Epistemological Problems in the Mahachulalongkron Tripitaka
๑.บทนำ
โดยทั่วไปแล้ว นักปรัชญาจะได้ยินคำกล่าว หรือ เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์เราเรียกว่า"ข้อเท็จจริง" อาจเป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับ มนุษย์ โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการมีอยู่ของเทพเจ้า เช่น พระพรหมและพระอิศวรที่ได้ยินตาม ๆกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อมนุษย์ได้ยินเหล่านั้นและเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้ เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ มนุษย์ก็จะเกิดความสงสัยเกี่ยวกับประวัติของเรื่องราวเหล่านั้น พวกเขาก็จะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ จากหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเพื่อพิสูจน์ความจริงโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยนั้น
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการหลายคนที่เรียกว่า "นักปรัชญา" ก็ชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่สงสัยนั้นและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ผู้นำลัทธิต่าง ๆ สอนว่าการกระทำผิดทางกายทีทำต่อกันนั้นไม่ผลต่อกัน มีทั้งกรรมดีและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถเห็นได้โดยตรงในชีวิตประจำวันของมนุษย์ สิ่งที่เกิดขึ้นสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส และสั่งสมไว้ในจิตใจของตนเองหรือโซเชียลมีเดียบนแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต ที่ผู้คนทั่วโลกแชร์เป็นความรู้ให้มนุษย์ได้เรียนรู้จากเรื่องนั้น ๆ และนำความรู้จากการคาดคะเนความจริงของเรื่องนั้น ๆ มาใช้เหตุผลสอนคนอื่นหรือใช้ในการตรากฎหมาย เพื่อปกป้องและควบคุมผู้คนจำนวนมากในสังคมมนุษย์ที่ขาดการศึกษาเรียนรู้ความคิดของมนุษย์ ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลามิให้ได้รับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนกรรมชั่วที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของแต่ละคนนั้น เกิดจากตัณหาของมนุษย์ ความคิดของมนุษย์จึงมีความซับซ้อนและยากจะเข้าใจจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าความเห็นใดจริงความเห็นใดเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิ่นของมนุษย์ เป็นจำนวนมากทุกปีหรือหลายพันปีที่ผ่านมา
๒.ความหมายของญาณวิทยา
เป็นสาขาวิชาหนึ่งของปรัชญาที่แยกเนื้อหาของตนออกมาจากปรัชญา แต่ก็ยังเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา เมื่อเนื้อหาของปรัชญา ที่มีบ่อเกิดจากความรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจแล้วคิดหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้น ๆ นักปรัชญาสนใจศึกษาปัญหาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์นั้น องค์ประกอบความรู้ของมนุษย์ วิธีของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้ที่เรียกว่า "วิธีพิจารณาความจริง"ิ ของปรัชญาความสมเหตุสมผลของความรู้ของมนุษย์ และญาณวิทยามีหน้าที่ให้คำตอบกับสังคมในปัญหาที่สังคมสงสัยว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความจริงในเรื่องนั้น ๆ ?
โดยทั่วไป ความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของมนุษย์นั้น มีทั้งข้อเท็จจริงที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ เมื่อจิตใจของมนุษย์อาศัยร่างกายเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา มันคงอยู่ในสถานะชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วสลายตัวไปในอากาศธาตุ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านั้น จะหายไปจากสายตาของมนุษยตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนว่า ธรรมชาติของจิตมนุษย์นั้น เมื่อรู้สิ่งใดก็จะเก็บอารมณ์ของสิ่งนั้น สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์
แต่ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ นอกจากรับรู้และเก็บอารมณ์เหล่านั้นเป็นหลักฐานแล้ว ก็จะคิดจากหลักฐานทางอารมณ์ที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์นั้น เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นแต่เมื่อมนุษยรู้แล้วได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นและปรากฏขึ้นในจิตใจของผู้นั้น ยังไม่ชัดเจนในความเป็นของเรื่องนั้น ใครชอบหาความรู้ในเรื่องนั้นต่อไป จำเป็นต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมเป็นข้อมูลใช้วิเคราะห์ เพื่อหาเหตุผลยืนยันความจริงในเรื่องนั้นต่อไป
๓.ต้นกำเนิดความรู้ของญาณวิทยา
โดยทั่วไป เมื่อมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของตนเองมีข้อจำกัดในการรับรู้และเป็นคนเห็นแก่ตัว จึงชอบอคติต่อผู้อื่นที่มีทักษะความสามารถในชีวิตดีกว่าตนเกิดความไม่รู้ของตนเอง มีปัญหาเพิ่มเติมที่ผู้เขียนสงสัยว่า บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์มาจากไหน เมื่อผู้เขียนศึกษาคำสอนพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าชีวิตมนุษย์มีวิญญาณเป็นแก่นแท้ของชีวิต และอาศัยอยู่ในร่างกายเพื่อสั่งสมอารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุและนามธรรมไว้ในจิตวิญญาณของตัวเองหากจิตของมนุษย์สั่งสมแล้วและเกิดความพอใจ จิตของมนุษย์ก็อยากได้ ก็จะลงมือแสวงหาสิ่งนั้นมาตอบสนองความต้องการของตัวเอง
ดังนั้นจิตวิญญาณมนุษย์มีการเวียนว่ายเกิดในสังสารวัฏ เมื่อวิญญาณมาพร้อมกรรมติดตัวมาซึ่งเป็นความรู้สั่งสมไว้ในจิต จนเป็นสัญญานอนเนื่องอยู่ในจิตอย่างนั้น ความรู้ติดตัวมาแต่กำเนิดจะไม่มีประโยชน์อันใด หากไม่ใช้ในการพัฒนาศักยภาพชีวิต ให้มีทักษะทางธุรกิจในอาชีพที่ชอบในยุคสมัยปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าวิชาความรู้ซึ่งเป็นหลักสูตรเปิดสอนในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลกนั้นเป็นความรู้ที่พัฒนาจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของคำตอบในผัสสะของมนุษย์ที่เรียกว่า นักวิชาการ นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์และได้อ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสนับสนุนการให้เหตุผลของความรู้ของคน ๆ หนึ่งคือความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผลและมีเป็นสากล เมื่อผู้อื่นนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้เหตุผลของคำตอบเช่นเดียวกัน
๑.ความรู้คืออะไร (What is knowledge)
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามว่า"ความรู้" คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือได้รับจากประสบการณ์ทางผัสสะ รวมทั้งความสามารถเชิงทักษะ เช่น ความรู้เชิงประวัติศาสตร์สิ่งที่ได้รับจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ เช่น ความรู้เรื่องสุขภาพความรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับจากประสบการณ์ เช่น ผู้ชายคนนี้เก่ง แต่ไม่มีความรู้เรื่องผู้หญิง
จากคำนิยามจากที่มาของความรู้ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนตีความได้ว่า ความรู้เป็นมนุษย์ทุกคนเป็นสิ่งมนุษย์สั่งสมไว้ในจิตของชีวิตตนเอง เกิดจากวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า ประสบการทางผัสสะ ความสามารถเชิงทักษะ เป็นความรู้ที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินอย่างสมเหตุสมผล ปราศจากข้อพิรุธสงสัยในเหตุผลของคำตอบว่าเป็นความจริงอีกต่อไป และจากคำนิยามดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนความได้ดังต่อไปนี้
๑.๑.ความรู้เป็นสิ่งสั่งสมในประเด็นที่กล่าวนี้ ผู้เขียนตีความได้ว่า เมื่อจิตเป็นสาระอันเป็นแก่นแท้ของมนุษย์ จิตอาศัยร่างกายเป็นผู้รับรู้ความรู้เป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกชีวิตมนุษย์ เมื่อจิตรับรู้แล้วโน้มรับความรู้นั้นเข้ามาสั่งสมภายในจิตตน ถ้าสิ่งผัสสะนั้นเป็นวัตถุเช่น รถยนต์นั้น คงไม่มีใครเอารถยนต์สั่งสมไว้ในจิตตนได้ เพราะเป็นสิ่งที่มีรูปร่างคงได้ เฉพาะอารมณ์เรื่องรถยนต์เท่านั้นไว้ในจิตของตนเพราะจิตเป็นอรูป เป็นนามธรรมอาศัยร่างกายนี้อยู่เท่านั้น อารมณ์ของสิ่งต่างๆที่สั่งสมอยู่ในจิตนั้น มิได้สูญหายไปไหนนอนเนื่องจิตอย่างนั้น เมื่อเราเรียนจบหลักสูตรในมหาวิทยาลัยความรู้ที่เคยศึกษาก็ติดตัวมาสู่สถานที่ประกอบธุรกิจการงานของตน เพื่อนำความรู้นั้นมาใช้ในการทำงานให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ หากเราไม่มีตั้งศึกษาค้นคว้าก็ขณะเรียนในมหาวิทยาลัย ก็จะไม่มีความรู้สั่งสมอยู่ในจิตตน ก็คิดการทำงานใดก็ไม่เท่าทันคนอื่นที่มีความรู้พร้อมมากกว่าตน จะคิดเรียนเพิ่มเติมคนอื่นก็เลื่อนชั้นของหน้าที่การงานไปไกลมากกว่าตนเองแล้ว
จิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่รูปร่างอาศัยร่างกายนี้เป็นให้ดำรงชีวิตต่อไปอีกเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจเป็น ๑๐ หรือ ๒๐ หรือ ๑๐๐ ปีเท่านั้น ก็ออกจากร่างไปจุติจิตไม่มีวันหวนกลับมาสู่ร่างเดิมได้เพราะเสื่อมสลายไปแล้วจิตอาศัยอินทรีย์ ๖ ส่วนของร่างกายมนุษย์เป็นทวารเชื่อมความรู้ภายนอกชีวิตมนุษย์ได้ เมื่อจิตมนุษย์มีลักษณะเป็นอรูป ต้องอาศัยร่างกายโน้มออกไปรู้อารมณ์ต่างๆ มาสั่งสมให้มีอยู่ในจิตของมนุษย์ เมื่อจิตเป็นสิ่งไม่มีรูปร่าง สิ่งที่มาสั่งสมอยู่ในจิตย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างไปด้วยวัตถุแห่งกิเลส เช่น รถยนต์ คอนโด บ้านพักอาศัยและคนรัก เป็นต้น เป็นสิ่งที่มีรูปพรรณสัณฐานมนุษย์ไม่สามารถเอาสิ่งมีรูปร่างเหล่าสั่งสมอยู่ในจิตได้ ได้แต่เพียงอารมณ์และเรื่องราวของสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นไม่มีรูปร่างนั้นมาสั่งสมไว้ในจิตได้ ส่วนทักษะการใช้แอฟฟริ่เคชั่นของการใช้คอมพิวเตอร์เช่นกัน เมื่อใช้บ่อย ๆ ย่อมเกิดทักษะความชำนาญใช้ได้อย่างคล่องแคล้วว่องไวนั้น มัแต่อารมณ์ทักษะการใช้เท่านั้นที่เป็นความรู้สั่งสมอยู่ในจิตนั้นเท่านั้น
๑.๒ความรู้สั่งสมจากการเล่าเรียน
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ นั้นได้นิยามคำว่า ศึกษา คือการเล่าเรียน การฝึกฝน และอบรม เป็นต้น การเล่าเรียนคือการศึกษาด้วยการท่องบ่น ค่าถาอาคม ท่องบ่นการสวดมนต์ ท่องบ่นไวยากรณ์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้นผู้เขียนวิเคราะห์ได้ดังนี้เมื่อเราศึกษาความรู้ในตำราที่เราอ่านนั้นก็จะเกิดการสั่งสมเก็บไว้ในจิตของผู้อ่าน การเล่าเรียนด้วยการท่องบ่น จิตก็จะเก็บสะสมไว้ในจิตตนนั้น ในยามจำเป็นของชีวิต ก็นำความรู้ออกมาจากจิตมาใช้ได้เลย เป็นต้น ส่วนคำว่า ฝึกฝนหมายถึงความเพียรฝึก พยายามฝึกให้เกิดความชำนาญ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นต้น การเตะตะกร้อ เตะฟุตบอล เป็นต้น ส่วนคำว่าอบรมนั้น หมายถึงการพร่ำสอนให้ซึ่มซับเข้าไปในจิตจนเป็นนิสัย เป็นต้นเช่น สอนให้คิดเลขอยู่ในใจจนสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขเป็นต้น ชี้แจ้งให้คนนั้นเข้าใจในสิ่งตนต้องการว่ายังไม่มีต้องอดทนรอ ขัดเกลานิสัย เช่นรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น
๑.๓.ความรู้เป็นสิ่งสั่งสมจาการค้นคว้า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนิยามคำว่าค้นคว้าคือการหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชาการ การเสาะหาเอามาเป็นต้น เช่น การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลของคำว่า "นิพพาน" มีการนิยามไว้ในพจนานุกรมหลายฉบับด้วยกัน ตามพจนานุกรมของอ.เปลื้อง ณ.นคร ได้อธิบายคำว่า "นิพพาน" หมายถึงความสิ้นกิเลสและพระพุทธเจ้าทรงค้นว่าจิตห่อหุ้มด้วยกิเลสอย่าหนาแน่น คือความโลภ ความโกรธ ความหลง และได้ทรงค้นพบวิธีการอย่างหนึ่งในการสำรอกกิเลสออกจากจิตได้คือ มรรค ๘ ถ้าใครปฏิบัติตามมรรค ๘ ได้ (๒)
จากคำนิยามนั้นผู้เขียนวิเคราะห์ว่า"ความรู้" ตามคำนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาว่า "ความรู้" หมายถึงสิ่งที่สั่งสมในชีวิตของมนุษย์ สั่งสมไว้ในจิตในลักษณะเป็นความรู้ที่ห่อหุ้มจิตไว้อย่างหนาแน่น มิใช่ผสมเป็นเนื้อสารเกียวกับจิตของมนุษย์ ความรู้ที่จิตมีอยู่มากมายหลายเรื่องด้วยกันมิใช่สิ่งที่เรียกว่ากิเลสเท่านั้น -ยังมีความรู้ที่เกื้อหนุนชีวิตไปในทางที่ดีสั่งสมอยู่ในจิตเรียกว่ากุศลกรรมหรือความรู้ที่ศึกษาอาจจะเป็นวิชาสังคม วิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น.
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้เขียนเห็นว่า ความรู้ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จิตตนรับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ จรเข้ามาสู่จิต ธรรมชาติจิตย่อมคิดหาเหตุผลของคำตอบจนเกิดความแน่ใจว่าเป็นความรู้และความจริงในเรื่องนั้นไป ดังนั้นความรู้จึงมีที่มาจากการฟังคำบรรยาย การค้นคว้าจากตำราเรียน หรือการสำรวจจากสถานที่จริงก็ได้ มาจากการทดลองลงมือปฏิบัติจริงเพื่อหาความรู้เรื่องแร่ธาตุต่าง ๆ จิตน้อมรับเรื่องราวเหล่านั้นมาสั่งสมอยู่ในจิตของมนุษย์กลายเป็นความรู้ของบุคคลนั้นๆ ไป ความรู้จึงเป็นสิ่งรู้ได้เฉพาะตน เป็นต้น
๑.๔ บ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ ตามหลักคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้าในเรื่องวิชชา ๓ นั้นทำให้มนุษย์รู้จักตัวตนที่แท้จริงตนว่า มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงของตน หากชีวิตมนุษย์คนใดไม่มีจิตวิญญาณอาศัยอยู่ในร่างกายแล้วมนุษย์ผู้นั้นก็จะเสียชีวิตลงไปทันที ดังนั้นจิตเป็นเหตุปัจจัยทีสำคัญทำให้เกิดชีวิตใหม่ของมนุษย์ขึ้นมาชีวิตจึงมีกายและจิตต่างอาศัยซึ่งกันและกันทำให้มนุษย์มีชีวิตดำรงอยู่จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปมิได้ จิตอาศัยร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญในการรับรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจรเข้ามาสู่ชีวิตของตนเองตลอดเวลา ส่วนของร่างกายนั้นเรียกว่า "อินทรีย์ ๖ และนักปรัชญาถือว่าอินทรีย์ ๖ เป็นบ่อเกิดของความรู้มนุษย์ทุกคน
มนุษย์เป็นสัตว์ที่ชอบใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสังคมและเลียนแบบพฤติกรรมวิถีการดำเนินชีวิตของกันและกัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมของตนเองหรือเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และนำไปใช้ประพฤติและปฏิบัติจนเป็นเรื่องปกติของคนในสังคมนั้นๆ ดังนั้นการเกิดวัฒนธรรมหรืออัตลักษณ์นั้น เกิดจากการรับรู้ของจิตแล้วคิดหาเหตุผลจนกลายเป็นความรู้และนำไปนึกคิดจนสู่การประพฤติปฏิบัติจนกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมมนุษย์ นอกจากนี้จิตยังมีอาการในความอยากมี อยากเป็น อยากกิน อยากดื่ม ในสิ่งต่างๆ ที่มาผัสสะอินทรีย์ ๖ ที่อยู่ล้อมรอบชีวิตตนเอง จิตวิญญาณของมนุษย์มีการเคลื่อนไหวในการคิดหาสิ่งต่างๆ มาสนองความอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น ของตนเองตลอดเวลา บางครั้งสิ่งที่อยากนั้นอยู่ห่างไกลก็ยอมลงทุนเดินทางไปสู่ที่ต่าง ๆ เพื่อได้มาสิ่งมาสนองอารมณ์อยากของตนเอง
ตัวอย่างเช่น เมื่อมนุษย์ต้องการผัสสะอากาศเย็นจึงเดินทางไปสู่ภูเขาสูงที่อยู่ห่างไกลเพื่อผัสสะอากาศเย็น โดยพื้นฐานชีวิตมนุษย์ต้องลิ้มรสชาดของอาหารด้วยเจตนากินเพื่อประทั่งความหิวของตัวเอง แต่ยอมบินไปต่างประเทศเพื่อรับประทานอาหารที่ตนชื่นชอบเป็นต้น
ปัญหาต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า มนุษย์ใช้อะไรแสวงหาความรู้ เมื่อวิเคราะห์จากคำสอนเรื่องวิชชา ๓ ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ภาค ๑ [๑๓] เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพีงดังเนิน ปราศจากเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติจิต กำลังอุบัติทั้งชั้นต่ำ และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและไม่ดีด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ เรารู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้ผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ผู้อื่นทำกรรมตามความเห็นชอบพวกเขาหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เป็นต้น
จากข้อความในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นยืนยันอย่างมั่นคงว่า ในชีวิตมนุษย์มีจิต เป็นปัจจัยที่สำคัญ เมื่อมนุษย์พัฒนาชีวิตจนจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ปราศจากเครื่องเศร้าหมองคือกิเลสอยู่ในจิตนั้นแล้วจะมองเห็นเห็นสัตว์น้อยใหญ่ไปจุติจิตนั้น ดังนั้นผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่ามนุษย์ทุกคนนั้นจิตเป็นผู้แสวงหาความรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกายที่จิตอาศัยนั้น กล่าวคือ เมือศากยมุนีพระโพธิสัตว์ ทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ แล้ว ทรงตัดนิวรณ์ไปจนหมดสิ้น จิตของพระองค์ ทรงมีตาทิพย์ ทรงเห็นจิตวิญญาณของมนุษย์ทุกคนออกจากร่างไปสู่ภพภูมิต่างๆ มูลเหตุจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น โดยไม่มีใครทำให้ตนเป็น ตนได้ ตนมี มีแต่ตนเองเป็นผู้กระทำเองเพราะเจตนาของการกระทำมาจากจิตของตนไม่พอใจ
เมื่อกระทำไปแล้วทำให้ชีวิตตนมีวิบากกรรม เพราะอารมณ์ของการกระทำหรือพฤติกรรมของการกระทำ กลายเป็นนามธรรมสั่งสมอยู่ในจิตของตนเอง และนอนเนื่องอยู่อย่างนั้น มิใช่เทพเจ้าองค์ใดบันดาลให้ตนเป็น เช่น การฆ่าผู้อื่นนั้น เกิดจากการกระทำของผู้อื่นเข้ามาทำร้ายร่างกายตนทำให้จิตตนผัสสะแล้วเกิดความไม่พอใจ จึงแสดงเจตนาด้วยการสมัครใจเข้าต่อสู้เพื่อป้องกันชีวิตของตนเอง เมื่อผัสสะโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ตนชอบ แต่ตนไม่มีเงินซื้อ จึงตัณหาในความอยากได้ จึงเข้าแย่งชิงทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตน ฉ้อโกงทรัพย์สินโดยเจตนาทุจริตจากตน แย่งบุคคลที่ตนรักจากการครองครองของตน เมื่อผู้อื่นได้ดีในหน้าที่การงานเกิดความริษยา เอาพฤติกรรมของไปนินทาในทางที่ไม่ดี เป็นต้น
เมื่อมนุษย์มีความรู้ว่าสสารทุกชนิดมีพลังงานในตัวเอง แม้แต่ตัวมนุษย์เองก็ถือว่าเป็นสสารชนิดหนึ่งที่มีพลังงานของไฟฟ้าสถิต มนุษย์จึงรู้จักหาวิธีสร้างเครื่องมือคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในโลกและหาวิธีการใช้พลังงานและสร้างพลังไฟฟ้าขึ้นมา และหาวิธีการใช้ประโยชน์จากพลังไฟฟ้าเหล่านั้น จากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้มนุษย์ค้นพบว่าชีวิตมีดวงจิตอาศัยอินทรีย์ ๖ ของร่างกายรับรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
เมื่อดวงจิตสงสัยก็ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาเหตุผลของคำตอบที่เรามั่นใจเป็นความรู้จริงแท้ปราศจากข้อพิรุธสงสัยในความจริงอีกต่อไป ตัวอย่างเช่น ในยุคก่อนเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชทรงศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ วิชาศาสนาพราหมณ์ ทรงรับรู้จากครูวิศวามิตรว่า มนุษย์ถูกจากขึ้นมาจากร่างกายของพระพรหม และสร้างวรรณะให้ผู้คนที่พระพรหมทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมา การศึกษาในสำนักการศึกษาของครูวิศวามิตรเพื่อเป็นความติดตัวอยู่ในดวงจิตของพระองค์ เพื่อนำไปใช้ทำงานตามสิทธิและหน้าที่ของวรรณะกษัตริย์ในอนาคตข้างหน้าต่อไป
ปัญหาต่อไปต้องพิจารณาคือ เมื่อชีวิตของมนุษย์มีอินทรีย์ ๖ เป็นอวัยวะเชื่อมกับเรื่องราวของความรู้เกี่ยวกับโลกตลอดเวลาปัญหาจึงเกิดคำถามว่า ทำไมมนุษย์จึงจำเป็นต้องแสวงหาความรู้ในสถาบันการศึกษาอีก นอกจากนี้เมื่อเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของผู้คนที่อยู่บนโลกในหลายร้อยปีที่ผ่านมา เราได้ค้นพบว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ หลายคนมิใช่บุคคลที่มีระดับการศึกษาปริญญาเอกและจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่มนุษย์ยกย่องว่าดีที่สุดในโลกแต่อย่างใด แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังประสบความสำเร็จในชีวิตได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อศึกษาเข้าไปถึงองค์กรบริษัทต่าง ๆที่เข้าสร้างอาณาจักรด้านธุรกิจขึ้นมา ผู้บริหารส่วนใหญ่ก็จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกทั้งสิ้นขณะเดียวกันเขามีแนวคิดว่า หากมนุษย์ไม่มีการศึกษา ย่อมไม่มีความรู้ที่นำไปพัฒนาศักยภาพของตนเองได้โดยการคิดและจินตนาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและช่วยเหลือประเทศชาติได้
เมื่อมนุษย์ต้องการพัฒนาบ้านเมืองประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้า ต้องอาศัยกำลังความคิดสติปัญญาและช่วยกันลงมือกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยกัน หากมนุษย์ไม่มีความรู้ไปในทางเดียวกันย่อมเข้าใจวัตถุ ประสงค์ของการร่วมมือกันทำงานแตกต่างกันจึงเป็นเรื่องยาก ที่จะพัฒนาองค์กรที่ตนทำด้วยจะเดินทางไปแนวเดียวกันได้ เพราะจะทำให้มีผู้เห็นด้วยและไม่เห็นดีด้วยกันในแนวคิดของการพัฒนาในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรทำขึ้นมาเพื่อให้การพัฒนาประชาชนมีความเจริญรุ่งเรืองได้รับความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต แม้ในปัจจุบันเมื่อมีการตั้งสถาบันการศึกษาเกิดขึ้นมากมายแต่ผู้คนที่สำเร็จการศึกษาส่วนหนึ่งยังเป็นปัญหาของสังคมเช่นเดิม แม้จะเข้าสู่ระบบการศึกษาก็ตาม ดังนั้นผู้เขียนจึงเกิดความสนใจว่าอยากเขียนเรื่องความรู้ว่าคืออะไร ความรู้มีลักษณะอย่างไร เมื่อศึกษาแล้วจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจและใฝ่ที่จะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรู้ไปใช้ในชีวิตยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
บรรณานุกรม
๑. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ (ออนไลน์) http://www.royin.go.th /dictionary/
๒.พจนานุกรมของ อ.เปลื้อง ณ.นคร http://dictionary. sanook.com/search/นิพพาน.
๓.โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น