The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

บทนำ: ภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ

Introduction: Mindfulness and Wisdom according to Buddhaphumi's Philosophy 

บทนำ ภูมิปัญญา  เจ้าชาสิทธัตถะ    ปรัชญา 
           
  ในการศึกษาภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะ ตามหลักปรัชญาพุทธภูมิ หรือว่าพระพุทธศาสนานั้น เราสามารถศึกษาและแสวงหาความรู้ได้ทั้งในด้านปรัชญาและศาสนา เพราะปรัชญาและพระพุทธศาสนา มีต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบของความรู้มาจากมนุษย์ วิธีพิจารณาความจริงของปรัชญาและพระพุทธศาสนา เป็นความรู้ที่มาจากมนุษย์   และความสมเหตุสมผลของความรู้ก็มาจากมนุษย์เช่นกัน ดังนั้น ปรัชญาและพระพุทธศาสนาจึงมีหน้าที่ให้คำตอบแก่สังคมมนุษย์ทั่วโลกว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนี้จริง? เมื่อพระพุทธเจ้าในฐานะปราชญ์ของโลกทรงตรัสสอนมนุษย์ เพื่อให้ศึกษาถึงต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์ องค์ประกอบของความรู้ วิธีพิจารณาความจริงของปรัชญาพุทธในการแสวงหาความรู้นั้นเป็นสากลและมนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างเท่าเทียมกันและผลการปฏิบัตินั้น เป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลหรือไม่? เนื้อหาคำตอบที่ได้รับจากกระบวนการพิจารณาความจริงของพุทธศาสนาหรือปรัชญาพุทธภูมินั้น คือความรู้ที่แท้จริง ที่มนุษย์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นประโยชน์ต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ เป็นต้น 

    เมื่อเราศึกษาว่า บ่อเกิดของความรู้ในด้านปรัชญาและพระพุทธศาสนาก็คือมนุษย์ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าได้ขจัดความมืดมนอันยาวนานของชีวิตมนุษย์ที่มนุษย์เชื่อว่า แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ถูกสร้างขึ้นจากร่างของพระพรหมและพระอิศวร แต่ความเชื่อดังกล่าวมีส่วนทำให้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งราชวงศ์ศากยะประกาศใช้คำสอนของพราหมณ์ เป็นทั้งหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ มีบทลงโทษประชาชนอย่างร้ายแรงในแคว้นสักกะ เมื่อประชาชนฝ่าฝืนคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีในข้อหาร่วมประเวณีกับคนต่างวรรณะและปฏิบัติหน้าที่วรรณะอื่นถูกคนในสังคมตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานได้เพียงพอ มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความความจริงในเรื่องการละเมิดหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตประเพณีจึงถูกคนในสังคมพิพากษาลงโทษด้วยการไล่ออกจากสังคมที่ตนอาศัยมาตั้งเกิดนั้น  เป็นต้น 

     ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของมนุษย์ เมื่อบ่อเกิดความรู้เชิงปรัชญามาจากมนุษย์ ไม่ใ่ช่เรื่องยากเกินไปสำหรับนักศึกษาจะเข้าใจความจริงทางปรัชญา ถ้าเรารู้จักคำว่า "แนวคิดของนักปรัชญา" วิธีพิจารณาความจริงของปรัชญา และการอนุมานความรู้จากพยานหลักฐานเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงเรื่องต่าง ๆ  ก็จะเข้าใจพระพุทธศาสนาและปรัชญาได้ง่ายขึ้น เมื่อเรานึกถึงโครงสร้างหรืออัตลักษณ์ทางปรัชญาเราจะเห็นว่าปรัชญาพุทธภูมิก็คือความรู้ของมนุษย์ แหล่งที่มาของความรู้ของปรัชญาพุทธภูมิก็คือความรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่รับรู้ผ่านประสาทสัมผัส และสั่งสมเป็นอารมณ์ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน เมื่อตระหนักถึงอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และเหตุการณ์ทางสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของพระพุทธเจ้าที่ว่า เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดแล้ว ไม่ควรเชื่อทันที่ว่าจริง จนกว่าจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นได้ หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงแล้ว ข้อเท็จจริงที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียวนั้น ไม่น่าเชื่อถือ และเป็นความจริงในเรื่องนร้ เพราะมนุษย์มีอคติต่อกัน อาจยืนยันความจริงให้สมเหตุสมผล และสอดคล้องกับความคิดเห็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะความไม่รู้  ความเกลียดชัง ความกลัวและความเสน่หาส่วนตน เป็นต้น นอกจากนี้ มนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ อวัยวะที่มีข้อจำกัดในการรับรู้เหตุการณ์ทางสังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นห่างไกลหรือในอาคาร  เป็นต้น  

     เมื่อปรัชญาเป็นมารดาแห่งศาสตร์ทั้งปวง เมื่อนักวิทยาศาสตร์พัฒนาองค์ความรู้ของด้วยการสร้างเมืองวิทยาศาสตร์ ขึ้นมา เพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพื่อเรียรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโลก ดวงอาทิตย์ ดวงดาวต่าง ๆ และสิ่งที่มีชีวิตเล็กทีี่สุด เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์จึงแยกเนื้อหาของโลก  ดวงดาว ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ออกจากปรัชญา เพราะเนื้อหาของปรัชญาส่วนใหญามาจากแนวคิดของนักปรัชญา แต่นักปรัชญาก็มีข้อจำกัดในการรับรู้ผ่านอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ประการ และเป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์นั้นว่ามีองค์ความรู้ไม่สมบูรณ์ในเรื่องนั้น ๆ  จำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวมรวมหลักฐานมเพิ่มเติม   เมื่อความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น เพราะเครื่องวิทยาศาสตร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ มาวิเคราะห์ โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้นหรือพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้น เนื้อหาของวิทยาศาสตร์จึงแยกออกจากปรัชญา เพื่อจัดตั้งเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเพิ่มเติม เนื้อหาของวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ก็ถูกแยกเป็นสาขาวิชาใหม่ ๆ มากมายที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เป็นต้น  

     แม้ว่า วิทยาศาสตร์จะแยกเนื้อหาออกจากปรัชญาพุทธศาสนาก็ตามแต่นักวิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการพิจารณาความจริงของปรัชญาพุทธศาสนาในวิชาวิทยาศาสตร์ของตนเอง โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เช่น หลักฐานที่เป็นความเห็นของผู้เชียวชาญ เอกสารเกี่ยวข้องกับการวิจัย ผลการตรวจเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสารพิษในร่างกายและเชื้อโรคต่าง ๆ เป็นต้น มาวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้นๆ  เมื่อวิทยาศาสตร์สนองความต้องการของมนุษย์ยุคใหม่ได้ดีกว่าสาขาวิชาอื่น ๆ ด้วยการสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ช่วยวิเคราะห์หลักฐานหรือข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้แม่นยำกว่าจิตใจมนุษย์ เพราะมนุษย์มีการรับรู้ที่จำกัดและมีชีวิตที่อ่อนแอ ขาดกำลังสมาธิ ขาดความมั่นคงทางอุดมการณ์และอ่อนไหวในการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นมาก มนุษย์มักจะมีอคติต่อผู้อื่น แม้ว่านักวิทยาศาสตร์  จะสามารถสร้างเครื่องมือที่ช่วยสืบสวนในเรื่องนี้ได้ก็ตาม และรวบรวมหลักฐานที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการรับรู้ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ แต่ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อเท็จจริงตามหลักฐานนั้นเป็นจริงหรือเท็จ 

      ดังนั้น เมื่ออาจารย์อธิบายให้นักศึกษาฟังว่า นักปรัชญาแต่ละคนคิดอย่างมีเหตุมีผลอย่างไร ? นักศึกษามักจะสงสัยว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าความคิดเห็นในเรื่องนั้นเป็นจริง? มันสร้างประเด็นทางปรัชญาและเกิดข้อถกเถียงทางเหตุผลโดยไม่จบสิ้น พวกเขาไม่เห็นประโยชน์จากการศึกษาปรัชญา  สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะอาจารย์ผู้สอนปรัชญาไม่เน้นวิธีพิจารณาความจริงของปรัชญา ที่เริ่มต้นเมื่อได้ยินความคิดเห็นในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต เราไม่ควรเชื่อทันที เราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบ  ปัญหาของนักศึกษาที่สงสัยว่าเรียนปรัชญาไปทำไม จะไม่เกิดขึ้น การศึกษาโดยไม่อธิบายวิธีพิจารณาความจริงของปรัชญานั้น เป็นการศึกษาที่ไม่มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความรู้จากนักปรัชญาเหล่านั้น นักศึกษาจะสงสัยว่าทำไมเราจึงศึกษาแนวคิดของนักปรัชญาคนนั้น ? ผู้เรียนจะรู้สึกเบื่อกับการเรียนปรัชญา เพราะรู้สึกว่าเปล่าประโยชน์ เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดเห็นของนักปรัชญา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเราจะเห็นอัตลักษณ์ของปรัชญาและเข้าใจหลักการได้ง่ายขึ้น เห็นความแตกต่างในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  

       ภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรด้านศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขา พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชาวพระนครกบิลพัสดุ์ และทรงมองเห็นปัญหาที่แท้จริงของจัณฑาลที่ถูกคนในสังคมลงโทษ เพราะพวกเขาไม่สามารถควบคุมตัณหาของตนได้ ดังนั้นพวกเขาจึงกระทำความผิดอย่างร้ายแรงต่อหลักคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ โดยฝ่าฝืนข้อห้ามกาแต่งงานระหว่างวรรณะและการห้ามปฏิบัติหน้าที่ของวรรณะอื่น ศาลประชาชนตัดสินให้พวกเขาถูกไล่ออกจากสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่มาตลอดชีวิต ต้องอยู่อย่างคนเร่ร่อนตามท้องถนนในวัยชรา เจ็บป่วย และเสียชีวิตตามท้องถนน เป็นต้น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นปัญหาชีวิตของจัณฑาลพระองค์ทรงหาหนทางที่จะช่วยเหลือจัณฑาลให้พ้นทุกข์แห่งชีวิตด้วยพระองค์ทรงเมตตากรุณาแล้ว พระองค์ทรงสติ(ใคร่ครวญ) ถึงความรู้ที่ศึกษาจากสำนักของครูวิศวมิตร ทำให้พระองค์ทรงสงสัยเกี่ยวกับความเป็นมาของจัณฑาล    เจ้าชายสิทธัตถะทรงสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจัณฑาลและรวบรวมพยานบุคคลซึ่งเป็นปุโรหิต ที่ปรึกษาของมหาราชาแห่งแคว้นสักกะ ในกฎหมาย ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี เมื่อพระองค์ทรงได้ฟังข้อเท็จจริงจากปุโรหิตว่าพระพรหมและพระอิศวรเป็นผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา ปุโรหิตยืนยันข้อเท็จจริงด้วยว่า ปุโรหิตรุ่นก่อน   ๆ เคยเห็นพระพรหมและพระอิศวรในอาณาจักรสักกะมาก่อน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามประวัติของพรหมและอิศวร ก็ไม่มีใครตอบได้ เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว พระองค์จึงทรงสงสัยว่าพระพรหมและพระอิศวรมีอยู่จริงหรือไม่  เพราะพระองค์ทรงไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตจากการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของพระองค์เองเมื่อได้รับข้อมูลเพียงพอแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะ โดยเสนอกฎหมายให้ยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีเกี่ยวกับวรรณะ แต่เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะมาประชุมกันเพื่อพิจารณาลงมติให้ตรากฎหมายยกเลิกการแบ่งวรรณะนั้น เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายสมาชิกรัฐสภาแห่งแคว้นสักกะเห็นว่า การเสนอยกเลิกฎหมายนั้นขัดต่อหลักราชอปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศ  จึงมีมิติที่เป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายตามที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเสนอให้พิจารณา 

         เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองในอาณาจักรสักกะเป็นเช่นนี้เจ้าชายสิทธัตถะทรงระลึกถึงคำสอนของพราหมณ์  ซึ่งเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี  นอกจากนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่กำหนดรูปแบบการปกครองสูงในประเทศสักกะ จึงเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปสังคมในอาณาจักรสักกะ หากพระองค์จะทรงรักษาสิทธิและหน้าที่ของราชวงศ์ศากยะ เพื่อปกครองอาณาจักรสักกะต่อไป พระองค์ก็ทรงไม่สามารถประกอบพระราชพิธีบูชายัญต่อพระพรหมได้ด้วยพระองค์เอง ที่จะขอพระพรหมผู้สร้างวรรณะได้ยกเลิกระบบวรรณะในอาณาจักรสักกะได้ เพราะเป็นสิ่งต้องห้ามตามคำสอนในศาสนาพราหมณ์ และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณี ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากพราหมณ์อารยันทำพิธีบูชายัญเพื่อขอพรจากพระพรหมและพระอิศวรช่วยประชาชนในอาณาจักรสักกะได้ และหากพระองค์เสนอตรากฎหมายยกเลิกวรรณะจารีตประเพณีก็คงไม่ได้รับการอนุมัติจากสมาชิกรัฐสภาเช่นเดิม เพราะการยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีแห่งราชอาณาจักรสักกะ พระองค์ก็ทรงพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่ามีทางเดียวเท่านั้นที่พระองค์ทรงสามารถทำได้ คือพระองค์ทรงละทิ้งสิทธิและหน้าที่ในการปกครองอาณาจักรสักกะ ตามวรรณะกษัตริย์ที่พระองค์ประสูติมาโดยพระองค์เสด็จออกไปผนวช เพื่อศึกษาและหาความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ว่า พระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์และวรรณะตามคำสอนของพราหมณ์หรือไม่ 

       เมื่อผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นอย่างไร ? แต่ผู้เขียนชอบที่จะแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป ผู้เขียนจึงตัดสินใจสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ อรรถกถา และคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นต้น มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่างๆ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะ บทความในเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ พระธรรมทูตแห่งราชอาณาจักรไทยในต่างประเทศ เพื่อเผยแผ่คำสอนพระพุทธศานาและการปฏิบัติมรรคมีองค์๘ เพื่อพัฒนาชีวิตคนทั่วโลกให้มีปัญญาและตระหนักรู้อยู่ปัจจุบัน พระธรรมทูตสายต่างประเทศจะใช้บทความนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในภารกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง เพื่อให้เนื่อหาของพระพุทธศาสนาไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผู้สนใจศึกษาพระพุทธเจ้าก็จะมีความรู้ความเข้าในพระพุทธศาสนามากขึ้น ส่วนวิธีพิจารณาความจริงของปรัชญาคือ การสอบสวนข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานให้เพียงพอ  มาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้จากหลักฐานนั้นเพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบเกี่ยวกับภูมิปัญญาของเจ้าชายสิทธัตถะนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตระดับปริญญาเอกในสาขาปรัชญา พระพุทธศาสนา และนิติศาสตร์ ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ คำให้การพยานบุคคลและพยานวัตถุ เช่น โบราณสถานและพุทธสถานต่าง ๆ  เพื่อพิสูจน์ความจริงในเรื่องที่น่าสงสัย สามารถใช้เหตุผลในการอธิบายความจริงของคำตอบได้อย่างสมเหตุสมผล และสามารถตรวจสอบกระบวนการวิเคราะห์หลักฐานได้อย่างแม่นยำ บริสุทธิ์ และยุติธรรมต่อทุกฝ่าย  เป็นต้น      

            

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ