The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทนำ : ปรัชญาพุทธภูมิ



Introduction:  Buddhaphumi's philosophy

บทนำ            

     การเขียนบทความเกี่ยวกับปรัชญา และพระพุทธศาสนาในบล็อคส่วนตัวของผู้เขียนนั้น เป็นเรื่องยากที่จะใช้คำสละสลวย เพื่ออธิบายเนื้อหาของปรัชญาและพระพุทธศาสนา เพื่อกระตุ้นความคิดและอารมณ์ของผู้อ่านให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปรัชญาพระพุทธศาสนาและอ่านนวนิยายชื่อดังอีกหลายเรื่อง เพราะวัตถุประสงค์ของบทความวิชาการคือการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นที่น่าสงสัย และรวบรวมหลักฐานเพียงพอที่จะให้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อค้นหาเหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับ มนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และการพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น เป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลในการอธิบายความจริงอย่างตรงไปตรงมา บทความวิชาการจึงไม่ถ่ายทอดอารมณ์ทางโลก เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงจากจินตนาการในการอ่านบทความนั้น ๆนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านไม่ชอบอ่านบทความวิชาการ และคิดว่าเนื้อหาทางวิชาการลึกซึ้งเกินไปจนไม่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ผู้อ่านมีความสุขมากขึ้นจากการอ่านบทความวิชาการ ปัจจุบันมีบทความเกี่ยวกับปรัชญาและพระพุทธศาสนาเผยแผ่มากมายบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต มักจะมีเนื้อหาซ้ำกันและไม่มีอะไรใหม่หรือน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน เพราะไม่มีการยกตัวอย่่างข้อเท็จจริงที่ชัดเจนที่น่าติดตามและอ่านทุกวัน นอกจากนี้ ตัวตนของผู้เขียนยังไม่ชัดเจนว่ามีแนวคิดเชิงปรัชญาอะไร บ้าง ? เขาเป็นนักปรัชญาจิตนิยม นักปรัชญาสมัยใหม่หรือนักปรัชญาการเมืองเป็นต้น โดยที่ผู้อ่านสามารถนำแนวคิดทางปรัชญาของนักปรัชญาคนนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  แม้ว่าผู้เขียนส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและมีการอ้างอิงที่ดี แต่เมื่อยังไม่มีการยกตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายจริงของคำตอบที่แท้จริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้เนื้อหาของปรัชญาหมดเสน่ห์ไม่น่าติดตามอ่านบทความในหัวข้อนั้นอีกต่อไป 

     แต่ผู้เขียนในฐานะอาจารย์สอนปรัชญา เมื่อพิจารณาตามความจริงแล้ว จะเห็นว่าปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ของมนุษย์ที่เรียกว่านักปรัชญา เจ้าชายสิทธัตถะ และนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ต่างก็เป็นมนุษย์ที่มีชีวิต มีองค์ประกอบของชีวิตที่เหมือนกันคือร่างกายและจิตใจ ต้นกำเนิดความรู้ของนักปรัชญา พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ มาจากอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายซึ่งทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างจิตใจกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและสลายไปเป็นส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ  แต่ธรรมชาติของมนุษย์มีสติและปัญญา เมื่อพวกเขาได้รับรู้สิ่งใดผ่านประสาทสัมผัสแล้ว ก็จะเก็บอารมณ์เหล่านั้นมาสั่งสมไว้ในจิตใจของตนเอง เมื่อธรรมชาติของจิตใจพวกเขารู้สิ่งใดก็มักจะคิดจากสิ่งนั้น โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้น แต่ผลของการคิดวิเคราะห์ได้รับคำตอบที่ไม่ชัดเจนว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ก็เกิดข้อสงสัยว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้นเป็นจริงหรือเท็จ แต่นักปรัชญา เจ้าชายสิทธัตถะ และนักวิทยาศาสตร์ ชอบแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อนี้  พวกเขาก็จะสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น และลบล้างข้อเท็จจริงเก่าเพื่อสร้างข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น แนวคิดทางอภิปรัชญาของพวกพราหมณ์เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ โลกและการพิสูจน์ความมีอยู่ของเทพเจ้า ตามคำสอนของพราหมณ์นั้น  พระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์ขึ้น มาจากพระวรกายของพระองค์เองและสร้างวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมา แต่คำสอนของพราหมณ์เป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ย่อมมีสภาพบังค้บตามกฎหมายกล่าวคือห้ามประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะและห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น แต่ประชาชนเกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ จึงไม่สามารถควบคุมตัณหาของตนได้ จึงกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสอนทางศาสนาและกฎหมายวรรณะอย่างร้ายแรงจึงถูกพระพรหมลงโทษที่เรีกว่า "พรหมทัณฑ์" แปลตามพยัญชนะว่า "การลงโทษของพระพรหม" ด้วยการใช้ไม้เท้าสาปผู้ทำให้พระพรหมโกรธ เป็นต้น 

    ดังนั้นเมื่อได้ยินเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้า ที่เข้ามาในชีวิตของตนแล้ว พราหมณ์ปุโรหิตก็เชื่อทันที่ว่าเป็นความจริงโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ แต่อย่างใด เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าแล้ว  พระองค์ทรงมิได้เชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ทันที แต่พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลเพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบนั้น ปัญหาของความจริงว่าเราจะกำหนดวิธีพิจารณาความจริงของปรัชญาได้อย่างไร?เมื่อข้อเท็จจริงจากคำพูดของมนุษย์ขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่นสาเหตุมาจากความเกลียดชัง ความรัก ความกลัว และความไม่รู้ เป็นต้น นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีอวัยวะอินทรีย์ในร่างกายถึง ๖ อวัยวะ ที่มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงหรือทางอ้อม  นักปรัชญาจึงแสวงหาทางแก้ไขข้อจำกัดของมนุษย์โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน มาเป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบนั้น ถ้าไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริง ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียว มันมีน้ำหนักน้อยและไม่น่าเชื่อถือ นักปรัชญาจะไม่สามารถยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าเป็นความจริงได้  เป็นต้น 

      การเรียนต่อต่างประเทศคือความฝันของผู้เขียนมาตั้งแต่เด็ก แม้ว่าความฝันจะผ่านไปกว่า ๔๓ ปีแล้ว แต่ความฝันของผู้เขียนก็ยังไม่เป็นจริงเพราะผู้เขียนไม่มีทุนการศึกษา และไม่รู้ว่าจะสมัครเรียนต่อมหาลัยต่างประเทศอย่างไร?  แต่ผู้เขียนไม่เคยละทิ้งความฝันนั้น เมื่อผู้เขียนมีทุนจากการทำงาน และโอกาสของชีวิตของตนเองมาถึง ในปี ๒๐๐๒ ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาจากคณะพุทธศาสตร์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นผู้เขียนได้ตัดสินใจเข้าศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาปรัชญาและศาสนาที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู  สาธารณรัฐอินเดียโดยตั้งเป้าหมายชีวิตว่าเมื่อเรียนจบจะกลับมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่แผนกสามัญของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแห่งหนึ่งเพื่อใช้ชีวิตอย่างสงบสุขด้วยการทำสมาธิ เพื่อมีชีวิตที่เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ ส่วนสาเหตุที่มาเรียนที่สาธารณรัฐอินเดีย เพราะค่าเล่าเรียนมหาวิทยาลัยในอินเดียถูกกว่าไทยมาก และหน่วยงานของรัฐบาลไทยรับรองมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู ผู้เขียนได้ยื่นคำร้องผ่านแผนกต่างประเทศของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานครให้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยบานารัสฮินดูในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๕ ผู้เขียนได้รับการอนุมัติให้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู สมาคมนักศึกษาไทยแห่งเมืองพาราณสี จัดพิธีต้อนรับนักศึกษาใหม่ตามรอยพระพุทธบาทในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เพื่อฝึกฝนการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาใหม่ให้มีชีวิตที่เข้มแข็งผ่านการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม และบรรยายประวัติพระพุทธศาสนาในสถานที่จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สถานที่แสดงพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนในพระไตรปิฎก อรรถกถา และบันทึกของพระภิกษุจีน เป็นต้น เมื่อมีโอกาสทำงานรับใช้พระพุทธเจ้าเป็นพระวิทยากร จะต้องมีทักษะในการสอนพระพุทธศาสนาแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทยและต่างประเทศในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของนักแสวงบุญให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ มีจิตใจที่บริสุทธิ์ปราศจากอคติต่อผู้อื่น มีนิสัยสุภาพและอ่อนน้อมถ่อมตนเหมาะสำหรับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมมีชีวิตที่มั่นคงในอุดมการณ์ของตน และไม่กลัวที่จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนและประเทศชาติ เมื่อเกิดปัญหาก็มีสติจดจำความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมาในจิตใจของตนเอง และสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 
       
พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา  
  เมื่อผู้เขียนอุทิศตนทำงานรับใช้พระพุทธเจ้า เป็นทั้งพระวิทยากรบรรยายประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในพุทธสถานต่าง ๆ และเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู คือ ช่วงเวลาที่ผู้เขียนต้องทำงานหนักที่สุดในชีวิต แม้จะเหนื่อยแต่ก็ต้องทำงานทั้งสองอย่าง เพราะการเทศน์ในสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยทรงแสดงนั้นเป็นสิ่งที่หาได้ยากผู้เขียนต้องจัดสรรเวลาค้นคว้าตำราพระพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นวิทยาทานแก่ผู้แสวงบุญได้ฟัง และการไปศึกษาต่อต่างประเทศคือความฝันของผู้เขียนเอง ผู้เขียนต้องอ่านหนังสือหลายชั่วโมงต่อวัน เพื่อเตรียมตัวสอบปลายภาคระดับปริญญาโทและสั่งสมความรู้ไว้ในใจเพื่อใช้ในการสอบผู้เขียนจึงมีเวลาพักผ่อนน้อย  เมื่อผู้เขียนศึกษาระดับปริญญาเอก จะต้องทำการวิจัยปัญหาความจริงที่ผู้เขียนสนใจที่จะแสวงหาความรู้ ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารทางวิชาการอย่างเพียงพอเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ การบรรยายเรื่องพุทธประวัติและการแสวงหาความรู้ระดับบัณฑิตศึกษานั้น ผู้เขียนมองว่าเป็นการปฏิบัติธรรมประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยความพากเพียรเพื่อบรรลุเป้าหมายคือ ๔ เมืองสังเวชนียสถานในอินเดียและเนปาล เวลา ๘ วัน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของชีวิตและมีความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนาเกินขอบเขตของตำราทางพุทธศาสนาที่มีอยู่ ผู้เขียนได้ศึกษามาหลายปีแล้ว  ความรู้นี้ไม่ได้หายไปไหนแต่ยังคงสั่งสมอยู่ในจิตใจ และเป็นความรู้ที่ติดตัวของผู้เขียนมายังราชอาณาจักรไทยเพื่อสอนนิสิตหลักสูตรพระพุทธศาสตร์ และปรัชญาของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน 

     เมื่อผู้เขียนเป็นอาจารย์ในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตในสาขาปรัชญา และตระหนักว่าสถาบันการศึกษาทุกแห่งทั่วโลกมีการเรียนการสอนตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกมีทัศนคติว่า ปรัชญา พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีระบบการศึกษาที่แตกต่างกันมากมาย จนไม่สามารถสอนแบบเดียวกันได้ แต่ผู้เขียนเห็นว่าบ่อเกิดความรู้ โครงสร้างความรู้ วิธีแสวงหาความรู้และความสมเหตุสมผลของความรู้ทางวิชาการทางปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ ก็เป็นความรู้ของมนุษย์เหมือนกัน โดยบ่อเกิดความรู้จากประสบการณ์ชีวิต ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์ กระบวนการพิจารณาความจริง ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบ แต่มีต่างกันแค่รายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ปรัชญา นักปรัชญาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในปัญหาที่น่าสงสัย รักที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้น ก็สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานในฐานะ"ประจักษ์พยาน"  ผู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรง เพื่อวิเคราะห์คำให้การโดยอยนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบนั้น  ในพระพุทธศาสนาเจ้าชายสิทธัตถะทรงแสวงหาความรู้ในเรื่องการมีอยู่ของพระพรหมสร้างมนุษย์ และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติตามคำสอนของพราหมณ์ เพราะพระองค์ทรงไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมความรู้ในพระทัยของพระองค์เอง เมื่อพระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้า แม้แต่ปุโรหิตที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ จะได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่า เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสถามประวัติความเป็นมาของเทพเจ้า ไม่มีพราหมณ์คนใดตอบได้ ทำให้พระองค์ทรงสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เป็นต้น ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์นักวิทยาศาสตร์ได้รับความรู้ผ่านประสบการณ์ชีวิตทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นและสั่งสมความรู้ไว้ในจิตใจ แต่เมื่อวิเคราะห์หลักฐานทางอารมณ์ในใจ ยังไม่พบสาเหตุของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความสงสัยในความจริงของปรากฏการณ์เหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์สนใจที่จะตรวจสอบและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติม เช่นคำให้การของประจักษ์พยาน เอกสารหลักฐาน พยานวัตถุ และหลักฐานอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการวิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงของคำตอบ แต่อวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ในร่างกายของนักวิทยาศาสตร์มีการรับรู้ที่จำกัดและมักมีอคติจากความไม่รู้ของตนเองหลังจากวิเคราะห์หลักฐานต่าง ๆแล้ว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของปรากฏการณ์ธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคม นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาเพื่อช่วยในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ มาวิเคราะห์ข้อมูลให้แม่นยำยิ่งขึ้น แต่ขั้นตอนสุดท้ายในการตีความข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว จะต้องเป็นหน้าที่ของนักปรัชญา พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ในการตีความข้อมูลทั้งสามหัวข้อ หลังจากได้ฟังข้อเท็จจริงข้างต้นแล้ว  ผู้เขียนสงสัยว่าเราสามารถสอนวิชาพระพุทธศาสนาได้ตามหลักปรัชญาและวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่? โดยอนุมานความรู้เพื่อเหตุผลใดที่จะพิสูจน์ความจริงของคำตอบ? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่คนเล่าสืบทอดกันมา  ยึดถือเป็นประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการค้นคว้าจากคัมภีร์หรือตำรา เป็นต้น เราควรสงสัยก่อนว่า ไม่เป็นความจริงจนกว่าจะสอบสวนข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น พยานหลักฐาน พยานวัตถุ พยานบุคคลและพยานเอกสารดิจิทัล ฯลฯ   เมื่อได้รับหลักฐานเพียงพอ หลักฐานจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของตอบในเรื่องนั้น ดังนั้นกระบวนการแสวงหาความรู้ในพระพุทธศาสนาจึงสอดคล้องกับกระบวนการทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ เพราะมันเริ่มต้นจากความสงสัยเหมือนกัน เป็นต้น   

สังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง        

ปรัชญา&แดนพุทธภูมิ
Sengupta International  Hostel  

    เมื่อผู้เขียนใช้ชีวิตเป็นนักศึกษาต่างชาติในอำเภอพาราณสี  ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๔ เมืองแห่งสังเวชนียสถาน   ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปแสวงบุญและฟังการบรรยายประวัติของพระพุทธเจ้าจากพระวิทยากรเป็นประจำทุกปี  จนมีความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของผู้เขียนและสามารถนำความรู้นั้นไปบรรยายให้ผู้แสวงบุญชาวไทยได้  ในช่วงเวลาที่ผู้แสวงบุญจำนวนมากที่มาแสวงบุญใน ๔ เมืองแห่งสังเวชนียสถาน  ผู้เขียนได้รับนิมนต์ไปบรรยายพุทธประวัติให้กับผู้แสวงบุญชาวไทยเป็นประจำ      แม้จะเป็นงานที่ยากเพราะผู้บรรยายต้องใช้ความรู้ในพระพุทธศาสนา  และศิลปะในการถ่ายทอดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ    เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้แสวงบุญตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  แต่การเดินทางแสวงบุญทั้ง ๔ เมืองนั้นยากกว่า   เพราะหากไม่มีศรัทธาในการปฏิบัติธรรมตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า   หากเดินทางด้วยศรัทธาไปสักการะ ณ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมือง  เมื่อตายแล้วดวงวิญญาณจะขึ้นสวรรค์ตามหลักฐานในมหาปรินิพพานสูตร  ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจไปแสวงบุญ   เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่เชื่อในการศึกษาพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘  พวกเขาจะมีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ มีจิตใจบริสุทธิ์     ปราศจากอคติต่อผู้อื่นและไม่ขุ่นเคืองใจ  มีความมั่นคงในปณิธานแห่งชีวิต และไม่หวั่นไหวต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นสามารถแก้ปัญหาด้วยสติปัญญาของตนเอง  การจาริกแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมืองซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการสักการะ (worship)   ของชาวพุทธทั่วโลกทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน  แม้ว่าจะมีวิธีการบูชาที่แตกต่างกันไปตามความเชื่อสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างมั่นคง  และก็ไม่อ่อนไหวไปตามเห็นของนิกายอื่นในพระพุทธศาสนาเพราะเห็นว่าเป็นทางเดียวที่จะดับทุกข์ในใจได้  นอกจากนี้การไปแสวงบุญในอินเดียและเนปาลถือเป็นหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการสอนผู้แสวงบุญปฏิบัติบูชาตามตามมรรคมีองค์ ๘    เป็นการศึกษาหาความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในใจ เป็นสิ่งที่หายากในตำราทางพระพุทธศาสนาเพราะยังขาดข้อเท็จจริงจากหลักฐานต่าง ๆ  มาวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ   

           สำหรับชาวพุทธที่ไม่เคยเดินทางไปอินเดียและเนปาล จึงไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพหุเทวนิยมและ ยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียม   (Customs)   จารีตประเพณี (Tradition) แห่งชนชั้นวรรณะอย่างเหนียวแน่น     ยังคงเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมโดยทั่วไปในอินเดีย  ทุกปีจะมีรายงานข่าวบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ว่าการแต่งงานระหว่างวรรณะกลายเป็นอาชญากรรมในครอบครัว ที่พ่อฆ่าลูกสาวของเขา   แม้ว่ากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ  จะถูกยกเลิกไปโดยปริยายเพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้บังคับในสาธารณรัฐอินเดียไม่ได้กำหนดวรรณะเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ เพื่อให้ชาวอินเดียมีสิทธิ เท่าเทียมกันทางการเมือง เสรีภาพและหน้าที่ การศึกษา อาชีพและพิธีกรรมทางศาสนา   จนกระทั่งคนทั่วโลกเห็นว่าสาธารณรัฐอินเดียเป็นรัฐประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก  แต่สิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ถึงกระนั้นก็ไม่สามารถทำลายความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่าพระพรหมสร้างมนุษย์   และวรรณะเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่เกิดมาได้  เพราะมันเป็นสัญญาของคำสาปแช่งที่หยั่งรากลึกในจิตวิญญาณของชาวอินเดียมาจนถึงทุกวันนี้   ในแต่ละปีผู้แสวงบุญหลายแสนคนทั่วโลก   เดินทางไปแสวงบุญไปยังเมืองศักดิ์สิทธิทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๔ แห่ง ทำให้เมืองศักดิ์สิทธิ์ทั้ง ๔ แห่งเป็นสถานที่แสดงธรรมยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก    มีวิทยากรจากต่างประเทศ ได้ช่วยเผยแพร่คำสอนของพระพุทธเจ้าไปยังผู้แสวงบุญชาวพุทธทั่วโลก การเลือกของผู้เขียนที่ศึกษาปรัชญาและศาสนาที่มหาวิทยาลัยบานารัสฮินดู  ถือว่าคุ้มค่าเพราะผู้เขียนได้รับทั้งความรู้และโอกาสเดินทางไปแสวงบุญเป็นประจำทุกปีในเมืองศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๔  แห่ง  และฟังพระธรรมเทศนาจากพระภิกษุผู้อุทิศตนทำงานรับใช้พระพุทธเจ้า  ตามเส้นทางแสวงบุญ ๑,๒๐๐ กิโลเมตรเป็นเวลา ๘ วัน โดยมีเนื้อหาความรู้ทางพระพุทธศาสนา มีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากความรู้ที่ผู้เขียนได้ศึกษามาดังนั้น การเขียนหลักปรัชญาทางวิชาการในดินแดนพุทธพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงใดแล้ว พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อข้อเท็จจริงที่เล่าต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ไม่เชื่อในประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกัน,  อย่าหลงเชื่อโดยการตื่นรู้ข่าวลือ, อย่าเชื่อโดยอ้างจากตำรา, อย่าเชื่อด้วยการนึกเดา อย่าเชื่อตามคำทำนาย(การคาดคะเน), อย่าเชื่อด้วยการวินิจฉัย (ตรึกเอา)ตามอาการ,  อย่าเชื่อสอดคล้องกับลัทธิของตน,  อย่าเชื่อคนพูดน่าเชื่อถือและอย่าเชื่อเพราะเห็นว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เป็นต้น  

        ดังนั้น เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดแล้ว อย่าเพ่งเชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นในทันที ควรสงสัยไว้ก่อนว่าไม่เป็นความจริง ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไปก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้ คำตอบคือความจริงอันเป็นที่สุดที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป  ในการเขียนบทนำนี้    ผู้เขียนเห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นความรู้ระดับบัณฑิตศึกษาที่ต้องศึกษาทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน  แต่จุดประสงค์ในการเขียนปรัชญาของผู้แต่งเพื่อชี้นำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หลักปรัชญาและศาสตร์สมัยใหม่โดยการตั้งโจกย์ไว้ล่วงหน้าก็จะสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาเป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆปัจจุบันนักปราชญ์นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาพัฒนาเป็นความรู้ทางวิชาการด้านต่างๆ   แต่นักวิชาการไม่ได้กล่าวอ้างอิงความรู้ว่ามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า   เมื่อเราศึกษาพระไตรปิฎกเสม่ำเสมอ จะรู้ว่าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ     พัฒนามาจากพัฒนาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าและประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เพื่อสนองความอยากรู้ของมนุษย์ในระดับประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่พระประสงค์ของพระพุทธเจ้าที่เผยแพร่กฎธรรมชาติแห่งชีวิตมนุษยที่ทรงค้นพบหนทางที่วิธีปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘  คือการช่วยให้มนุษย์ทั่วโลกให้ปลดปล่อยจิตวิญญาณของตนจากวัฏจักรแห่งความตายและการกลับชาติมาเกิดในสังสารวัฏ ยังคงเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่คนทั่วโลกเชื่อว่าเป็นบุคคลอัจริยะที่สุด ยังไม่สามารถสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยชำระล้างกิเลสของจิตใจมนุษย์ให้บรรลุถึงระดับความรู้ในอภิญญา ๖ ได้   เว้นแต่มนุษย์จะปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยตนเองเท่านั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพในชีวิต   ให้มีชีวิตที่เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิจิตที่บริสุทธิ์ไม่ทำร้ายผู้อื่นไม่มีอารมณ์เศร้าหมองอยู่ในจิตใจของเขา  มีบุคลิกอ่อนโยนเหมาะกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม มีจิตมั่นคงในเป้าหมายชีวิต และไม่หวั่นไหวในการปฏบัติหน้าที่ของตนเองต่อผู้อื่น มีจิตระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ของชีวิตซึ่งสั่งสมอยู่ในจิตใจและสามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาของตนเองได้ แต่ทุกวันนี้ มนุษย์ทุกคนใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายด้วยปัจจัย ๔   จึงประมาทในการดำเนินชีวิต ไม่ยอมพัฒนาศักยภาพชีวิตตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘  จึงไม่มีความรู้ในระดับอภิญญา ๖ และหมกมุ่นอยู่กับอบายมุข ชอบแสวงหาความสุขที่แลกกับสุขภาพและไม่เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าว่า  มนุษย์ทุกคนมีชีวิตอยู่ภายใต้อำนาจกรรมของตน  ที่ชอบกระทำความผิด ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินผู้อื่น  เป็นปัญหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน    ดังนั้นรัฐบาลของทุกประเทศทั่วโลกจึงนำหลักศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาตราเป็นประมวลกฎหมายอาญาเพื่อบังคับใช้ในคดีอาญาและลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด  ได้จัดตั้งหน่วยงานยุติธรรมมีหน้าที่ในการใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อความสงบสุขของสังคมตามหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนาและประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น 


4 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

สาธุครับ

Unknown กล่าวว่า...

หลังจากอ่านจบแล้วมีความรู้ความเข้าใจในแดนพุทธธรรมมากขื้ มีความคิดอยากไปแดนพุทธภูมิเพื่อศึกษาแดนพุทธภูมิและสักการะพระะทธเจ้า สาธุ

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ