Aesthetics in Lumpini Park, the Holy City of Buddhism (Part 3)
บททำ
โดยทั่วไป ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น สวนลุมพินีเป็นที่ประทับพักผ่อนของราชวงศ์ศากยะ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมสมาชิกแห่งราชวงศ์โกลิยะที่พระนครเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะ เพราะสมัยพระเจ้าโอกากราชนั้น สมาชิกพระราชวงศ์โกลิยะนั้น ได้แยกตัวออกสร้างพระนครใใหม่ซึ่งห่างออกไปประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร ในยุคปัจจุบัน ลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าเป็นที่่ตั้งของจังหวัดที่ ๕ ซึ่งเป็นจังหวัดใน ๗ จังหวัดของประเทศเนปาล ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประเทศเนปาล และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดที่ ๕ ลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ซึงเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธทุกนิกาย สามารถเข้าไปปฏิบัติบูชาได้รวมทั้งชาวฮินดูในเนปาลด้วย สามารถเข้าทำพิธีบูชาพระพุทธรูปปางประสูติ เพื่อขอลูกชายจากพระราชินีมายาเทวีซึ่งชาวฮินดูในเนปาลถือว่าเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งได้ เมื่อเจ้าชายสิธัตถะทรงผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ต่อพระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุถึงความจริงเกี่ยวกับกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อผู้ใดแสดงเจตนาทำกรรมดี โดยมีกาย
สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่มีความสำคัญต่อชีวิตของผู้เขียนอย่างมาก เพราะสถานที่ปฏิบัติบูชาแห่งนี้ได้ปลูกฝังศรัทธาอย่างแรงกล้าให้กับผู้เขียนได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา และเข้าถึงจิตวิญญาณของความเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ที่มีโอกาสได้ปฏิบัติบูชาตามหลักธรรมที่เป็นสากล และคนทั่วโลกสามารเข้าถึงการศึกษาพระไตรปิฎกอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีกฎหมายห้ามไว้เช่นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเช่นในสมัยอินเดียโบราณ เมื่อพวกเขาปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ผลลัพท์ของการปฏิบัติอย่างเดียวกันทั่วโลกคือการเป็นผู้รู้ ผู้อื่นและผู้เบิกบาน มีความสงบสุขบนพื้นฐานของศีลธรรมและกฎหมายได้
ปัญหาว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้าทรงยกลุมพินีสถานที่ประสูติของพระองค์เป็นสังเวชนียสถานแห่งที่หนึ่ง

เมื่อผู้เขียนมีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ของร่างกายตนเองมีข้อจำกัดในการรับรู้สถานที่ประสูติแห่งนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลา ๒๕๖๐ กว่าปีแล้ว ผู้เขียนจึงไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้สั่งสมอยู่ในใจของตนเอง แต่ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป ผู้เขียนจึงตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าตามประวัติของสวนลุมพินีในพระไตรปิฎกนั้น เดิมเป็นสถานที่พักผ่อน สำหรับกองคาราวานสินค้าส่งไปขายต่างประเทศและใช้เส้นทางการค้า ระหว่างพระนครกบิลพัสดุ์กับพระนครเทวทหะ สวนป่าลุมพินีมีลักษณะเป็นป่าสาละที่สวยงาม และลำต้นสูงใหญ่ เป็นร่มเงาด้วยใบไม้อันหนาเขียวชอุ่มเกือบทั้งปี มีธารน้ำใต้ดินทั้งกระแสร้อนและกระแสเย็นพุ่งจากใต้ดินขึ้นสู่ท้องฟ้า ให้ผู้คนได้อาบน้ำชำระร่างกายที่แปดเปื้อนฝุ่นละอองตลอดเส้นการเดินทางน้ำเหงื่อไคลย้อยลงตลอดเวลา และร่างกายเหนื่อยล้าด้วยน้ำร้อนอันแสนอุ่นในยามฤดูหนาวตั้งอยู่ในแคว้นสักกะ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณและธัญญาหาร เช่น ข้าว ปลาและฝูงสัตว์ป่าและเจริญรุ่งเรืองด้วยประชาชนผู้มีความรู้ของแนวคิดของปรัญาศาสนาพราหมณ์ และมั่งคั่งด้วยการส่งข้าว เป็นสินค้าหลักของประเทศไปขายต่างประเทศผ่านเส่้นทางการค้าโบราณ อันเป็นสถานที่ตั้งของแคว้นมัลละ ผ่านเมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสี สุดท้ายไปสิ้นสุด ที่แคว้นมคธอันเจริญรุ่งเรืองด้วยมหาเศรษฐีถึง ๙ คนด้วยกันเมื่อพระนางมายาเทวีและคณะได้เดินทางไปที่พระนครเทวทหะ อันเป็นเกิดเมืองนอนของพระนางเองเกิดความเหนื่อยล้าจากการเดินทางไกล ทรงมีพระครรภ์มีอายุได้ ๑๐ เดือนแล้ว ทรงประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ทั้งสองได้อาศัยกระแสน้ำร้อนและกระแสน้ำเย็นสองสายนี้ สระสนานชำระล้างพระวรกายของ ๒ พระองค์เพื่อชำระเลือดเนื้อของชีวิตของพระองค์ไว้บนพื้นดินของสวนลุมพินีแห่งนี้ ให้กลายเป็นแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้คนเดินทางมาปฏิบัติบูชาสวนลุมพินีแห่งนี้ ศึกษาวิธีการปฏิบัติบูชาให้ชำระล้างจิตวิญญาณบริสุทธิ ให้พ้นจากการถูกสาปเพราะวิบากกรรมต่อไปกาลเวลาผ่านไปถึง ๒๙ ปี เจ้าชายสิทธัตถะแห่งศายวงศ์ ตัดสินพระทัยออกผนวชเพราะทรงระลึกได้ว่าระบบวรรณะที่ใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทำให้ประชาชนเกิดมามีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีโอกาสเลือกทางเดินของชีวิตตามความรู้และทักษะสามารถของตนเองได้ พวกจัณฑาลไม่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะทุกอาชีพสงวนไว้ให้แก่ประชาชนในระบบวรรณะ การบัญญัติกฎหมายยกเลิกกฎหมายวรรณะ เป็นสิ่งที่เป็นมิได้ เพราะขัดต่อหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศซึ่งเป็นธรรมกษัตริย์เรียกว่า หลักอปริหานิยธรรมและพิจารณาต่อไปอีกแล้ว เห็นว่า ในวันข้างหน้า หากพระองค์เป็นกษัตริย์ปกครองแคว้นสักกะต่อไป พระองค์คงไม่สามารถหาวิธีใดบัญญัติกฎหมาย เพื่อปฏิรูปสังคมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันได้แต่อย่างใด เพราะอำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของรัฐสภาศากยวงศ์เป็นผู้ตัดสินใจ และขัดต่อหลักอปริหานิยธรรม พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อศึกษาหาความรู้และความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน
เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นบุคคลแรกในโลกที่รู้วิธีการพัฒนาศักยภาพชีวิตของเขาจากกคนธรรมดาไปสู่พระอริยบุคคลโดยการฝึกปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ จนบรรลุถึงญาณอภิญญา ๖ เมื่อพระองค์ตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์แล้ว ทรงเปิดเผยความรู้อันแท้จริงของมนุษย์ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา สิ่งนี้ทำให้พระองค์ทรงเป็นศาสดาเอกของโลกเพราะสาวกของพระองค์นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและนำความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับชีวิต มาศึกษาต่อในเชิงวิชาการนั้นอีกหลายเรื่อง สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า กลายเป็นสังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในทางพระพุทธศาสนาเพราะมีผู้คนจำนวนหลายแสนมาสู่สถานที่แห่งนี้เป็นประจำทุกปี เพื่อตามรอยบาทพุทธศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่า "บุคคลผู้มีศรัทธาในการตรัสรู้ของพระองค์และระลึกถึงพระองค์ ให้เดินทางไปปฏิบัติบูชาในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เมื่อสิ้นชีวิตลงไปแล้ว จิตวิญญาณของผู้นั้นจะไปจุติในสุคติภูมิโลกสวรรค์ เป็นต้น ปัจจฉิมพระธรรมเทศนาของพระองค์ทำให้พุทธศาสนิกชนจำนวนหลายล้านคน ได้เดินทางมาสู่สวนลุมพินี เพื่อปฏิบัติบูชา เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม และจะได้เห็นพระพุทธเจ้า (เรา) เป็นต้น เริ่มแรกนั้นผู้เขียนเป็น ๑ ในผู้แสวงบุญชาวพุทธนานาชาติจำนวนหลายแสนคน ได้เดินทางจากทั่วทุกมุมของโลก ที่เดินทางมาแสวงบุญในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ในช่วงฤดูหนาวของทุก ๆ ปีนั้น สถานที่ประสูติอันศักดิ์สิทธิ์ของโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระราชมารดา พระนางมายาเทวีและทรงเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดา เมื่อประมาณ ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราชนั้น เต็มไปสีสรรค์ของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติหลายภาษาและวัฒนธรรม เดินฝ่าหมอกเย็นจากภูเขาหิมาลัยตั้งอยู่ไม่ไกลนักเข้าสู่สวนลุมพินี เพื่อปฏิบัติบูชาให้บรรลุถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา" ืเริ่มแรกนั้นผู้เขียนรับรู้ว่า สวนลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าผ่านประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียว จากการอ่านหนังสือเรียนวิชาพระพุทธศาสนาผ่านระบบการศึกษาที่ประเทศไทยเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งอายุ ๔๓ ปีมีโอกาสเป็นนักศึกษานานาชาติในเมืองพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ได้มีโอกาสเดินทางมาปฏิบัติบูชา ในโครงการปฏิบัติธรรมในแดนพุทธภูมินับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ เป็นต้นมา
ทฤษฎีประจักษ์นิยมเป็นทฤษฎีบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ มีแนวคิดว่า มนุษย์คนใดรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้นจากทฤษฎีบ่อเกิดความรู้และความงามนั้น มนุษย์รับรู้ความงามของทุกสิ่งนั้นผ่านประสาทสัมผัสของตนเพียงเดียว เช่นเดียวกับผู้เขียนได้รับรู้ความงามของสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าผ่านประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี๒๐๐๒ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ผู้เขียนเห็นเสาหินอโศกได้สร้างเป็นอนุสรณ์สถานของการเสด็จมาค้นหาสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะในสวนลุมพินีแห่งนี้ และพระเจ้าอโศกมหาราชทรงปฏิบัติบูชาเป็นเวลาหลายวัน ณ สถานที่ประสูติแห่งนี้ เสาหินอโศกที่ตั้งตระหง่านในสวนลุมพินีแห่งนี้หลายร้อยปีแล้ว ผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านน้ำฝน รวมเมฆหมอกควันของความเย็นไหลผ่านลงมาจากภูเขาหิมาลัยเป็นประจำทุกปีเป็นเพราะแรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงโลกหมุนรอบดวงทิตย์ มีระยะใกล้ไกลไม่เท่ากัน ทำให้โลกนั้นร้อนไม่เท่ากันทุกวัน จึงเกิดฤดูที่แตกต่างกันบนโลกมนุษย์นี้ การเดินทางมาปฏิบัติบูชาในสถานที่แห่งนี้ ในบรรยายกาศที่แตกต่างกันออกไป ในช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาที่บรรยายกาศของสวนลุมพินีที่สวยงามที่สุด เพราะอากาศเนย็นสบาย ปกคลุมด้วยเมฆหมอกควันที่ปะทะหน้าผาสูงหลายร้อยเมตร และยาวไกลเป็นม่านธรรมชาติแห่งภูผาหิมาลัยที่ธรรมชาติสร้างไว้กั้นลมหนาวให้อากาศหนาวเย็นเหมาะสำหรับผู้แสวงบุญทั่วโลกลหลายแสนคนเดินทางมาสู่สถานศักดิ์สิทธิ์เพื่อการปฏิบัติบูชาระลึกคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยการสวดมนต์นั่งสมาธิ เพื่อชำระล้างอารมณ์ของความทุกข์ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่สั่งสมยาวนานมากมายหลายเรื่องที่นอนเนื่องอยู่ในจิตวิญญาณ เพราะการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ของจิตวิญญาณเดินทางผ่านกาลเวลาแล้วไม่รู้อสงไขยกี่แสนกัปป์แล้ว ความเย็นเต็มไปด้วยหมอกควันนั้นบางครั้งก็เสน่ห์ ทำให้ผู้แสวงบุญนั่งสมาธิได้เป็นเวลาเนิ่นนานยิ่งขึ้นไป เป็นช่วงเวลาของจิตวิญญาณเราได้ดื่มด่ำในความสุขอันเกิดจากความสุขของชีวิตได้ แต่ในฤดูหนาวอันแสนอบอุ่นใจนั้น แต่ก็มีแต่พวกคณะผู้แสวงบุญข้อเสียว่า ในฤดูหนาวมีผู้มาท่องเที่ยวชมสวน ลุมพินีจำนวนมากหลายพันคนในแต่ละวัน เดินชมสวนลุมพินีตลอดเวลาทุกตารางเมตรของสวนลุมพินีเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวนานา ชาติหลายคนมองเห็นและเข้าใจว่าเรากำลังปฏิบัติบูชา พวกเขาก็ส่งสัญญาณเตือนพวกเขามิให้ส่งเสียงรบกวนการปฏิบัติบูชาของพวกเรา เราในฐานะนำพาปฏิบัติบูชา เกิดความรู้สึกประทับใจในมารยาทของพวกเขาที่เข้าใจวิถีชีวิตของพวกเรา ในบางเวลาผู้เขียนเป็นผู้แสวงบุญเอง เราต้องรู้จักฟังคนอื่นบรรยายเพื่อเติมเต็มในส่วนขาดของชีวิต เพราะชีวิตคนเราไม่ได้รับรู้ได้ทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องของตนเอง เป็นต้นและหากมาในฐานะเป็นพระธรรมวิทยากร เราต้องเตรียมความรู้และพลังงานของเรา เพราะการทำงานรับใช้พระพุทธเจ้าเป็นเวลาหลายวัน ในฤดูร้อนผู้เขียนได้ผัสสะความสวยงามของภูเขาหิมาลัยได้อย่างชัดเจน เพราะความร้อนได้พัดพาหมอกควันของความเย็นปกคลุมในช่วงฤดูหนาวให้ลอยผ่านพ้นไป ผู้เขียนได้เห็นหน้าผาอันสูงชันแห่งเทือกเขาหิมาลัยอันยาวไกล เป็นความงามตามธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาเอง โดยไม่มีมนุษย์คนไปสร้างไว้แต่อย่างใดถือว่าเป็นความคุ้มค่าของชีวิตที่ได้เห็นภูเขาหิมาลัยอันรื่นรมย์เช่นนั้น ในบางครั้งคณะผู้แสวงบุญมาถึงสวนลุมพินีเย็นมากแล้ว ผู้เขียนและคณะต้องเดินทางเข้าสู่สวนลุมพินีแต่เช้าสวนลุมพินีเต็มไปด้วยหมอกควันพื้นซิเมนต์เปียงชื่นไปด้วยน้ำค้างกลั่นตัวลงมาจากท้องฟ้าอันหนาวเย็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น