Introduction to Lumbini The Exactly Birthplace of Buddha
สารบาญ
๑.บทนำ ๒.ที่มาของความรู้เกี่ยวกับสวนลุมพินี
๓.ความงดงามของสวนลุมพินีรับรู้ได้ด้วยใจ
๔.วิธีปฏิบัติบูชาในสวนลุมพินี
๑.บทนำ
ในปัจจุบัน สวนลุมพินีในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลนั้น ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า โดยนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี นักวิชาการฝ่ายเถรวาทและมหายานและนักปรัชญา อย่างไรก็ตาม การยืนยันสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าศากยมุนีประสูติที่ใด ? ยังคงเป็นประเด็นที่น่าสนใจโดยมีทั้งความท้าทายทางประวัติศาสตร์ และประเด็นทางปรัชญาที่ต้องการแสวงหาความจริงในเรื่องนี้ บทความนี้จะตรวจสอบภูมิหลัง ความสำคัญ และประเด้ฯที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดฬฆ็สวนลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
ในประวัติศาสตร์ของแคว้นสักกะนั้น ในรัชสมัยของพระเจ้าโอกกากราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ทรงใช้อำนาจอธิปไตยปกครองแคว้นโกลิยะ โดยมีเทวทหะ (Devdaha) เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อแสวงหาสัจธรรมของชีวิตนั้น ในประวัติศาสตร์ของอนุทวีปอินเดียนั้น แคว้นโกลิยะและแคว้นสักกะเคยเป็นเมืองพี่น้องกันมาก่อน (sister city) เนื่องจากพระเจ้าโอกกากราชทรงอภิเษกสมรสสองครั้ง เมื่อพระมเหสีพระองค์ใหม่ประสูติพระราชโอรสในแคว้นโกลิยะ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะยกดินแดนแคว้นโกลิยะให้พระราชโอรสองค์ใหม่ตามพระสัญญาของพระองค์ เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในแคว้นโกลิยะเปลี่ยนไป พระเจ้าโอกกากราชทรงสั่งให้พระโอรสและพระธิดาซึ่งประสูติโดยพระราชินีกษัตรีย์พร้อมกับชาวโกลิยะกลุ่มหนึ่งอพยพไปสร้างอาณาจักรใหม่ในป่าสักกะ อันกว้างใหญ่ซึ่งเรียกว่า "แคว้นสักกะ" ซึงอยู่ห่างจากเมืองเทวทหะไปประมาณ ๘๐ กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำโรหินีคั่นระหว่างสองแคว้น พระเจ้าโอกากราชทรงพระราชทานนามราชวงศ์ใหม่ชื่อว่า "ศากยะวงศ์" และพระราชวงศ์ศากยะทรงได้สถาปนาอาณาจักรใหม่ชื่อว่า "แคว้นสักกะ" โดยมีพระนครกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะประชาชนจากทั้งสองแคว้นมักเดินทางไปมาหาสู่กันและลุมพินีซึ่งเป็นป่าสาละธรรมชาติ เป็นสถานที่พักผ่อนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างพระนครกบิลพัสดุ์กับพระนครเทวทหะ
ที่มาของการกำหนดสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ คัมภีร์ต่าง ๆ และอรรถกถานั้น การระบุสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้ามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว พยานเอกสารเหล่านี้ บอกเล่าถึงการประสูติของพระพุทธเจ้าที่สวนลุมพินีได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ประสูติที่แน่นอนนั้น ยังคลุมเครือตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา มีการศึกษาและค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อยืนยันสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ดังนั้น หลังจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (KayamuniBuddha) เสด็จปรินิพพานนานกว่า ๒๗๐ ปี หลังจากครองราชย์สมบัติได้ ๒๐ พรรษาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตัดสินพระทัย เสด็จจาริกแสวงบุญที่สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า โดยพระองค์ทรงเชื่อว่าเมื่อพระองค์สวรรคต พระองค์จะเกิดบนสวรรค์ เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จจาริกแสวงบุญพระองค์ทรงค้นพบสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า และทรงปฏิบัติบูชาที่สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นเวลาหลายวัน หลังจากนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างวิหารมายาเทวีและเสาอโศก เป็นอนุสรณ์ในการประสูติของพระพุทธเจ้าศากยมุนีเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงสละวรรณะกษัตริย์และปราสาท ๓ ฤดูซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานพระราชวังกบิลพัสดุ์ เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตมนุษย์ โดยสงสัยว่าพระพรหมสร้างมนุษย์จากร่างของพระองค์เองหรือไม่ ? มีเหตุผลที่จะอธิบายความจริงนี้ได้หรือชีวิตดับสูญตามคำสอนของพราหมณ์บางกลุ่ม จึงทำให้สถานที่ประสูติแห่งนี้กลายเป็นสถานศักดิ์สิทธิในทางพระพุทธศาสนา ที่ผู้คนทั่วโลกควรเดินทางไปแสวงบุญอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต
การพบหลักฐานทางโบราณคดีในเขตพื้นที่สวนลุมพินีเช่น เสาหินอโศก ในด้านภูมิศาสตร์ ได้มีการจัดทำแผนที่โลกกูเกิลมีการระบุสถานที่ตั้งของวัดมายาเทวี (Maya Devi Temple ลุมพินี) ในสวนลุมพินีนั้น และผู้เขียนพบหลักฐานว่าสวนลุมพินีตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำโรหิณี (Rohini River) ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นโกลิยะประมาณ ๓๗.๙ กิโลเมตร และห่างจากวัดกัลยามัย (kanyamai temple) นักโบราณคดีเชื่อว่าวัดแห่งนี้เคยเป็นเขตพระราชวังโบราณ ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระราชินีประชาบดีโคตตรมี พระมารดาเลี้ยงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๔๓.๘ กิโลเมตรสวนลุมพินีแห่งแคว้นสักกะ เป็นที่พักผ่อนสำหรับกองคาราวานขนส่งสินค้า ปริพาชกผู้แสวงหาสัจธรรม และกองทัพแห่งราชวงศ์ศากยะและราชวงศ์โกลิยะ

ลุมพินีเป็นสวนป่าสาละขนาดใหญ่ปกคลุมผืนป่า มีน้ำพุใต้ดิน ๒ แห่ง แห่งหนึ่งร้อนและอีกแห่งหนึ่งเย็น ไหลจากพื้นดินขึ้นสู่ท้องฟ้า และไหลลงสู่สระโบกขรณีให้ผู้เดินทางได้ดื่มและอาบน้ำในป่าสาละแห่งนี้ เมื่อสวนลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่พำนักของผู้เดินทางระหว่างสองเมืองในสมัยก่อนพุทธกาล ต่อมาสวนลุมพินีกลายเป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะแห่งราชวงศ์ศากยะประสูติจากพระครรภ์ของพระนางมายาเทวี ณ. สถานที่แห่งนี้ เมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช ๑ เมื่อมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระองค์ทรงได้ผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อหาหนทางปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะ พระองค์ทรงใช้เวลา ๖ ปีในการพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ จนกระทั่งพระองค์ตรัสรู้กฏธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนด้วยญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทุกคนว่า เมื่อมนุษย์ตายลงไป วิญญาณของชีวิตมนุษย์ทุกคนก็จะไปเกิดในภพภูมิอื่น เมื่อกลับมาเกิดใหม่บนโลกมนุษย์ก็ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เจริญเติบโตเป็นเวลา ๙ เดือน ก็คลอดจากครรภ์มารดา เป็นมนุษย์ที่มีชื่อและนามสกุลใหม่ หาใช่พระพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระวรกายของพระองค์ตามคำสอนของพราหมณ์อารยันแต่อย่างใด และสวนลุมพินีกลายเป็นที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลก เพราะก่อนจะเสด็จสู่ปรินิพพานนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่พระอานนท์และอริยสาวกทั้งหลายว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วให้เอาพระธรรมวินัยของเราเป็นพระศาสดาของพวกเธอต่อไป และหากผู้ใดคิดถึงเรา (ศากยมุนีพระพุทธเจ้า) ด้วยศรัทธา ให้เดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง๔ เพื่อปฏิบัติบูชาแล้ว เมื่อถึงแก่ความตายไปแล้วจะไปจุติบนโลกสวรรค์ ทำให้สวนลุมพินีกลายเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ที่ในทางพระพุทธศาสนาเพราะเป็น ๑ ใน ๔ ของสังเวชนียสถาน
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้นผู้เขียนสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรวัดมายาเทวี ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติที่แท้จริงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า (Lumbini, The Exactly Birthplace of Buddha) ตั้งอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลนั้น แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าต่อไป ผู้เขียนก็จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถาและบันทึกของพระภิกษุชาวจีนหลายท่าน ที่เดินทางมาคัดลอกพระไตรปิฎกในอนุทวีปอินเดีย พยานวัตถุได้แก่เสาหินอโศก และโบราณสถานสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า บทความวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ จะเป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินอย่างสมเหตุสมผลไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงของข้อมูลอีกต่อไป บทความนี้จะเป็นประโยชน์แต่พระวิทยากรรุ่นต่อไปที่สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการบรรยายเรื่อง ลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เนื้อหาของความรู้ในเรื่องนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและวิธีพิจารณาความปรัชญา เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานต่าง ๆเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาดุษฎีนิพนธ์ของนิสิตระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาพระพุทธศาสนา ปรัชญาและนิติศาสตร์ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการเขียนวิจัย ที่ต้องวิเคราะห์หลักฐานโดยการอนุมานความรู้เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบ ก็จะเป็นความรู้ผ่านเกณฑ์ตัดสินอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความจริงของคำตอบในเรื่องต่อไป
4 ความคิดเห็น:
พออ่านแล้วก็ได้เปิดหูเปิดตา.... มากขึ้น
สาธุ
อาจารย์เขียนเท่าที่จำได้
แสดงความคิดเห็น