Problems with the truth of consciousness and wisdom of Buddha in the Tipitaka Mahachulalongkornrajavidyalaya
บทนำ ปัญหาความจริงของปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ
ในการศึกษาปัญหาความจริงของพระปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะ ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณนั้น ถือเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาพุทธภูมิ เพราะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับมนุษย์ นับเป็นปัญหาทางอภิปรัชญาที่น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าความจริงของปัญญาของพระพุทธเจ้านี้
ตามหลักวิชาการของพระพุทธศาสนาและปรัชญา โดยทั่วไปแล้ว เมื่อมนุษย์มีการรับรู้ผ่านอายตนะภายในร่างกายของตนเองอย่างจำกัด และมีความเห็นแก่ตัวจึงชอบมีอคติต่อผู้อื่น ด้วยความโง่เขลา ความกลัว ความเกลียดชังและความรักใคร่ เป็นต้น ทำให้ชีวิตมนุษย์มืดมน ไม่มีความสามารถคิดในการใช้เหตุผล เพื่ออธิบายความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ วิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธเจ้ากำหนดไว้ว่าเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่าเพิ่งเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง เราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เมื่อมีหลักฐานเพียงพอ ก็จะใช้เป็นข้อมูล มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบหรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น ๆ หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงจากพยานเพียงคนเดียวนั้น ถือเป็นสิ่งนักปรัชญาไม่เชื่อถือ และไม่สามารถรับฟังข้อเท็จจริงได้ เพราะมนุษย์มักมีอคติต่อกัน อันเกิดจากความเกลียดชัง ความชอบรักใคร่ ความกลัว และความโง่เขลา เป็นต้น เพราะมนุษย์มีอายตนะภายในร่างกายของพวกเขา มีข้อจำกัดในการรับรูัปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมเกิดขึ้น หากบุคคลเหล่านี้ยืนยันความจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้เกณฑ์ตัดสินความรู้ที่แท้จริงนั้นขาดความสมเหตุสมผลขาดความน่าเชื่อไม่เป็นสากล และไม่ยอมรับข้อเท็จจริงนี้ว่าเป็นจริง
ดังนั้นความรู้ของมนุษย์ตามคำสอนของเจ้าชายสิทธัตถะจึงได้แก่ ความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจของพระองค์ เช่น มนุษย์ โลกและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น ขณะเดียวกันเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จออกผนวช เพื่อศึกษาสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ซึ่งเป็นความรู้เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น การมีเทวดาอยู่ในสวรรค์ เป็นต้น ตามหลักอภิปรัชญา ความจริงออกเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.ความจริงที่สมมติขึ้น ๒. สัจธรรมที่เราสามารถอธิบายด้วยเหตุผลจากความนึดคิดของมนุษย์ได้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจได้ในเหุการณ์ต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้
๑. ความจริงที่สมมติขึ้นโดยทั่วไปแล้ว มันเป็นความจริงประเภทหนึ่ง อาจเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดขึ้น สภาวะตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งและดับลงหายไปจากสายของมนุษย์ แต่ก่อนที่สภาวะเหล่านี้จะดับลง มนุษย์สามารถรับรู้สภาวะะเหล่านี้ เป็นความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมเป็นความรู้อยู่ในจิตใจ ตัวอย่างเช่น ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ เมื่อเกิดขึ้น ตั้งอยู่ชั่วระยะเวลาและก็ตายลงไป ถือว่ามนุษย์เป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสเท่านั้น การฆ่าคนตายเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป การลักทรัพย์หรือการหลอกลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น การประพฤติผิดในกาม การดูหมิ่นผู้อื่น, การแสวงหาความสุขด้วยสุราและยาเสพติด เป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสของมนุษย์ เป็นความจริงที่สมมติขึ้นเท่านั้น
๒.ความจริงขั้นปรมัติถ์หรือสัจธรรม คือความจริงที่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์ ที่ไม่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเองได้ เพราะการรับรู้ของมนุษย์นั้นมีจำกัด ถ้ามนุษย์พัฒนาศักยภาพในชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์ ๘ ก็จะสามารถถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้ อันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ได้ เป็นสัจธรรมซึ่งเป็นความรู้อยู่เหนือขอบเขตของการรับรู้ประสาทสัมผัสของมนุษย์ เช่น สภาวะนิพพานซึ่งบุคคลที่จะรับรู้ถึงความรู้ที่แท้จริง ก็ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น และการพัฒนาศักยภาพชีวิตใช้เวลาหลายเวลาปีกว่าจะบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้ ตัวอย่างเช่น การรลึกถึงอดีตชาติของตน การเห็นวิญญาณออกจากร่างกายไปจุติจิตอีกโลกหนึ่ง การบรรลุถึงสภาวะนิพพาน เป็นต้น ส่วนความรู้ในระดับวิทยาศาสตร์แม้นักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เพื่อค้นหาความจริงในเรื่องสัจธรรมนี้ก็ตาม แต่ไม่มีหลักฐานการวิจัยของการค้นพบความรู้ที่แท้จริงในระดับอภิญญา ๖ ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด แต่ความรู้ในระดับประสาทสัมผัสที่ละเอียดยิ่งขึ้นนักวิทยาศาสตร์ก็สร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในการค้นหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ นั้น แต่สุดท้ายผู้อ่านค่าของข้อมูล ก็ต้องใช้จิตมนุษย์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อหาเหตุผลพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องที่น่าสงสัยนั้น เป็นต้น
ในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของชีวิต เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าตามหลักฐานพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ วิชชา ๓ จุตูปปาตญาณ ข้อ ๑๓.เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อนเหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ ดังนี้ คำถามว่า"สติ" คืออะไร เมื่อศึกษาจากหลักฐานในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. ๒๕๕๔ หมายถึง"ความระลึกได้" ส่วนตำว่า"ความระลึกได้" หมายถึง" คิดถึงหรือนึกถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต กล่าวคือ เมื่อธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ คุณสมบัติของจิตใจอาศัยอยู่ในกายและใช้อวัยวะอินทรีย์ ๖ เชื่อมต่อกับวัตถุแห่งกิเลส (มนุษย์, เครื่องประดับ, โทรศัพท์มือรุ่นใหม่) หรืออารมณ์แห่งกิเลส (เสียงไพเราะ กลิ่นหอม หรือกลิ่นมนุษย์) แล้ว เกิดสภาวะที่เรียกว่า "ตัณหา" คือ ความปรารถนาของจิตที่จะแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อสนองตัณหาของตัวมันเอง หากหาเงินมาซื้อของที่สนองตัณหาของจิตด้วยการทำงานสุจริต เรียกว่า "กุศล" ถ้าหาเงินซื้อของจากงานไม่สุจริตที่เรียกว่า "อกุศล" กรรมที่กระทำแล้วไม่สูญเปล่า แต่เป็นอารมณ์ (หรือพลังงาน) สั่งสมอยู่ในจิตใจของตน ตัวอย่างเช่น วางแผนที่จะให้ลูกดื่มยาพิษจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยท่าทีน่าสงสารว่าไม่มีค่ารักษาพยาบาลเพราะรายได้ไม่เพียงพอจ่าย และแชร์ข้อความทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหาเงินบริจาคค่ารักษาพยาบาลได้หลายล้านบาท เป็นต้น หากผู้กระทำมีสติระลึกว่าหากทำเช่นนั้น เมื่อพาเด็กไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา จะต้องได้รับการตรวจหาสารอันตรายในร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากตนใช้ปัญญาพิจารณาว่า ความเห็นของแพทย์นำไปสู่การสอบสวนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และหาสาเหตุของการละเมิดกฎหมายและความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมของประชาชน เมื่อแชร์ข่าวออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ผู้คนจะวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมของตนบนเอกสารดิจิทัลตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่นำเสนอข่าวนั้น เมื่อเป็นผู้ต้องหา ต้องนำตัวขึ้นพิจารณาคดี ศาลพิพากษาว่าตนกระทำผิดกฎหมายอาญาต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญาต่อไป และการฝ่าฝืนหลักศีล ๕ ของพระพุทธเจ้า แม้สภาพที่เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งได้หายไปจากสายตาแล้ว แต่กรรมนั้นไม่ดับ เพราะจิตนี้ได้รับสภาวะแห่งกรรมด้วยตัวเองและถูกเก็บไว้ในจิตวิญญาณของตน จนกลายเป็นสัญญาอยู่ในดวงวิญญาณนั้น และติดตามจิตวิญญาณไปเกิดอีกภพอื่นด้วย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น