Introduction to The Aesthetics of Lumbini Park, the birthplace of Lord Buddha,
๑.บทนำ
๒.ความหมายของความงาม
๓.พระพุทธเจ้าทรงยกย่องลุมพินีเป็นสังเวชนียสถาน
๔.ทฤษฎีความงามเชิงอัตวิสัยในสุนทรียศาสตร์
๕.การปฏิบัติบูชา
๑.บทนำ
โดยทั่วไป ชาวพุทธทั่วโลกมักได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสวนลุมพินี ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า จากคำสอนของพระภิกษุสงฆ์ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน หรือครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือซึ่งได้แสดงธรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะวันวิสาขบูชาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ๒,๕๖๐ ป ทุกคนยอมรับโดยปริยายว่า ลุมพินีเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาลเป็นความจริง โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ หรือคาดคะเนความจริงตามหลักเหตุผล เพื่อพิสูจน์ความจริงของเรื่องนี้อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชีวิตมนุษย์เป็นของไม่เที่ยง ทุกคนที่เกิดมาจึงต้องตายตามกฎธรรมชาติชีวิตมนุษย์ทุกคน หลายคนที่เกิดในยุคปัจจุบันและไม่เคยศึกษาพระพุทธศาสนา เมื่อได้ยินชื่อสวนลุมพินี มักจะนึกถึงสวนลุมพินีของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม สำหรับพุทธศาสนิกชนที่ศึกษาพระพุทธศาสนาโดยตรงจากวัดในพระพุทธศาสนามาช้านาน ทั้งในแง่ธรรมะที่เน้นศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกการปฏิบัติสมาธิภาวนาตามมรรคมีองค์ ๘ และในแง่ปฏิเวธที่เน้นปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคและผลคือ"อภิญญา ๖"
เมื่อชาวพุทธทั่วโลกได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับสวนลุมพินี มักจะนึกถึงลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล แต่เป็นความรู้ที่ได้รับจากการฟัง การอ่าน การเขียน ศึกษาค้นคว้าจากตำราในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยแต่ไม่เคยไปแสวงบุญที่สวนลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ทำให้ไม่สามารถรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ได้ โดยตรงผ่านอายตนะภายในร่างกาย เนื่องจากอายตนะภายในร่างกายของพวกเขามีความสามารถจำกัดในการรับรู้และมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตของพวกเขาต้องอยู่ในความมืดมนของความไม่รู้ตลอดไปจึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของเรื่องราวเกี่ยวกับสวนลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
ปัญหาคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้านั้นงดงามจริง และสามารถรับรู้ได้โดยการปฏิบัติบูชา? ในปัญหานี้ญาณวิทยาจะต้องให้คำตอบเพราะญาณวิทยามีหน้าที่ศึกษาต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ โครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ วิธีการแสวงหาความรู้ และความสมเหตุสมผลของความรู้ เป็นต้น
เมื่อเราศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เราจะได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่ามนุษย์มีองค์ประกอบชีวิตก็คือร่างกายและจิตใจ องค์ประกอบทั้งสองต่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน หากองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งขาดหายไป ชีวิตของมนุษย์ก็ต้องสูญสิ้นไปตลอดชีวิตบนโลกนี้ จิตใจของมนุษย์ต้องอาศัยร่างกายรับรู้ถึงอารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต แต่ข้อเท็จจริงของเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมนุษย์นั้นทั้งจริงและเท็จ เมื่อชีวิตมนุษย์มีข้อจำกัดของการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายและมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตจึงตกอยู่ในความมืดมนของความไม่รู้ตลอดไป ทำให้พวกเขาขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต
ดังนั้น ในสมัยพุทธกาล เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะศาสตร์ เป็นนักปรัชญา เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เล่าสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พวกเขาจึงไม่สามารถใช้เหตุผล ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักปรัชญา ในการอธิบายความจริงว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จได้ เมื่อตัดสินใจผิดพลาดเพราะความไม่รู้ จะทำให้ชีวิตและทรัพย์สินเสียหายซึ่งมีมูลค่ามหาศาล
เมื่อเกิดปัญหาจากความไม่รู้ของมนุษย์ เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ผ่านอายตนะภายในร่างกายเข้ามาในชีวิต มนุษย์บางคนในโลกเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มักแสดงทัศนะของตนเองเกี่ยวกับความจริงในเรื่องนั้น ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง การใช้เหตุผลของนักตรรกะศาสตร์และนักปรัชญา อาจจะใช้เหตุผลในบางครั้งถูกบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลผิดบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เมื่อความจริงของการใช้เหตุผลอธิบายคำตอบยังไม่ชัดเจนว่า เป็นอย่างไร วิญญูชนย่อมไม่เชื่อว่าเป็นความจริงนั้น เป็นต้นเพื่อแก้ปัญหาความไม่รู้ของมนุษย์ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าเมื่อได้ยินเท็จจริงในเรื่องมิให้เชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องทันทีควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์ โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนข้อเท็จจริงเรื่องสวนลุมพินีที่รื่นรมย์เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ เล่มที่ ๓๓ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกายอปทาน ๖.กาฬุทายีเถราปทาน ข้อที่ [๑๘๓] "ครั้งนั้นเจ้าชายสิทธัตถะผู้ทรงเป็นผู้องอาจกว่านรชนได้ประสูติแล้วที่สวนลุมพินีที่รื่นรมย์ เพื่อเกื้อกูลและเพื่อความสุขแก่สัตว์โลกทั้งมวล"
แม้ว่าผู้เขียนจะเคยได้ยินว่า สวนลุมพินีที่รื่นรมย์เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณก็ตาม ยังมีชาวพุทธอีกหลายร้อยล้านคนทั่วโลกที่ไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง และสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง เพราะไม่เคยไปแสวงบุญที่สวนลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมื่อความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสวนลุมพินีอันสวยงามแห่งนี้ เราจะตัดสินได้อย่างไรว่า ความงามของสวนลุมพินีในประเทศเนปาลนั้น สามารถรับรู้ได้ผ่านการปฏิบัติบูชา ? เราต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการรวบรวมหลักฐาน มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ผู้เขียนกล่าวข้างต้นยังคงเป็นที่น่าสงสัย

ผู้เขียนชอบแสวงหาความรู้เกี่ยวกับความงามของส่วนลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติบูชา (The beauty of Lumphini Park, Nepal can be reached by worshiping) ได้ในด้านแนวคิดสุนทรียศาสตร์ ผู้เขียนต้องพิจารณาข้อท็จริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมไว้ในจิตใจโดยตรง เพราะผู้เขียนเคยไปแสวงบุญที่สวนลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้ามาเป็นเวลานานหลายปี จึงได้วิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผล มาอธิบายความงดงามเกิดขึ้นในจิตใจของผู้เขียนเอง คำตอบที่ได้มาจากวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ผ่านประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของผู้เขียนนั้น ช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้ความเข้าใจถึงความงดงามที่มีอยู่ในจิตของผู้เขียน หรือ ผู้มาปฏิบัติบูชาในสวนลุมพินีที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ต่างมีความปิติสุขและความสุขในใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ไป เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น