The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับสาเหตุการผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ(ตอน๓)

๒.โครงสร้างความรู้ของมนุษย์      เราสามารถแยกองค์ประกอบความรู้เพื่อพิจารณาดังนี้           

๑. มนุษย์                                        ๒.กระบวนการพิจารณาความจริงทางญาณวิทยา                              ๓.ความรู้สิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์

           ๒.๑.มนุษย์ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ด้วยญาณทิพย์เหนือมนุษย์ทั่วไป พระองค์ทรงเห็นวิญญาณออกจากร่างคนตายแล้ว ไปเกิดในภพภูมิอื่น และพระองค์เห็นดวงวิญญาณมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา        พัฒนาตนเองเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว คลอดออกมาเป็นบุุคลตามกฎหมายแห่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย  ทำให้เราตระหนักว่าชีวิตของเราประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้     จิตมนุษย์อาศัยร่างกายในการรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ  และเก็บอารมณ์ไว้เป็นสัญญาในจิตใจของตนเอง   แต่ข้อเท็จจริงที่เข้ามาในชีวิตของมนุษย์อาจเป็นทั้งความจริงหรือความเท็จก็ได้    เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมความไม่รู้  มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านร่างกายของตนเอง เป็นคนเห็นแก่ตัวจึงชอบอคติต่อผู้อื่นเสมอ จึงไม่สามารถแยกแยะว่าข้อเท็จจริงในเรื่องใดเป็นจริงและเป็นเท็จ  ดังนั้นชีวิตของพวกเขาจึงเต็มไปด้วยมืดมนเพราะอวิชชา  ความกลัว  ความเกลียดชังและความรักใคร่ชอบพอ เป็นต้น 

         ดังนั้น เมื่อมนุษย์มีความไม่รู้ว่า ข้อเท็จจริงอันไหนจริงหรือเท็จ มักจะเชื่อว่าเป็นความจริงโดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ   มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริง ก่อนจะตัดสินใจเชื่อความคิดเห็นนั้น ส่งผลให้ตัดสินใจไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง เป็นต้น  เมื่อเกิดปัญหาเช่นนี้   นักปรัชญาจำเป็นต้องสร้างกระบวนการพิจารณาจริงขึ้นมา  

           ๒.๒.กระบวนการพิจารณาความจริง    โดยทั่วไป  เมื่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์นั้น  เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  หรือข้อเท็จจริงที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้อื่น โดยธรรมชาติแล้ว  มนุษย์มีความสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต  มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป      โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์หาเหตุผลโดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ   เพื่ออธิบายความจริงจองคำตอบในเรื่องนั้นว่าจริงหรือเท็จ  เป็นต้น 

          ๒.๓. การสั่งสมความรู้ของมนุษย์  โดยธรรมชาติแล้ว   ความรู้คือสิ่งที่ส่งสมอยู่ในจิตของมนุษย์   ผ่านการศึกษา  วิจัยหรือประสบการณ์ชีวิต รวมทั้งความสามารถในทางปฏิบัติด้วย    สิ่งที่ได้รับจากการฟัง  การคิดหรือการกระทำ   เป็นต้น       เราจะได้เห็นว่าความรู้ดั้งเดิมของมนุษย์ในศาสนาพราหมณ์นั้น   มนุษย์ถูกจำกัดในการรับรู้ถึงการมีอยู่ของเทพเจ้า เว้นแต่วรรณะพราหมณ์เท่านั้น   ที่สามารถทำพิธีกรรมติดต่อเทพเจ้าได้ผ่านพิธีกรรมบูชายัญ เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ ที่ห้ามทุกวรรณะปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น  ด้วยเหตุนี้พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช  แสวงหาความรู้ในเรื่องนี้     ทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่าง ๆ มานานหลายปี จนกระทั่ง    พระองค์ทรงได้ค้นพบวิธีปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุธรรมเป็นความรู้ในระดับอภิญญา ๖  และพระองค์ทรงเห็นความจริงของชีวิตมนุษย์   คือมนุษย์ทุกคนมีดวงวิญญาณเป็นของตนเอง เมื่อมนุษย์เกิดมาก็ต้องตายกันทุกคน  ดวงวิญญาณก็จะออกจากร่างไปเกิดในภพภูมิอื่น  เช่น โลกสวรรค์  หรือทุคติ  อบาย นรก   เป็นต้น  เมื่อกลับมาเกิดในโลกมนุษย์  ดวงวิญญาณก็จะมาปฏิสนธิวิญญาณในครรภ์มารดา  มารดาตั้งครรภ์เป็นเวลา ๙ เดือน ก็คลอดออกมาเป็นทารก มีสภาพบุคคลตามกฎหมาย  เป็นต้น

๓.วิธีการแสวงหาความรู้ของนักปรัชญา  

                    โดยทั่วไป มนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องขันธ์  ๕ ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ   ลักษณะของมนุษย์ มีร่างกายส่วนอวัยวะอินทรีย์ทั้งหก ส่วนมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ล้อมรอบตัวมนุษย์     และจิตของมนุษย์เป็นคนแก่ตัวมักจะมีอคติต่อผู้อื่น   เมื่อมีกรณีสงสัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  มักจะให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยความเท็จก็ได้  ทั้งที่ตนเองไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง  เช่น  การฆาตกรรม  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดฐานละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น   เป็นต้น  แม้ว่าอภิปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งปรัชญา  มีหน้าที่ศึกษาปัญหาความจริงเกี่ยวกับชีวิต   โลก ธรรมชาติและการมีอยู่ของเทพเจ้า โดยการอนุมานความรู้จากประสบการณ์ชีวิตของตนเอง เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงเกี่ยวกับความจริงของคำตอบจนเกิดความเชื่ออย่างมั่นใจว่าเป็นความจริงก็ตาม  แต่ข้อเท็จจริงที่ได้ยินมาเกี่ยวกับเทพเจ้านั้น  เป็นความรู้เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจากพราหมณ์นิกายต่าง ๆ มาวิเคราะห์โดยการอนุมานจากประสบการณ์ทางศาสนาพราหมณ์ เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องมนุษย์และเทพเจ้าก็ตาม แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตถึงประวัติความเป็นมาของเทพเจ้านั้น ไม่มีใครตอบพระองค์ได้แสดงว่าพยานบุคคลเหล่านี้           ืไม่มีความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพจริง จึงไม่สามารถตอบประวัติความเป็นมาของเทพเจ้าได้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยการมีอยู่ของเทพเจ้า จึงเป็นหน้าที่ของญาณวิทยาที่จะต้องหาคำตอบในเรื่องนี้โดยธรรมชาติแล้ว  ญาณวิทยาจะต้องศึกษาและตรวจสอบต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ โครงสร้างความรู้ของมนุษย์   วิธิการของมนุษย์ในการแสวงหาความรู้  ความรู้ที่สมเหตุสมผลของมนุษย์  ดังนั้นญาณวิทยาจึงมีหน้าที่  ตอบคำถามที่มนุษย์สงสัยว่า"เราจะรู้ความจริงได้อย่างไร?" ในปัญหาดังกล่าวนักปรัชญาเช่น  เจ้าชายสิทธัตถะ,   พระโคตมะพุทธเจ้า, เรอเน เดการ์ตส์  ได้ศึกษาการมาของความรู้ที่ถูกต้องคืออะไร? โดยการสร้างกระบวนการพิจารณาความจริง ขึ้นมาอยู่ในขอบเขตของญาณวิทยาทั้งหมด ๔  วิธีด้วยกันคือ   

           ๓.๑  วิธีแสวงหาความรู้จากความเชื่อของพราหมณ์      เมื่อผู้เขียนพิจารณาข้อเท็จริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  ได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า  เมื่อชาวอนุทวีปเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์อารยันในเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าอย่างมั่นใจ มีพราหมณ์บางพวกสร้างทฤษฎีกำเนิดของโลกตามลัทธิอาจารย์ของตน เป็นการเชื่้อข้อเท็จจริงเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้าโดยปริยายว่าเป็นความจริง


ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ