The problem with the cause of Prince Siddhartha's ordination
๑.บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช
โดยทั่วไป มีมนุษย์บางคนเป็นนักปรัชญา ส่วนใหญ่มักสนใจศึกษาปัญหาของความจริงของสิ่งต่างๆ เช่น มนุษย์ โลก จักรวาลที่เรารู้จักชื่อว่า "เอกภพ" ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หลักฐานการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น เหตุผลที่นักปรัชญาสนใจปัญหาเหล่านี้ื ก็เพราะธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า มีข้อจำกัดของอาตนะภายในร่างกายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตและผู้คนมักมีอคติต่อผู้อื่น เพราะความไม่รู้ของตนเอง ทำให้ชีวิตของพวกเขาเต็มไปด้วยความมืดมน จึงไม่สามารถใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง ๆ จึงทำให้พวกเขาสงสัยในความจริงของเรื่องนั้นได้
เมื่อพราหมณ์บางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญาได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องที่มนุษย์สงสัยความจริงของเรื่องต่าง ๆ เช่น การมีอยู่ของเทพเจ้าที่ชาวอนุทวีปบูชานั้น นักตรรกะและนักปรัชญามักจะแสดงทัศนะตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล หรือคาดความจริง โดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น การใช้เหตุผลของนักตรรกะ และนักปรัชญาเหล่านั้น บางครั้งก็ใช้เหตุผลถูกบ้าง ใช้เหตุผลผิดบ้าง ใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง ใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อการใช้อธิบายความจริงของคำตอบไม่ชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร พระองค์ทรงปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ จนจิตของพระองค์ทรงมีสมาธิ บริสุทธิ์ปราศจากความเศร้าหมองจิตของพระองค์ทรงเกิดว่า
ผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์นั้น เป็นปัญหาทางปรัชญาที่น่าสนใจและควรแก่การศึกษาเพราะเกี่ยวพันโดยตรงกับมนุษย์ ตามหลักปรัชญาพุทธภูมินั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เล่าขานสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงนั้นทันทีว่าเป็นความจริง เราควรสงสัยจนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อพิสูจน์ความจริงของเรื่องราวนั้น โดยการใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของเรื่องราวนั้น หรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบของเรื่องนั้นอย่างมีเหตุผล ถ้าไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงของเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานพียงคนเดียวก็ไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถยอมรับว่าเป็นความจริงได้ เพราะมนุษย์มักจะมีความเห็นแก่ตัวและมีอคติต่อกัน เนื่องจากความไม่รู้ ความกลัว ความเกลียดชัง และความชอบพอกัน เป็นต้น นอกจากนี้ อายตนะภายในร่างกายมนุษย์ ก็ยังข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ทำให้ชีวิตของพวกเขามืดมน จึงไม่อาจคิดหาเหตุผลมาอธิบาความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ จึงไม่สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองได้
ในสมัยพระเจ้าโอกกากราชผู้ปกครองแคว้นโกลิยะนับเป็นยุคทองของศาสนาพราหมณ์ พราหมณ์อารยันสอนว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะของตน เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ทราบข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ พระองค์ทรงไม่เชื่อทันทีว่าเป็นความจริง เพราะพระองค์ทรงไม่มีความรู้เกินขอบเขตของการรับรู้ของพระองค์เอง พระองค์ทรงได้สืบเสาะหาข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ได้แก่พราหมณ์นิกายต่าง ๆ และพราหมณ์ปุโรหิตที่เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าสุทโธทนะในเรื่องกฎหมาย ขนบธรรมและจารีตประเพณี พระองค์ทรงทราบความจริงจากคำให้การของปุโรหิตที่ยืนยันว่าพระพรหมและพระอิศวรมีอยู่จริง และพระองค์ทรงสร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์เองและทรงสร้างวรรณะขึ้นเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา
ในกาลก่อน พราหมณ์ปุโรหิตในรุ่นก่อน ก็เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรปรากฏกายในแคว้นสักกะ แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงถามถึงที่มาของพระพรหมและพระอิศวร ก็ไม่ปรากฏพราหมณ์ปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่พราหมณ์ปุโรหิตไม่รู้ประวัติพระพรหมและพระอิศวร แสดงว่าพราหมณ์ไม่รู้เรื่องการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร อาจได้ข้อเท็จจริงที่ถูกเล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งเป็นความรู้ที่เกินขอบเขตอายตนะภายในของร่างกายของมนุษย์ที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาปัญหาความจริงว่าเหตุใดเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช นักปรัชญาจึงแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.๑ ความจริงที่สมมติขึ้น(Fictional truth)
๑.๒ สัจธรรม (absolute truth)
ซึ่งเราสามารถอธิบายความจริงทั้งสองประเภท เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจได้ดังนี้

๑.๑ ความจริงที่สมมติขึ้น (Fictional truth)คือ สิ่งทีได้รับการยอมรับโดยปริยายโดยไม่คำนึงถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมัน เช่น "สมมติเทพ" แปลว่าเทวดาโดยสมมติก็คือพระเจ้าแผ่นดิน หรือพุทธเทวโดยสมมติ ก็คือพระพุทธเจ้า ซึ่งมนุษย์คนหนึ่งที่พัฒนาของชีวิตพระอริยบุคคล เป็นต้น
โดยทั่วไปมนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ อาจเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไปในอากาศ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะหายไปจากสายตาของมนุษย์ มนุษย์สามารถรับรู้ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหวในพม่า พายุ น้ำท่วม หิมะตกในทะเลทราย เป็นต้น หรือ เหตุการณ์ทางสังคม เช่น การบูชายัญในสมัยพุทธกาล เป็นต้น โดยมนุษย์สามารถรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเอง เมื่อมนุษย์รับรู้สิ่งเหล่านี้แล้วมนุษย์จะเก็บเรื่องราวเหล่านี้ไว้เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ อย่างไรก็ตาม จิตใจของมนุษย์ไม่เพียงรับรู้และเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นอารมณ์ในจิตใจเท่านั้น แต่ธรรมชาติของมนุษย์ก็เป็นนักคิดเช่นกัน เมื่อรับรู้สิ่งไหน จิตใจของมนุษย์ก็จะคิดจากสิ่งนั้นด้วย เป็นต้น
ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจที่มารวมกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน ก่อนจะเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อมนุษย์เกิดมาก็จะมีชีวิตอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วก็เสื่อมสลายไป ดังนั้น เมื่อชีวิตของมนุษย์เกิดขึ้น ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะหนึ่งแล้วเสื่อมสลายไปคือตายไป แต่ก่อนชีวิตมนุษย์ของมนุษย์ผู้นั้นจะหายไป มนุษย์คนอื่นรับรู้การดำรงชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกายและเรื่องราวของบุคคลผู้นั้นไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ มนุษย์เป็นสิ่งไม่เที่ยง และนักปรัชญาถือว่าเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
แคว้นสักกะในสมัยอินเดียโบราณเป็นชุมชนการเมือง ที่พระโอรสและพระธิดาของพระเจ้าโอกกากราช ที่เกิดจากพระนางเจ้ากษัตรีย์พระมเหสีคนแรก ได้อพยพชาวสักกะส่วนไปตั้งเมืองสักกะ ห่างจากเมืองเทวทหะโบราณไปอีก ๑๐๐ กิโลเมตร เพื่อก่อตั้งเป็นรัฐอิสระ ดำรงอยู่เป็นรัฐอิสระ และมีอำนาจอธิปไตยในการปกครองเป็นของตนเองมานานหลายร้อยปีแล้วก็เสื่อมถอยลงไป เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงทำสงคราม เพื่อยึดอำนาจอธิปไตยของแคว้นสักกะ มาเป็นผู้ปกครองเอง เมื่อแคว้นสักกะมีลักษณะชุมชนการเมืองที่ตั้งขึ้นดำรงความเป็นรัฐชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไปเพราะเหตุปัจจัยของสงคราม แคว้นสักกะจึงเป็นสิ่งไม่เที่ยง นักปรัชญาถือว่าแคว้นสักกะเป็นความจริงที่สมมติขึ้น
ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ประสูติในวรรณะกษัตริย์ ดำรงพระชนม์ชีพเป็นระยะเวลา ๘๐ ปี และเสื่อมสลายร่างกายไปตามกฎธรรมชาติคือพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ชีพ เมื่อพระชนม์ชีพของมีลักษณะเกิดขึ้น ดำรงชีวิตชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วพระองค์สวรรคตตามกฎไตรลักษณ์ ก่อนพระองค์สิ้นพระชนม์ชีพพระอานนท์ได้รับการมีอยู่ของพระองค์และรับรู้ว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงตั้งพระนามของพระองค์ว่า "สิทธัตถะ" และถ่ายทอดเรื่องราวของพระองค์ไว้ในพระไตรปิฎก เป็นต้น นักปรัชญาถือว่าชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะเป็น ความจริงสิ่งสมมติขึ้น
ส่วนปรากฏการณ์ทางสังคมมนุษย์ เช่นการเหยียบกันตายในสนามบอล จราจลแย่งชิงอาหารเลี้ยงกัน ยกพวกเขาทำร้ายกัน การลักขโมย การประพฤติผิดจริยธรรมในทางเพศ การโฆษณาชวนเชื่อ การจัดงานปาร์ตี้ดื่มสุรายาเมาหรือมนุษย์ทุกคนเกิดมา ดำรงชีวิตอยู่ชั่วระยะหนึ่งก็ต้องตาย ชีวิตมนุษย์จึงเป็นความจริงโดยสมมติ เพราะพวกเขาเกิดขึ้นในครรภ์มารดาคลอดออกมาจากครรภ์มารดามีชีวิตรอดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เสื่อมสลายเพราะตายไป ตามกฎไตรลักษณ์ เป็นต้น เป็นต้น เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไปจากการรับรู้ของประสาทสัมผัสของมนุษย์ แต่เมื่อมนุษย์รับรู้แล้ว จิตมนุษย์ก็จะดึงดูดอารมณ์อารมณ์เหล่านี้ เป็นหลักฐานทางอารมณ์เป็นข้อมูลอยู่ในจิตใจได้เพียงพอแล้ว จิตใจก็จะวิเคราะห์ข้อมูลในปรากฏการณ์เหล่านี้ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ เมื่อความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นความจริงในระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น นั่นคือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสังคมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก็หายไปจากประสาทสัมผัสของมนุษย์
๑.๒.สัจธรรม(absolute truth) เป็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ไม่สามารถรับรู้สัจธรรมได้ด้วยตนเอง เพราะการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์มีข้อจำกัดและมนุษย์ชอบมีอคติต่อกัน เว้นแต่หลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ที่พระโพธิสัตว์ทรงพัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์เองด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นถึงจะบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้แก่ ญาณทิพย์เหนือมนุษย์ได้ เป็นความจริงแท้ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้เช่นสภาวะนิพพานของพระพุทธเจ้าป็นต้น ความรู้ในเรื่องนี้ถือว่าเป็นความรู้ที่เป็นความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ บุคคลที่จะรับรู้ความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนี้ได้จะต้องเป็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เป็นต้นเท่านั้น แม้ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาสัจธรรมในเรื่องนี้ก็ตาม แต่ไม่มีหลักฐานการค้นพบความรู้ที่แท้จริงขั้นสัจธรรมได้ด้วยเตรื่องมือทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด การที่นักวิทยาศาสตร์สร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในการค้นหาความจริงของสิ่งต่างๆโดยตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ นั้น แต่สุดท้ายผู้ตีค่าข้อมูลของคำตอบก็ต้องใช้จิตของมนุษย์เท่านั้นเป็นผู้เลือกใช้ข้อมูลของคำตอบในเรื่องที่สงสัยนั้น
๒.ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้
เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นสภาวะของกฎธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ ๘๐ ปีก่อนพุทธกาล ที่พระองค์ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและเสด็จดับขันธปรินิพพาน แสดงว่าชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงเกิดขึ้น(ประสูติ) ดำรงชีวิตอยู่ชั่าระยะเวลา ๘๐ ปี และเสื่อมสลายไปตามกฎของธรรมชาติ (เสด็จดับขันธปรินิพพานได้)ดังนั้น ตัวตนของชีวิตเจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น เพราะเป็นสภาวะของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในระหว่าดำรงชีวิตอยู่ในชมพูืวีปนั้น พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมราษฏรในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้ว พระองค์ตัดสินพระทัยออกผนวช แต่เมื่อผู้เขียนรับรู้ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ และตำราพระพุทธศาสนาหลายเล่มในเรื่องนี้แล้ว ได้ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระองค์เสด็จเยี่ยมราษฏรและอุทยานในพระนครกบิลพัสดุ์ ในระหว่างเสด็จ ฯ นั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นนิมิต ๔ ประการคือ คนชรา คนเจ็บป่วย คนตายและ นักบวช ในพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงผนวช ดังมีหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตันตปิฎกเล่มที่๒๕ ขุททกอปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ ๒๕.โคตมพุทธวงศ์ว่า ด้วยพระประวัติของพระโคตมพุทธเจ้า ข้อ.๑๖ เราเห็นนิมิต ๔ ประการจึงทรงราชพาหนะคือม้าออกผนวชแล้วได้บำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี (จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ)
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้นแล้ว ก็ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช (ordained) คือทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ แต่เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ไม่ได้ระบุรายละเอียดของข้อเท็จจริงไว้อย่างชัดเจนว่านิมิต ๔ ประการนั้นได้แก่ คนชรา คนป่วย คนตายและนักบวชมีความเป็นมาอย่างไร เป็นใคร มาจากไหน และวรรณะใด ทำไมจึงต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนตามท้องถนนในเมืองใหญ่อย่างพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ นักปรัชญ์ชาวพุทธหลายคนจึงตีความหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เพื่ออธิบายความจริงเกี่ยวกับนิมิต ๔ โดยการใช้เหตุผลของคำตอบในเรื่องนี้ตามความเข้าใจของตน เมื่อเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่อง"สาเหตุการผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ" แตกต่างออกไป ผู้เขียนจึงไม่รู้คำตอบของนักปรัชญ์ท่านใดเป็นความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามหลักฐานในพระไตรปิฎกยังไม่แน่ชัดว่าบุคคลในนิมิตทั้ง ๔ ประการมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ?
เมื่อปัญหาของคนแก่ คนป่วย คนตาย และสมณะ เป็นความจริงที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในสังคมอินเดียในขณะนั้น และเป็นความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของชาวอนุทวีปอินเดียที่เข้าถึงความรู้นี้ได้ จึงไม่มีเหตุผลที่เจ้าชายสิทธัตถะจะทรงสงสัยว่ามนุษย์จะต้องชรา ป่วย ตาย และ สมณะอีกต่อไป เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นเช่นนี้ ผู้เขียนสงสัยว่า "นิมิต๔" จึงไม่ใช่เหตุผลที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยผนวช นอกจากนี้ นักปรัชญ์ชาวพุทธหลายคนยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ และให้เหตุผลของคำตอบที่แตกต่างกัน จนไม่สามารถยืนยันความจริงของคำตอบในหัวข้อนี้ว่า คำตอบของใครคือความรู้ผ่านการตัดสินที่ถูกต้องมีเหตุผลและไม่น่าสงสัยอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังเป็นที่สงสัย ผู้เขียนชอบที่จะศึกษาในเรื่องนี้ต่อไปจึงตัดสินใจค้นคว้าหาหลักฐานเพิ่มเติมในการวิเคราะห์ เพื่อยืนยันความจริงของคำตอบว่าบุคคลในนิมิต ๔ มีความเป็นมาอย่างไร และมาจากวรรณะใดโดยรวบรวมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
๑.ประวัติของเจ้าชายสิทธัตถะ
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปปิฎก เล่มที่๒๕ ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ที่๒๕ โคตมพุทธวงศ์
ข้อ.๑ ในกาลบัดนี้ตถาคตเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านามว่า "โคดม" เจริญใน "ศากยสกุล" บำเพ็ญความเพียรแล้ว ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
ข้อ.๑๓ กรุงเราชื่อกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดาของเรา พระมารดาบังเกิดเกล้าของเราชาวโลกเรียกพระนามว่า "มายาเทวี"
ข้อ.๑๕ เรามีนางสนมกำนัล ๔๐,๐๐๐ นางล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีเราชื่อว่ายโสธรา พระดอรสเราชื่อ ราหุล" และหลักฐานในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุทททกนิกายอปทาน มหาวรรค [ภัททิยวรรค] ๖.กาลุทายีเถรปาทานี ข้อ.(๑๘๓) เจ้าชายสิทธัตถะผู้ทรงเป็นผู้องอาจกว่านรชนได้ประสูติแล้ว ที่สวนลุมพินีที่รื่นรมย์เพื่อเกื้อกูลและความสุขของสัตว์โลกทั้งมวล
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนฟังข้อเท็จจริงได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมคือเจ้าชายสิทธัตถะ และพระนามสกุลว่า ศากยวงศ์ พระองค์ทรงประสูติ ณ สวนป่าลุมพินีตั้งอยู่ที่แคว้นสักกะ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางมายาเทวี พระองค์ทรงสำเร็จจากสำนักของครูวิศวามิตรในหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชา ทรงอภิเษกสมสกับพระนางยโสธรามีพระโอรสด้วยกัน ๑ พระองค์คือ เจ้าชายราหุล
๒.การใช้ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะในปราสาท ๓ ฤดู
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๓ พระสุตันตปิฎกเล่มที่๒๕ ขุททกอปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ ๒๕.โคตมพุทธวงศ์ ว่าด้วยพระประวัติของพระโคตมพุทธเจ้า ข้อ.๑๔ "เราครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปีมีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลังคือสุจันทปราสาท โกกันทปราสาทและโกญจปราสาท"
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ที่กล่าวไว้ข้างต้น ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้ชีวิตฆราวาสมา ๒๙ พรรษา พระองค์ทรงประทับอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังโบราณ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างมีความสุขท่ามกลางนางสนม ๔๐,๐๐๐ คนที่ปรนนิบัติพระองค์อย่างเพลิดเพลินและพระองค์ทรงหลงใหลในเสียงเพลงที่เหล่านางสนมบรรเลง เพื่อขับกล่อมให้พระองค์ทรงมีความสุขในยามค่ำคืนสัมผัสกลิ่นหอมของดอกไม้นานาชนิดที่ส่งกล่นหอมตลอดเวลาและเสวยพระกระยาหารที่ปรุงแต่งอย่างพิถีพิถัน เพื่อดับความหิว และอารมณ์อันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัส และทรงเก็บอารมณ์อันน่ารื่นรมย์นั้น สั่งสมอยู่ในพระทัยของพระองค์มาหลายปี เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิตแบบนั้น พระองค์ทรงเสด็จออกจากเขตพระราชวังโบราณกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงเยี่ยมราษฏรและเสด็จเยี่ยมชมสวนหลวงในกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาเกี่ยวกับจัณฑาล ซึ่งขาดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ และเป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ และถูกคนในสังคมลงโทษด้วยการถูกขับไล่ออกจากถิ่นพำนัก ต้องใช้ชีวิตเร่รอนในวัยชรา ป่วยเป็นไข้และเสียชีวิตข้างถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาเกี่ยวกับจัณฑาล และทรงเมตตาให้พ้นจากความมืดมิดแห่งชีวิต ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงครุ่นคิดถึงปัญหาคนจัณฑาล จนลืมความยินดีในความมัวเมาแห่งชีวิตที่ทรงใช้มาหลายปีแล้ว
๓.คำสอนของพราหมณ์เป็นหลัคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ
เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกของมหาจุฬา เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย ขันธวรรค๑. พรหมชาลสูตร ข้อ ๔๒ วรรคสอง "แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดอย่างนี้ว่าท่านผู้เจริญนี้เป็นพระพรหม เป็นท้าวมหาพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ เห็นท่องแท้เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง ผู้บันดาล ผู้ประเสริฐ ผู้บงกาล ผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของสัตว์ที่เกิดมาแล้วและกำลังจะเกิด พระพรหมผู้เจริญบันดาลเราขึ้นมาเพราะเหตุใดเพราะได้เห็นพระพรหมองค์นี้เกิดขึ้นในที่นี้ก่อนส่วนพวกเราเกิดมาภายหลัง"
พระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกายชาดก (มหานิบาต) ๖.ภูทัตตชาดก ข้อ ๙๐๖ กล่าว่าพวกพราหมณ์ถือเอาการสาธยายพระเวท พวกกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดเกษตรกรรม พวกศูทรยึดการรับใช้วรรณะทั้ง ๔ เข้าถึงการงานที่อ้างมาแต่อย่างนั้นพระพรหมผู้มีอำนาจสร้างไว้เป็นต้น และพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๒๘ ขุททกนิกายชาดก (มหานิบาต) ๖.ภูทัตตชาดก ข้อ ๙๓๓ ถ้าคำนี้จะพึงเป็นจริงเหมือนพวกพราหมณ์กล่าวไว้ ผู้ที่มิใช่กษัตริย์ไม่พึ่งได้ราชสมบัติ ผู้มิใช่พราหมณ์ก็ไม่พึ่งศึกษามนต์ นอกจากแพศย์ไม่พึ่งทำการเกษตรกรรม และพวกศูทรก็ไม่พึงพ้นจากการรับใช้ผู้อื่น
เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าสมัยก่อนพุทธกาล ชาวสักกะเชื่อในคำสอนของพราหมณ์ว่าพระพรหมสร้างชาวแคว้นสักกะขึ้นมาจากกายของพระองค์และสร้างวรรณะให้สิทธิและหน้าที่แก่ชาวสักกะทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด เช่นวรรณะพราหมณ์มีหน้าที่ทำพิธีบูชายัญและสาธยายพระเวท วรรณะกษัตริย์มีหน้าที่ปกครองประเทศ วรรณะแพศย์มีหน้าที่ในการค้าขาย และทำการเกษตรกรรม และวรรณะศูทร มีหน้าที่รับใช้คนวรรณะอื่น เป็นต้นเมื่อคำสอนของพวกพราหมณ์ซึ่งเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการแบ่งวรรณะและได้กำหนดหน้าที่ให้กับคนวรรณะใดแล้ว เป็นสิทธิหน้าที่ของวรรณะนั้น คนต่างวรรณะไม่มีสิทธิไปทำหน้าที่ของคนวรรณะนั้น๔.ระบอบการปกครองของรัฐสักกะ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬา ฯ ]สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [สฬายตนสังยุต] อวัสสุตปริยายสูตร ข้อ๒๔๓ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย คือเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกบิลพัสดุ์ รับสั่งให้สร้างท้องพระโรงขึ้นใหม่เสร็จได้ไม่นานยังไม่มีสมณะพราหมณ์ หรือมนุษย์คนใดคนหนึ่งเข้าไปอยู่อาศัยขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดใช้สอยท้องพระโรงนั้นก่อนเถิดพระพุทธเจ้าข้าพระองค์ทรงใช้ท้องพระโรงก่อนแล้วเจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกบิลพัสดุ์ จักใช้สอยภายหลัง การใช้สอยของพระองค์นั้นพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เจ้าศากยะทั้งหลาย ผู้ครองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน"
จากหลักฐานเอกสารข้างต้น ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า "เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ครองกบิลพัสดุ์" น่าจะหมายถึงสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติสักกะ ซึ่งมาจากวรรณะกษัตริย์ ทรงได้ประชุมเพื่อสร้างท้องพระโรงขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้เลย เจ้าชายศากยะทั้งหลาย (สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติสักกะ) จึงได้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงใช้เสียก่อน เมื่อพระไตรปิฎกกล่าวว่าเจ้าศากยะทั้งหลาย ผู้ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์ไม่ได้ตรัสว่า พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อนุมานความรู้ตามหลักเหตุผลว่า อาณาจักรสักกะมีระบบการปกครองบนพื้นฐานของความสามัคคีหรือ แบบสามัคคีธรรมโดยแบ่งประชาชนตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ แบ่งออกเป็น ๔ วรรณะได้แก่วรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เป็นต้น โดยสมาชิกทุกพระองค์ของราชวงศ์ศากยะทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาศากยะ ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองประเทศและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปอธิปไตยทั้ง ๓ ประการ คืออำนาจนิติบัญญัติที่จะตรากฎหมายจารีตประเพณีทั้งหมด อำนาจบริหารของประเทศ และอำนาจตุลาการ ที่จะพิจารณาตัดสินอรรถคดีทั้งปวง
ดังนั้น แม้ว่าพระเจ้าสุทโธทนะทรงเป็นกษัตริย์ปกครองแต่พระองค์ทรงไม่ได้ใช้อำนาจอธิปไตยเพียงลำพัง ท้องพระโรง (Thron Hall) เป็นที่ตั้งของสำนักงานของรัฐสภาศากยวงศ์ เพื่อให้ชนวรรณะกษัตริย์หลายราชวงศ์มาประชุมกันดังมีหลักฐานในพระไตรปิฎกกล่าวว่า "เจ้าศากยทั้งหลายเป็นผู้ใช้สอยท้องพระโรงผู้เขียนตีความว่า เจ้าชายแห่งศากยะทั้งหลายใช้ท้องพระโรงนี้เป็นสถานที่ประชุมรัฐสภาศากยวงศ์เพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการในการปกครองประเทศ เมื่อเจ้าชายศากยะทั้งหลายทรงใช้ท้องพระโรงแต่เพียงฝ่ายเดียวแสดงให้เห็นว่าเมื่อแคว้นสักกะประกาศบังคับใช้กฎหมายวรรณะจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ประชาชนถูกแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะได้แก่วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เป็นต้น เมื่อเจ้าชายศากยะทุกพระองค์มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองรัฐสักกะตามวรรณะกษัตริย์ รัฐสักกะจึงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีเป็นหลักสูงสุดในการบริหารปกครองที่เรียกว่า "ธรรมของกษัตริย์" หรือ สิ่งที่นักปรชาญ์ชาวพุทธยอมรับว่าเป็นหลักธรรมสำหรับผู้บริหารเรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม"ดังนั้นกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังจึงไม่อาจขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญสูงสุดได้ เมื่อรัฐสภาศายวงศ์ได้บัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักคำสอนของพราหมณ์ไว้แล้วต่อมาภายหลังพระมหากษัตริย์ทรงเมตตาต่อจัณฑาลโดยประสงค์ให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับวรรณะอื่น ๆ จะเสนอร่างพระราชบัญญัติยกเลิกวรรณะให้รัฐสภาแห่งศากยวงศ์พิจารณา แต่เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งชาติศากยวงศ์ได้เข้าประชุมและพิจารณาแล้ว จะมีมติไม่ให้ผ่านร่างกฎหมายยกเลิกวรรณะเพราะขัดกับหลักอปริหานิยธรรมซึ่งเป็นหลักคำสอนของพราหมณ์และพระพรหมสร้างวรรณะขึ้นเพื่อห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว
๔.ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของคนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงรู้สึกเบื่อหน่าย (feel bored)ความสุขในการใช้บนปราสาท ๓ หลังซึ่งเป็นสถานที่ประทับส่วนตัวของพระองค์มาหลายปี จึงทรงตัดสินพระทัยไปเสด็จเยี่ยมราษฏรและเสด็จชมสวนหลวงในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในขณะเสด็จประทับนั่งบนรถม้าไปตามท้องถนนในเขตพระนครกบิลพัสดุ์ พระองค์ทรงเห็นปัญหาที่แท้จริงของประชาชนที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนในวัยชรา ต้องเจ็บป่วย และนอนตายบนท้องถนน เป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ ได้ฟังข้อเท็จจริงว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงพระเนตรนิมิต ๔ เท่านั้น มิได้ระบุรายละเอียดอื่นใดให้ชัดเจน ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าคนทั้ง ๔ ประเภท มีที่มาอย่างไร จึงไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร มาจากไหนและอยู่ในวรรณะใด และผู้เขียนเห็นว่าความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นความไม่เที่ยงของชีวิตมนุษย์ และมองเห็นง่ายในชีวิตประจำวันของมนุษย์ สมัยนั้นเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีข้าราชบริพาร ๔๐,๐๐๐ คนและที่พระองค์ทรงไม่เคยเห็นชีวิตไม่เที่ยงเช่น คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะในพระนครกบิลพัสดุ์นั้น ถือว่ามีเหตุผลเลื่อนลอยไม่น่ารับฟังว่ามูลเหตุการทรงออกผนวชได้ ส่วนคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นระหว่างทางเสด็จเยี่ยมราษฏรนั้นผู้เขียนฟังข้อเท็จจริงในยุคนั้นว่าแคว้นสักกะเป็นรัฐศาสนาพราหมณ์ชาวสักกะเชื่อในศาสนาพราหมณ์ตามคำสอนของพราหมณ์ว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และสร้างวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามวรรณะของตน เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนฝ่าฝืนบทบัญญัติของคำสอนของศาสนาพราหมณ์ สมาชิกรัฐสภาศากยวงศ์ได้เอาหลักคำสอนของพราหมณ์ในเรื่องพระพรหมสร้างวรรณะไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีแบ่งชั้นวรรณะและมีบทลงโทษให้ผู้คนในสังคมพรหมทัณฑ์แก่ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจารีตประเพณีด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะ โดยให้ขับไล่ไปจากสังคมที่อยู่อาศัยนั้นได้ เมื่อถูกขับไล่พวกเขาต้องไปใช้ชีวิตเร่รอนอยู่ข้างถนนในเมืองใหญ่และถูกเรียกว่า จัณฑาล พวกนี้ไม่มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามกฎหมายนั้น อาชีพทั้งหมดกฎหมายสงวนไว้เฉพาะชนวรรณะสูงเท่านั้น เมื่อไม่มีงานทำย่อมไม่เงินมาซื้อบ้านเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของตัวเองได้จำเป็นต้องอาศัยเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินของเจ้าชายสิทธัตถะนั้น ไม่มีเหตุผลอื่นใดที่คนวรรณะสูงต้องออกจากบ้านมาใช้ชีวิตไม่เที่ยงในความแก่ ความเจ็บ และความตายบนข้างถนนเช่นนั้นเพราะพวกเขาเหล่านั้นมีรายได้จำนวนมหาศาล สร้างปราสาทได้หลายหลังย่อมใช้ชีวิตในความแก่ ความเจ็บ และความตายในปราสาทของตนดีกว่าตายข้างถนนสาธารณะในพระนครกบิลพัสดุ์ เป็นต้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า คนแก่ คนเจ็บป่วยและคนตายนั้นเป็นพวกจัณฑาลนั้นเองทรงระลึกได้ว่าในวันที่ ๔ ของการเสด็จพระราชดำเนินประพาสพระนครนั้น ทรงพบเห็นนักบวชและทรงนึกคิดพัฒนาต่อยอดออกไปว่า การออกบวชน่าจะเป็นวิธีการหาความรู้ที่ดีที่สุดที่จะได้เห็นสัจธรรมของชีวิตได้ เมื่อทรงออกผนวชแล้วก็ละทิ้งวรรณะเดิมไม่เกี่ยวข้องโคตรหรือตระกูลเดิมอีกต่อไปทำให้ทรงมีเวลาที่จะได้ศึกษาหา ความรู้เพื่อบรรลุถึงความจริงของชีวิตต่อไป
บรรณานุกรม.
1.http: // www.84000.org/tipitaka/attha/ attha.php? b =33.2&i=26
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น