The patronage of Buddhism came from the faith of King Bimbisara
มีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังนี้
๑.ศรัทธาของพระเจ้าพิมพิสาร
ปัญหาคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรื่องศรัทธาของพระเจ้าพิมพิสารนี้ เป็นความจริง หลังจากที่ผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานต่าง ๆ แล้ว เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์เสด็จไปตามเส้นทางการค้าโบราณจากกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสักกะ ผ่านเมืองกุสินาราแห่งแคว้นมัลละ เมืองพาราณสีแห่งแคว้นกาสีและเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ ในเวลานั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงเห็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะเสด็จออกไปบิณฑบาต เพื่อหาเลี้ยงชีพโดยอาศัยศรัทธาของชาวเมืองราชคฤห์ แต่ลักษณะของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ก็คือพระองค์ทรงมีพระวรกายสูงใหญ่กว่าชาวเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงพิจารณาพระวรกายของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ และเห็นว่าพระองค์ทรงมิใช่นักบวชมาจากวรรณะต่ำ การปรากฏตัวของพระองค์ต่อหน้าชาวเมืองราชคฤห์ จึงเป็นหัวข้อที่ชาวเมืองราชคฤห์พูดคุยกันอย่างกว้างขวาง
ดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๕ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ๓. มหาวรรค ๑.ปัพพัชชาสูตร
ข้อ.๔๑๒ พระเจ้าพิมพิสารประทับอยูบนปราสาท ทรงได้ทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะพระองค์นั้น ครั้นทรงได้เห็นพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึงได้ ตรัสดังนี้
ข้อ.๔๑๓ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านจงพิจารณาภิกษุรูปนี้เถิด ภิกษุรูปนี้มีรูปร่างงดงามสมส่วน เยื้องย่างโดยสำรวมและทอดสายตาเพียงชั่วแอก
ข้อ.๔๑๔ มีจักษุทอดลงมีสติภิกษุรูปนี้ หาเหมือนผู้ออกบวชจากพวกตระกูลต่ำไม่ ราชทูตจึงไปสืบให้รู้ว่า พระภิกษุรูปนี้จะจาริกไปไหนและพักอยู่ที่ไหน....
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงเปี่ยมด้วยความศรัทธาจึงเสด็จไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ที่เชิงเขาปัณฑวะ เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงสนทนากัน และทรงซักถามถึงความเป็นมาของพระโพธิสัตว์พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระโพธิสัตว์สิทธัตถะประสูติในวรรณะกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์ศากยะ เป็นผู้ปกครองแคว้นสักกะ ซึ่งอยู่ติดกับเทือกเขาหิมาลัยและแคว้นโกศล เป็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ พระเจ้าพิมพิสารทรงเห็นว่าพระวรกายของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะยังทรงพระเยาว์ จึงทรงตัดสินพระทัยยกดินแดนอันกว้างไกลบางส่วนให้พระโพธฺสัตว์สิทธัตถะทรงปกครอง แต่พระองค์ทรงกลับปฏิเสขเพราะพระองค์ทรงตั้งปณิธาณ ในการออกผนวช เพื่อแสวงหาความจริงของชีวิต
ดังหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๕ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ๓. มหาวรรค ๑.ปัพพัชชาสูตร
ข้อ.๔๒๐ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับคำของราชทูตแล้ว ทรงเสด็จไปยังภูเขาปัณฑวะโดยพระราชพาหนะชั้นเยี่ยม
ข้อ.๔๒๑ ท้าวเธอได้เสด็จไปจนสุดทางที่พระราชพาหนะจะสามารถไปได้จึงเสด็จลงจากพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระบาทเข้าไปถึงปัณฑวะบรรพตแล้วประทับนั่ง
ข้อ.๔๒๒ ท้าวเธอประทับนั่งแล้ว ได้ทรงสนทนาปราศรัยเป็นธรรมเนียมระลึกถึงกัน ครั้นผ่านการสนทนาปราศัยแล้ว ได้ตรัสดังนี้ว่า
ข้อ.๔๒๓ พระคุณเจ้ายังหนุ่มแน่น เพิ่งผ่านปฐมวัยเมื่อไม่นานมานี้ถึงพร้อมด้วยความผุดผ่องแห่งวรรณธเหมือนกษัตริย์สุขุาลชาติ
ข้อ.๔๒๔ ข้าพเจ้าจะมอบโภคสมบัติให้ ขอท่านจงเป็นจอมทัพแห่งหมู่พลกายให้งดงามบริโภคสมบัติออยู่เถิดพระคุณเจ้าจงบอกชาติกำเนิดด้วยเถิด
ข้อ.๔๒๔ (พระพุทธองค์ทรงตรัสดังนี้) มหาบพิตรมีชนบทแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในแคว้นโกศลตรงด้านข้างหิมวันต์ประเทศ เป็นเมืองมั่งคั่ง ประชาชนขยันขันแข็ง เป็นต้น
๒.สร้างวัดเวฬุวันมหาวิหารเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานแล้ว ได้ยินข้อเท็จจริงว่า เมื่อพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ (enlightened) กฎของธรรมชาติเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ว่า ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณ พระองค์ทรงมีญาณทิพย์เหนือมนุษย์ธรรมดา ทรงเห็นว่าเมื่อตายไปจิตวิญญาณ ก็จะออกจากร่างกายไปเกิดใหม่ยังภพภูมิอื่นอย่างไม่สิ้นสุดในสังสารวัฏ เมื่อดวงวิญญาณมาปฏิสนธิในครรภ์มารดา ก็จะคลอดออกมาเป็นมนุษย์คนใหม่ พระพรหมและพระอิศวรจึงไม่ได้สร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์ ตามคำสอนของพราหมณ์แต่อย่างใด เมื่อโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาต้อนรับพระพุทธเจ้าพร้อมกับประชาชน ๑๒๐,๐๐๐ คน เมื่อพระองค์ทรงฟังพระธรรมเทศนาเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา และถวายพระอุทยานเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ๑ เรื่องทรงรับพระเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรก [๕๙]................ เป็นต้น
๓.การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา
ปัญหาคือ"เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้าพิมพิสารทรงปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง" เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ พบข้อความว่าเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันที่ชายแดนของแคว้นมคธกับแคว้นวัชชี ณ เมืองปัฏตาลีบุตร พระเจ้าพิมพิสารทรงมีพระบัญชาให้แม่ทัพส่งกำลังพลไปปราบข้าศึกที่ชายแดน แต่แม่ทัพเหล่านั้นวิตกกังวลว่า การส่งกองทัพไปรบจะต้องฆ่าศัตรู ถือเป็นการกระทำที่เป็นบาป จึงพากันหลีกเลี่ยงการยกกองทัพไปเพื่อเอาชนะศัตรู อ้างว่าการทำสงครามกับศัตรูที่ชายแดนเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายของชีวิต (อกุศลกรรม) ก็ควรละเว้นจากกรรมชั่วต่างก็เข้าไปขออุปสมบท พระอุปัชฌาย์จึงอุปสมบทให้กับแม่ทัพเหล่านั้น
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบปัญหาแล้วพระองค์จะทรงตัดสินพระทัยลงโทษประหารชีวิตได้ แต่พระองค์มิได้ทรงลงโทษภิกษุเหล่านั้นทันที พระองค์กราบทูลขอพระพุทธองค์ทรงงดเว้นอนุญาตให้เหล่าราชภัฏบรรพชา พระพุทธองค์ทรงได้กำหนดพระวินัยห้ามพระอุปัชฌาย์อุปสมบทเหล่าราชภัฏ หากพระอุปัชฌาย์ฝ่าฝืนพระวินัยก็ต้องถูกลงโทษอาบัติทุกฏ ข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกแสดงให้เห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา และสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทรงจัดประชุมปรึกษาหารือ กับคณะสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ทรงมิได้ตัดสินปัญหาโดยใช้หลักการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ พระเจ้าพิมพิสารทรงใช้ความรู้นี้ในการตัดสินพระทัย ที่จะออกกฎหมายคุ้มครองพระพุทธศาสนาและในขณะเดียวกันพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยไว้เป็นหลักบริหารคณะสงฆ์ต่อไป ดังหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่๔ มหาวรรค ภาค๑ [๙๐]................เป็นต้น
๔. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พระเจ้าพิมพิสารทรงเสนอให้มีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน ฟังข้อเท็จจริงได้ว่าการเผยแผ่ศาสนาในแคว้นมคธนั้น มิได้มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีพวกปริพาชกเดียรถีย์ประชุมกันเพื่อแสดงธรรม คนเหล่านั้นได้ความรักความเลื่อมใสในพวกเดียรถีย์ ทำให้เกิดสาวกขึ้นมากมายในศาสนาพราหมณ์ พระเจ้าพิมพิสารทรงเสนอต่อพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อแสดงพระธรรมเทศนาต่อชาวมคธ เพื่อฟังธรรมนำไปปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อการบรรลุธรรมต่อไป................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น