Facts about the Maurya Empire
เมื่อผู้เขียนได้สืบหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโมริยะจากบริบททางสังคมที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งได้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในพระไตรปิฏกมหาจุฬาลงกรณลงกรณว่า พระเจ้ามัลละแห่งเมืองกุสินาราทรงประกอบพิธีประชุมพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงรับสั่งให้โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสาริกธาตุให้กษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง ในเวลานั้น อาณาจักรโมริยะ ได้ส่งทูตแห่งเมืองปิปผลิวันของอาณาจักรโมริยะ ไปขอพระบรมสาริกธาตุไปเก็บไว้บูชาที่เจดีย์ที่สร้างขึ้น เหตุผลที่ขอส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุก็เพราะว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติในวรรณะกษัตริย์ กษัตริย์โมริยะแห่งเมืองปิปผลิวันก็ได้ประสูติในวรรณะกษัตริย์ด้วย พระองค์จึงทรงควรได้รับส่วนแบ่งพระบรมสาริกธาตุไปบูชาเช่นเดียวกับกษัตริย์ทั้ง ๘ เมือง แต่เมื่อพระเจ้ามัลละแห่งเมืองกุสินาราทรงแบ่งพระบรมสาริกธาตุให้กษัตริย์ทั้ง ๘ พระองค์ ก็เหลือเพียงพระอังคารของพระพุทธเจ้าเท่านั้น คณะราชทูตแห่งราชอาณาจักรโมริยะจึงรับพระอังคาร(เถ้า)ของพระพุทธเจ้า ไปประดิษฐานไว้ในเจดีย์ที่สร้างขึ้นในเมืองปิปผลิวันแห่งอาณาจักรโมริยะ เพื่อให้ชาวโมริยะได้บูชาพระอังคารของพระพุทธเจ้า
เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ผู้เขียนได้นำหลักฐานดังกล่าวมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานเอกสาร และคาดคะเนความจริงของเรื่องนี้ โดยใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ว่า ชาวโมริยะได้สถาปนาอาณาจักรโมริยะขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล จึงไม่ได้สถาปนาขึ้นหลังสมัยพุทธกาล ตามที่นักประวัติศาสตร์โลกเข้าใจและเขียนขึ้นไว้ให้พวกเราได้ศึกษาแต่อย่างใด
แต่ข้อเท็จจริงว่าในสมัยพุทธกาลนั้น อาณาจักรโมริยะนี้ตั้งอยู่บริเวณใดในอนุทวีปอินเดีย เมื่อผู้เขียนตรวสอบแผนที่โบราณของอินเดียบนอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็ไม่พบหลักฐานการที่กล่าวถึงอาณาจักรโมริยะ อย่างไรก็ตาม ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณยืนยันว่าพระเจ้ามัลละแห่งเมืองกุสินาราทรงได้มอบพระอังคาร (เถ้ากระดูก) ของพระพุทธเจ้าให้คณะราชทูตแห่งราชอาณาจักรโมริยะไป ประดิษฐานในเจดีย์ในอาณาจักรโมริยะ เป็นบริบททางสังคมที่เกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๘ วัน เมื่อทราบข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในลักษณะนี้ ผู้เขียนจึงวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐาน โดยใช้เหตุผลอธิบายความจริงว่า เมื่ออาณาจักรโมริยะสร้างเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระอังคารของพระพุทธเจ้าไว้ในเมืองใด สถานที่ดังกล่าวคือที่ตั้งของอาณาจักรโบราณโมริยะ
ในยุคหลัง เมื่ออังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ขุดค้นโบราณสถานหลายแห่งที่สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิโมริยะ เมือง Lauria Nandangarh เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเขตWest Champaran ของ Bihar เมือง Lauria Nandangarh มีซากเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Nandangarh เจดีย์นี้สูง 26 เมตร และนักโบราณคดีชาวอังกฤษเชื่อว่าเป็นเจดีย์ Ashes Stupa ซึ่งบรรจุพระอังคาร (เถ้า) ของพระพุทธเจ้าไว้ นอกจากนี้ยังมีเสาอโศก (Ashoka Pillar) สูง 32 ฟุต ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง
จากข้อเท็จจริงฟังของเรื่องนี้ ผู้เขียนคาดคะเนความจริงจากหลักฐานว่า สถูปโบราณแห่งนี้เป็นสถานที่บรรจุพระอังคาร (เถ้า)ของพระพุทธเจ้าตามที่นักโบราณคดีชาวอินเดียพบเห็น จากข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ ผู้เขียนคาดคะเนความจริงจากหลักฐานได้ว่าเมือง Lauria Nandangarh ในเขต West Champaran ของ Bihar คือสถานที่ตั้งของจักรวรรดิโมริยะโบราณในสมัยพุทธกาล เป็นต้น เมื่อดูระยะทางของสถานที่แห่งนี้จากเมืองปัฏตาลีบุตรแล้วบนแผนที่โลกกูเกิล เป็นระยะทาง ๒๒๑ กิโลเมตร ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่า อาณาจักรแห่งนี้ก่อตั้งชุมชนการเมืองขึ้นจริง อาณาจักรโมริยะโบราณในยุคเริ่มแรกน่าจะมีฐานที่มั่นในเมือง Lauria Nandangarh ในเขต West Champaran ของ Bihar
ส่วนสาเหตุหรือเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาณาจักรโมริยะที่ยิ่งใหญ่ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อปัฎตาลีบุตร เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนียประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๘๗ (ตรงกับ ๓๕๖ก่อนคริสต์ศักราช) อีก ๒๐ ปีต่อมา รุกรานแคว้นต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย เพื่อแสดงให้ถึงอำนาจทางด้านการเมืองและการทหารของอาณาจักรมาซิโดเนีย เมื่อกองทัพของพระองค์เข้าโจมตีแคว้นตักศิลา มหาราชาผู้ปกครองก็ยอมแพ้โดยง่ายดาย และยอมเป็นประเทศราชเมืองขึ้นของอาณาจักรมาซิโดเนีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น