Epistemological problems regarding reasons why Prince Siddhartha was ordained. (Episode2)
ชาวพุทธทั่วโลกเคยได้ยินเรื่องเล่าว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อไปผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ เพราะพระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการคือ ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เป็นต้น ซึ่งชาวพุทธส่วนใหญ่่ได้ยินเรื่องนี้ มาจากพระธรรมเทศนาของพระภิกษุนิกายเถรวาทและมหายานตามวัดต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งพระภิกษุเหล่านี้ได้อธิบายถึงสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะผนวชเป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่ชาวพุทธได้ยินกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลจวบจนปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๒,๖๐๐ ปี เมื่อชาวพุทธได้ฟังความจริงของเรื่องนี้แล้ว ต่างก็ยอมรับโดยปริยายไม่สงสัยอีกต่อไป อาจเป็นเพราะชาวพุทธมีความศรัทธาในพระรัตนตรัยคือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งอันประเสริฐ เชื่อว่าการทำบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนานั้น เพียงพอแก่ชีวิต เมื่อทำความดี แล้วได้รับผลดีตอบแทน เมื่อตายไปแล้ว ดวงวิญญาณจะไปสวรรค์ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะสามารถปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้บรรลุธรรม คือ ปัญญาญาณระดับอภิญญา ๖ เป็นต้น
ในยุคทองของศาสนาพราหมณ์ ทุกแคว้น (country)ในอนุทวีปอินเดีย มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มีระบบการปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยทุกประเทศแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ารัฐศาสนาพราหมณ์ (Brahmanic Religion State ) โดยการนำความรู้จากศาสนาพราหมณ์บัญญัติเป็นกฎหมายวรรณะโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้า เช่น พระพรหมที่สร้างมนุษย์จากร่างกายของพระองค์เอง และสร้างวรรณะให้มนุษย์ที่พระพรหมสร้างขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้คนดำเนินชีวิตด้วยความหวัง เพราะศรัทธาในเทพเจ้าหลายองค์ สามารถช่วยให้ผู้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานได้ โดยการบูชายัญของพราหมณ์ในวัดต่าง ๆ ทั่วอนุทวีปอินเดีย
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำสอนของพราหมณ์จึงถูกบัญญัติขึ้นทั้งคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ ก็ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เมื่อมีการบัญญัติกฎหมายวรรณะ ประชาชนต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กล่าวคือห้ามมีเพศสัมพันธ์กับผู้คนวรรณะอื่นและการทำหน้าที่ของวรรณะอื่น อย่างไรก็ตาม พวกเขาเป็นปุถุชนที่ขาดการศึกษา จึงไม่มีศรัทธาต่อตนเองว่าทักษะความสามารถในการเรียนเท่าเทียมคนอื่นได้ ไม่มีความพากเพียรในการศึกษาหาความรู้ต่าง ๆ ไว้เป็นความรู้ติดตัวไปใช้ในการดำเนินชีวิต จึงไม่มีสติระลึกถึงความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่มีสมาธิแน่วแน่ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของชีวิต และขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของชีวิตที่ว่า หากพวกเขากระทำความผิดต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ พวกเขาจะถูกลงโทษโดยสังคม พวกเขาถูกตัดขาดจากสถานะทางสังคมดั้งเดิมของพวกเขา ที่เคยมีตามสิทธิและหน้าที่ของกฎหมายวรรณะ โดยอ้างว่าพระพรหมลงโทษพวกเขาซึ่งเรียกว่า "พรหมทัณฑ์" พวกเขาถูกขับออกจากสังคมเดิมตลอดชีวิต
ในสมัยพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นตัวอย่างให้มนุษย์รู้จักพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเอง เพื่อบรรลุถึงความจริงขั้นปรมัตถ์ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ของมนุษย์ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบวิธีพิจารณาความจริงของความจริงที่สมมติขึ้น และการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อบรรลุถึงความจริงขั้นปรมัตถ์ของชีวิตในยุคหลังพุทธกาล เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตจากราชอาณาจักรโมริยะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตกนักปรัชญาตะวันตก ได้นำความรู้ทางพระพุทธศาสนาไปบูรณการ (Integrate) กับปรัชญาตะวันตกโดยเฉพาะการใช้เหตุผลทางพุทธศาสนา เพื่ออธิบายความรู้อยู่เหนือการรับรู้ของมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่ออธิบายความจริงที่อยู่เหนือการมีอยู่ของเทพเจ้า อย่างไรก็ตาม สังคมในโลกตะวันตกยังคงมืดมนอยู่ เพราะนักปรัชญาตะวันตกใช้หลักการใช้เหตุผลในพระพุทธศาสนา เพื่ออธิบายความจริงของชีวิตมนุษย์และสร้างความเข้าใจที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับปรัชญาตะวันตก แต่การใช้เหตุผลนั้นเป็นเพียงทฤษฎีความจริงเท่านั้น เมื่อชาวตะวันตกไม่มีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เพื่อเข้าถึงความจริงขั้นปรมัตถ์การศึกษาหลักการใช้เหตุผลทางปรัชญา เป็นการศึกษาภาคทฤษฎีมิใช่หลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริง พวกเขาก็ไม่สามารถบรรลุความจริงแห่งชีวิตได้ ผู้คนในโลกตะวันตกจึงยังคงดำเนินชีวิตอยู่ในความมืดมนต่อไป
ในยุคของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ เมื่อการใช้เหตุผลในปรัชญาตะวันตกนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของการคิดแบบมีเหตุผล แต่การคิดแบบมีเหตุผลของนักปรัชญาและนักตรรกะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ตาม ก็คือการแสดงแนวคิดเกี่ยวกับความจริง โดยปฏิภาณของตนตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงเท่านั้น แต่การใช้เหตุผลของนักปรัชญาและนักตรรกะนั้น บางครั้งอาจใช้เหตุผลถูกบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลผิดบ้าง บางครั้งอาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนั้น บางครั้งอาจใช้เหตุผลเป็นอย่างนี้ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากนักปรัชญาและนักตรรกะซึ่งเป็นมนุษย์มีธรรมชาติของอายตนะภายในร่างกาย ซึ่งมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ มนุษย์ยังมีอคติต่อผู้อื่นเนื่องจากความไม่รู้ ความกลัว ความเกลียดชัง และความรัก เป็นต้น พวกเขามักจะยืนยันในข้อเท็จจริงเพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชีวิตของพวกเขาจึงมืดมน ขาดความสามารถในการใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้
เมื่อนักปรัชญาอินเดียโบราณ มักจะอธิบายความจริงตามปฏิภาณของตนเอง การใช้เหตุผลของพวกเขาอาจผิดบ้าง อาจถูกบ้างก็ได้ เป็นต้น เมื่อยุคทองของศาสนาพราหมณ์เป็นยุคความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเจ้าและผู้คนยอมรับความจริงโดยปริยาย โดยไม่มีเหตุที่พวกเขาจะสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ต่อไป แต่คำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะ ซึ่งห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะและปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่นได้กำหนดมีบทลงโทษตามกฎหมายวรรณะเรียกว่า "พรหมทัณฑ์" แก่ผู้กระทำความผิดตลอดชีวิต พวกเขาต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมของตน พวกเขาไม่สามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมในสังคมได้ ที่สำคัญกฎหมายวรรณะให้อำนาจแก่คนในสังคมตรวจสอบซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ส่งผลให้เกิดการลงโทษผู้กระทำผิดและมีคนไร้บ้่านจำนวนมากคนเหล่านี้ถูกเรียกว่า "จัณฑาล" เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาของพวกจัณฑาลที่ต้องเผชิญกับวิบากกรรมของชีวิต ต้องอยู่บนท้องถนน แม้จะอยู่ในวัยชรา เจ็บป่วย ตายข้างถนน เพราะความเชื่อทางศาสนา และกฎหมายวรรณะ
การสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักปรัชญา, นักตรรกะมีอายตนะภายในร่างกายมีข้อจำกัดในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ และมีคติต่อผู้อื่น ทำให้ชีวิตมนุษย์เต็มไปด้วยความมืดมน จึงขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงของสิ่งต่าง ๆ จึงไม่สามารถคิดในการใช้เหตุผลเพื่ออธิบายความจริงของสิ่งต่างๆ ได้อย่างสมเหตุสมผล เช่น ดวงดาวที่อยู่ไกลออกไป นักวิทยาศาสตร์สามารถเอาชนะข้อจำกัดของอายตนะภายในร่างกายของตนเองในการรับรู้ความจริงของดวงดาวที่อยู่ห่างไกลออกได้ โดยการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาใช้ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ๆ ต่อไป หรือสร้างกล้องจุลทรรศน์ขึ้นเพื่อดูเชื้อโรคที่เล็กที่สุด ทำให้ขอบเขตความรู้ทางวิทยาศาสตร์กว้างขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และแยกเนื้อหาเหล่านั้น ออกเพื่อสร้างสาขาการศึกษาใหม่ ๆ มากมาย ผลงานวิจัยจำนวนมากที่ได้รับการวิจัยมาก่อน และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ แต่ไม่สามารถสืบสานและต่อยอดความรู้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้นได้
ในยุคต่อ ๆ มานักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อสร้างเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เพื่อสนองความอยากรู้ของคนทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมของการใช้ชีวิต และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ด้วยการใช้เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เข้ามาช่วยจัดการและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ อีกทั้งสามารถดึงข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น รวดเร็วและแม่นยำตามวัตถุประสงค์ของการทำงานที่ตั้งไว้ในระบบ เมื่อความรู้ทางวิชาการของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราได้เห็นข้อจำกัดของความรู้ของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัยซึ่งจะต้องพัฒนาปฏิรูปให้เหมาะสมกับสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป เกิดจากความเห็นของมนุษย์ที่เรียกว่า "มโนกรรม" ทำให้เกิดการกระทำโดยใช้คำพูดที่เรียกว่า "วจีกรรม"และการกระทำโดยใช้ร่างกายที่เรียกว่า "กายกรรม" ต่อมาเมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปมาก วิศวกรคอมพิวเตอร์ก็ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยสร้างแอปพลิเคชั่นขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณและพระไตรปิฎกฉบับหลวง เพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกได้ง่ายขึ้น เพียงพิมพ์คำศัพท์บางคำลงในแอปพลิเคชั่นของพระไตรไตรปิฎกเท่านั้น สามารถค้นหาข้อเท็จจริงที่เราต้องการศึกษาในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ์หลายเล่มได้อย่างง่ายดายขึ้น โดยไม่จำเป็นที่เราต้องอ่านพระไตรปิฎกทุกเล่มอีกต่อไป ไม่ว่า จะเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาพราหมณ์ ความเชื่อเกี่ยวกับการมีอยู่ของเทพเจ้าและพิธีบูชายัญที่เกิดขึ้นในสมัยอินเดียโบราณนั้นอย่างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องอ่านพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม และอรรถกถา ๙๑ เล่มอีกต่อไป
๒.ญาณวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา
โดยทั่วไป มนุษย์ทุกคนมีอายตนะภายในร่างกายของตนเองมีข้อจำกัดในการรับรู้และมนุษย์มักมีอคติต่อกัน ทำให้ชีวิตมนุษย์มืดมน ขาดปัญญาหยั่งรู้ความจริงในการคิดโดยใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ อย่างสมเหตุสมผล เมื่อมนุษย์บางคนเป็นนักตรรกะ เป็นนักปรัชญา มักจะแสดงความเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คนในสังคมสงสัย ตามปฏิภาณของตนเองตามหลักเหตุผล และคาดคะเนความจริง นักตรรกะและนักปรัชญามักใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น บางครั้งถูกบ้าง บางครั้งผิดบ้าง บางครั้งอาจเป็นอย่างนั้น บางครั้งเป็นอาจเป็นอย่างนี้บ้าง เป็นต้น เมื่อข้อเท็จจริงของคำตอบไม่ชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร วิญญูชนเห็นว่าเหตุผลของคำตอบไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถยืนยันความจริงได้ คำตอบในเรื่องนั้นไม่สามารถยอมรับว่าเป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้นได้
นักปรัชญามีความสนใจในศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ โครงสร้างของความรู้ของมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงในการแสวงหาความรู้ ความสมเหตุสมผลของความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นต้น จึงเป็นหน้าที่ของญาณวิทยาสร้างวิธีพิจารณาความจริง โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายคำตอบในปัญหาที่เกิดขึ้นว่า" เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อเท็จจริงที่เราได้ยินเป็นเรื่องจริง?" มีมาตรฐานใดบ้างที่กำหนความรู้ของมนุษย์ว่าข้อเท็จจริงใดเป็นจริงหรือเท็จ ? ความรู้ของมนุษย์คืออะไร ? ลักษณะเฉพาะของความรู้ของมนุษย์คืออะไร ? จำแนกเป็นเชิงอัตนิยมหรือปรนัยนิยม เราจะสร้างความรู้ได้อย่างไร ? ปัจจัยใดที่สร้างความรู้ขึ้น? ในปัญหานี้ นักปรัชญาหลายคนได้ค้นพบวิธีแสวงหาความรู้ที่เป็นสากล ซึ่งทุกคนสามารถใช้เพื่อแสวงหาความจริงได้ผลลัพท์อย่างเดียวกัน โดยสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาความจริงในรูปแบบต่าง ๆ โดยการอนุมานความรู้จากหลักฐาน เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้นในขอบเขตของญาณวิทยา เป็นต้น
๒.๑.ต้นกำเนิดของความรู้ของมนุษย์
โดยทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับปรัชญา พระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เป็นของมนุษย์ แม้เราจะยอมรับความจริงโดยปริยายว่า บุคคลนี้คือนักปรัชญา พระพุทธเจ้าและนักวิทยาศาสตร์ มีวิชาความรู้ในสาขานั้นจริง แต่มนุษย์เป็นสิ่งไม่เที่ยง ความรู้สั่งสมอยู่ในจิตใจก็จะสูญหายไปพร้อมความตายของผู้นั้น เมื่อกลับมาเกิดใหม่พร้อมกับความไม่รู้ เพราะสภาพสังคมที่เกิดมานั้นเปลี่ยนไปจนหมดสิ้นแล้ว ปัญหาว่า "เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความจริง?" จุดเริ่มต้นความรู้ของมนุษย์นั้น เกิดขึ้นเมื่อจิตใจของมนุษย์อาศัยร่างกายของตนเองรับรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุต่าง ๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ อาคารบ้านเรือน รถยนต์ และนามธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างเช่นกลิ่นต่าง ๆ คลื่นวิทยุ เสียงต่าง ๆคลื่นอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ผ่านเข้ามาในชีวิตของตนเองแต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างจึงไม่สามารถเก็บวัตถุที่มีรูปร่างหรือนามธรรมไม่มีรูปร่างไว้ในจิตของตนเองได้ เว้นแต่จะเก็บอารมณ์ของเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งเหล่านั้นสั่งสมอยู่ในจิตใจของตน แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์ เมื่่่่อรับรู้สิ่งใดมักจะวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากอารมณ์ของข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในจิตใจของตนนั้น เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นแล้ว หากข้อเท็จจริงใดที่จิตใจของตนเองรับรู้นั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดีก็เกิดสุขเวทนา ถ้าเรื่องที่จิตรับรู้นั้นไม่น่ายินดีก็เกิดทุกขเวทนา ดังนั้น ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์มีจุดเริ่มต้นเมื่อจิตมนุษย์รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ส่วนมีทั้งสิ่งที่มีรูปร่างและนามธรรม เมื่อจิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่างจึงไม่สามารถรับรู้สิ่งที่มีรูปร่างและนามธรรมที่เป็นคลื่นวิทยุ คลื่นไฟฟ้า เป็นต้น มาเก็บไว้ในจิตใจของตนเองได้ เว้นแต่อารมณ์เรื่องราวต่าง ๆ ของสิ่งที่ไม่มีรูปร่างและพลังงานต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานทางอารมณ์ไว้ในจิตของตนเองเท่านั้น เมื่อจิตวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานหรือข้อมูล เพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงของเรื่องนั้นเหตุผลอธิบายความจริงของคำตอบถือว่า เป็นความรู้ของมนุษย์คนนั้นดังนั้น จิตมนุษย์จึงเป็นต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ทุกสาขาวิชาเป็นต้น
๒.๒.โครงสร้างความรู้ของมนุษย์

โดยทั่วไปเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาเข้าในชีวิตมนุษย์นั้นมีทั้งข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องจริง เช่น มนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องตายซึ่งเป็นกฎธรรมชาติเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ทุกคน และข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จนั้น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนาทุจริต เมื่อมนุษย์เกิดมามีความไม่รู้ เนื่องจากมนุษย์มีข้อจำกัดของอายตนะภายในร่างกายในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต จึงไม่สามารถรับรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นบนโลกมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัส หรือความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาความรู้มาสั่งสมอยู่ในจิตใจของตนเอง เพื่อให้ติดตามชีวิตไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อใช้ความรู้นั้นเป็นหลักพิจารณาความจริงในเรื่องต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของตนเอง เป็นต้น มีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่าความรู้คืออะไร?ในเรื่องนี้เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายของคำว่า "ความรู้"ไว้ว่า ความรู้ของมนุษย์คือสิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของมนุษย์ มาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะเช่นความรู้เรื่องประวัติศาสตร์สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน การฟัง การคิดหรืือการปฏิบัติเช่นความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้เรื่องนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น ดังนั้นโครงสร้างความรู้ของมนุษย์เราสามารถองค์ประกอบเพื่อพิจารณาดังนี้
๒.๑ มนุษย์ ๒.๒ กระบวนการพิจารณาความจริงของความรู้ ๒.๓ สิ่งที่สั่งสมอยู่ในจิตมนุษย์
ติดตามปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับสาเหตุที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช (ตอน๓)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น