Metaphysical problems concerning the truth of Prince Siddhartha
บทนำ ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของเจ้าชายสิทธัตถะ
ในการศึกษาประเด็นความจริงเรื่องสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ถือเป็นปัญหาอภิปรัชญาที่น่าสนใจที่ควรศึกษาให้มาก เพราะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับมนุษย์ เมื่อปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า"นักปรัชญา" พระพุทธศาสนาคือความรู้ของพระพุทธเจ้า วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วมนุษย์ทุกคนมีองค์ประกอบของชีวิต ที่เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจจิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายของตนเอง เป็นสะพานเชื่อมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต เมื่อสภาวะเหล่านี้เกิดขึ้น สภาวะเหล่านี้จะคงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็หายไปจากสายตาของมนุษย์
แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านั้นจะสูญหายไปจากสายตาของมนุษย์ จิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกาย รับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมที่เกิดขึ้น และสั่งสมไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ไม่เพียงแต่มีหน้าที่รับรู้ และรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์เท่านั้น แต่ยังมีธรรมชาติของการคิดด้วย เมื่อเขารู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว เขาก็จะคิดจากสิ่งนั้น โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของปรัชญา อธิบายพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือเท็จ ตัวอย่างเช่นในสมัยรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ผู้คนในแคว้นสักกะและแคว้นโกลิยะเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์เกี่ยวกับการมีอยู่จริงของพระพรหมและเทพเจ้าอื่น ๆ หลายองค์ พระพรหมณ์สร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์เอง และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้นทำหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิด เจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชาพระองค์ทรงเป็นนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ ทรงเห็นปัญหาจัณฑาลที่ถูกสังคมลงโทษด้วยการลงพรหมทัณฑ์ ต้องใช้ชีวิตคนไร้บ้านไปตลอดชีวิต เพราะกระทำความผิดอย่างร้ายแรงฐานละเมิดคำสอนของศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี เป็นต้น
๒.ประเภทความรู้ทางอภิปรัชญา
เมื่ออภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา สนใจที่จะศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น แต่เนื่องจากมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายของตนเอง มีความสามารถจำกัดในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้าในชีวิต และมีอคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมีความมืดมน จึงมักเชื่อข้อเท็จจริงที่ผ่านเข้ามาในชีวิตง่ายโดยไม่สามารถแยกแยะว่าเรื่องไหนจริงหรือเรื่องไหนได้ ก่อให้เกิดความเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง เพื่อให้เราศึกษาปัญหาความจริงทางอภิปรัชญาในเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เราจึงแยกประเภทความจริงทางอภิปรัชญาได้ ๒ ประเภทคือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์
๓.การสอบสวนข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐาน
![]() |
Ancient Kapilvastu |

ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า แคว้นสักกะเป็นรัฐนับถือศาสนาพราหมณ์ มีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยตรากฎหมายวรรณะจารีตประเพณีและแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ ได้แก่วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร โดยให้ประชาชนทำงานตามหน้าที่ของวรรณะที่ตนเกิด โดยพราหมณ์อ้างว่าพระพรหมสร้างชนวรรณะขึ้นมา จึงให้ทำงานตามหน้าที่ของวรรณะตนเกิดมา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดในวรรณะกษัตริย์ จึงมีสิทธิหน้าที่ปกครองแคว้นสักกะ ตามวรรณะที่พระองค์ทรงประสูติมา การบริหารปกครองของชนวรรณะกษัตริย์ทุกคน มีส่วนร่วมในการบริหารปกครองแคว้นสักกะ โดยทำหน้าที่เป็นสมาชิกรัฐสภาบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่เป็นรัฐบาลใช้อำนาจบริหารปกครองประเทศให้เป็นไป โดยสงบเรียบร้อยถูกต้องตามหลักศีลอันดีของประชาชน และสมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่เป็นตุลาการพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปโดยความบริสุทธิ์ยุติธรรมแก่ประชาชน ธรรมของกษัตริย์ เป็นกฎหมายสูงสุดเป็นระเบียบปฏิบัติในการบริหารปกครองแคว้นเรียกว่า "อปริหานิยธรรม" เป็นหลักนิติศาสตร์สูงสุดในการบริหารปกครองประเทศโดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ วรรณะศูทร เป็นผู้มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมา และกฎหมายนี้จำกัดสิทธิหน้าที่ของพวกจัณฑาลมิให้ประกอบอาชีพของชนวรรรณะอื่นเพราะเกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะของบิดากับมารดา ทำให้ลูกกำเนิดมามีสายเลือดไม่บริสุทธิ์เพราะฝ่าฝืนความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ และปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพรหม อันเป็นการขัดต่อจารีตประเพณีความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในแคว้นโดยชนวรรณะกษัตริย์มีส่วนร่วมในการบริหารปกครองประเทศ ในรูปแบบรัฐสภาศากยวงศ์ มีธรรมกษัตริย์เป็นหลักนิติศาสตร์จารีตประเพณีสูงสุดในการบริหารปกครองประเทศสักกะ (แคว้นสักกะ) เรียกว่า"หลักอปริหานิยธรรม" เป็นหลักธรรมสูงสุดที่กฎหมายจารีตประเพณีที่บัญญัติออกมาภายหลังจะมาโต้แย้งหรือขัดแย้งหลักธรรมกษัตริย์นี้มิได้เลย ประชาชนในประเทศนี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นเทพเจ้ามีอยู่จริง เป็นผู้สร้างประชาชนชาวสักกะขึ้นมาจากพระวรกายของพระองค์ ให้สิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนที่สร้างขึ้นมาตามวรรณะที่ตนเกิดมาเท่านั้น มีความเชื่อได้รับการทำนายว่าชีวิตของพระองค์นั้น หากดำรงพระชนม์ชีพเป็นฆราวาสวิสัยแล้วจะเป็นพระมหากษัตริย์ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกพระองค์หนึ่ง และหากพระองค์ทรงออกผนวชจะเป็นศาสดาเอกของโลก ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โต เตรียมความพร้อมเป็นกษัตริย์ได้รับการศึกษาด้านศิลปศาสตร์จนสำเร็จการศึกษา ๑๘ สาขาวิชาด้วยกัน เมื่อพระชนมมายุได้ ๑๖ พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพายโสธรา ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในปราสาท ๓ ฤดูอย่างมีความสุข มีบริวารคอยรับใช้จำนวน ๔๐,๐๐๐ คน เมื่อพระองค์ทรงใช้ชีวิตในพระราชวังกบิลพัสดุ์ที่ประทับส่วนพระองค์ เป็นเวลา ๑๓ ปี พระทัย (จิต) ของทรงเกิดอาการ นิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) ของการผัสสะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณที่ผัสสะด้วยความมัวเมาต่อเนื่องกันเป็นเวลา ๑๓ ปีอาการนิพพิทาของจิต

ปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬา ฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ๑๑.นิพพิทาพหุลสูตรว่าด้วยผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย[๑๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธามีธรรมอันเหมาะสมคือพึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่....ในเวทนา ..ในสัญญา....ในสังขารพึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ผู้ใดมากด้วยเบื่อหน่าย ในรูป.....ในเวทนา......ในสัญญา....ในสังขารมากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป.... เวทนา .... สัญญา ...สังขาร กำหนดรู้วิญญาณผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป กำหนดรู้เวทนากำหนดรู้สัญญา กำหนดรู้สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้นจากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณเรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์ ข้อเท็จจริงจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์รับฟังได้เป็นข้อยุติว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในผัสสะที่ทรงมัวเมาในรูปกลิ่น เสียง รส โผฏรัพพะ และธัมมารมย์ เป็นเวลายาวนานถึง ๑๓ ปี ทำให้พระองค์เกิดอาการของจิตคือเบื่อหน่ายในรูปที่ผัสสะเป็นประจำทุกวัน เวทนาเป็นอาการความรู้สึกสุข เป็นประจำทุกวัน สัญญาเป็นอาการของจิตที่สั่งสมเรื่องราวของความมัวเมาในอารมณ์ ที่เคยผัสสะเป็นประจำทุกวัน เป็นต้น เมื่อนิพพิทาแล้วก็รู้เบื่อหน่ายในสิ่งที่พระองค์เคยมัวเมานั้นอีกต่อไปตัดสินพระทัยออกจากพระราชวังเที่ยวชมพระนครกบิลพัสดุ์ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น