The problems of the truth about the first patronage of Buddhism in Tripitaka
เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงการอุปถัมภ์ของพระเจ้าพิมพิสารต่อพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก ในสมัยพุทธกาลนั้น พราหมณ์บางคนซึ่งเป็นนักตรรกะ หรือนักปรัชญา มักจะแสดงทัศนะในเรื่องนี้ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผลและคาดคะเนความจริง โดยใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาและนักตรรกะ อธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้ก็ตาม แต่นักตรรกะและนักปรัชญาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง โดยธรรมชาติของมนุษย์มักจะมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองและมักมีอคติต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้ชีวิตมืดมน จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต แม้ว่าพวกเขาจะมีทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผล แต่การใช้เหตุผลของพวกเขาในการอธิบายความจริงในเรื่องต่างๆ นั้น บางครั้งมักจะใช้เหตุผลถูกบาง อาจใช้เหตุผล ตามเอกสารหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ นั้น
นักปรัชญาถือว่าเป็นปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตามหลักวิชาการทางปรัชญา เมื่อผู้ใดกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดว่าเป็นความจริง ? จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ถ้าไม่มีการพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น นักปรัชญาถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ยินมานั้น ขาดความน่าเชื่อถือและไม่ยอมรับข้อเท็จจริงจากพยานปากเดียวที่ให้ข้อเท็จจริงนั้นว่าเป็นความจริงได้ เพราะอวัยวะอินทรีย์ ๖ ของมนุษย์มีขอบเขตการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสที่จำกัด จึงไม่สามารถรับรู้ข้อเท็จจริงที่อยู่นอกเหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของตนเองได้ เนื่องจากขาดการพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองตามอริมรรคมีองค์ ๘ จึงไม่มีญาณทิพย์เหนือนุษย์ทั้งปวง เช่น พระพุทธเจ้าทรงเห็นดวงวิญญาณออกจากร่างกายของคนตายไป, ทรงบรรลุสภาวะปรินิพพาน เป็นต้น และมนุษย์มีอคติต่อกันจึงมีอารมณ์มืดมิดในจิตใจตลอดเวลาเช่น ความโกรธ ความเกลียด ความพยาบาท ความรักใคร่และชิงชังต่อกันตลอดเวลา ดังนั้น มนุษย์จึงไม่เห็นสัจธรรมของชีวิต ตามหลักวิชาการทางปรัชญาแบ่งความจริงออกเป็น ๒ ลักษณะด้วยกันคือ
๑. ความจริงที่สมมติขึ้น มันคือสิ่งที่มนุษย์ยอมรับโดยปริยายว่าเป็นความจริง โดยไม่คำนึงถึงสภาวะที่แท้จริงของมัน เช่น สมมติเทพ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์และนรก เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์อาศัยอยู่บนดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ มันคือสิ่งพวกเขายอมรับโดยปริยายว่า เป็นความจริงและสมมติขึ้นมาว่า "โลก" โดยไม่คำนึ่งสภาวะที่แท้จริงของมันว่า โลกนี้มิใช่แต่มนุษย์อาศัยอยู่ยังมีสัตว์น้อยใหญ่ชนิดอื่นอาศัยอยู่เช่นกัน เป็นต้น นอกจากนี้สิ่งที่มนุษย์สมติขึ้น มีลักษณะเกิดขึ้น ดำรงสภาวะชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสื่อมสลายไป ก่อนสภาวะเหล่านั้จะหายไป มนุษย์สามารถใช้อวัยวะอินทรีย์ ๖ ของร่างกายในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นหรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุ น้ำท่วม ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ส่วนเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้นเช่น สงครามล้างเผ่าพันธ์ุในต่างประเทศ, เหตุการณ์ที่คนร้ายกราดยิงนักเรียนตายในโรงเรียนในต่างประเทศ หรือหลอกเล่นแชร์จนคนได้รับความเสียหายหลายพันคน หรือเสนอกฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เป็นต้น เมื่อรับรู้แล้ว จิตใจของมนุษย์จะดึงดูดอารมณ์ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์เป็นหลักฐานทางอารมณ์และสั่งสมไว้ในจิตใจ ก็จะสมมติชื่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นให้นั้นคืออะไรเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เหล่านี้อยู่ภายใต้อำนาจของกฎไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้น ความตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป ตามหลักปรัชญาถือว่าเป็นความรู้ในระดับประสาทสัมผัสเท่านั้นตัวอย่างเช่น พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นมนุษย์ในระดับอริยบุคคลขั้นโสดาบัน ชีวิตของพระองค์ทรงประสูติที่เรียกว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่เป็นมนุษย์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง และเสด็จสวรรคตก่อนพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานเพียง ๒ ปีเท่านั้น ดังนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นมนุษย์พระองค์หนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปตามกฎไตรลักษณ์ ตามหลักปรัชญาถือว่าพระองค์ทรงเป็นความจริงที่สมมติขึ้น หรือพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงเป็นพระอริยบุคคลในระดับพระอรหันต์ พระองค์ทรงประสูติที่สวนป่าลุมพินีแห่งแคว้นสักกะ(ที่เรียกว่าเกิดขึ้น) ทรงตั้งอยู่เป็นระยะเวลา ๘๐ ปี และเสื่อมสลายไปตามกฎแห่งธรรมชาติที่เรียกว่าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อชีวิตของพระองค์สามารถรับได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ ตามหลักปรัชญาถือว่าชีวิตพระศายมุนีพุทธเจ้า ทรงเป็นที่สมมติขึ้น เป็นต้น
๒.ความจริงขั้นปรมัตถ์หรือสัจธรรม คือความจริงอันเป็นที่สุดที่มีความลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้หรือความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ หลักทั่วไปแล้ว ธรรมชาติของมนุษย์นั้น มนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองเพราะยังไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพชีวิตให้มีความรู้ในระดับอภิญญา ๖ จึงไม่สามารถรับรู้ความจริงอันเป็นที่สุดหรือความจริงขั้นปรมัตถ์ได้ เช่นสภาวะนิพพานได้ เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการรับรู้และมนุษย์มีความเห็นแก่ตัว จึงมักมีอคติต่อกันมีสาเหตุมาจากความโง่เขลา, ความกลัว, ตวามรักใคร่, ความเกลียดชัง เป็นต้นทำให้ชีวิตพวกเขาอยู่ในความมืดมิด แม้นักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อหาความรู้ในอวกาศ จนค้นพบคลื่นวิทยุ และค้นคว้าความจริงในขั้นปรมัติ แต่ก็ยังไม่หลักฐานปรากฏว่าว่านักวิทยาศาสตร์ค้นพบความจริงในขั้นปรมันถ์ได้ เว้นแต่ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ทรงใช้เวลาหลายปีค้นพบวิธีการปฏิบัติตามอริมรรคมีองค์ ๘ และเกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์ เห็นดวงวิญญาณของมนุษย์ออกจากร่างคนตายไปเกิดอีกโลกหนึ่ง เป็นต้น ดังนั้น ความรู้ขั้นปรมัตถ์ จึงเป็นความรู้ที่เป็นความจริงที่สุดและอยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์จะรับรู้ได้ เว้นผู้นั้นจะพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้นจนกระทั่งบรรลุถึงความจริงระดับอภิญญา ๖ ได้
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอุถัมภ์พระพุทธศาสนา เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงไม่สามารถปฏิรูปสังคมในแคว้นสักกะผ่านกระบวนการของรัฐสภาศากยวงศ์ ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองของอาณาจักรสักกะได้เพราะรัฐสภาแห่งชาติศากยวงศ์ลงมติคัดค้านกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยการยกเลิกวรรณะตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอให้พิจารณา เนื่องจากขัดต่อหลักกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองแคว้นสักกะ (Sakka country) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงพิจารณาแล้วว่า แม้ชาวแคว้นสักกะจะเชื่อการมีอยู่ของพระพรหมและอิศวร แต่ไม่มีใครมีความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของตน แม้พราหมณ์ในฐานะปุโรหิตจะได้ให้การยืนยันว่าเห็นพระพรหมและพระอิศวรในแคว้นสักกะมาก่อน ก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นมาอ้างล้อย ๆ แต่ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนี้เลย
ดังนั้นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงหักล้างคำสอนของศาสนาพราหมณ์ที่พราหมณอารยันสอนว่า พระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามที่ของวรรณะตน เป็นต้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทดสอบความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ได้คำตอบเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงดำริในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และทรงนำหลักปฏิจจสมุปบาทเพื่ออธิบายในรูปแบบของหลักอริยสัจ ๔, วิชชา๓, กรรม, ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ต่อมาเรียกว่าตำบลสารนารถ อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย คำสอนอริยสัจ ๔ คือความรู้ที่แที่จริงของชีวิตมนุษย์ทุกคนและผ่านกฎเกณฑ์การตัดสินอย่างมีเหตุมีผล โดยไม่ต้องสงสัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์อีกต่อไปและทนทานต่อการพิสูจน์มานานกว่า ๒,๕๐๐ ปี แม้นักปรัชญาจะหยิบยกยกข้อเท็จจริงอื่นใดมาโต้แย้งและหักล้างการพิสูจน์ความจริงตามหลักอริยสัจจ์ ๔ อย่างไม่ต้องสงสัย ได้ผลของการปฏิบัติแบบเดียวกันคืออภิญญา ๖ เป็นต้น
การอุปถัมภ์พระพุทธเจ้าครั้งแรกด้วยศรัทธาของพระเจ้าพิมพิสาร

เมื่อผู้เขียนตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๒๕ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ .๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ๓. มหาวรรค ๑.ปัพพัชชาสูตร
ข้อ. ๔๑๒ พระเจ้าพิมพิสารประทับอยูบนปราสาทได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้นทรงได้เห็นพระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะจึงได้ตรัสดังนี้
ข้อ. ๔๑๓ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านจงพิจารณาภิกษุรูปนี้เถิด ภิกษุรูปนี้มีรูปร่างงามสมส่วน เยื้องย่างโดยสำรวมและทอดสายตาเพียงชั่วแอก
ข้อ. ๔๑๔ มีจักษุทอดลง มีสติภิกษุรูปนี้ หาเหมือนผู้ออกบวชจากพวกตระกูลต่ำไม่ ราชทูตจึงไปสืบให้รู้ว่า พระภิกษูรูปนี้จะจาริกไปไหน และพักอยู่ที่ไหน .........
ข้อ. ๔๒๐ พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับคำของราชทูตแล้วทรงรีบเสด็จไปยังภูเขาปัณฑวะ โดยพระราชพาหนะชั้นเยี่ยม
ข้อ. ๔๒๑ ท้าวเธอได้เสด็จไปจนสุดทางที่พระราชพาหนะจะสามารถไปได้จึงเสด็จลงจากพระราชพาหนะ เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปถึงปัณฑวบรรพตแล้วประทับนั่ง ข้อ. ๔๒๒ ท้าวเธอประทับนั่งแล้วได้ทรงสนทนาปราศัยเป็นธรรมเนียมระลึกถึงกัน ครั้นผ่านการสนทนาปราศัยแล้ว ได้ตรัสดังนี้ว่า
ข้อ. ๔๒๓ พระคุณะเจ้ายังหนุ่มแน่น เพิ่งผ่านปฐมวัยเมื่อไม่นานมานี้ถึงพร้อมด้วยความผุดผ่องแห่งวรรณะเหมือนกษัตริย์สุขุมาลชาติ
ข้อ. ๔๒๔ ข้าพเจ้าจะมอบโภคสมบัติให้ขอท่านจงเป็นจอมทัพแห่งหมูพลกายให้งดงาม บริโภคสมบัติอยู่เถิดพระคุณเจ้าจงบอกชาติกำเนิดด้วยเถิด
ข้อ. ๔๒๕ (พระพุทธองค์ทรงตรัสดังนี้) มหาบพิตรมีชนบทแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในแคว้นโกศลตรงด้านข้างหิมวันตประเทศ เป็นเมืองที่มั่งคั่ง ประชาชนขยันขันแข็ง
ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ ข้างต้น ผู้เขียนได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ผนวชเป็นพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ และเสด็จจาริกไปตามเส้นทางการค้าโบราณผ่านเมืองกุสินารา เมืองพาราณสี และเมืองราชคฤห์ในสมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงทอดพระเนตรเห็นพระสิทธัตถะโพธิสัตว์เสด็จออกบิณฑบาตรยังชีพโดยอาศัยข้าวจากชาวเมืองราชคฤห์ แต่พระสิทธัตถะโพธิสัตว์ทรงมีปุริสลักษณะมิใ่ช่นักบวชจากพวกตระกูลต่ำ และมีชื่อเสียงในหมู่ชาวราชคฤห์ ทำให้พระเจ้าพิมพิสารทรงเกิดศรัทธาต่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะ เมื่อพระองค์ทรงเสด็จเข้าเฝ้าพระสิทธัตถะโพธิสัตว์และทรงสนทนาถึงความเป็นมาของพระโพธิสัตว์ พระเจ้าพิมพ์สารได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระสิทธัตถะพระโพธิสัตว์ประสูติในวรรณะกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ อยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงแห่งสักกะติดกับเทือกเขาหิมาลัยและทรงตัดสินพระทัยยกสมบัติให้พระองค์ แต่พระองค์ทรงปฏิเสขเพราะมิใช่แนวทางของพระองค์ทรงผนวช เพราะพระองค์ทรงแสวงหาสัจธรรมของชีวิตเท่านั้น (ยังมีต่อ)
บรรณานุกรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น