The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565

ปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับจินตนาการสำคัญกว่าความรู้

 the metaphysics problem of Imagination is more important than knowledge.   

บทนำ   

      การศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับจินตนาการสำคัญกว่าความรู้นั้น ตามหลักปรัชญาเมื่อมนุษย์ได้ยินข้อเท็จจริงใด ๆ  เจ้าชายสิทธัตถะในฐานะนักปรัชญาก็สอนว่าไม่ควรเชื่อในข้อเท็จจริงนั้นทันที ต้องตั้งความสงสัยไว้ก่อนว่าไม่เป็นความจริง และสอบปากคำพยานหลักฐานเป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์หาเหตุผลและพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ๆ ผลของการวิเคราะห์ที่มาของคำตอบได้อย่างชัดเจนก็จะเป็นความรู้ที่แท้ในเรื่องมนุษย์ จักรวาล ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์ความมีอยู่ของเทพเจ้า นั้น หากข้อเท็จจริงใดไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น ข้อเท็จจริงขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถสืบหาความจริงในเรื่องดังกล่าวได้ ถือว่าข้อเท็จจริงเป็นเท็จ เมื่อความรู้คือธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์และสั่งสมอยู่ในจิตใจ เพราะจิตมนุษย์อาศัยอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ อย่างเกี่ยวพันกับวัตถุแห่งกิเลส จิตนั้นเก็บเอาอารมณ์กิเลสไว้เป็นหลักฐานในจิตใจของตน เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผลยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น   เมื่อมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ ๖ ที่เชื่อมต่อกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสังคมของมนุษย์  เมื่อจิตของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง  จิตจึงไม่สามารถสั่งสมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสังคมไว้ในจิตได้ เว้นแต่อารมณ์ของสิ่งเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น รถยนต์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง  เมื่อมนุษยตาย ก็ไม่สามารถสั่งสมรถยนต์ไว้ในจิตใจได้เพราะจิตใจเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง  เว้นแต่อารมณ์เกี่ยวกับรถยนต์สั่งสมไว้ในจิตใจได้เท่านั้นติดตัวไปด้วย,  เราเป็นเจ้าของบ้าน เครื่องประดับต่าง ๆ เงินฝากธนาคาร หรือคนที่เรารักมากมาย  เมื่อตายไป เราไม่สามารถสั่งสมวัตถุที่มีรูปร่างเหล่านี้ใส่จิตวิญญาณของเราไปสู่ภพภูมิอื่นได้  เพราะวิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เว้นแต่อารมณ์ของสิ่งเหล่านี้ติดตัวไปสู่ภพภูมิอื่นได้ หรือผู้ได้พัฒนาศักยภาพแห่งชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ไปจนมีจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ปราศจากทุกข์ อ่อนโยนเหมาะกับการทำงาน  มั่นคงในอุดมคติและไมหวั่นต่อการปฏิบัติหน้าที่การงานของตนให้บริสุทธิ์ ยุติธรรมต่อผู้อื่น  จนเกิดสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้  จิตผู้นั้นเกิดญาณทิพย์เหนือมนุษย์ มองเห็นความจริงของชีวิตมนุษย์  และเมื่อมนุษย์ตาย วิญญาณที่สถิตย์ในร่างกายของชีวิตจะไปจุติในภพภูมิอื่นดังนั้น ร่างกายจึงมิใช่ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ แต่จิตวิญญาณซึ่งอาศัยอยู่ในร่างกายนั้นเป็นตัวตนที่แท้จริงเพราะเมื่อสิ้นอายุขัยร่างกายเท่านั้น ที่เสื่อมสลายส่วนวิญญาณที่มิได้เสื่อมสลายไปตามร่างกายนั้น คือจิตวิญญาณได้ละร่างกายไปสู่ภพภูมิอื่นต่อไป ขณะมีชีวิตอยู่จิตวิญญาณอาศัยส่วนอินทรีย์ ๖ ของร่างกายรับรู้สิ่งต่างๆที่จรเข้ามาสู่ชีวิตของตนเองอินทรีย์ ๖ จึงเป็นบ่อเกิดความรู้ของมนุษย์ เพราะเป็นสะพานเชื่อมกับเรื่องราวของสิ่งต่่างๆที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ  และเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เมื่อจิตรับรู้แล้ว น้อมรับข้อมูลของสิ่งนั้นมาเก็บไว้อยู่ในจิต และเอาข้อมูลของสิ่งนั้นมาวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบเมื่อคิดวิเคราะห์จากข้อมูลต่างๆ หลายครั้งหลายหนแล้วจนเกิดความมั่นใจ ถือว่าเป็นความรู้แท้จริงในเรื่องนั้นในแต่ละวันนั้นมีเหตุการณ์หลายเรื่องที่จรเข้าสู่ชีวิตมนุษย์แต่มีเรื่องเพียงไม่กี่เรื่องให้เราสนใจค้นหาเหตุผลของคำตอบจากพยานเอกสาร พยานวัตถุต่างๆ ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินแน่นอนอย่างสมเหตุสมผลจนเป็นความรู้และความจริงปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไป สั่งสมอยู่ในจิตของผู้นั้นต่อไปส่วนเรื่องใดที่จรเข้ามาสู่ชีวิตแล้วคิดหาเหตุผลของคำตอบแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ตัดสินแล้วเพราะไม่มีความสมเหตุสมผลแม้จะเป็นความรู้แต่ก็เป็นเท็จ เพราะยังข้อสงสัยในเหตุผลของคำตอบในความจริงนั้น   เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจนหาเหตุผลของคำตอบได้แล้ว ย่อมสั่งสมจนกลายเป็นสัญญาอยู่ในจิตของผู้นั้นตลอดไป เมื่อยังมีชีวิตนั้นมนุษย์เดินทางไปแห่งหนตำบลไหนอยู่ใกล้ไกลในประเทศหรือต่างประเทศ ความรู้อยู่ในจิตก็ติดตามชีวิตเราไปด้วยทุกหนทุกแห่งมนุษย์ก็น้องระลึกถึงความรู้มาใช้ทำกิจกรรมต่างๆของชีวิตได้ แม้จะไปจุติจิตในสังสารวัฏไม่รู้กี่รอบก็ตาม ความรู้มีอยู่ในจิตมนุษย์ยังเป็นสัญญาอยู่ในกระแสจิตทับถมในจิตอย่างนั้น หรือนอนเนื่องอยู่ในจิตอย่างนั้นไม่มีวันสิ้นสุดดังนั้น  สิ่งต้องพิจารณาต่อไปว่า

๑.ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของ"ความรู้คืออะไร" 

      ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์หรือความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะเช่นความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติเช่นความรู้เรื่องสุขภาพ ความรู้เรื่องนิทานพื้นบ้านเป็นต้น จากคำนิยามของ "ความรู้" นั้น ผู้เขียนวิเคราะห์คำว่า"สั่งสม" หมายถึงสะสม รวบรวมให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  กล่าวคือเมื่อเราศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า นิสิตต้องใช้วิญญาณของตนเองรับรู้ในการรับคำสั่งสอนของอาจารย์ผ่านประสาทสัมผัสทางร่างกายของตนเองในวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในโรงเรียนบ้าง ในมหาวิทยาลัยบ้าง เมื่อจิตสัมผัสความรู้เหล่านั้นทั้งที่เป็นภาพเคลื่อนไหว  เสียง วัตถุ กลิ่น รสชาติ ก็น้อมรับความรู้สั่งสมไว้ในจิต  แต่วิญญาณของเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง จะเอาวัตถุที่มีรูปร่างใส่ในจิตติดตัวไปไม่ได้ ได้เฉพาะอารมณ์เรื่องราวของสิ่งนั้นเท่านั้น ลักษณะเป็นนามธรรมหรือพลังงาน ความรู้จึงเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างเช่นเดียวกับจิตสั่งสมหรือรวบรวมอยู่ในจิตในลักษณะนามธรรมนอนเนื่องอยู่ในจิตอย่างนั้นตลอดไป ส่วนความรู้เรื่องใดของใครจะมีอยู่ในจิตมากหรือน้อยกว่าใครเพียงใดนั้น มนุษย์ยังไม่ได้สร้างเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาวัดค่าความรู้ได้โดยตรงว่าใครมีความรู้กี่เปอร์เซ็นต์มนุษย์จึงสร้างมือขึ้นมาเรียกว่าข้อสอบวัดความรู้ที่มีอยู่ในจิตของผู้เรียนว่า มีมาตรฐานความรู้เพียงพอที่จะผ่านไปสู่ระดับสูงขึ้นไปได้หรือไม่ เพียงใด เป็นต้น  ตัวอย่างเช่น ความรู้ของเจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชา เป็นความที่สั่งสมอยู่ในพระทัย (จิต) ของพระองค์ มีอยู่ในลักษณะนามธรรมนอนเนื่องอยู่ในพระทัยอย่างนั้น แม้พระองค์สละครอบครัวออกบวชแต่ความรู้เหล่านั้นยังตามติดพระทัยของพระองค์ไปด้วย เนื่องจากระบบการศึกษาในสมัยก่อนพุทธกาล มิได้จัดการเรียนการสอนเป็นกิจลักษณะอย่างที่เห็นทุกวันนี้ เพราะสอนด้วยวิธีมุขปาฐะเป็นส่วนใหญ่ไม่มีการตำราอย่างทุกวันนี้ แต่เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลของคำตอบในเรื่องการศึกษาของเจ้าชายสิทธัตถะได้จากความรู้ของพระองค์ที่ทรงงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปีได้ หลังจากพระองค์ทรงสำเร็จวิชาตรัสรู้ในกฏธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ได้ 

๒. ปัญหาเกี่ยวกับความจริงของ"จิตนาการคืออะไร    

        ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้นิยามคำว่า "จินตนาการคือการสร้างภาพเกิดขึ้นในใจ" จากคำจำกัดความข้างต้น ผู้เขียนตีความว่า   "จินตนาการคือการสร้างภาพเกิดขึ้นในใจของมนุษย์ ตัวอย่าง เช่น เมื่อเราผัสสะคนตายแล้ว  เรามีความคิดเห็นในจินตนาการขึ้นใจว่าใครคือผู้ตาย  เขามาจากไหน เขาชื่ออะไรและจบการศึกษาที่ไหน  เขาทำงานกับใครและที่ไหน  เขาคบค้าสมาคมกับใคร ที่ไหน      ผ่านการแต่งงานหรือยัง เขามีหลักฐานบัตรของประจำตัวประชาชนหรือไม่  ลักษณะทางกายภาพของผู้ตายควรมีอาชีพอะไร หากไม่มีบัตรประชาชนเราก็สามารถตรวจลายนิ้วมือได้โดยเอาไปเทียบเทียบกับลายมือที่ให้ไว้ในสำนักทะเบียนราษฏร์ได้ว่าคนเป็นใคร นี่คือจินตนาการที่เกิดขึ้นใจของมนุษย์ที่ทำงานเกี่ยวข้องในเรื่องนี้   เมื่อเราศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ   อรรถกถา   ตำราทางพระพุทธศาสนาหลายเล่ม   ได้ยินข้อเท็จจริงว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงพบนิมิต ๔ ขณะเสด็จเยี่ยมชาวพระนครกบิลพัสดุ์และการพบนิมิต    ๔ เป็นเหตุให้พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกผนวช   เพื่อช่วยมนุษย์พ้นจากความแก่ ความเจ็บไข้และความตายเป็นต้น        เมื่อผู้เขียนศึกษาหาความรู้ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ  อรรถกถาแล้ว        เห็นว่าข้อความในพยานเอกสารเหล่านั้นเขียนไว้ค่อนข้างสั้นมาก  นักปราชญ์ชาวพุทธสามารถตีความเหตุผลได้หลายทาง ไม่อาจสรุปได้ว่า  สาเหตุที่แท้จริงของเจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวชนั้นมีความเป็นมาอย่างไร  ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่าการพบนิมิต ๔ ไม่ได้เป็นมูลเหตุที่แท้จริงการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อผู้เขียนจึงมีมโนภาพเกิดขึ้นในใจว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงสำเร็จการศึกษาถึง ๑๘ สาขาวิชา  ประสูติในวรรณะกษัตริย์มีสิทธิและหน้าที่ในการบริหารปกครองประเทศอย่างแน่นอน     ทรงสมหวังในความรักทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพาจนมีพระราชโอรสด้วยกัน  คือเจ้าชายราหุลทรงใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในปราสาทอันที่ประทับส่วนพระองค์     เป็นเวลาหลายปี และทรงส่วมใส่เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มสั่งโดยตรงจากต่างประเทศได้แก่ผ้าไหมกาสี เป็นต้น 

      ผู้เขียนเห็นว่า หากพระองค์ยังทรงดำรงอยู่ในวรรณะกษัตริย์ต่อไป สามารถช่วยประชาชนของพระองค์ด้วยการบรรเทาทุกข์ และบำรุงประชาชนให้มีความสุขได้อย่างแน่นอน เมื่อถึงพระชนมายุได้ ๒๙ ปี พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงเห็นปัญหาของประชาชนในแคว้นสักกะที่เรียกว่า "คนจัณฑาล" ที่ใช้ชีวิตคนไร้บ้านอยู่สองข้างทางเสด็จพระราชดำเนินในพระนครกบิลพัสดุ์ต้องใช้ชีวิตในการยามชรา ยามเจ็บป่วย และยามตาย เป็นต้น เมื่อความคิดเป็นภาพเกิดในพระทัยของเจ้าชายสิทธัตถะว่า ปัญหาของคนจัณฑาลเกิดขึ้นเพราะประเทศของพระองค์เป็นรัฐศาสนาเพราะได้แบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณ ได้วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย วรรณะแพศย์และวรรณะศูทร ให้มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามวรรณะที่ตนเกิดมา จัณฑาลเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะนั้น ต้องถูกลงโทษตามกฎหมายโดย ต้องสละวรรณะเดิมเพราะการแต่งงานข้ามวรรณะ และลูกที่เกิดมาไม่บริสุทธิ์ทางสายเลือดย่อมไม่มีวรรณะที่ตนเกิดมาตามกฎหมายแบ่งชั้นวรรณะ จึงถูกพรหมทัณฑ์จากสังคมที่ตนเคยอยู่ด้วยการถูกขับไล่ออกจากชุมชนนั้น ชนวรรณะสูงไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย และไม่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในการประกอบอาชีพ เพราะสงวนไว้ให้แก่คนวรรณะอื่นไปจนหมดสิ้นแล้ว เมื่อไม่มีอาชีพและไม่ได้รับการเหลียวแลจากสังคม จึงมาใช้ชีวิตอย่างคนไร้บ้านในสองข้างถนนในพระนครใหญ่ ๆ เช่นพระนครกบิลพัสดุ์  เป็นต้น 

       เจ้าชายสิทธัตถะทรงจินตนาการถึงความทุกข์ยากของจัณฑาล เพราะทำผิดกฎหมายว่าด้วยวรรณะ พระองค์ทรงตัดสินพระทัยเสนอกฎหมายยกเลิกวรรณะในรัฐสักกะ แต่รัฐสภาแห่งชาติศากยวงศ์ไม่เห็นชอบเพราะขัดกับธรรมะของกษัตริย์อันเป็นหลักนิติศาสตร์ในการปกครองประเทศ เมื่อระบบการเมืองและการปกครองประเทศผ่านรัฐสภาศากยวงศ์ ก็ไม่สามารถบัญญัติกฎหมายปฏิรูปสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาของคนไร้วรรณะ ให้มีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกับคนมีวรรณะได้ เมื่อปัญหาใหญ่ของประเทศเป็นดังนี้ ทรงตั้งจินตนาการเกิดขึ้นในพระทัยทรงเห็นว่า หากพระองค์ทรงดำรงอยู่ในวรรระกษัตริย์ต่อไป และใช้สิทธิและหน้าที่ในการปกครองรัฐสักกะต่อจากพระบิดาก็ตาม ก็เป็นเรื่องยากที่จะปฏิรูปสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้วรรณะได้เช่นเดิม แต่เมื่อหวนนึกถึงคนชรา คนเจ็บป่วย และคนตายที่ใช้ชีวิตข้างถนนกับคนวรรณะอื่น ๆ มีที่สุดของชีวิตคือตายเช่นเดียวกันทั้งนั้น เมื่อคิดถึงเหตุผลของคำตอบ พระองค์ทรงสงสัยว่าเมื่อพระพรหมณ์สร้างมนุษย์จากพระวรกายของพระองค์ สร้างสิทธิและหน้าที่ให้คนทำงานตามวรรณะที่ตนเกิด แต่อะไรคือสาเหตุที่พระพรหมทรงไม่สร้างชีวิตมนุษย์เป็นอมตะแต่พระองค์กลับปล่อยชีวิตพวกเขานั้นมีชะตากรรมเช่นเดียวกับคนจัณฑาล เจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยและเห็นว่ามีวิธีการเดียวที่จะปฏิรูปสังคมในชมพูทวีป คือการออกผนวชเพื่อไปแสวงหาวิธีการปฏิบัติให้เห็นสัจธรรมอันเป็นตัวตนแท้จริงในชีวิตมนุษย์ต่อไป เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยออกผนวช พระองค์ทรงได้พัฒนาศักยภาพของชีวิตและจนเกิดทักษะการปฏิบัติตามิธีการของมรรคมีองค์ ๘ จนสามารถบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ได้  การตรัสรู้ในกฎธรรมชาติของพระพุทธเจ้า ทำให้มนุษย์รู้ว่าแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริง และในธรรมชาติของวิญญาณนั้นมีความอยากที่เรียกว่าตัณหากันทุกคน จึงใช้ชีวิตไปตามเจตนาของการกระทำของตัวเอง แต่แรงจูงในการกระทำของมนุษย์มีทั้งที่ดีและที่ชั่ว และการกระทำนั้นสั่งสมจนกลายเป็นสัญญามีอยู่ในจิตของมนุษย์ทุกคนเมื่อสิ้นชีวิตลงกรรมดีหรือกรรมชั่วที่สั่งสมอยู่ในจิตจะส่งผลให้จิตวิญญาณไปจุติจิตในภพภูมิเป็นทุกคติบ้างสุคติบางตามเจตนาของการกระทำของตัวเองเป็นต้น เมื่อทรงตรัสรู้แล้วทรงจินตนาการต่อไปอีกว่าหากทรงไม่เผยแผ่ความรู้นั้น ความรู้นี้ดับสิ้นไปพร้อมกับการปรินิพพานของพระองค์มนุษย์อาจไม่รู้ว่าตนเองนั้น สามารถพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้บรรลุถึงความรู้ที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ได้

       ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจึงได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยอนุมานความรู้จากหลักฐานต่าง ๆ  เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องมโนภาพสำคัญกว่าความรู้ เพราะความรู้สั่งสมในจิตใจจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า  ประสบการณ์ หรือ ความสามารถ เป็นต้น แต่ความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆหากศึกษาเพียงเพื่อรู้   แต่ความรู้นั้นจะเป็นประโยชน์ก็ต่อเมื่อมนุษย์นำความรู้มาใช้จินตนาการของตนจนเกิดเป็นมโภาพเกิดขึ้นในจิตของตน และนำเรื่องราวของจินตนาการนั้น ไปสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อประโยชน์ของสังคมได้ ตัวอย่างเช่นเจ้าชายสิทธัตถะตัดสินพระทัยออกผนวช เพื่อค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับความจริงของชีวิตเพื่อใช้หลักฐานเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาเหตุผลของคำตอบจนค้นพบว่าพระพรหมไม่ได้สร้างมนุษย์  และสร้างสิทธิในการทำหน้าของการประกอบอาชีพตามวรรระที่ตนเกิดมาแต่อย่างใด แต่มีมนุษย์มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนแท้จริง แต่เกิดจากปฏิสนธิวิญญาณในเชื้ออสุจิและรังไข่ในครรภ์มารดาเท่านั้นและทุกชีวิตดำเนินตามเจตนาที่อยู่ในใจของตัวเอง 

บรรณานุกรม
http://www.royin.go.th/dictionary/ความรู้ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๓ 

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ