A Dialectical Approach to the Search for Knowledge on the Patronage of Buddhism
เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยการตั้งคำถาม เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งตั้งคำถามในเรื่องนั้นว่า จะยอมรับข้อเท็จจริงหรือปฏิเสขข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ตัวอย่างเช่น เจ้าชายสิทัตถะตรัสถามว่าภัคควะมีสมณพราหมณ์บางพวกประกาศทฤษฎีว่าต้นกำเนิดของโลก ตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง เราจึงเข้าไปอย่างนี้ว่า "ทราบว่าท่านทั้งหลายบัญญัติทฤษฎีว่าด้วยตนกำเนิดของโลก ตามลัทธิอาจารย์์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างจริงหรือ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น เราจึงถามต่อไปว่าพวกท่านประกาศทฤษฎีว่าต้นกำเนิดของโลก ตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง มีความเป็นมาอย่างไร ? เป็นต้น สมณพราหมณ์เหล่านี้ถูกเราอย่างนี้แล้วแล้วตอบไม่ได้
ตามบทสนทนาระหว่าเจ้าชายสิทธัตถะกับภัควะพราหมณ์นั้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามภควะพราหมณ์ในข้อเท็จจริงที่ว่า สมณพราหมณ์บางพวกประกาศทฤษฎีว่า ต้นกำเนิดของโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลกเป็นลักษณะคำถามนำก่อน เพื่อให้พวกเขายอมรับข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริงหรือปฏิเสขข้อเท็จจริงว่าไม่ใช่ความจริงในเรื่องนี้ เมื่อสมณพราหมณ์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริงแล้ว พระองค์ตรัสถามข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่า พระอิศวรเป็นผู้สร้าง ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง มีความเป็นมาอย่างไร ? เมื่อสมณพราหมณ์เหล่านั้นถูกเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามเช่นนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่มีใครตอบคำถามของพระองค์ได้ว่าพระพรหมและอิศวรมีความเป็นมาอย่างไร ? เป็นต้น
เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ในลักษณะถามตอบเชิงปฏิเสขที่มีการยอมข้อเท็จจริงในตอนแรกที่อ้างว่า พระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างโลกจริงแต่ไม่รู้ว่าเทพเจ้าเหล่านั้นมีที่มาอย่างไร ? ข้อเท็จจริงเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พวกเขาไม่มีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตของตัวเอง ข้อเท็จจริงที่เขานำมาให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้แสดงว่าเป็นความรู้ที่ได้ยิน ได้ฟังมา อ่านจากคัมภีร์ใดคันภีร์หนึ่ง มิใช่จากการปฏิบัติบูชายัญโดยตรง เมื่อคำให้การของพวกเขาจึงขาดความน่าเชื่อถือไม่อาจรับฟัง เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยในการมีอยู่ของพระพรหมและพระอิศวร เป็นต้น ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกผนวช เพื่อแสวงความจริงในเรื่องการมีอยู่ของเทพเจ้า
ปัญหาคือว่าเราจะรู้ได้อย่างไรการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสารเกิดขึ้นจริง ?
เมื่อนักญาณวิทยาสร้างทฤษฎีความรู้ขึ้นมาหลายทฤษฎี เพื่อใช้เป็นวิธีแสวงหาความรู้ที่แท้จริงในเรื่องต่าง ๆ นั้น ผู้เขียนจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตความรู้เกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาโดยเลือกทฤษฎีความรู้เพียงทฤษฎีเดียวเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าความจริงในเรื่องนี้ เป็นวิธีแสวงหาความรู้ตามกระบวนการพิจารณาความจริงพระพุทธเจ้าเท่านั้น โดยมีจุดเริ่มต้นด้วยการตั้งประเด็นว่า พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเวลากว่า๒,๕๐๐ ปีแล้ว จากการฟังธรรมเทศนา การอ่านหนังสือ การเขียนตำราและบรรยายตามตำรา แล้ว แม้เราจะยอมรับความจริงข้อนี้โดยปริยายก็ตาม แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เราไม่ควรเชื่อข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ยินสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ให้ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ และรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียง มาวิเคราะห์โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสารนี้ให้ชัดเจน
เมื่อจิตใจของมนุษย์อาศัยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ นั้น มีข้อจำกัดในการรับรู้ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีที่แล้ว และมนุษย์มักมีอคติต่อผู้อื่น ชีวิตย่อมตกอยู่ในความมืดมนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงคิดหาเหตุผลมาอธิบายข้อเท็จจริงที่ผ่านเข้าในชีวิตไม่ได้ เพราะความไม่รู้ของตนเอง จึงขาดความเข้าใจชีวิตของตนเอง เมื่อชีวิตขาดการเรียนรู้ที่จะเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ย่อมเกิดความอิจฉาและริษยาผู้อื่น ที่ไม่สนองความต้องการของตนด้วยความรักและความเสน่หา นอกจากนี้ มนุษย์ที่อยู่ด้วยกันในสังคม มักจะช่วยเหลือกันในทางที่ผิด การอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ จึงไม่มีเหตุผลที่อธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ให้ตนเองเข้าใจข้อเท็จจริงของนั้นที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ ทำให้เกิดความริษยาต่อผู้อื่นที่ไม่สนองความต้องการทางอารมณ์ของตนเองด้วยความรักและความเสน่หา เมื่อมีอคติต่อผู้อื่นมักจะช่วยเหลือกันในทางที่ผิด เป็นต้น แต่ผู้เขียนก็ชอบที่จะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระเจ้าพิมพิสาร โดยผู้เขียนจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อพิสจน์ความจริงกันต่อไป
ปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาครั้งแรกในพระไตรปิฎก(ตอน๖) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (ยังมีต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น