The meaning of beauty in Lumbini Garden, the birthplace of Buddha
ปรัชญาโดยทั่วไป คือความรู้ของมนุษย์บางคนที่เรียกว่า "นักปรัชญา" เมื่อนักปรัชญาเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนึ่ง พวกเขาจะรวบรวมเรื่องราวเหล่านั้น เป็นหลักฐานทางอารมณ์ในจิตใจ และใช้หลักฐานเหล่านั้นเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานหรือคาดคะเนความจริง เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นโดยการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาในการอธิบายความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่บางคนเป็นนักปรัชญา เป็นนักตรรกะ มักใช้เหตุผลซึ่งเป็นเครื่องมือของตนในการอธิบายความจริงในเรื่องนั้น บางครั้งผิด บางครั้งถูก บางครั้งก็เป็นอย่างนี้ บางครั้งเป็นอย่างนั้น ทำให้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบไม่ชัดเจน ทำให้คนได้ยินความจริงของคำตอบเห็นว่าความจริงของคำตอบนั้น ไม่น่าเชื่อถือไม่สามารถยืนยันว่าเป็นความจริงได้ เพราะบางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มีข้อจำกัดของอายตนะภายในร่างกาย และมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตของพวกเขามืดมน ขาดปัญญาในการหยั่งรู้ความจริง โดยการอนุมานความรู้และคาดคะเนความจริงในเรื่องนั้น ๆ เป็นต้น ในปัจจุบันนักปรัชญาแบ่งปรัชญาออกเป็นสาขาต่าง ๆ เช่น อภิปรัชญา จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ญาณวิทยาและตรรกศาสตร์ เป็นต้น นักปรัชญามีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับปัญหาความจริงของ
๒.๑ต้นกำเนิดของความงามของมนุษย์และความงามของสิ่งต่าง ๆ
ทีเกิดขึ้นในชีวิตมนุษย์ องค์ประกอบของความงามของมนุษย์ วิธีพิจารณาความงามของมนุษย์ และความสมเหตุสมผลของความงามของมนุษย์ เป็นต้น ต้นกำเนิดของความรู้เกี่ยวกับความงามของสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เมื่อจิตใจของมนุษย์ใช้อายตนะภายในร่างกายรับรู้อารมณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นจากจินตนาการของตนเอง เป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และการรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ไว้เป็นอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ แต่ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์มิใช่เพียงการรับรู้และเก็บอารมณ์เท่านั้น ยังมีธรรมชาติเป็นผู้คิดวิเคราะห์อารมณ์เหล่านั้นว่า เป็นความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าผลของการคิดเป็นอารมณ์ที่เป็นสุขก็เกิดความพอใจ มีความปิติที่ทำให้ขนลุกไปทั้งตัวเมื่อมีความสุขที่เกิดขึ้นในใจจนไปเกาะติดกับอารมณ์เหล่านั้น และอยากดื่มด่ำกับอารมณ์นั้นตลอดไปและเขาไม่อยากให้อารมณ์เหล่านั้นหายไปจากใจ เขาก็หาทางที่จะยึดติดมันต่อ ๆ เป็นต้น
๒.๒วิธีแสวงหาความรู้ทางสุนทรียศาสตร์ เมื่ออารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตทุกวัน เมื่อมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้ว่าชีวิตของตนเอง มีดวงวิญญาณที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วไม่รู้จบขาดสติและปัญญาในการแยกแยะข้อเท็จจริงในเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตว่าเรื่องไหนจริงหรือเรื่องไหนเท็จ ทำให้เกิดความสงสัยในเรื่องนั้น เมื่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเรารับรู้ผ่านประสาทสัมผัสเข้ามาสู่ชีวิตของเราเองอาจจะเป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติ อาจจะเป็นเหตุการณ์ตามธรรมชาติของแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ หรือวิธีที่มนุษย์เขียนจะวิเคราะห์ข้อมูลจากประสาทสัมผัสของตัวเอง ที่ได้มาแสวงบุญที่สวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่เนปาล เพื่อหาเหตุผลของคำตอบเกี่ยวกับความงามอันรื่นรมย์ของสวนป่าลุมพินีนั้น
ผู้เขียนจำเป็นต้องศึกษาความหมายคำว่า "รื่นรมย์" จากที่มาของความรู้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า "รื่นรมย์" มีความหมายว่า "สบายใจ, บันเทิง" คำว่า "บันเทิง" แปลว่า เบิกบาน คำว่า "รื่นรมย์" ความรู้สึกเป็นสุข เป็นอาการของจิตของเราเกิดสภาวะปิติและ กล่าวคือเมื่อชีวิตเราได้ผัสสะสวนป่าลุมพินีโดยเรารับรู้ผ่านอินทรีย์ ๖ ของเรา จิตผู้นั้นย่อมรู้สึกเป็นไปในทางเบิกบานเกิดขึ้นในจิตใจของตนเอง เป็นต้น ในอดีต สวนลุมพินีตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐสักกะเต็มไปด้วยป่าสาละขนาดใหญ่มีธารน้ำใต้ดิน ที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติไหลลงจากป่าฝนชื่นอันน่ารื่นรมย์ในเทือกเขาหิมาลัยและธารน้ำใต้ดินพุ่งขึ้นมา เป็นสองสายทั้งน้ำพุร้อนและน้ำพุเย็นไหลลงสู่สระโบกขรณีให้ผู้คนได้ดื่มกิน และอาบน้ำให้หายเหนื่อยล้า จากการเดินทางจนกลายเป็นจุดพักของนักเดินทางไกล เพื่อให้หายจากความเหนื่อยล้าและเดินทางต่อไป เป็นสถานที่ประสูติของพระศากยมุนีพระโพธิสัตว์จากพระครรภ์ของพระนางมายาเทวีพระนางมายาเทวีทรงเห็นควรเสด็จไปสู่เมืองเทวทหะเพื่อประสูติกาลพระโอรส จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จกลับเมืองเทวทหะเมืองหลวงของอาณาจักรโกลิยะ หลังจากเสด็จมาเป็นระยะทาง ๔๕ กิโลเมตรและ ใช้เวลาประมาณ ๙ ชั่วโมง คณะของพระนางมายาเทวก็เดินทางมาถึงสวนป่าลุมพินี เพื่อทรงพักผ่อนพระอิริยาบทและพระวรกายทรงหายจากเหนื่อยล้าจากการเดินทางนั้น
พระนางมายาเทวีจึงทรงประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีซึ่งเป็นสวนป่าตั้งอยู่ในหมู่บ้านลุมพินีในอาณาจักรสักกะโดยเจ้าชายแห่งราชวงศ์ศาากยะทั้งหลายทรงเป็นเจ้าของสวนลุมพินีแห่งนี้ เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารดิจิทัลคือแผนที่โลกกูเกิล (Google Map) แล้ว มีการระบุสถานที่ตั้งของMaya Divi temple ตั้งอยู่ในสวนลุมพินีห่างจากแม่น้ำโรหินี ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นโกลิยะ เมื่อศึกษาแล้วประมาณ ๓๗. ๙ กิโลเมตรและจากแม่น้ำโรหินีไปสู่เมืองรามคาม Ramkham อันเป็นสถานที่ตั้งของเมืองเทวทหะนั้นประมาณ ๑๘.๙ กิโลเมตร สวนลุมพินี ในสมัยก่อนพุทธกาลเป็นสถานที่หยุดแวะพักผ่อนของผู้เดินทางไกลใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมา ระหว่างพระนครกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะกับพระนครเทวทหะแห่งแคว้นโกลิยะลักษณะเด่นของสวนลุมพินีเป็นพื้นที่ราบลุ่ม และมีป่าสาละขนาดใหญที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นสาละยืนต้นสูงตระหง่านให้ร่มเงาแก่ผู้คน ไม่ว่าจะเป็นขบวนเกวียนขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ หรือระหว่างรัฐและภูมิภาค ที่เหน็ตเหนื่อย จากการเดินทางไกลเพื่อหลบร้อนและผ่อนคลายความเหนื่อยล้า จากการเดินทางที่เร่งรีบ เมื่อหยุดพักและนอนหลับจนถึงอาทิตย์ตกในยามบ่าย แสงอาทิตย์ก็ส่องแสงจ้าและแรงขึ้น เมื่อร่างกายไม่เหนื่อยล้าอีกต่อไป ชีวิตของนักเดินทางไปกลก็เริ่มต้นเดินทางต่อเพื่อไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ สวนลุมพินียังมีธารน้ำพุใต้ดิน ๒ สาย คือธารน้ำพุร้อนและธารน้ำพุเย็นที่ไหลขึ้นสู่ท้องฟ้าตลอดเวลา ให้ผู้เดินทางไกล พ่อค้าแม่ค้า นักเดินทางไกลเพื่อไปแสวงโชคได้หยุดเพื่อพักผ่อนถูกใช้เป็นสถานที่อาบน้ำร้อน ชำระล้างสิ่งสกปรกบนร่างกายระหว่างการเดินทางไกลทำให้ร่างกายสะอาด จิตใจปลอดโปร่ง และดื่มน้ำเย็นจากธารน้ำเย็น เพื่อคลายความกระหายและความเหนื่อยล้าจากการขาดน้ำได้เป็นอย่างดี ถนนระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะจึงเป็นเส้นคมนาคมระหว่างเมืองต่าง ๆ ในปัจจุบัน สวนลุมพินีตั้งอยู่ในจังหวัดหมายเลข ๕ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๗จังหวัดของประเทศเนปาล ซึ่งก่อตั้งขึ้นรัฐธรรมนูญใหม่ของประเทศเนปาล เพื่อเป็นเมืองหลวงชั่วคราวของจังหวัดหมายเลข ๕ สวนลุมพินีเป็นสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาทุกนิกาย เพราะเป็นสถานที่แสวงบุญที่พระพุทธเจ้าศากยมุนีทรงอนุญาตให้ชาวพุทธทั่วโลก เดินทางมาสักการะบูชาพระพุทธเจ้าสักครั้งในชีวิต เพื่อพัฒนาศักยภาพทางจิตวิญญาณของพวกเขาให้บรรลุความรู้ และความจริงของกฎธรรมชาติในชีวิตมนุษย์ เพื่อที่ทุกคนจะได้ไปเกิดโลกสวรรค์ สวนลุมพินีมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้เขียนมาก เพราะสถานที่ปฏิบัติบูชาแห่งนี้ได้หล่อหลอมให้ผู้เขียนมีความศรัทธาอันแรงกล้าที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาบรรลุถึงจิตวิญญาณแห่งความภาคภูมิใจในการเกิดเป็นพุทธศาสนิกชน ได้ปฏิบัติบูชาตามหลักสากลที่ผู้คนทั่วโลกที่ได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกอย่างถ่องแท้ พวกเขาสามารถปฏิบัติบูชาตามมรรคมีองค์ ๘ และได้รับผลเช่นเดียวกับการปฏิบัติบูชาทั่วโลก กล่าวคือความรู้แจ้ง เกิดความปิติ มีความสุข มีความสงบในชีวิต
เมื่อศึกษาข้อมูลที่มาของความรู้ในสวนลุมพินีเป็น ๑ ใน ๔ ของสังเวชนียสถานที่พระพุทธเจ้าศากยมุนี ทรงตรัสไว้ในพระไตร ปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกายมหาวรรค ๓. มหาปรินิพพานสูตรเรื่องคำถามพระอานนท์ ข้อ [๒๐๒] พระอานนท์กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาในทิศทั้งหลายมาเฝ้าตถาคต ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมได้พบย่อมได้ใกล้ชิด ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไป ข้าแต่พระองค์ทั้งหลายจะไม่ได้พบ ไม่ได้ใกล้ชิดภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจอีก" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ เป็นสถานที่ (เป็นศูนย์รวม) ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดู สังเวชนียสถาน ๔ แห่งอะไรบ้างคือ๑. สังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาควรไปดูด้วยระลึกว่า"ตถาคตประสูติในที่นี้"
...อานนท์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจาริกไปยังเจดีย์จักมีจิตเลื่อมใส ตายไปชนเหล่านั้นทั้งหมดหลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาข้อความในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ดังกล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตรนั้นว่า เมื่อพระองค์เสด็จล่วงลับดับขันธ์ไปแล้วนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มาจากทิศทั้งทั้ง๔ นั้น คงจะไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อการสนทนาธรรมอย่างใกล้ชิด จนจิตเกิดความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติ จนเข้าถึงหลักธรรมจนเป็นที่เบิกบานใจเช่นเดียวกับเมื่อครั้งพระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพ เมื่อระลึกได้เช่นนี้ พวกข้าพเจ้าควรจะพิจารณาปฏิบัติอย่างไรกันต่อไปพระพุทธเจ้าศากยมุนีตรัสไว้อย่างชัดเจนแก่พระอานนท์ว่า พระภิกษุผู้เกิดมาในยุคหลัง ควรเดินทางไปสู่สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งและหนึ่งในสี่แห่งนั้นที่ควรจะไปดู นั้นคือ สถานประสูติ ณ สวนลุมพีนี การเดินทางไปสู่สถานที่ประสูตินั้น ควรเดินทางไปด้วยความเลื่อมใสด้วยศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าด้วยระลึกถึงคำสอนที่ทรงค้นพบว่า ชีวิตมนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง เมื่อชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยความตาย แต่ชีวิตเกิดมาแล้วตายแล้วมิได้สูญยังมีจิตวิญญาณออกจากร่างกายดุจท่อนไม้นั้นไปจุติในภพภูมิอื่น ๆ ต่อไป ส่วนจะไปสู่ภพภูมิไหนขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้นั้นเองว่า คุณค่าของการกระทำนั้นเป็นอกุศลกรรม จิตวิญญาณของผู้นั้น จะไปจุติจิตในทุคติภูมิการกระทำนั้นเป็นกุศลกรรม จิตวิญญาณของผู้นั้น จะไปจุติจิตในสุคติภูมิ เป็นต้น เมื่อเสด็จแวะพักที่สวนลุมพินีระหว่างทางเสด็จกลับสู่พระนครเทวทหะ ราว ๘๐ ปีก่อนพุทธศักราช และสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่สวนลุมพินีแห่งนี้ เพราะตามจารีตประเพณี และวัฒนธรรมโบราณที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานว่า สตรีในชมพูทวีปในยามที่ตั้งครรภ์นั้น สตรีไม่ควรห่างครอบครัวฝ่ายตนพระนางมายาเทวีก็เช่นกัน เมื่อทรงครรภ์ติดต่อกันมาหลายเดือนแล้วทรงระลึกข้อนี้ว่า ตามธรรมเนียมของวรรณะกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศากยะและราชวงศ์โกลิยะ ที่ปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนั้นในการประสูติกาลพระโอรสและพระธิดานั้น พระมารดาไม่ควรห่างไกลจากการดูแลเอาใจใส่ของตระกูลฝ่ายพระมารดาตนเอง เมื่อทรงระลึกหาเหตุผลของคำตอบได้เช่นนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น