การตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความจริงของเจ้าชายสิทธัตถะผนวช
เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกายพุทธวงศ์ ๒๕. โคตมวงศ์ข้อ.๑๖ กล่าวว่าเราเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงทรงพระราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้ว ได้บำเพ็ญทุกกิริยาอยู่ ๖ ปี จึงได้บรรลุโพธิญาณ"
ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จเยี่ยมราษฏร์ในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการได้แก่ คนชรา คนเจ็บ คนตายและนักบวช จึงเป็นเหตุผลให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกบวช เพื่อค้นหาความสัจธรรมของชีวิตเมื่อผู้เขียนรับรู้แล้ว ก็เก็บเรื่องราวของนิมิต ๔ ประการ ไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตใจแล้วใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากพระไตรปิฎกนั้น โดยใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงในเรื่องนิมิต ๔ ประการนี้ แต่ผลของการวิเคราะห์ไม่สามารถใช้เหตุผลอธิบายความจริงได้ว่า นิมิต ๔ ประการมีความเป็นมาอย่างไร ? แม้ว่านิมิต ๔ ประการจะมีนักตรรกะ นักปรัชญาจะใช้เหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนี้ แต่ก็เป็นการแสดงความเห็นตามปฏิภานของตนเองตามหลักเหตุผลและเป็นการคาดคะเนความจริงในเรื่องนิมิตเท่านั้น พระพรหมสร้างมนุษย์ตามคำสอนของพราหมณ์อารยันหรือไม่ ? เมื่อไม่มีหลักฐานจากคัมภีร์อื่นใด มาพิสูจน์หักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ก็ไม่มีเหตุผลที่เราจะสงสัยข้อเท็จจริงอีกต่อไปซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของนักปรัชญาศาสนาหลายคนที่มีความเห็นเหมือนกันว่าคนชรา คนเจ็บไข้คนตายและสมณะ เป็นเหตุผลที่แท้จริงสำหรับการตัดสินพระทัยของเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช
แต่ผู้เขียนเห็นว่าความแก่ ความเจ็บป่วย และความตายของมนุษย์เป็นความจริงที่มนุษย์ต้องเผชิญด้วยตนเอง ไม่มีใครหลีกเลี่ยง ความแก่ ความเจ็บป่วยและความตายได้ เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระมารดาและบริวาร๔๐,๐๐๐ คนพระองค์ทรงพลัดพรากจากคนที่รักเป็นประจำเพราะความตายอยู่แล้ว ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าความชรา ความเจ็บไข้ และความตายของชาวพระนครกบิลพัสดุ์เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคม ยังไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช เพราะการให้เหตุผลที่อ่อนและไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้ อะไรคือปัญหาที่แท้จริงของสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช ? ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไปจึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมเอกสารหลักฐานพยานบุคคลพยานวัตถุกัน และพยานเอกสารดิจิทัลเพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้
๒. พยานแวดล้อมถึงสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช
เมื่อผู้เขียนเห็นว่าความชรา ความเจ็บป่วย และความตายของชาวกบิลพัสดุ์นั้น ยังไม่เป็นสาเหตุที่แท้จริงในการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ อาจมีเหตุผลอื่นที่ทำให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเพราะพระองค์ประสูติในวรรณะของกษัตริย์ มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองรัฐสักกะ และสามารถช่วยเหลือประชาชนตามหลักเมตตาธรรมซึ่งอาจเกิดจากปัญหาการเมืองในระบบรัฐสภา เพราะราชอาณาจักรรัฐสักกะมีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม เป็นรัฐทางศาสนา เพราะเอาหลักคำสอนของพราหมณ์มาบัญญัติเป็นกฎหมาย มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาๆว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงมีความขัดแย้งกับเจ้าชายเทวทัตแห่งราชวงศ์โกลิยะหลายครั้ง หรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่นที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นเรื่องที่ควรศึกษาค้นคว้าและสอบสวนหาหลักฐานเพิ่มเติมต่อไป

๒.๑แคว้นสักกะเป็นรัฐศาสนา เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ที่https://84000.org/tipitaka / Tripitaka item/ โดยพิมพ์คำว่า "วรรณะ" ในแอพพริเคชั่นพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ นั้น มีผลการค้นหาคำว่า "วรรณะ" ปรากฏในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ในเล่มที่ ๓, ๕, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑และฉบับอื่นๆ อีกมาก ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับที่ ๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬา ฯ]ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๓. อัฏฐสูตรว่าด้วยชายหนุ่มชื่ออัมพัฏฐะ
ข้อ.๒๖๗ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า"อัมพัฏฐมานพนี้ชอบเหยียดหยามพวกศากยะรุนแรงว่า เป็นคนรับใช้ทางที่ดีเราควรถามถึงตระกูลดูบ้าง"จึงตรัสถามว่าอัมพัฏฐะเธอมีตระกูล (โคตร) อย่างไร เขาทูลว่า "ท่านพระโคดมข้าพเจ้าคือกัณหายนตระกูล (กัณหายนโคตร)" พระผู้มีพระภาคตรัสว่าอัมพัฏฐะเมื่อเธอระลึกถึงตระกูลอันเก่าแก่ของบิดามารดาของเธอดู(จะรู้ว่า) พวกศากยะเป็นลูกเจ้าแต่เธอเป็นลูกของหญิงรับใช้ของพวกศากยะ ก็พวกศากยะพากันอ้างถึงพระเจ้าโอกกากราชว่าเป็นบรรพบุรุษแห่งตน"
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯ ข้างต้นนั้น ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราชทรงบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อประกาศใช้บังคับใช้ในแคว้นโกลิยะ(koliya Country) ดังที่ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ยังมีข้อความสังเกตอีกว่า "พวกศากยเป็นบุตรของเจ้า(กษัตริย์) ส่วนกัณหายนโคตรเป็นคนรับใช้ของเจ้าศากยะ" จากข้อความนั้นผู้เขียนตีความว่าเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ประสูติในวรรณะกษัตริย์ ส่วนอัมพัฏฐะมานพเป็นบุตรของหญิงรับใช้ในวรรณะกษัตริย์ซึ่งจัดอยู่ในวรรณะศูทรเป็นต้นหลักฐานของคำกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า"ในรัชสมัยพระเจ้าโอกกากราชทรงตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ประชาชนถูกแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะได้แก่วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร เป็นต้น ดังนั้นเมื่อไม่มีหลักฐานจากคัมภีร์อื่นใด นำข้อความมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาอีกต่อไปที่จะทำให้ข้อเท็จจริงของคำตอบเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอีก ผู้เขียนเห็นว่าการแบ่งวรรณะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพระโอกกากราช เป็นต้น

ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปว่าประชาชนทั้ง๔ วรรณะมีหน้าที่อะไร? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔.ราชวรรค]๑๐.กัณณถลสูตร[ข้อ ๓๗๘]........วรรณะ ๔ จำพวกคือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์(๔) ศูทร และพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกายชาดกภาค๒[๒๒.มหานิบาต]๖.ภูริทัตตชาดกข้อ.[๙๓๒]......พวกพราหมณ์ถือสาธยายมนต์พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดินพวกแพศย์ยึดการเกษตรกรรม และพวกศูทรยึดการรับใช้วรรณะทั้ง ๔ นี้เข้าถึงการงานตามที่อ้างแต่ละอย่างกล่าวกันว่ามหาพรหมผู้มีอำนาจได้สร้างขึ้นไว้"
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าเมื่อรัฐสภาศากยวงศ์นำหลักคำสอนของพราหมณ์อารยันมาบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะในอาณาจักรสักกะ โดยแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะและกำหนดสิทธิและหน้าที่ของวรรณะต่าง ๆ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์มีสิทธิและหน้าที่สาธยายมนต์พระเวท วรรณะกษัตริย์มีสิทธิและหน้าที่ปกครองอาณาจักรสักกะ, วรรณะแพศย์มีสิทธิและหน้าที่ทำเกษตรกรรมและค้าขายและส่วนวรรณะศูทรมีสิทธิและหน้าที่รับใช้ชนทั้ง ๔ วรรณะโดยพระพรหมสร้างวรรณะไว้ เพื่อให้สิทธิและหน้าที่แก่ประชาชนที่พระพรหมทรงสร้างขึ้นมานั้น
๒.๒ ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ ๒๕ โคตมพุทธวงศ์ว่าด้วยพระประวัติของโคตมพุทธวงศ์ [ข้อ.๑๔] เราครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาทอันอุดมอยู่ ๓ หลัง คือ สุจันทปราสาท โกกนุทปราสาท โกญจปราสาท เป็นต้นข้อที่ ๑๕ มีนางสนมกำนัล ๔๐,๐๐๐ นาง ล้วนประดับประดาสวยงามพระมเหสีของเราชื่อว่ายโธราพระโอรสของเราชื่อว่าราหุล"
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในอรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ข้อ. ๒๕ โคตมพุทธวงศ์ กล่าวว่าต่อมาวันหนึ่งพระโพธิสัตว์ มีความประสงค์จะเสด็จไปสู่ภาคพื้นที่พระอุทยานทรงเรียกสารถีมาแล้วตรัสสั่งว่า จงเทียมรถไว้เราจะชมสวน...พระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นทรงรถม้าพระที่นั่งคันนั้น... เสด็จบ่ายหน้าพระพัตร์ไปสู่พระอุทยานลำดับนั้นเทวดาเราจักแสดงบุพนิมิตแด่พระองค์ในวันแรก (วันที่๑) เทวดาแสดงเป็นเทพพระบุตรองค์หนึ่งมีสรีระคร่ำคราเพราะชรา ฟันหัก ฟมหงอก ตัวค้อมลง สั่นเทา...ทรงพบคนแก่....
....วันรุ่งขึ้นอีกวัน(วันที่ ๒).........ทรงเห็นคนเจ็บ
....วันรุ่งขึ้นอีกวัน(วันที่ ๓).........ทรงเห็นคนตาย
....วันรุ่งขึ้นอีกวัน(วันที่ ๔) ........ทรงเห็นนักบวช......
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯและอรรถกถานั้น ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงประทับอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ และทรงมีนางสนม ๔๐,๐๐๐ คนคอยรับใช้พระองค์ตลอดเวลา พระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างมัวเมาด้วย รูป รส กลิ่น เสียงดนตรีไพเราะ กลิ่นดอกไม้ รสชาดของอาหารที่อร่อย และการเสียดสีร่างกายของมนุษย์ด้วยกัน เป็นอารมณ์ที่น่ารื่นรมย์ทุกคืน ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษาจนถึง ๒๙ พรรษาเมื่อพระองค์ทรงได้สั่งสมอารมณ์แห่งความมัวเมาเข้าในชีวิตแล้ว ในความสุขที่ยิ่งใหญ่ก็ถึงจุดสิ้นสุด เมื่อพระทัยของเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดอาการความเบื่อหน่ายในความมัวของชีวิตมาหลายปีพระทัยของพระองค์ก็ทรงไม่ปรารถนาจะมัวเมาอยู่กับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสและธัมมารมย์อีกต่อไป พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกไปเยี่ยมราษฎรและเที่ยวชมสวนหลวงในพระนครกบิลพัสดุ์ แต่ในเส้นทางเสด็จพระดำเนินนั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นความทุกข์ยากของชาวพระนครกบิลพัสดุ์ ที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนแม้ในวัยชรา เจ็บป่วยไข้ และนอนตายข้างถนน สิ่งนี้ทำให้พระทัยของเจ้าชายสิทธัตถะรู้สึกเศร้าโศกและหดหู่เป็นอย่างยิ่งส่วนเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยอย่างไร ? เพื่อช่วยเหลือประชาชนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาค้นคว้าอย่างยิ่ง ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เป็นข้อมูลมาวิเคราะห์หาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบกันต่อไป
๒.๓ปัญหาที่ผู้เขียนสงสัยคือนิมิตทั้ง ๔ เป็นวรรณะใด ? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกออนไลน์อีกครั้งผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่า ไม่มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และอรรถกถา ที่ยืนยันข้อเท็จจริงว่าคนเหล่านั้นถูกจัดอยู่ในวรรณะใดแต่ในรัชสมัยของพระเจ้าสุทโธทนะมีกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะได้ตราขึ้นในแคว้นสักกะ เมื่อผู้เขียนค้นหาข้อมูลด้วยการป้อนคำว่า"วรรณะ"ในแอพพริเคชั่นของพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ นั้น มีผลของการค้นหาข้อความพบคำว่า "วรรณะ" ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯในเล่มที่ ๓, ๕, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑ เป็นต้น

๒.๔ ปัญหาคนจัณฑาล การแบ่งวรรณะ ๔ ในสังคมแคว้นต่างๆ นั้น โดยพวกพราหมณ์อ้างเป็นความประสงค์ของพระพรหมได้สร้างวรรณะทั้ง ๔ แก่ประชาชนที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นและได้สร้างสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมาเท่านั้น ส่วนวรรณะกษัตริย์ นำแนวคิดทางปรัชญาศาสนาพราหมณ์มาบัญญัติกฎหมายโดยอ้างพระประสงค์แห่งพระพรหม ให้มีสภาพบังคับตามกฎหมายจารีตโดยให้ชุมชน หรือสังคมเป็นผู้ลงโทษทางสังคมเรียกว่า การลงพรหมทัณฑ์ ด้วยการขับไล่ออกจากสังคมนั้น เช่น ชนวรรณะพราหมณ์สมสู่กับหญิงวรรณะศูทรชนวรรณะพราหมณ์นั้น ต้องสละวรรณะตนกลายเป็นคนจัณฑาลลูกที่เกิดมาก็กลายเป็นคนจัณฑาล ดังปรากฏหลักฐานที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกายปัญจก ฉักกนิบาต [๔.จตุตถปัณณาสก์]๕.พราหมณวรรค ๒.โทณพราหมสูตร.......สมสู่กับนางพราหมณีบ้าง สตรีชั้นนางกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง......ด้วยเหตุดั่งนี้แลชาวโลกเรียกว่า "พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล"
เมื่อผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ ดังกล่าวข้างต้นรับฟังข้อเท็จจริงได้ข้อยุติว่าชนวรรณะพราหมณ์ เมื่อสมสู่กับหญิงต่างวรรณะนั้น ต้องสละวรรณะเดิมของตนกลายเป็นพวกจัณฑาลและ ลูกที่เกิดมาก็ต้องกลายเป็นจัณฑาลเช่นกัน เมื่อถูกลงพรหมทัณฑ์จากสังคมที่ตนเคยอยู่อาศัยก็จะถูกขับไล่ออกจากสังคมนั้ มาอาศัยข้างถนนในเมืองใหญ่ ๆ เช่นพระนครกบิลพัสดุ์ ดำรงชีวิตด้วยทำงานที่ชนวรรระสูงไม่ทำเช่นเทขยะ ถากไม้ เทอุจจาระ เป็นต้น ดังนั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บและคนตายนั้นใช้ชีวิตสองข้างทางเสด็จพระดำเนินนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นชนไร้วรรณะเรียกว่า "จัณทาล" เป็นชนที่เกิดจากพ่อแม่แต่งงานข้ามวรรณะสายเลือดที่เกิดมาไม่บริสุทธิ์พวกนี้ขาดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามกฎหมายจารีตประเพณี จึงมีฐานะยากจนไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง จึงต้องใช้ชีวิตในพระนครใหญ่ๆทำงานรับจ้างที่ชนวรรณะอื่นไม่ทำส่วนชนวรรณะอื่นมีฐานะทางเศรษฐกิจดี ประกอบอาชีพถูกต้องตามกฎหมายคงไม่มีใครออกมาใช้ชีวิตตามท้องถนนอย่างไรบ้านเหมือนคนไร้วรรณะแต่อย่างใดเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตระหนักรู้ถึงปัญหาของประชาชนไร้วรรณะที่เรียกว่า "พวกจัณฑาล" แล้วทรงพิจารณาตัดสินพระทัยอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาค้นคว้าหาเหตุผลกันต่อไป
๒.๕ พระราชวังกบิลพัสดุ์ การวิเคราะห์ข้อมูลพระราชวังกบิลพัสดุ์ จากที่มาของความรู้ในพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยก่อนพุทธกาล ข้อมูลเบื้องต้นตามทฤษฎีความรู้ "หากมีอยู่จริงต้องรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของผู้เขียนได้ ตามความหมายของทฤษฎีความรู้ประจักษ์นิยมว่าด้วยบ่อเกิดความของมนุษย์มีแนวคิดว่า มนุษย์คนใดคนหนึ่งรับรู้จากประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวเท่านั้นในความรู้และความเป็นจริงของสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวผู้เขียนตีความได้ว่า ความมีอยู่ของพระราชวังกบิลพัสดุ์นั้น ผู้เขียนต้องรับรู้ได้ประสาทสัมผัสเองเท่านั้นจึงจะถือว่า ความรู้เป็นความจริงปัญหาว่า พระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่นั้น ตั้งอยู่ที่ไหนในยุคสมัยปัจจุบันนั้น เมื่อนักโบราณคดีของเนปาลได้ศึกษาค้นหาเหตุผลของคำตอบจากพยานวัตถุเสาหินอโศก และได้อ่านจารึกอักษรพราหมีแล้วได้ความว่า สวนลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติ ของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น จึงใช้เสาหินพระเจ้าอโศกเป็นจุดศูนย์กลางเริ่มต้นค้นหาพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่แห่งนี้ ในข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกนั้นรับฟังได้เป็นข้อยุติว่าพระราชวังกบิลพัสดุ์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นน่าจะตั้งอยู่ไม่ไกลจากสวนลุมพินีมากนัก แต่เมืองลงมือค้นหาชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านเตาริหวา (Taurihawa) นั้น ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่โบราณคดีทราบว่ามีเมืองโบราณสถานแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้าน"เตาลิหวา" ห่างจากสวนลุมพินีสถานที่ประสูติ และที่ตั้งของเสาหินพระเจ้าอโศกไม่ไกลมากนักความมีอยู่ของโบราณสถานแห่งนี้ เมื่อนักโบราณคดีของเนปาลและประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลจากพยานหลักฐานเพื่อหาเหตุผลของคำตอบแล้ว มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ยืนยันว่าซากโบราณสถานแห่งนี้คือ พระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่เคยเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของเจ้าชายสิทธัตถะ ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงโปรดสร้างปราสาท ๓ ฤดูไว้ ในเขตพระราชฐาน เจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ถึง ๒๙ ปี แม้สภาพของพระราชวังอันเก่าแก่แห่งพระนครกบิลพัสดุ์ จะเหลือเพียงแต่ซากกำแพงกว้างเกือบ ๓ เมตรตั้งตรงประตูเข้าออกพระราชวังทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตกทำให้ผู้เขียนอนุมานได้ว่าพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบปัญหาแล้วแต่แรกแล้วว่าสักวันหนึ่งวันใดเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวชแน่นอนและสิ่งพระองค์ทรงคาดคะเนไว้เป็นความจริง เมื่อรัฐสภาศากยวงศ์ ไม่อนุมัติการออกกฎหมายยกเลิกวรรณะในแคว้นสักกะ เพื่อความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองของชนวรรณะสูงในแคว้นสักกะเพียงฝ่ายเดียว พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกำแพงขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อป้องกันมิให้พระราชโอรสเสด็จหนีออกบวช
ดังนั้น เมื่อผู้เขียนได้เดินทางมาผัสสะทางประสาทสัมผัสเพียงเดียวในพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่แห่งนี้ผู้เขียนจึงวิเคราะห์ได้ว่าสถานที่แห่งนี้ เป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่ที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์และทรงใช้ชีวิตในพระราชวังกบิลพัสดุ์แห่งนี้จนมีพระชนมายุได้ ๒๙ ปี ในความมัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธัมมารมย์ที่พระทัยทรงชื่นชอบและโปรดปราณ มูลเหตุที่ผู้เขียนมีความเชื่อเช่นนั้นเพราะเห็นว่าเมืองโบราณแห่งนี้นั้น ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสวนลุมพินีมากนักเป็นต้นบริเวณรายรอบล้อมพระราชวังกบิลพัสดุ์เป็นทุ่งนาของชาวบ้านเตาลิหะวาสอดคล้องที่กล่าวในพระไตรปิฎกว่า พวกเจ้าศากยวงศ์นั้นมีอาชีพทำนาและที่สำคัญพระราชวังแห่งนี้ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเชิงเขาหิมาลัยมากนัก พระราชวังอันเก่าแก่แห่งนี้จึงเป็นเหตุปัจจัยของเหตุผลของคำตอบข้อหนึ่งในการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถ้าเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่ใช้ชีวิตมัวเมามาต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายปีแล้ว จิตวิญญาณของเจ้าชายสิทธัตถะคงไม่เกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธัมมารมย์ที่จรเข้ามาผัสสะชีวิตของพระองค์ เป็นเหตุให้พระองค์ จึงตัดสินพระทัยออกเยี่ยมประชาชนตัดสินพระทัยออกบวชเพื่อแก่ทุกข์ให้แก่ประชาชน

๒.๖ รัฐศาสนา เดิมอาณาเขตของแคว้นสักกะนั้นเป็นที่พำนักของชาวสักกะที่มีเชื้อสายมิลักขะ มาก่อนชาวสักกะที่มีเชื้อสายอริยกะจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานในแถบนี้ เป็นดินแดนที่สมบูรณ์เพราะมีน้ำไหลจากเทือกเขาหิมาลัย ทำให้มีน้ำเพียงพอในการปลูกข้าวได้ผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์ ชาวมิลักขะจึงบูชาน้ำเป็นเทวดาดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ ขุทททกนิกายชาดกภาค ๒ [๒๒.มหาชาดก] ๖.ภูริทัตตชาดก [๙๒๘] กล่าวว่า "ความจริงคนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดา ส่วนพวกมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดา..ข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารพระไตรปิฎกออนไลน์รับฟังเป็นข้อยุติได้ว่าในสมัยก่อนพุทธกาล พวกมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดา และคนบางพวกนับถือไฟเป็นเทวดา เมื่อไม่พยานหลักฐานอื่นใดมาหักล้างข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกผู้เขียนเห็นว่า ชาวมิลักขะนับถือน้ำเป็นเทวดาจริง เป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลปราศจากข้อสงสัยในความจริงที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกปัญหาต้องพิจารณาต่อไปอีกชาวมิลักขะบูชาน้ำเป็นเทวดาอย่างไร เมือผู้เขียนศึกษาข้อมูลจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกทำให้ชาวแคว้นสักกะมีข้าวใช้บริโภคได้ตลอดทั้งปีและสามารถส่งข้าวออกไปขายต่างประเทศมีรายได้ จำนวนมหาศาลเข้าประเทศ ทำให้ประชาชนในแคว้นนี้มีฐานะร่ำรวยและมั่งคั่งที่สุดในยุคนั้น จนชนวรรณะกษัตริย์สั่งซื้อสิ้นค้าจากต่างประเทศมาใช้ในสมาชิกราชวงศ์ศากยะ เมื่อชีวิตประชาชนชาวแคว้นสักกะมีความเจริญรุ่งเรืองเพราะมีความอุดมสมบูรณ์ และมั่งคั่งแล้วพวกเขายังดำเนินชีวิตตามแนวคิดของความเชื่อในปรัชญาศาสนาพราหมณ์ว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุดที่ควรเคารพบูชาเพราะพระองค์ทรงสร้างพวกเขาขึ้นมาจากจากพระวรกายของพระองค์เองในแต่ละปี พวกเขาประกอบพิธีกรรมมหาบูชายัญแด่พระพรหมโดยใช้ด้วยสัตว์อย่างละ๗๐๐ตัว ดังปรากฏหลักฐานในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๕.กูฏทันตสูตร [๒๐๐] ก็สมัยนั้นพราหมณ์กูฏทันตะได้เตรียมมหายัญโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคผู้ ๗๐๐ ลูกโคเมีย ๗๐๐ แพะ ๗๐๐ และแกะ ๗๐๐ ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ
ต่อมาพวกอารยันเห็นว่าแม้มีชัยชนะเหนือพวกมิลักขะก็ตาม แต่การปกครองดินแดนพื้นที่ราบเชิงเขาหิมาลัยนั้น มิได้เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้โดยง่ายเพราะพวกมิลักขะเจ้าของดินแดนสวรรค์แห่งนี้ยังไม่ยินยอมอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองชนอารยันแต่อย่างใด เพราะพวกเขาเชื่ออย่างมั่นคงและไม่หวั่นไหวว่า เมื่อพระพรหมทรงสร้างพวกเขาขึ้นมาแล้วจากพระวรกายของพระองค์ พระพรหมจะปกป้องคุ้มครองให้รอดปลอดภัยจากการใช้อำนาจอธิปไตยตามอำเภอใจของพวกอารยันในแต่ละปีพวกมิลักขะ ได้ประกอบพิธีมหายัญด้วยเครื่องพลีจากการฆ่าสัตว์ ๕ อย่างเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ ตัวและยังมีความมั่งคั่งและร่ำรวยจากการขายข้าวและเครื่องเทศไปยังต่างประเทศ เมื่อพวกอารยันตั้งระลึกถึงปรากฏการณ์ทางสังคมได้เช่นนี้พวกอารยันวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบว่าในภายภาคหน้าเป็นเรื่องยาก ที่พวกเขาจะมีความเจริญรุ่งเรืองเพียงฝ่ายเดียว พวกมิลักขะมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอาจให้อำนาจทางเศรษฐกิจต่อรองทางการเมืองได้ และสร้างความสามัคคีในกลุ่มชนมิลักขะ ด้วยการประกอบพิธีมหายัญเป็นประจำทุกปี เมื่ออำนาจอธิปไตยยังเป็นของพวกอารยันอยู่ควรหาทางจำกัดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพ เพื่อลดบทบาทอำนาจทางเศรษฐกิจมิให้แข็งแกร่ง ลดบทบาททางการศึกษาในปรัชญาทางศาสนา เพื่อมิให้รู้จักคิดหาเหตุผลของคำตอบมาโต้แย้งสิทธิหน้าที่ในการถูกเลือกปฏิบัติในสังคม สร้างสภาพบังคับทางกฎหมายจารีตประเพณีด้วยการให้สังคม หรือชุมชนลงพรหมทัณฑ์แก่พวกจัณฑาลที่แต่งงานข้ามวรรณะ ทำให้ระบบวรรณะในสังคมเข้มแข็งและเข้มงวดมากยิ่งขึ้น การแบ่งวรรณะทำให้เกิดความสามัคคีในชนแต่ละวรรณะเพราะเป็นการอ้างความประสงค์ของพระพรหมณ์ ขณะเดียวกันเห็นว่าเมื่ออำนาจทางเศรษฐกิจ ยังเป็นของพวกดราวิเดียน จึงคิดหาเหตุผลที่ จะจำกัดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชนวรรณะสูงเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น รัฐสภาศากยวงศ์จึงได้ออกกฎหมายแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ ให้พวกดราวิเดียนเป็นพวกผิวดำ อยู่ในวรรณะต่ำสุด โดยอ้างว่าพระพรหมเป็นสร้างมนุษย์ขึ้นมาและแบ่งสิทธิหน้าที่ของประชาชน ที่พระพรหมสร้างไว้แล้วให้ประกอบอาชีพตามวรรณะของตนเอง เมื่อรัฐสภาออกกฏหมายแบ่งวรรณะแล้ว และยังได้ออกธรรมะของกษัตริย์ในการปกครองประเทศด้วยห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติแล้วดังนั้นกฎหมายแบ่งวรรณะเมื่อรัฐสภาของแคว้นต่างๆ ออกกฎหมายไว้แล้วจึงต้องห้ามมิให้ยกเลิกวรรณะแต่อย่างใด ตามแนวคิดของปรัชญาศาสนาพราหมณ์ถือว่ารัฐสภาของแคว้นต่างๆ ยอมรับความมีอยู่ของพระพรหมว่ามีอยู่จริงเพราะเชื่อว่าพระองค์สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระองค์เอง เท่ากับรัฐเหล่านั้นรัฐศาสนาตามที่กล่าวในพระไตรปิฎก
๒.๗ หลักอปริหานิยธรรม
ในสมัยพุทธกาลนั้นแคว้น (country) ต่าง ๆ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานในการบริหารปกครองประเทศหรือไม่ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า คำว่า "แคว้น" นักวิชาการหลายคนทางด้านภาษาอังกฤษแปลความหมายว่า "ประเทศ" ในสมัยปัจจุบันทุกประเทศจะมีกฎหมายรัฐธรมนูญนักวิชาการทางพุทธปรัชญาหลายท่านวิเคราะห์ว่าหลักอปริหานิยธรรมนั้นเป็นธรรมของกษัตริย์ต้องปฏิบัติในการบริหารปกครองประเทศ โดยเฉพาะรัฐที่มีระบอบการปกครองแบบสามัคคีธรมเช่น รัฐสักกะ รัฐวัชชี เป็นต้น เป็นกฎหมายสูงสุดควรพิจารณาในการแสวงหาคำตอบทางปรัชญาในการศึกษาเชิงวิเคราะห์นั้น การทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ จะถือว่าเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชนั้น เป็นการตีความถ้อยคำตามตัวอักษรไม่กี่บรรทัดในพระไตรปิฎกนั้น ยังมีน้ำหนักในเหตุผลของคำตอบยังไม่เพียงพอที่รับฟังแล้วให้เชื่อว่าเป็นความจริงอย่างนั้น ทำให้ผู้เขียนสิ้นความสงสัยในเหตุผลของการออกบวชเจ้าชายสิทธ้ตถะได้เราจำเป็นต้องหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เป็นแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นยุคเดียวกันนั้น มาวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบเพื่อสนับสนุนคำตอบของการออกผนวชให้ได้หลักความรู้และความจริงนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นข้อยุติของผู้เขียนว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงทอดพระเนตรเห็นคนแก่ชรา คนเจ็บป่วย และคนตายบนสองข้างเสด็จพระราชดำเนินไปสู่พระราชอุทยานนั้น ทรงสนพระทัยไต่ถามนายฉันนะว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นใคร เมื่อได้คำตอบแล้ว คงไม่ปล่อยปัญหาความยากจนของประชาชนโดยไม่ใจอย่างแน่นอน แม้ในข้อความอื่นในพระไตรปิฎกนั้นจะม่มีรายละเอียดเขียนไว้อย่างแน่ชัดก็ตาม

๒.๘ เจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิรูปสังคมในชมพูทวีป เมื่อข้อเท็จจริงได้รับฟังว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกประพาสพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงเห็นปัญหาของประชาชนไร้วรรณะที่เรียกกันว่า "พวกจัณฑาล" ไม่มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามกฎหมายจารีตประเพณี เพราะทุกอาชีพนั้น ได้สงวนไว้ เพื่อชนวรรณะอื่นไปจนหมดสิ้นแล้วต้องใช้ชีวิตอย่างคนไร้บ้านข้างถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ ต้องทำงานเทขยะ เทอุจจาระ เป็นต้น เมื่อทรงตั้งสติระลึกถึงปัญหาของพวกจัณฑาลเป็นเวลาหลายวันแล้วพระองค์มองเห็นวิธีการเดียวเท่านั้น ที่แก้ไขปัญหาของประเทศได้คือ การเสนอบัญญัติกฎหมายยกเลิกประเพณีการแบ่งชนชั้นวรรณะประชาชนในแคว้นสักกะ มิให้มีอีกต่อไปต่อรัฐสภาศากยวงศ์ตามหลักธรรมะของกษัตริย์เรียกว่า"ราชอปริหานิยธรรม"เป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศมีลักษณะเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศเทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อผู้บริหารประเทศนำหลักอปริหานิยธรรมไปใช้ปฏิบัติแล้วรัฐอิสระนั้น จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองของชนวรรณะสูงเพียงฝ่ายเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น