Subjective theory of beauty in Lumbini Park aesthetics, the birthplace of the Buddha.
๔. ทฤษฎีความงามจิตวิสัยในสุนทรียศาสตร์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (The royal institute dictionary) พ.ศ. ๒๕๕๔ คำว่า" สุนทรียศาสตร์" หมายปรัชญาแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความงาม และสิ่งสวยงามในธรรมชาติและศิลปะ คำว่า "สุนทรียศาสตร์" หมายถึง "ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจและสัมผัสได้ ความเข้าใจและความรู้สึกของแต่ละคนที่มีต่อความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ เป็นต้น
ตามคำจำกัดความนี้ สุนทรียศาสตร์คือความรู้ของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปเราเรียกว่า"นักปรัชญา" มนุษย์ประกอบด้วยปัจจัยทางร่างกายและจิตใจ หากขาดร่างกายหรือจิตใจเป็นองค์ประกอบของชีวิตแล้ว ชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปอีกได้ หากวิญญาณหายไป ชีวิตมนุษย์ก็เสื่อมลง เพราะไม่มีจิตวิญญาณที่จะดูแลร่างกายอีกต่อไปหากไม่มีร่างกายของมารดา จิตวิญญาณก็ไม่สามารถปฏิสนธิจิตวิญญาณได้เช่นกัน จิตใจของมนุษย์แต่ละคนอาศัยร่างกายในการรับรู้ความงามในธรรมชาติหรืองานศิลปะ เมื่อรับรู้แล้วก็จะเก็บอารมณ์ของเรื่องราวของธรรมชาติหรือศิลปะเหล่านั้นแล้ว สั่งสมไว้ในใจของตนจิตใจจะพิจารณาอารมณ์เหล่านั้น จนเกิดความรู้และความเข้าใจว่าความงามในธรรมชาติหรือศิลปะ เป็นสภาวะที่เกิดขึ้น มันคงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและก่อนที่มันจะหายไป เมื่อมีความรู้สึกพึงพอใจเพราะความยึดติดในอารมณ์ที่ไม่เที่ยง ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการมองดูความสวยงามของสิ่งเหล่านั้นหรือศิลปะเหล่านั้น เมื่อมองว่าผลงงานศิลปะเหล่านั้นไม่สวยงาม

ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า "สุนทรียศาสตร์" ไว้ว่า ผู้เขียนตีความว่า สุนทรียศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่สนใจศึกษาปัญหาความงามในธรรมชาติหรือศิลปะของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อปรัชญาเป็นความรู้และความจริงที่เป็นของมนุษย์ เมื่อสุนทรียศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา สุนทรีย์จะนำแนวคิดทางปรัชญามาด้วยเมื่อพิจารณาถึงเหตุผลผ่านทฤษฎีความรู้ ทำให้ความรู้มีความสมเหตุสมผลและปราศจากข้อสงสัยเกี่ยวกับความงาม
ดังนั้นสุนทรียศาสตร์จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักความรู้และความจริงของความงาม สิ่งงามในธรรมชาติและศิลปะ เป็นต้น มนุษย์โดยอาศัยเหตุผลอธิบายที่มาของหลักความรู้ และความงามที่เกิดขึ้นใจของมนุษย์และเกณฑ์ตัดสินของความงามนั้น ต้องสมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยในความงามนั้น อีกต่อไปแต่ความงามของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นมีความสมบูรณ์แตกต่างกันออกไป จำเป็นต้องใช้ความเห็นของนักปรัชญาหลายคนให้เหตุผลของความงามในสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดดังนั้น ทฤษฎีความงามจึงมีหลายทฤษฎีด้วยกัน เป็นเรื่องของเหตุผลจะบอกความงามของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสมบูรณ์ที่สุด และมาจากหลายเหตุผลของคณะกรรมการตัดสินความงามให้เหตุผลความงามของสิ่งใดมากที่สุด สิ่งนั้นคือความงามแห่งยุคสมัยในการเขียน Blogger ขอยกทฤษฎีความงามจิตวิสัย มีแนวคิดว่า "ความงามที่มิได้ขึ้นอยู่สิ่งใด ๆ ในโลก แต่ขึ้นอยู่ในใจของมนุษย์เอง "
ตามทฤษฎีความงามที่กล่าวมาข้างต้น เราวิเคราะห์ว่า ความสวยงามของสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ ขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณของมนุษย์ที่จะรับรู้ (ผัสสะ) เป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัและสั่งสมเป็นอารมณ์ในใจ แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์มิได้มีหน้าที่เพียงรับรู้ (ผัสสะ)และสั่งสมอารมณ์ของสิ่งที่รับรู้นั้น แต่ยังธรรมชาติเป็นผู้คิด เมื่อรู้สิ่งไหนย่อมคิดจากสิ่งนั้น ย่อมเกิดความรู้สึกจากสิ่งนั้นที่เรียกว่า "เวทนา" โดยอนุมานความรู้จากสิ่งนั้น เพื่อหาเหตุผลอธิบายข้อความเหล่านั้น อาจเกิดความรู้สึกพึงพอใจในสิ่งนั้นหรือไม่พอใจในสิ่งนั้น
กล่าวคือผู้เขียนสัมผัสถึงความงดงามของสวนลุมพินี ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๒ การเดินทางเข้ายังสวนลุมพินีในครั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต้อนรับนิสิตใหม่จากมหาวิทยาลัยเมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียในเวลานั้น ถนนหนทางยังไม่เจริญเท่าปัจจุบัน ชีวิตของผู้คนสองฝั่งของด่านตรวจคนเข้าเมืองตลอดเส้นทางไป ลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ย่ำแย่กว่าที่ประเทศไทย แต่เราไม่รู้สึกทุกข์ไปกับพวกเขา เพราะเป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาชีวิต และพัฒนาจิตใจก่อนพัฒนาวัตถุสิ่งที่เป็นอยู่ แม้ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตแบบนั้นพวกเขาก็มีความสุขกับสิ่งที่เป็นอยู่
๔.๑. มีสวนลุมพินีมีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสมบัติภายนอก เป็นสถานที่อันทรงคุณค่าในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เพราะเป็นสถานประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาพระองค์ทรงได้ผนวช เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตว่าพระพรหมและพระอิศวรทรงได้สร้างมนุษย์ และวรรณะให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมาหลักการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสัจธรรมในเรื่องนี้คืออะไร ? เมื่อพระองค์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตในหลาย ๆ ด้าน จนทรงค้นพบอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุถึงความรู้ในระดับ "อภิญญา ๖ " พระวิญญาณของพระองค์ ก็ทรงหลุดพ้นจากการเวียนตายเกิดในสังสารวัฏและเข้าสู่ปรินิพพาน
๔.๒.เป็นสถานที่ปฏิบัติบูชาอันยิ่งใหญ่ ที่พุทธศาสนิกชนควรมาทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ เพื่อชำระล้างกรรมและความทุกข์ในจิตใจ เพราะความขุ่นเคือง ความเกลียดชัง และความแค้นลึก ๆ ในจิตใจก็จะหายไป เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นในโลกปัจจุบัน หรือ ชาติต่อไป แต่การปฏิบัติบูชากับคุมค้่ากับชีวิตที่เกิดมา ได้กำจัดความรู้สึกโกรธและความเกลียดชังที่มีอยู่ให้ออกไปจากชีวิตจะดีกว่า หากจะมีความสุขแม้จะเพียงชั่วครู่ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่รู้จะทำให้กับชีวิตตนเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร ?
เมื่อนึกถึงสมัยพระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ มีปกครองแคว้นสักกะบนเส้นทาง ๑๐๙.๕ กิโลเมตร ที่เคยใช้เดินทางระหว่างสองเมือง สวนลุมพินีตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะซึ่งเป็นเมืองหลวงใหญ่สองแห่ง ก่อนสมัยพุทธเจ้ามีเหตุการณ์ที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ซึ่งปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เป็นต้นเป็นเวลานานทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ในฤดูร้อนเดือนเมษายนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พฤษภาคมนาข้าวที่ใช้ทำการเกษตร ซึ่งเคยเป็นนาข้าวของราชวงศ์ศากยะก็ถูกเก็บเกี่ยวทั้งหมดแล้วเหลือเพียงตอข้าวแห้ง สีเหลืองสดเรียงรายเป็นสีเดียวกันตลอดเส้นทาง เรามองเห็นผ่านสายตาของผู้คนที่กำลังเดินทางจากเมืองกบิลพัสดุ์ไปยังเมืองเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะที่อยู่ห่างไกล ขบวนคาราวานของนักเดินทางประกอบด้วยผู้คน เกวียน ช้าง ม้าและวัว หลังจากเดินทางได้ ๕๕ กิโลเมตร ร่างของผู้คนที่เคลื่อนไหวมานานก็เริ่มเหนื่อยล้า เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องในที่สุดการเดินทางก็มาถึงสวนลุมพินี ดินแดนแห่งป่าสาละที่สวยงามในเดือนพฤษภาคมของทุกปี โลกของสวนลุมพินีอยู่ใกล้เทพสุริยะผู้ประทานแสงสว่าง หล่อเลี้ยงสรรพสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นชีวิตด้วยอาหาร เพราะมีกระแสน้ำใต้ตินไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัยอันอุดมสมบรูณ์ เพราะป่าไม้นานาชนิดดูดซับน้ำไว้ในช่วงฤดูฝน
เมื่อ ๒๖๐๐ ปีที่แล้ว เมื่อน้ำไหลลงสู่ที่ราบลุ่มแห่งสวนลุมพินี ก็เป็นลำธารได้ปรากฏลอยขึ้นไปในบรรยายกาศบนท้องฟ้าอันไกลโพ้น ตกลงสู่พื้นลุมพินีให้เย็นสบาย ชื่นใจแก่นักเดินทางผู้ทนทุกข์และเหนื่อยจากการเดินทางถนนก็มิราบเลียบอย่างที่คิด มีหลุมเป็นบ่อบางส่วน ชำรุดและขรุขระเมื่อมาถึงสวนลุมพินีอันน่ารื่ยรมย์ กระแสน้ำเย็นและกระแสน้ำร้อนพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า และตกลงมาบนร่างกายที่เหนือยล้าของเราให้จิตผ่อนคลายด้วยการอาบน้ำ ดื่ม รับประทานอาหาร ชำระกายให้สดชื่นและอิ่มใจ เป็นความรู้สึกของจิตใจที่ประสบความอัศจรรย์แห่งชีวิตซึ่งใครก็ตามที่สัมผัสมัน ย่อมจะรู้สึกได้เฉพาะจิตของตนถึงความปิติและความสุขในจิตใจที่ไม่มีใครจะรับความสุขแทนกันได้
จากจุดเล็ก ๆ ของลุมพินีสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะแห่งราชวงศ์ศากยะนั้น กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรู้ที่แท้จริงที่มีคุณค่ามหาศาลแก่ชีวิตมนุษยชาติ เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทานมรดกธรรมแก่มนุษยชาติแล้ว พระองค์ทรงยกให้เป็น ๑ ใน ๔ เมืองสังเวชนียสถานเพราะชีวิตของพระองค์ที่ประสูติมา เป็นชีวิตที่พระองค์ทรงเลือกมาเกิดในโลกมนุษย์และเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ และมีความเป็นมนุษย์ระดับอริยบุคคล ทำให้ผู้คนเหนื่อยล้าจากการเดินทางมาแล้วทั่วสังสารวัฏ มาสู่ลุมพินีด้วยศรัทธาเพื่อมาปฏิบัติบูชาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อความสุขจากการมีทรัพย์ภายนอกไม่ได้ตอบโจทย์ความสงบสุขของชีวิต เพราะแม้ว่าเราจะมีทรัพย์มากมาย เราก็ไม่อาจรักษาความสงบสุขของชีวิต ถึงเราได้รับความสุข ก็เป็นเพียงความสุขชั่วคราวเท่านั้น ความมั่งคั่งที่ได้รับมา จะต้องแลกด้วยเลือดเนื้อ สุขภาพของชีวิต ตนต้องนำทรัพย์ที่ได้มาไป รักษาสุขภาพซึ่งเกิดจากการทำงานหนัก เคร่งเครียด รีบเร่งตลอดชีวิต. เป็นต้น
๕.การปฏิบัติบูชา
ทำไมนักแสวงบุญต้องไปปฏิบัติบูชาที่สวนลุมพินี ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ? โดยธรรมชาติแล้ว ชีวิตของมนุษย์รับรู้ถึงอารมณ์จากเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต เช่น ปัญหาทางธุรกิจ อาชีพการงาน ที่ขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องมานานหลายปี หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริตและไม่ก้าวหน้าหรือไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ประสบปัญหาลูกหลานว่ายากสอนยาก ไม่สามารถดำเนินชีวิตให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้หมกหมุ่นอยู่กับอบายมุขต่าง ๆ ต้องขายทรัพย์สมบัติที่หาได้มาจากธุรกิจเกือบหมดสิ้นเพื่อชดใช้หนี้ ความทุกข์จึงเกิดขึ้นเพราะคิดจะยึดติดสิ่งเหล่านี้ การปฏิบัติบูชาอาจช่วยให้ผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากความทุกข์เหล่านี้ได้โดยการปล่อยวาง การปฏิบัติบูชาในสถานที่ทางพุทธศาสนาทุกครั้ง จะทำให้ชีวิตของผู้เขียน งดงามเกิดขึ้นในจิตใจเสมอ เพราะมีความปิติทุกเมื่อ
เมื่อผู้เขียนได้มาสัมผัสสวนลุมพินีสถาน สถานที่น่ารื่นรมย์แห่งนี้ เมื่อนึกถึงองค์ความรู้ผ่านประสบการณ์ของชีวิต จากการที่เคยได้ปฏิบัติบูชาในสวนลุมพินีหลายครั้งในอดีต จิตวิญญาณของผู้เขียนก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกอิ่มเอิบทุกครั้งที่ได้สั่งสมความรู้ และความจริง จนกลายเป็นคำสัญญานอนเนื่องอยู่ในจิตใจอย่างไม่สิ้นสุดและติดตามจิตวิญญาณไปเกิดในภพชาติต่อไป
ชีวิตที่มีความทรงจำอันดีงามในสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ต่อมาได้กลายเป็นศาสดาเอกของโลกมนุษย์มีพระนามว่าโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ประสูติของพระองค์เป็นสังเวชนียสถานอันยิ่งใหญ่ ที่คนทั่วโลกปรารถนาครั้งหนึ่งในชีวิตของตนเดินทางมาปฏิบัติบูชาในสถานที่อันรื่นรมย์เช่นนี้ แต่เป็นสถานทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของผู้เขียนในการพาผู้คนได้หลายร้อยคนเดินทางมาสู่สถานที่แห่งนี้ เพื่อปฏิบัติบูชา แม้ในบางครั้งผู้เขียนต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าของชีวิต เพราะการตรากตำทำงานหนักจนเส้นเสียงของผู้เขียนอักเสบ แต่ผู้เขียนก็ต้องฝืนทำงานจนเสร็จสิ้น
ผู้เขียนเคยตั้งจิตอธิษฐานบารมีขอให้ความปรารถนาของชีวิต ให้หายป่วยความปรารถนาของผู้เขียนเกิดขึ้นหลายครั้งไม่เคยมีสักครั้งที่ผู้เขียนเคยมีสักครั้ง ที่จะไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมื่อผ่านจุดนั้นมาได้ ความรู้ของชีวิตผู้เขียน น่าจะพอเพียงที่จะเอาความรู้สั่งสมอยู่ในจิตนอนเนื่องมายาวนานนั้น ถ่ายทอดเป็นตัวอักษรให้แก่ผู้ที่เวียนว่ายตายเกิดในยุคหลังได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของประสบการณ์ที่เข้ามาสู่ชีวิตของตัวเอง ด้วยการศึกษาด้วยการอ่านเรื่องราวเหล่านี้ ผู้เขียนอาจเคยแสวงหาตัวตนของผู้อื่นมายาวนานแล้วไม่รู้กี่อสงไขยแล้ว เป็นความมัวเมาในชีวิต เป็นความสุขที่ยังเป็นความทุกข์ของวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทุกหนทุกแห่งที่มนุษย์อาศัยอยู่ ย่อมมีการแก่ง แย่งชิงดีกันตลอดเวลาการแข่งขันในหน้าที่การงาน ธุรกิจและความรัก เป็นต้น ทำให้เกิดอารมณ์เรื่องราวเหล่านั้น กลายเป็นตัณหาที่จิตวิญญาณน้อมรับมาฝังรากลึกในจิตวิญญาณมายาวนานมาแล้ว ไม่รู้กี่อสงไขย เพราะทำให้จิตวิญญาณของมนุษย์นั้น มีการเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วไม่รู้กี่อสงไขย
การปฏิบัติบูชาด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา ด้วยจิตอันสงบตัดอารมณ์โลกธรรมได้ทุกทาง ยกเว้นทางหูได้ฟังพระธรรมวิทยากรบรรยายเรื่องราวของชีวิตพระพุทธเจ้าให้ผู้แสวงบุญฟัง การฟังธรรมบรรยายนั้น ระงับความทุกข์จากความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นอยู่ในจิตใจเราได้ความสุขจาการปล่อยวางว่างเปล่าจากอาการยึดมั่นในสิ่งนั้นได้เป็นอย่างดี แม้กาลเวลาจะผ่านไปแล้ว ๑๗ ปี ตลอดหลายปีที่ผู้เขียนกลับมาสู่สถานแห่งนี้อีกหลายครั้ง ฉันผัสสะอารมณ์แห่งการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าไม่เคยอิ่ม ผู้เขียนได้ชำระล้างความอ่อนแอ ท้อแท้ ความหงอยเหงาของชีวิต ผู้เขียนรู้สึกว่าตนเองเข้มแข็งกว่าในอดีตที่ผ่านมาในฐานะนักบรรยายผู้นำจิตวิญญาณในการนำพาผู้แสวงบุญมาปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถานสวนลุมพินีเป็นตำนาน แห่งความทรงจำของผู้เขียน การผ่านการเดินทางเข้าออกอินเดีย และเนปาลเป็นเวลาหลายครั้งจึงเป็นเรื่องปกติของผู้เขียนเอง สวนลุมพินีมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๖,๐๐๐ ไร่ เขาจัดสรรพื้นที่ได้งดงาม ในแต่ละปีมีผู้คนมากมายจำนวนหลายล้านคนมาเที่ยวชม หลายคนมานั่งปฏิบัติบูชาด้วยการนั่งสมาธิ เพื่อชำระล้างความเครียดในร่างกายและจิตใจของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น