Introduction to the Sakka, the Religious State of Brahmin according to Buddhaphumi's Philosophy
๑.บทนำ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย
โดยทั่วไป นักปรัชญามักสนใจศึกษาปัญหาของความจริงของมนุษย์ โลก จักรวาล ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ในสมัยก่อนพุทธกาล มีพราหมณ์บางคนที่เป็นนักปรัชญา นักตรรกะ เมื่อผู้คนสงสัยปัญหาของความจริงในชีวิต พวกเขามักจะแสดงธรรมะ (ที่เรียกว่าความจริง) ในเรื่องนั้นตามปฏิภาณของตน และคาดคะเนความจริง โดยการใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่เมื่่อนักปรัชญา นักตรรกะเป็นมนุษย์ที่มีอาตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตของพวกเขาจึงมืดมน และขาดปัญญาหยั่งรู้สิ่งต่าง ๆ จึงไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ได้
เมื่อนักปรัชญาและนักตรรกะอธิบายธรรมะ(ความจริงของชีวิต) ตามปฏิภาณและการคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล แต่นักตรรกะและนักปรัชญาเหล่านี้มักใช้เหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ บางครั้งมันผิดบางครั้งมันถูก บางครั้งมันเป็นอย่างนี้ บางครั้งมันเป็นอย่างนั้น เมื่อความจริงของคำตอบของนักตรรกะและนักปรัชญาเหล่านี้ไม่ชัดเจนว่ามันคืออะไร ? คำตอบนั้น ก็ขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้น วิญญูชนจึงไม่สามารถยอมรับว่ามันเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นได้
ประเด็นการศึกษาเรื่อง "ศาสนาพราหมณ์" ในสมัยพุทธกาลนั้น ลัทธิพราหมณ์เป็นระบบความเชื่อที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกหลายฉบับในการเขียนบล็อคของผู้เขียน ยึดข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเป็นหลัก ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมในอนุทวีปอินเดียและความคิดของผู้คนในสมัยพุทธกาลเป็นอย่างมาก ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่เราควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ เพราะเป็นความรู้ที่เกี่ยวพันโดยตรงกับมนุษย์ เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และที่สั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจของมนุษย์ จากนั้น นักตรรกะและนักปรัชญาได้นำหลักฐานทางอารมณ์นั้น มาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงจากพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นแต่คำตอบที่ได้ยังไม่ชัดเจนเพราะหลักฐานไม่เพียงพอเช่น เมื่อผู้เขียนศึกษาพระพุทธศาสนาจากตำราเรียนในสำนักธรรมสนามหลวงและมหาวิทยาลัย ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เป็นต้น
แต่เมื่อผู้เขียนเป็นมนุษย์มีความสามารถในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้จำกัดและมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตเต็มจึงไปด้วยความมืดมน ขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในเรื่องนี้ จึงไม่สามารถใช้เหตุผลอธิบายความจริงได้อย่างชัดเจน แต่ผู้เขียนจึงเกิดความสงสัยในสาเหตุการที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช เพราะไม่มีหลักฐานแสดงรายละเอียดของข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ จากพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณและพระไตรปิฎกหลวง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้เพิ่มเติมโดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นต่อไป ตัวอย่างเช่น แม้ข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณได้บันทึกไว้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชเพื่อแสวงหาสัจธรรม แต่ตามข้อเท็จจริงไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้ว่า เป็นสัจธรรมในเรื่องใด ทำให้ผู้เขียนไม่ทราบแรงจูงใจของเจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช เพราะผู้เขียนอายตนะภายในร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้เจตนาที่อยู่ในใจของพระองค์ได้
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเมือได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ฟังตามกันมา อย่าเพ่งเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง เราควรสงสัยเสียก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเรื่องนั้น ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอแล้วก็ใช้หลักฐานนั้น เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงโดยการเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ว่าจริงหรือเท็จก็ตาม ถ้าเราไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริง พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าข้อเท็จจริงได้ยินจากประจักษ์พยานเพียงคนเดียวไม่น่าเชื่อถือ และไม่อาจยอมรับว่าข้อเท็จจริงนั้น เป็นความจริงขั้นปรมัตถ์ได้เพราะมนุษย์มีอคติและอายตนะภายในร่างกาย มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่อยู่ห่างไกลในบ้าน ถ้ำในป่าหรือในทะเลลึก เป็นต้น
ปัญหาว่าอาณาจักรสักกะว่าเป็นรัฐในศาสนาพราหมณ์หรือไม่?
ตามหลักปรัชญาทั่วไปนักปรัชญาสนใจศึกษาความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเทพเจ้าเป็นต้นการศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับแคว้นสักกะว่าเป็นรัฐของศาสนาพราหมณ์หรือไม่ ? ถือเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจ ที่เราควรศึกษาอย่างยิ่งเพราะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับมนุษย์ การก่อตั้งอาณาจักรสักกะ เป็นเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนการเมืองที่เกิดขึ้น เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีก่อนในดินแดนของอนุทวีปอินเดีย อาณาจักรสักกะเป็นรัฐอิสระมาหลายร้อยปีก่อน ที่จะล่มสลายจากการเป็นรัฐ เมื่อพระเจ้าวิทฑัพพะทรงนำกองทัพไปสังหารและจำกัดชนชั้นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศากยะ ประชาชนนับล้านเสียชีวิต จนกระทั่งอาณาจักรสักกะล่มสลาย
ตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ เมื่อเราได้ยินความเห็นหรือความเชื่อเกี่ยวกับกับอาณาจักรสักกะในยุคอินเดียโบราณ จะต้องมีหลักฐานเพื่อวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ ถ้าไม่มีหลักฐานที่จะพิสูจน์ความจริงข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเหตุคนเดียวก็ไม่น่าเชื่อถือ และนักปรัชญาไม่สามารถยอมรับว่าเป็นความจริง เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักจะมีอคติต่อกัน ซึ่งเกิดจากความรัก ความเกลียด ความกลัว และความไม่รู้ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีอวัยวะภายในร่างกายถึง ๖ อย่างและมีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสถานที่ห่างไกล เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จไปเยี่ยมชาวกรุงกบิลพัสดุ์ และทรงเห็นปัญหาจัณฑาลที่ถูกสังคมลงโทษ เพราะพวกเขากระทำผิดข้อหาฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายว่าด้วยวรรณะอย่างร้ายแรง ถูกตัดสินให้ขับไล่ออกจากสังคม ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนในวัยชรา เจ็บป่วย และตายบนท้องถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถช่วยพวกเขาได้เพราะพวกจัณฑาลคือบุคคลต้องห้ามในสังคม เมื่อเสด็จกลับมายังพระราชวังกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงได้สอบถามเรื่องนี้จากปุโรหิตซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะในด้านกฎหมาย ขนบธรรมเนียม และประเพณี พระองค์ทรงได้ยินข้อเท็จจริงว่าพระพรหมทรงสร้างมนุษย์ และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามถึงประวัติความเป็นมาของพระพรหมแต่ไม่มีปุโรหิตคนใดสามารถตอบคำถามให้พระองค์เข้าใจได้
รัฐสักกะเป็นชุมชนการเมือง ที่ตั้งอยู่บนที่ราบใกล้เทือกเขาหิมาลัย เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวสักกะที่มีเชื้อสายอารยัน และดราวิเดียนมาช้านานและอยู่อย่างสงบสุข ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีชาวสักกะเชื้อสายอารยันบูชาเทพเจ้าหลายองค์ ตามคำสอนของนิกายพราหมณ์ต่าง ๆ ชาวสักกะเชื้อสายอารยันส่วนใหญ่เชื่อว่าพระพรหมและพระอิศวรช่วยให้มนุษยชาติประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เพราะพระพรหมสร้างชาวสักกะจากพระวรกายของพระองค์ส่วนชาวมิลักขะถือว่า น้ำเป็นเทวดาและการทำพิธีบูชายัญเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ทั้งสองนิกายเพื่อดับทุกข์ที่อยู่ในใจของผู้คนในยุคนั้น เมื่อการทำพิธีบูชายัญ เพื่อช่วยให้ผู้คนบรรลุความปรารถนาของตนมากยิ่งขึ้น พราหมณ์อารยันและดราวิเดียนจึงได้รับศรัทธาของประชาชนและสร้างความมั่งคั่งจากการบูชาด้วยของมีค่าต่าง ๆ หลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดก ภาค๒ ๖.ภูริทัตตชาดกว่าด้วยพระเจ้าภูิริทัตข้อ.๙๒๘ ความจริงคนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดาส่วนพวกมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดา"
อาณาเขตของรัฐสักกะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือของรัฐสักกะ มีพรมแดนติดกับเทือกเขาหิมาลัย บนยอดเขาสูงมีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี น้ำจึงไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยตลอดเวลา ในฤดูฝน มีฝนตกชุก และในฤดูร้อนหิมะละลายเป็นธารน้ำจึงไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัย กลายเป็นแม่น้ำสำคัญหลายสายและเทือกเขานี้อุดมไปด้วยป่าดงดิบ สัตว์ป่านับล้านมีชีวิตอยู่และพืชผลเติบโตตามฤดูกาล พรมแดนทางทิศใต้และทิศตะวันตกของรัฐสักกะจดกับพรหมแดนของรัฐโกศล ส่วนทิศตะวันออกของแคว้นสักกะจดกับรัฐโกลิยะ เป็นต้น
ประตูเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ทิศตะวันออก |
อำนาจอธิปไตย แคว้นสักกะเป็นรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย โดยมีรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีเป็นกฎหมายสูงสุด ที่ใช้ปกครองประเทศเรียกว่า "หลักราชอปริหานิยธรรม" ซึ่งเทียบเท่ากับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร แคว้นสักกะแยกตัวจากรัฐโกลิยะมาเป็นรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าโอกกากราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นโกลิยะ โดยมีแม่น้ำโรหิณีเป็นพรมแดนระหว่างแคว้นโกลิยะกับแคว้นสักกะ โดยแคว้นสักกะมีระบบการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยแบ่งประชาชนในแคว้นสักกะออกเป็น ๔ วรรณะคือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น โดยยึดหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และบัญญัติเป็นกฎหมายวรรณะ โดยอ้างเหตุผลที่พระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากร่างของพระองค์ พระองค์จึงวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดมาเท่านั้น ไม่มีสิทธิและหน้าที่ในการประกอบอาชีพของคนวรรณะอื่น
รัฐบาลของรัฐสักกะ เมื่อผู้เขียนหลักฐานในพระไตรปิฎกฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อรัฐสักกะปกครองระบบสามัคคีธรรมโดยแบ่งประชาชนเป็น ๔ วรรณะกล่าวคือวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ วรรณะศูทร เป็นต้น วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่การปกครองประเทศ ผู้เขียนตีความว่าสมาชิกรัฐสภาจากวรรณะกษัตริย์จึงมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง ๓ อำนาจ ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติสมาชิกรัฐสภามีส่วนร่วมในการบัญญัติกฎหมย อำนาจบริหารโดยสมาชิกรัฐสภามีสาวนร่วมในการบริหาร และอำนาจตุลาการโดยสมาชิกรัฐสภามีส่วนร่วมในการพิจารณาอรรถคดีทั้งปวง ที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรสักกะ เป็นต้น
การปฏิรูปสังคมของเจ้าชายสิทธัตถะ จากการศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า รัฐสักกะเป็นบ้านเกิดของเจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์ประทับอยู่ในปราสาท ๓ แห่งอันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์อย่างมีความสุข เป็นเวลานานหลายปี เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายกับความหมกมุ่นอยู่ กับนางสนมกว่าสี่หมื่นคน ที่บรรเลงดนตรีให้ฟังและกล่อมให้พระองค์ทรงมีความสุขทั้งกลางวันและกลางคืน กลิ่นหอมของดอกไม้นานาพันธ์ุ พระองค์ทรงเสวย พระกระยาหารแสนอร่อย การสัมผัสทางกาย และความพอใจทางอารมณ์ เป็นต้น พระองค์ได้ทรงปณิธานที่จะเสด็จเยี่ยมราษฎรเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงเห็นความจริงของจัณฑาลไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีอย่างเท่าเทียมกับวรรณะอื่น ๆ ในการทำงานการศึกษา การมีส่วนร่วมในปกครองรัฐการทำพิธีบูชาในศาสนาพราหมณ์นิกายของตนและการแต่งงานข้ามวรรณะและยังถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคม ต้องใช้ชีวิตข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ในวัยชรา เจ็บป่วยไข้และนอนตาย เป็นต้น ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคม โดยการเสนอกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะต่อรัฐสภาศากยวงศ์ แต่สมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ได้ร่วมกันพิจารณากฎหมายยกเลิกวรรณะของพระองค์เห็นว่า ขัดต่อหลักอปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ เพราะห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีที่บัญญัติไว้ดีแล้ว
![]() |
ancient Kapilavastu |
โดยธรรมชาติ เมื่อผู้เขียนเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีอายตนะภายในร่างกายก็มีข้อจำกัดในการรับรู้ และมีอคติผู้อื่นคือให้การเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเนื่องจากความไม่รู้ ความกลัว ความเกลียดชัง ความรัก เป็นต้น ทำให้ชีวิตมนุษย์มืดมนขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงเรื่องสักกะ เป็นรัฐทางศาสนาพราหมณ์ (Brahmin religious state) ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ๕.เกสปุตติสูตรว่า เมื่อเราได้ยินความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยยึดถือตามประเพณีที่สืบทอดกันมา โดยอาศัยข่าวลือ โดยอาศัยการอ้างอิงตำราเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนาด้วยเหตุผลเชิงตรรกะ (การคิดหาเหตุผลเอาเอง) นั่นเป็นการอนุมาน เพราะคิดตรองตามแนวเหตุผล, เพราะมันสอดคล้องกับทฤษฎีที่ได้พิจารณาแล้ว เพราะเห็นลักษณะที่ปรากฏน่าจะเป็นไปได้เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนชอบที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับแคว้นสักกะเป็นรัฐของศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ต่าง ๆ และบันทึกของสมณะชาวจีนอีก ๒ รูป พยานวัตถุได้แก่พุทธสถานที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พยานเอกสารดิจิทัลได้แก่แผนที่โลกกูเกิล เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้โดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องแคว้นสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ในพระไตรปิฎก
บทความที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลนี้จะเป็นความรู้ผ่านการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล โดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับเหตุผลของคำตอบเรื่องรัฐสักกะในพระไตรปิฎก บทความเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทย ในการนำไปใช้ในการเทศนาแก่ผู้แสวงบุญชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางไปปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เนื้อหาของความรู้ของพระพุทธศาสนาเป็นไปในแนวทางเดียวกันกระบวนการพิจารณาความจริง โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานของแหล่งความรู้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาระดับปริญญาเอกด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญา ใช้เป็นแนวทางในการเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา เป็นความรู้ที่มีพื้นฐานในเกณฑ์การตัดสินที่สมเหตุสมผล และไม่สงสัยในความจริงของชีวิตอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น