The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

ปัญหาความจริงเกี่ยวกับของยุคศิวิไลซ์

 The problem with the truth of  the Civilized Era

บทนำ ปัญหาอภิปรัชญาของยุคศิวิไลซ์ (Civilized Era)

    ในการศึกษาปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยวกับยุคศิวิไลซ์   (civilized era) ถือเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ ที่ควรศึกษาให้มากเพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับมนุษย์ ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใด ๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อ่านหนังสือเรียนหรือคัมภีร์ทางศาสนา หรือสิ่งที่นิยมประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณี   ฯลฯ  อย่าเพิ่งเชื่อทันที  เราควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าเราจะตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานในเรื่องนั้นให้เพียงพอก่อน จึงวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้  เพื่อหาเหตุผลมาพิสูจน์ความจริงอันถึงที่สุดในเรื่องนั้นหรือมาอธิบายความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น  หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องดังกล่าวให้ถือเป็นข้อเท็จจริง ที่ได้ยินจากพยานเพียงคนเดียวนั้นขาดความน่าเชื่อถือ และพระพุทธเจ้าก็ทรงไม่ยอมรับข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริง  เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีอวัยวะอินทรีย์ทั้ง ๖ ในร่างกายของตนเอง มีข้อจำกัดในการรับรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ในสังคมที่เกิดขึ้น  คงสภาพเดิมไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งและหายไปจากสายตามนุษย์ นอกจากนี้ธรรมชาติของมนุษย์ยังเห็นแก่ตัว จึงมักมีอคติต่อกันเพราะความอิจฉาริษยา ความเห็นอกเห็นใจ ความกลัวและความโง่เขลา เมื่อธรรมชาติของมนุษย์เป็นเช่นนี้ คำพยานจึงเชื่อถือไม่ได้และข้อเท็จจริงจากคำให้การนั้นก็รับไม่ได้ว่าเป็นจริง  เป็นต้น  

     ดังนั้น เมื่อมนุษย์เป็นเจ้าของความรู้ทางปรัชญาและมีความสนใจศึกษาปัญหาเกี่ยวกับความจริงของมนุษย์  โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและข้อพิสูจน์การมีอยู่ของเทพเจ้า เป็นต้น ในปัญหาเหล่านี้เป็นทั้งความรู้ในระดับประสาทสัมผัสเช่น มนุษย์  โลก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้นและความรู้อยู่นอกเหนือ อวัยวะอินทรีย์ ๖ ในร่างกายของเขา ก็จะมีข้อจำกัดในการรับรู้อารมณ์สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นทั้งในระดับประสาทสัมผัสและเหนือประสาทสัมผัสขึ้นไปเพื่อให้การศึกษาตามแนวคิดอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์นั้น นักศึกษาสามารถพัฒนาความรู้และความเข้าใจในปรัชญาในฐานะมารดาของวิทยาศาสตร์ทั้งปวง และชอบที่จะแสวงหาความรู้ต่อไป เราสามารถแบ่งความจริงของอภิปรัชญาออกได้ ๒ ประการ กล่าวคือ  

     ๑.ความเป็นจริงที่สมมติขึ้น (Fictious reality)  โดยทั่วไปแล้ว  มนุษย์มีความรู้ทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวซึ่งเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสังคมที่อาจเกิดขึ้นได้ มันจะคงอยู่เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง และหายไปในอากาศแต่ก่อนที่มันจะหายไปจากสายตามนุษย์ มนุษย์ก็สามารถใช้อวัยวะอินทรีย์ทั้ง๖ในร่างกายของตนเองรับรู้ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติได้แก่แผ่นดินไหว พายุในอ่าวไทย น้ำท่วมในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย เป็นต้น และเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่น การประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ,การศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชา, การแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าและการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  หรือการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพ ๘๐ ปีและเสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา วิถีชีวิตของพระพุทธเจ้าเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในใจของพระอานนท์ เมื่อพระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน เป็นต้น เมื่อจิตใจของมนุษย์รู้ข้อความจริงแล้วก็จะรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์ของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างเพียงพอแล้ว หลังจากนั้น ก็จะวิเคราะห์หลักฐานโดยอนุมานความรู้นั้นเพื่อหาเหตุผลอธิบายความจริงในเรื่องนั้นว่า เป็นความรู้ที่สมเหตุสมผลหรือไม่  เป็นต้น หรือเรื่องของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยงเพราะว่าเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและคงอยู่เป็นมนุษย์อยู่ชั่วระยะหนึ่ง อาจจะสัก ๒๐ หรือ ๕๐ ปีแล้วก็ตายไป ชีวิตมนุษย์จึงเป็นความเป็นจริงที่สมมติขึ้น เช่น ชีวิตของเจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติที่สวนลุมพินี พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่มาได้ ๘๐ พรรษาก็เสด็จปรินิพพาน ภิกษุณีประชาบดีโคตรมีประสูติที่เมืองเทวทหะ พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ถึง ๑๒๐ พรรษาและเสด็จปรินิพพาน เป็นต้น    

๒.ความเป็นจริงขั้นปรมัตถ์ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"สัจธรรม

         ในยุครุ่งเรืองของลัทธิพราหมณ์ ผู้คนเชื่อว่าพระพรหมและพระอิศวรสร้างมนุษย์ ตามคำสอนของพราหมณ์ ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือขอบเขตการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่มนุษย์สามารถจะรับรู้ได้เว้นการทำพิธีบูชายัญเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะการรับรู้ของมนุษย์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองอย่างจำกัดและมีอคติต่อกัน จึงมัวเมาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกมากกว่าความรู้ที่อยู่ภายในของตนเอง ที่สั่งสมไว้ตลอดการเดินทางในสังสารวัฏเว้นแต่ตามหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ที่พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมอริยมรรคมีองค์ ๘จนกระทั่งพระองค์บรรลุถึงความรู้ในระดับภิญญา ๖  ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นความรู้ที่เป็นความจริงที่่อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์เช่น ญาณทิพย์เหนือมนุษย์ สภาวะนิพพาน เป็นต้น แม้ในปัจจุบันจะเป็นยุควิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะสร้างเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อค้นคว้าความจริงในระดับสัจธรรม แต่ก็ไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตรว่ามีการค้นพบความรู้ระดับสัจธรรมของมนุษย์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แม้นักวิทยาศาสตร์ จะสร้างเครื่องมือมากมายเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ค้นหาความจริงของสิ่งต่างๆ โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานเกี่ยวข้องได้อย่างเพียงพอแล้ว เมื่อวิเคราะห์หลักฐานต่าง ๆ  สุดท้ายจิตของมนุษย์ก็เป็นอ่านข้อมูลจากหลักฐานเหล่านั้นว่าจริงหรือเท็จในปัญหาที่น่าสงสัยเหล่านั้น  เป็นต้น  

         เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหลักฐานในตำราเรียนและข้อเท็จจริงจากเว็บไซต์หลายแห่งว่าความจริงของยุคศิวิไลย์เป็นอย่างไรและเรารู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นเรื่องจริง ปัญหาเหล่านี้เกิดจากความสงสัยของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีธรรมชาติของจิตใจที่จะคิดวิพากษ์วิจารณ์หรือจัดการอารมณ์ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจหรือพิจารณาอารมณ์ต่างๆ เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล โดยเฉพาะแนวคิดทางปรัชญามนุษย์สนใจปัญหาทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตหรือความเกี่ยวข้องกับมนุษย์เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนกลัวความตาย และคิดค้นวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้อยู่ได้นานหลายปี ไม่ว่าจะทำพิธีต่อโชคชะตาของตัวเองหรือหาหมอดูทำนายชีวิตของตัวเอง แต่ในที่สุดมนุษย์ทุกคนก็ต้องตาย ตอนแรกมนุษย์เชื่อในความเป็นจริงของเทพเจ้าซึ่งเป็นความรู้อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ และเทพเจ้าสามารถช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในชีวิต ผ่านการสังเวยของมีค่าต่าง ๆ โดยพราหมณ์อารยันทำพิธีเท่านั้น แต่ความมั่งคั่งจากการทำพิธีบูชาเทพเจ้า พราหมณ์อารยันและดราวิเดียนคิดหาเหตุผลเพื่อรักษาศรัทธาและหาประโยชน์จากการบูชาเทพเจ้า ดังนั้น เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับการยกย่องให้เป็นปุโรหิตที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ สร้างอารยธรรมจากความคิดของพวกเขา โดยนำสอนของพราหมณ์อารยันไปบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคนในสังคมที่จะปฏิบัติต่อกัน

        ปัญหาคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามนุษย์ได้เข้าสู่ยุคอารยธรรมแล้ว?เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานจากเว็บไซต์ต่าง ๆก็ได้ยินข้อเท็จจริง เบื้องต้นว่าพระภิกษุ นักโหราศาสตร์ ปราชญ์ในท้องถิ่น ได้ทำนายไว้ว่า โลกมนุษย์กำลังเข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ที่คนชั่วจะถูกทำลายล้างในยุคอารยธรรมนี้ เมื่อผู้คนทั่วโลกศึกษาประวัติศาสตร์อารยธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นจากจินตนาการของตนเอง ก็ยังไม่ชัดเจนว่าใครจะทำลายคนชั่วเหล่านั้นผู้เขียนสงสัยข้อเท็จจริงในเรื่องยุคศิวิไลซ์และชอบแสวงหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป จึงตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ได้เพียงพอ เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้เพื่อให้เหตุผลมาอธิบายความจริงหรือยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนี้ ปัญหามีว่า "ศิวิไลซ์ (Civilized Era) "คืออะไร? เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯแต่ไม่พบคำว่าศรีวิไลซ์  พบแต่คำว่า"ความเจริญ" อย่างเดียวเท่านั้นและค้นหาหลักฐานจากแหล่งความรู้อื่นๆจึงพบคำว่า"ศิวิไลซ์" ในพจนานุกรมแปลไทย-ไทยของอาจารย์เปลื้อง ณ นครแปลว่า"อารยธรรมคือความเจริญ" คำว่า "อารยธรรม" ตามพจนานุกรมฉบับแปลไทย-ไทยของราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ได้นิยามว่าอารยธรรมคือความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งความเจริญเนื่องด้วยองค์การทางสังคมเช่นการเมือง กฏหมาย เศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมความเจริญ ด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม เป็นต้น  มื่อผู้เขียนได้ตีความคำนิยามข้างต้นแล้วมี ๒ ประเด็นต้องวิเคราะห์กล่าวคือ 

        ๑. ยุคศิวิไลซ์เป็นยุคที่มนุษย์มีความสงบสุขในสังคม 
        ๒. ความสงบสุขบนพื้นฐานศีลธรรมและกฎหมาย

ประเด็นที่ ๑  ยุคศิวิไลย์เป็นยุคที่มนุษย์มีความสงบสุขในสังคม

      โดยธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามีองค์ประกอบชีวิตที่เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและจิตใจรวมกันในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือน เมื่อทารกเกิดและมีชีวิตอยู่ก็มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นการกำเนิดชีวิตมนุษย์ใหม่ เพื่อให้จำลักษณะที่ปรากฏได้ง่ายขึ้นจึงตั้งชื่อตามกฎหมายไว้  โดยธรรมชาติของจิตใจมนุษย์คือเห็นแก่ตัว พวกเขามักจะมีอคติต่อกันและเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่าตนเอง ดังนั้นอารยธรรมที่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย จารีตประเพณี จึงเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นคนจัณฑาลต้องอาศัยอยู่ตามถนนในพระนครกบิลพัสดุ์ แม้ชีวิตจะอยู่ในวัยชราแล้ว ป่วยไข้ และนอนตายอยู่ข้างทาง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและสั่งสมเป็นหลักฐานทางอารมณ์อยู่ในพระทัยของพระองค์ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงสงสัยความเป็นมาของจัณฑาล พระองค์ทรงตรวจสอบข้อเท็จจริง  และรวบรวมพยานหลักฐานจากคำให้การของปุโรหิต  ทรงได้ยินข้อเท็จจริงว่าคำสอนของพราหมณ์เรื่องพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้มนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่พวกเขาเกิดนั้นเป็นทั้งคำสอนในศาสนาพราหมณ์และกฎหมายวรรณะจารีตประเพณีมีสภาพบังคับตามกฎหมายไว้ว่าห้ามมิให้ประชาชนแต่งงานข้ามวรรณะแต่พวกเขาหักห้ามตัณหาราคะของพวกเขาไม่ได้ จึงกระทำผิดกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรณะจึงถูกลงโทษจากคนในสังคมตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ด้วยการขับไล่ออกจากถิ่นพำนักของตนเองตลอดชีวิต ดังนั้น ในสมัยรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ถือเป็นยุคมืดในสังคมอนุทวีปอินเดียเพราะคนศรัทธาในเทพเจ้าของพราหมณ์นิกายต่างๆและเชื้อว่าเทพเจ้าจะช่วยให้ผู้คนประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เมื่อมนุษย์มีตัณหาอยากประสบความสำเร็จในชีวิตจึงบูชาเทพเจ้าตามคำสอนของพราหมณ์ สังคมจึงสงบสุขเพราะผู้คนกลัวพระเจ้าจะลงโทษและไม่ช่วยให้ตนเองประสบความสำเร็จในชีวิต  แต่การบูชาด้วยของมีค่าต่าง ๆ สร้างความร่ำรวยให้พราหมณ์ในนิกายต่าง ๆ จากเครื่องบูชาซึ่งเป็นของมีค่าต่าง ๆ ขณะเดียวกันพวกพราหมณ์นิกายต่าง ๆ  จึงเกิดคิดหาทางรักษาผลประโยชน์จากการบูชาของตนไว้ เมื่อวรรณะกษัตริย์ทรงพระราชศรัทธา และแต่งตั้งเป็นปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาด้านนิติขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี พวกเขาหาทางออกกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์นิกายอื่น ๆ ในการทำพิธีบูชา ขาดสติในการรำลึกถึงความรู้ที่สั่งสมอยู่ในจิตใจและใช้ปัญญาในการพิจารณาใช้ความรู้ที่ติดตัว เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือวิเคราะห์ข้อมูลหาเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น ๆ แต่คนเชื่อว่าพระพรหมและพระอิศวรมีอยู่จริงตามคำสอนของพราหมณ์ แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าจากประสบการณ์ชีวิตโดยตรงก็ตามพวกเขายังเชื่อว่าเทพเจ้าสามารถช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตจึงตัดสินใจบูชาเทพเจ้าด้วยของมีค่าต่างๆตามที่พราหมณ์เรียกร้อง เมื่อคนทั่วอนุทวีปอินเดียเชื่อตามคำสอนของพราหมณ์ การบูชาเทพเจ้าเป็นปรากฏการณ์ปกติในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนในสังคมขณะนั้น การบูชาเทพเจ้าจึงนำความมั่งคั่งมาสู่พราหมณ์แห่งนิกายต่าง ๆ ผ่านการสังเวยที่มีมูลค่าสูงในแต่ละปี 

      ดังนั้นการบูชาจึงเป็นอารยธรรมที่สร้างขึ้นตามแนวคิดของพราหมณ์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เพราะเป็นรายได้ที่มีค่ามหาศาลสำหรับการบูชาของพราหมณ์ในนิกายต่างๆ ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่จะรักษาศรัทธาและรายได้จากการเซ่นสังเวยเทพเจ้าของตน เมื่อปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นอย่างนี้ พราหมณ์จึงสร้างอารยธรรมจากความคิดเกี่ยวกับการเมืองหลังจาก พราหมณ์อารยันซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของกษัตริย์ในด้านนิติจารีตประเพณี คิดที่จะรักษาผลประโยชน์ของการบูชาพระพรหมและอิศวรไว้และหาวิธีจำกัดหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียน  พราหมณ์อารยันจึงเสนอแนวคิดให้วรรณะกษัตริย์เอาคำสอนของพวกตนบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะเพื่อจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียน (หรือมิลักขะ)ในการทำพิธีบูชาเทวดา จัดให้ชาวดราวิเดียนอยู่ในวรรณะศูทรหน้าที่รับใช้คนวรรณะสูงเท่านั้น และห้ามการแต่งงานข้ามวรรณะ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาลูกเกิดมามีสายเลือดไม่บริสุทธิ์ที่สำคัญกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ  เมื่อรัฐสภาตรากฎหมายออกมาบังใช้แล้วยกเลิกไม่ได้ การบัญญัติกฎหมายจารีตประพณีว่าด้วยวรรณะจึงเป็นอารยธรรมที่เป็นความเจริญเนื่องด้วยองค์การทางสังคมในด้านการเมืองที่มนุษย์สร้างขึ้นมาจากความคิดของพวกเขาเอง เมื่อผู้คนเชื่อในการมีอยู่จริงของเทพเจ้าเพราะอคติหากผู้สูญเสียผลประโยชน์ เช่น ชาวดราวิเดียนมีข้อโต้แย้งความมีอยู่จริงของเทพเจ้า พวกพราหมณ์อารยันก็จะอ้างพยานหลักฐานคือพราหมณ์ปุโรหิตที่ปรึกษากษัตริย์ เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในความเป็นอยู่เทพเจ้า การโต้แย้งข้อเท็จจริงด้วยพยานหลักฐาน จึงเป็นอารยธรรมที่เป็นความเจริญเนื่องด้วยองค์กรของสังคมในด้านกฎหมายมาจนถึงปัจจุบันเป็นต้น เมื่อมีการประกาศกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะใช้บังคับในรัฐโกลิยะและรัฐอื่นๆทั่วอนุทวีปอินเดีย ให้ประชาชนทำงานตามหน้าที่ของตนก็ตาม แต่มนุษย์เป็นสัตว์มีตัณหาราคะแฝงอยู่ในจิตใจกันทุกคน และมีชีวิตทีอ่อนแอเพราะไม่เคยพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเองด้วยการทำสมาธิ เมื่อวัตถุกิเลส (คน) ผ่านเข้ามาในชีวิตทำให้เกิดตัณหาและขาดสติ ไม่สามารถระลึกถึงความรู้ด้านกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะและห้ามแต่งงานข้ามวรรณะเพราะจิตอยู่ในความมืดมิด จึงไม่ใช้ปัญญาว่าหากพวกเขาสมัครรักใคร่กันฉันท์ชู้สาว  ทำให้เกิดปัญหาการแต่งงานข้ามวรรณะและถูกขับไล่ออกจากสังคมต้องใช้ชีวิตจัณฑาล ต้องเร่ร่อนตามท้องถนนตลอดชีวิตแม้จะอยู่ในวัยชรา เจ็บป่วยไข้ และนอนตายอยู่ข้างถนน เป็นต้น 

          ยุครุ่งเรืองทางปัญญาของมนุษย์ เริ่มต้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรและสวนหลวงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาหลายวัน ทรงเห็นปัญหาของจัณฑาลในอาณาจักรสักกะ ซึ่งชีวิตของพวกเขาอยู่ในความมืดมิด เพราะพวกเขากระทำความผิดอย่างร้ายแรงต่อคำสอนของศาสนาพราหมณ์และกฎหมายจารีตวรรณะจารีตประเพณีจึงถูกคนในสังคม สืบสวนข้อเท็จจริงและมีหลักฐานเพียงพอจึงถูกคนในสังคมลงโทษโดยขับไล่ออกจากถิ่นฐานของตนไปตลอดชีวิต ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนข้างถนน   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นปัญหาจัณฑาลแล้ว พระองค์ทรงเมตตากรุณาที่จะช่วยให้จัณฑาลที่พ้นโทษจากการถูกลงโทษจากคนในสังคมตลอดชีวิตได้กลับคืนสถานะเดิมในสังคมได้ เมื่อพระองค์ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานจากคำให้การของพราหมณ์ปุโรหิต พระองค์ทรงได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าพวกพราหมณ์ปุโรหิตยืนยันว่า พระพรหมสร้างมนุษย์จากกายของพระองค์และวรรณะให้มนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนเองเป็นเหตุให้เกิดจัณฑาล แต่เมื่อพระองค์ตรัสถามปุโรหิตซึ่งเป็นพราหมณ์ที่ปรึกษาของวรรณะกษัตริย์ว่า พระพรหมหรือพระอิศวรมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไม่มีพราหม์ปุโรหิตคนใดตอบพระองค์ได้ ดังนั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะสงสัยในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระพรหม์พระอิศวรว่าจะไม่มีอยู่จริง และรักที่จะหาความรู้ในความจริงต่อไปn โดยการสละวรรณะกษัตริย์ออกผนวชเพื่อค้นคว้าหาสัจธรรมของชีวิตต่อไป เมื่อพราหมณ์ทุกนิกายสามารถอธิบายความรู้เกี่ยวกับเทพเจ้าและเทวดาซึ่งเป็นความรู้อยู่เหนือประสบการณ์ชีวิตและไม่ผ่านประประสาทสัมผัสของมนุษย์ได้ ทำให้ผู้คนในอนุทวีปอินเดียเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างมีเหตุผล จนชาวอนุทวีปอินเดียเชื่อและตกลงที่จะปฏิบัติตามความเชื่อนั้นโดยการบูชายัญเทพเจ้านั้น เมื่อมีผู้โต้แย้งข้อเท็จในความมีอยู่จริงของเทพเจ้า พวกเขาก็จะอ้างปุโรหิตที่ปรึกษาของกษัตริย์ เป็นพยานบุคคลให้การยืนยันความจริงในเรื่องนี้ ทำให้คนวรรณะต่ำกลัว และไม่กล้าโต้แย้งในข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ เป็นต้น    การอ้างพยานหลักฐานเพื่อให้การยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวนั้น นี่คือเหตุผลที่แนวคิดของปรัชญาแตกต่างจากทฤษฎีของศาสนาเทวนิยม เป็นต้น เมื่อชาวอนุทวีปอินเดียเชื่อว่าเทพเจ้ามีอยู่จริงและช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตได้  แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองก็ตาม การบูชาเทพเจ้าเป็นเรื่องปกติของผู้คนเข้าไปยังสำนักพราหมณ์นิกายต่างๆที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นความเจริญรุ่งเรืองทางการบูชาเกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจเพราะการบูชายัญด้วยของอันมีมูลค่านั้น สร้างความมั่งคั่งให้พราหมณ์นิกายต่าง  ๆ เป็นต้น ทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจในการบูชายัญของพราหมณ์นิกายต่างๆ เพื่อรักษาศรัทธาเทพเจ้าในนิกายของตนและผลประโยชน์ที่ได้จากการบูชาของนิกายตนไว้พวกเขาก็พยายามคิดหาเหตุผลเพื่อยกย่องเทพเจ้าในนิกายของตนให้มีความศักดิ์สิทธิ์กว่าเทพเจ้าของนิกายอื่นๆดังนั้นเมื่อพราหมณ์บูชายัญพรหมและอิศวรได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิตก็หาวิธีรักษาศรัทธาและผลประโยชน์จากการบูชาของตนเองไว้ ทำให้เกิดแนวคิดสร้างอารยธรรมความเจริญทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยพวกเขาเสนอการออกกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของการบูชายัญตนไว้เพียงฝ่ายเดียว ตัวอย่างถือว่าเป็นอารยธรรมที่มนุษย์สร้างขึ้นเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางศาสนา เศรษฐกิจ และการเมือง เป็นต้นเช่นเมื่อพราหมณ์อารยันเห็นว่าพราหมณ์ดราวิเดียนได้รับประโยชน์จากการบูชาเทวดาและนำความมั่งคั่งมาสู่นิกายของพวกเขา พราหมณ์อารยันจึงหาทางจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการบูชาเทพเจ้าและเทวดา เป็นหน้าที่ของพราหมณ์ชาวอารยันเพียงฝ่ายเดียวโดยถวายคำแนะนำสมาชิกรัฐสภา ซึ่งได้รับแต่งตั้งมาจากวรรณะกษัตริย์ในการออกกฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยวรรณะให้ประชาชนทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมาเท่านั้น การประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะทำให้สิทธิและหน้าที่ของการบูชาและสาธยายพระเวทเป็นของพราหมณ์อารยันที่บูชาพระพรหมและพระอิศวรเพียงฝ่ายเดียวทำให้พราหมณ์ดราวิเดียนถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่ในการบูชาเทวดาเและมีหน้าที่ทำงานตามวรรณะศูทรที่ตนเกิดคือรับใช้คนวรรณะสูงเท่านั้น บทลงโทษของกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะนั้น หากผู้กระทำผิดกฎหมายฯ โดยแต่งงานข้ามวรรณะจะถูกลงโทษโดยคนในสังคมด้วยการขับไล่ออกจากสังคมที่ผู้กระทำผิดอาศัยอยู่ได้  หากผู้กระทำผิดฝ่าฝืนอยู่ในสังคมก็จะถูกลงโทษด้วยการทุบตีจนตายเป็นต้น การกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยวรรณะต้องเสียสิทธิและหน้าที่ตามวรรณะเดิมตลอดชีวิต เป็นคนไร้วรรณะที่เรียกว่า "จัณฑาล" ต้องใช้ชีวิตเร่ร่อนไปตามท้องถนนแม้จะอยู่ในวัยชรา เจ็บป่วย และนอนตายข้างถนน เป็นต้น  

       แต่ธรรมชาติของจิตมนุษย์มักจะคิดลำเอียง (มีอคติ) ต่อผู้อื่นอยู่เสมอ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมและวิถีชีวิตมักเกี่ยวกับผลประโยชน์ พวกเขาจึงคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองและเพื่อนพ้องในฐานะผู้รับใช้และแบ่งผลประโยชน์ต่างตอบแทนพวกเขาจึงเต็มใจที่จะแสดงละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เป็น เพราะพวกเขามีชีวิตที่อ่อนแอและขาดการฝึกฝนจิตให้เข้มแข็งด้วยการทำสมาธิ สั่งสมกิเลสไว้มากในจิตจึงไม่มีจิตบริสุทธิ์มีอารมณ์ขุ่นมัวเพราะความทะเยอทะยานมากจึงเป็นคนมีบุคลิกไม่มีความอ่อนโยนจึงหยาบกระด้างไม่เหมาะที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไม่มั่นคงในอุดมการณ์ที่เป็นเป้าหมายของชีวิต และหวั่นไหวในการปฏิบัติหน้าที่การงานของตน ส่งผลต่อพฤติกรรมของพวกเขา เพราะขาดสติและไม่สามารถระลึกถึงความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองที่สั่งสมอยู่ในจิตใจของตน หรือไม่มีความรู้เพราะขาดการศึกษาหลักศีลธรรมและกฎหมายอย่างถี่ถ้วนเป็นหลักการพิจารณา ก่อนที่จะตัดสินใจลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าจะได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้นเนื่องจากพวกเขามีจิตใจที่ลำเอียงเพราะความรักตนเองและพวกพ้อง การอยู่ในสังคมเพื่อหารือเรื่องผลประโยชน์ มนุษย์มักจะหมกมุ่นกับความสำเร็จตัวเองและมักดูหมิ่นผู้อื่นที่สูญเสียผลประโยชน์ไปทำให้เกิดความโกรธแค้นเกลียดชังกันและทำร้ายฆ่ากันเอง พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นจากมนุษย์มีอคติเพราะความโกรธเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคมจะสนิทสนมกันจึงรู้สึกเกรงใจและคุ้นเคยอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่มีสถานะทางสังคมที่สูงกว่าตนเมื่อทำงานในหน้าที่มักจะเกรงใจต่อผู้นั้นเป็นอคติเพราะความกลัว มนุษย์ในสังคมมีชีวิตที่เข้มแข็งหรือชีวิตที่อ่อนแอต่างกัน เมื่อได้ยินข้อเท็จจริงเรื่องใด ๆ หลายคนมักจะเชื่อโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่ค้นคว้าหลักฐาน   เพื่อใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์ความจริงก่อนจะตัดสินใจเชื่อ พวกเขามักจะทำผิดพลาดในการทำงานหรือทำธุรกิจของตนเองหรือการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่ถือว่าเป็นอคติเป็นเพราะความโง่เขลาของตนเอง เป็นต้น

       ความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาศาสตร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างเทคโนโลยี่ด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตแบ่งปันความรู้ ที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิตใจตนเองด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันตามความเข้าใจของตนเอง นำไปความเชื่อที่อ่านข้อความเห็นด้วยเหตุผลนั้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดอย่างมั่นใจว่าสิ่งที่คิดนั้นเป็นความจริงโดยปราศจากการใช้หลักฐานวิเคราะห์ เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นนำไปสู่การกระทำผิดหลักศีลธรรมโดยเฉพาะศีลข้อที่ ๓ และผิดต่อกฎหมายอาญาว่าการดูหมิ่นผู้อื่นเป็นต้น ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ ดวงจิตใช้อวัยวะอินทรีย์ ๖ ของร่างกายเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อม สภาวะหรือปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและสังคม เป็นต้น  เมื่อชีวิตมนุษย์เข้ามาสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง รวบรวมหลักฐานเป็นข้อมูลใช้วิเคราะห์และผลของการวิเคราะห์ก็ปรากฏเรื่องราวขึ้นในจิตใจไม่ชัดเจนว่ามันคืออะไร ก็สงสัยเกี่ยวกับความจริง (หรือธรรมะ)ว่าสิ่งรอบข้างว่าอะไรเป็นสาเหตุ เมื่อนักการศาสนา นักปรัชญา และนักวิทยาศาสตร์ มีที่มาของความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสทางกายที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ แล้ว พวกเขาสงสัยและรักที่จะค้นคว้าต่อไปก็จะรวบรวมหลักฐานทางอารมณ์ที่สั่งสมไว้ในใจตนเองแล้ว นำหลักฐานมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์หาเหตุผลเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในเรื่องนั้นๆเช่น.......สำหรับความรู้สมัยใหม่ที่อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์เช่น คลื่นวิทยุและโทรทัศน์  โทรศัพท์  ดาวเทียม และWi-Fi ของอินเตอร์เน็ตและเป็นความรู้อยู่เหนือประสาทสัมผัสของมนุษย์ ที่ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยตนเองจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อรับรู้และจำความรู้ผ่านwi-fi นั้น เพื่อแปลงคลื่นเหล่านั้นให้เป็นความรู้ระดับประสาทสัมผัสได้ ส่วนเรื่องชีวิตก็เช่นกัน  การกิน ที่อยู่อาศัย การแต่งตัว การรักษาโรค เป็นต้น ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกอาหารการเลือกที่อยู่อาศัย เลือกเสื้อผ้า และเลือกวัคซีนรักษาโรคโควิค-19 เสมอ เพราะมนุษย์มีจิตใจที่มีลักษณะเป็นผู้คิดและจินตนาการเป็นเรื่องราวอยู่ในจิตใจจึงมีสิทธิเสรีภาพในการพูด และคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมชุมชนและประเทศชาติได้แต่พฤติกรรมที่แสดงเจตนาออกมาไม่ละเมิดหลักศีลธรรมและกฎหมายบ้านเมือง เมือแสดงเจตนาของกระทำเสร็จแล้วก็ต้องรับผลของการกระทำเช่นการฆ่าผู้อื่นส่งผลให้เสียชีวิต การลักทรัพย์ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับเสียหายต่อทรัพย์สินการประพฤติผิดทางเพศต่อบุคคลอื่นได้รับความเสียหายการดูหมิ่นผู้อื่นย่อมสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น  กรรมนั้นย่อมผิดศีลธรรมและกฎหมายอยู่เสมอมนุษย์ไม่สามารถคิดเองได้ว่าการกระทำของตนถูกหรือใครผิดเพราะธรรมชาติของมนุษย์มีอคติอยู่ในจิตใจ แต่ต้องมีศาลหรือผู้หน้าที่เกี่ยวข้องในกระบวนยุติธรรมก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมและปราศจากอคติดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีมาตรฐานทางศีลธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นตัววัดพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ว่าจะถูกหรือผิด เมื่อผู้คนไม่เชื่อคำสอนทางพุทธศาสนาเพราะการให้ผลของกรรมช้า มนุษย์จึงมีการละเมิดหลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องยุคต่อมามนุษย์จึงนำหลักศีลธรรมของพุทธศาสนาเป็นมาตรฐานจริยธรรมในอาชีพของตนเอง โดยไม่มีสิทธิประกอบวิชาชีพนั้นอีกต่อไปและนำศีล๕มาบัญญัติเป็นกฎหมายอาญาให้เป็นมาตรฐานทางความประพฤติของคนในประเทศและป้องกันมิให้ละเมิดสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นโดยเจตนา ประพฤติผิดศีลห้าในพระพุทธศาสนาและฝ่าฝืนกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่น ๆ เป็นต้น 

ประเด็นที่ ๒  เรื่องความสงบสุขเกิดจากศีลธรรมและกฎหมายในยุคศิวิไลย์

    มนุษย์สร้างอารยธรรมด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในด้านเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เป็นสื่อกลางในการเผยแผ่ความรู้ของมนุษย์ในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ทำให้เรามองเห็นโครงสร้างความรู้ของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะธรรมชาติของความรู้ของวิชาเหล่านี้ ผ่านต้นกำเนิดของเกิดจากวิธีพิจารณาความจริงของพระพุทธศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้คิดอย่างมีเหตุผลของมนุษย์ทุกคน ไม่มีหลักสูตรของความรู้ใด ที่ไม่ได้เกิดจากการศึกษาค้นคว้าของมนุษย์ ต่างกันเพียงรายละเอียดของสิ่งที่สนับสนุนการวิจัยของมนุษย์เท่านั้น ในพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์รู้จักพัฒนาศักยภาพชีวิตของตนเอง จนเกิดความชำนาญในการปฏิบัติธรรมตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุสัจธรรมของชีวิตในระดับอภิญญา ๖ ซึ่งเป็นความสามารถที่จะรู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น ส่วนความรู้ทางปรัชญาเป็นความรู้ของมนุษย์  เริ่มต้นเมื่อเราได้ยินข้อเท็จจริงในเรื่องใดไม่ควรเชื่อทันทีว่าเป็นความจริง ควรสงสัยไว้ก่อน จนกว่าจะตรวจสอบจ้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอเสียก่อน ที่รวบรวมไว้จากมนุษย์ด้วยกันเพื่อใช้หลักฐานเป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ยืนยันความจริงของคำตอบในเรื่องนั้น แต่เหตุผลที่มนุษย์ใช้อธิบายคำจริงของคำตอบนั้นได้ทุกเรื่อง โดยทั่วไปมนุษย์มีธรรมชาติเป็นผู้คิดหาเหตุผลจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสังคมอย่างมีเหตุผลอยู่เสมอ แต่เหตุผลนั้นต้องมีความสมเหตุสมผล ถูกต้องตามหลักศีลธรรมและหลักกฎหมายเป็นข้อแย้งที่เรามองเห็นอยู่เสมอ 

       เมื่อผู้เขียนศึกษาค้นคว้าหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ เล่มที่๑๑ พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ปาฏิกสูตร ข้อที่ ๓๗. ภัคควะ มีสมณะพราหมณ์บางพวก  ประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างเราจึงเข้าไปถามเขาอย่างนี้ว่า"พวกท่านประกาศทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่า พระอิศวรเป็นผู้สร้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างจริงหรือ"   สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้วยืนยัน"เป็นเช่นนั้น" เราจึงถามต่อไปว่าท่านทั้งหลายบัญญัติทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดโลกตามลัทธิอาจารย์ว่าพระอิศวรเป็นผู้สร้างว่าพระพรหมเป็นผู้สร้าง มีความเป็นมาอย่างไร สมณพราหมณ์ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว ก็ตอบไม่ได้
............"  
      ในการศึกษาหลักฐานจากพระไตรปิฎกมหาจุฬาฯ ข้างต้น  ผู้เขียนได้ยินข้อเท็จจริงว่า ยุคศิวิไลซ์เป็นยุคที่มนุษย์สร้างอารยธรรมจากความคิดของตนเอง และสามารถอธิบายความเป็นอยู่ของเทพเจ้าได้อย่างมีเหตุมีผล  พวกเขาสร้างอารยธรรมของการบูชาเทพเจ้าโดยอาศัยความเชื่อว่า พระพรหมและพระอิศวรสามารถช่วยมนุษยชาติประสบความสำเร็จในชีวิตได้ จนกลายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และเกี่ยวข้องกับความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการบูชาเทพเจ้าได้สร้างความมั่งคั่งให้กับทุกนิกายของพราหมณ์และ  เป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางการเมือง เมื่อพราหมณ์อารยันได้รับแต่งตั้งให้เป็นปุโรหิตเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในด้านกฎหมาย จารีตประเพณี และในอนาคตนั้น พราหมณ์อารยันเห็นว่าพราหมณ์ดราวิเดียนได้ผลประโยชน์จากการบูชายัญอาจได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต พวกเขาจึงคิดหาวิธีจำกัดสิทธิและหน้าที่ของพราหมณ์ดราวิเดียนในการบูชายัญโดยการเสนอนำคำสอนของพราหมณ์อารยันบัญญัติกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะโดยอ้างว่า พระพรหมสร้างวรรณะไว้ให้ทุกคนปฏิบัติตาม เพื่อความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบร้อยด้วยศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อสมาชิกรัฐสภาแห่งอาณาจักรสักกะได้ตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ ตามคำแนะนำของปุโรหิต เพื่อสร้างสังคมที่สงบสุข โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักศีลธรรมและกฎหมาย แต่ผลการตรากฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะสังคมมนุษย์เข้าสู่ความมืดมิดทางปัญญา เพราะมนุษย์ไม่สามารถควบคุมตัณหาราคะของตนเองได้ จึงฝ่าฝืนคำสอนของพราหมณ์ด้วยการแต่งงานข้ามวรรณะและไม่กลัวการลงโทษของพรหม เป็นการละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีว่า ด้วยวรรณะซึ่งมีโทษโดยการขับไล่ออกจากสังคมเดิมนอกจากนี้เมื่อบัญญัติกฎหมายไว้ดีแล้ว จะยกเลิกไม่ได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสูงสุดที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" ในมาตรา ๓ ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะแล้ว มีหลายคนฝ่าฝืนกฎหมายและถูกสังคมลงโทษกลายเป็นจัณฑาลจำนวนมากที่ออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนบนท้องถนนและพวกเขาไม่สามารถกลับไปสู่สังคมเดิมได้ แม้ว่าชีวิตจะอยู่ในวัยชรา เจ็บป่วยไข้ และถึงแก่ความตายก็ตาม
   
         ความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับมนุษยชาติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงตัดสินพระทัยปฏิรูปสังคมเพื่อยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะ แต่พระองค์ทรงไม่สามารถยกเลิกกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะได้เพราะเป็นการขัดต่อกฎหมายจารีตประเพณีสูงสุดในการปกครองประเทศที่เรียกว่า "หลักอปริหานิยธรรม" มาตรา ๓ ห้ามมิให้ยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติไว้ดีแล้ว เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสถามปุโรหิตว่าประวัติของพรหมและอิศวรมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ไม่มีใครตอบพระองค์ได้    ทำให้พระองค์ทรงสงสัยในข้อเท็จจริงเรื่องพระพรหมและพระอิศวรที่ได้ยินจากปุโรหิตการเล่าให้ฟังต่อเนื่องกันมาการยึดถือเป็นประเพณีต่อเนื่องกันมานาน ข้อเท็จจริงที่ได้ศึกษาจากคัมภีร์หรือตำรา ฯ ล ฯ  พระองค์ทรงตัดสินใจที่จะผนวชและบำเพ็ญเพียรพยายามแสวงหาสัจธรรมของชีวิตมา ๖ ปีและตรัสรู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับชีวิตว่า ตัวตนของชีวิตมนุษย์เกิดจากปัจจัยสองประการคือร่างกาย และจิตกำเนิดชีวิตใหม่ในครรภ์ของมารดาเป็นเวลา ๙ เดือนก็จะเกิดเป็นมนุษย์ต่อไป ส่วนพราหมณ์อ้างว่าพระพรหมสร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ เพื่อทำงานตามวรรณะที่ตนเกิดมาตามคำสอนของพราหมณ์เป็นเท็จเพราะพระพรหมเป็นเทพเจ้าไม่มีอยู่จริง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมตามอริยมรรคมีองค์ ๘ จนพระองค์ทรงมีสมาธิ จิตบริสุทธิปราศจากความขุ่นมัวอ่อนโยน มั่นคงและไม่หวั่นไหวต่อปัญหาหนักของชีวิตอีกต่อไป พระองค์ทรงเกิดมีญาณทิพย์เห็นวิญญาณทิ้งร่างที่ตายไปจุติในโลกอื่นหรืออุบัติในโลกมนุษย์ปัจจัยเหล่านี้เกิดจากสัญญากรรมที่สั่งสมอยู่ในจิตใจ เป็นต้น

          การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทำให้มนุษย์เข้าใจว่า พวกเขาสามารถพัฒนาศักษยภาพของชีวิตและทักษะในการแสวงหาความรู้ที่อยู่เหนือระดับประสาทสัมผัสได้ในพุทธศาสนาเรียกว่า "อภิญญา๖" ได้ และมนุษย์นำองค์ความรู้ของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้กับศาสตร์สมัยและเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่น่าสนใจ และสามารถเอาชนะข้อจำกัดทางความคิดของมนุษย์ที่ล้าสมัยได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิต เห็นจิตวิญญาณที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ ไปจุติในเทวโลกทุคติภูมิหรือสุคติภูมิบ้าง ความรู้เหล่านี้อยู่เหนือขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์จะรู้ได้ เว้นแต่ผู้นั้นจะพัฒนาศักยภาพของชีวิตและทักษะในการการปฏิบัติธรรมด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็สามารถบรรลุถึงความรู้ระดับอภิญญา ๖ ได้  

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ