่เหตุที่ต้องสงสัยในเรื่องนี้อีกต่อไป หรือจำเป็นศึกษาพยานเอกสารใดเพิ่มเติมอีกต่อไป   
        ดังนั้นในการเขียนปรัชญาพุทธภูมิเมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว    ผู้เขียนไม่ได้เชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นทันทีผู้เขียนสงสัยเสียก่อนว่าเรื่องนั้นไม่จริง  อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ โดยจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ผู้เขียนจะใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริงเพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญามาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้อย่างสมเหตุสมผล คำตอบคือความจริงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

       ในการเขียนบทความนี้ผู้เขียนเชื่อว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นความรู้ระดับบัณฑิต    ที่ต้องศึกษาทั้งทฤษฏี(คำสอน)และการปฏิบัติ(มรรค ๘)พร้อมกัน อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของผู้เขียนในการเขียนปรัชญาพุทธภูมิคือ เพื่อชี้แนะให้ผู้อ่านเข้าใจว่าพระพุทธเจ้า ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ต่างก็เป็นความรู้ของมนุษย์  เมื่อมนุษย์ได้ยินความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  พวกเขาไม่ควรเชื่อทันที เราควรสงสัยก่อน  จนกว่าเราจะได้สืบเสาะหาความจริงและรวบรวมหลักฐาน เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยการใช้เหตุผล  ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา อธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   และเมื่อเห็นว่าคำตอบในเรื่องนั้นมีความสมเหตุสมผลแล้ว ก็เผยแผ่ความรู้นั้นให้ผู้อื่นได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป  

       เมื่อพระไตรปิฎกทั้งเถรวาทและมหายานรักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าและข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยก่อนพุทธกาล  และสมัยพุทธกาลไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าโดยอนุมานความรู้หรือคาดคะเนความจริง โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาอธิบายความจริงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและนักบวชในพระพุทธศาสนาได้สืบสานการปฏิบัติธรรมเพื่อการบรรลุธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน  ในยุคต่อมา  นักวิชาการได้พัฒนาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ     แต่นักวิชาการไม่ได้อ้างอิงที่มาของความรู้จากคำสอนของพระพุทธเจ้า   เมื่อเราศึกษาพระไตรปิฎกเป็นประจำ เราจะทราบว่าทฤษฎีปรัชญาและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของชาวตะวันตกหลาย  ๆ  ทฤษฎีมีคล้ายคลึงกับคำสอนของพระพุทธศาสนาซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในพระไตรปิฎกเถรวาทและมหายานในยุคหลัง นักปรัชญาตะวันตกก็สืบสานคำสอนของพระพุทธเจ้า  โดยพัฒนามาเป็นทฤษฎีในปรัชญาตะวันตกและขยายออกไปสู่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น  จิตวิทยา นิติศาสตร์  เป็นต้น

        อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ที่จะเผยแผ่หลักคำสั่งสอนแห่งชีวิตมนุษย์ไปทั่วโลก เพื่อให้มนุษย์ได้รู้ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อปลดปล่อยดวงวิญญาณของตนออกจากวัฏจักรแห่งความตายและการเกิดใหม่ในวัฏสงสาร    ปัจจุบันแม้ว่านักวิทยาศาสตร์ จะได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลกว่ามีสติปัญญาเฉียบแหลม   แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถช่วยชำระล้างกิเลสในจิตใจของมนุษย์เพื่อเข้าถึงความรู้ที่เกินขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่า "อภิญญา๖" ได้ เว้นแต่มนุษย์จะปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘  ด้วยตนเอง  เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ จนจิตใจบริสุทธิ์ปราศจากความโศกเศร้า มีบุคลิกอ่อนโยนเหมาะสมกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม  มีจิตใจมั่นคงในเป้าหมายชีวิต   ไม่หวั่นไหวในการปฏบัติหน้าที่ต่อผู้อื่น มีจิตใจที่จดจำความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมไว้ในจิตใจและนำมาใช้แก้ไขปัญหาของตนได้   

       แต่มนุษย์ทุกวันนี้  อยู่กันอย่างสุขสบายด้วยปัจจัย ๔ จึงประมาทในการดำเนินชีวิต ไม่พัฒนาศักยภาพชีวิตตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จึงไม่มีปัญญาหยั่งรู้ในระดับอภิญญา ๖     หมกมุ่นในอบายมุข ชอบแสวงหาความสุขด้วยการดื่มสุราและเสพย์ยา   โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ ไม่เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า มนุษย์ทุกคนล้วนอยู่ภายใต้อำนาจแห่งกรรมของตน ชอบทำชั่วสร้างความเดือดร้อนให้ชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่น  ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนและกฎหมาย ดังนั้น รัฐบาลทุกประเทศทั่วโลกจึงบัญญัติหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นประมวลกฎหมายอาญา เพื่อบังคับใช้กฎหมายอาญา  และลงโทษผู้กระทำผิด  จัดตั้งหน่วยงานยุติธรรมขึ้นเพื่อใช้อำนาจทางกฎหมาย   ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา   และประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น 


4 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับ

Unknown กล่าวว่า...

หลังจากอ่านจบแล้วมีความรู้ความเข้าใจในแดนพุทธธรรมมากขื้ มีความคิดอยากไปแดนพุทธภูมิเพื่อศึกษาแดนพุทธภูมิและสักการะพระะทธเจ้า สาธุ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ