The fifth element of Buddhism is religious place.

บทนำ
โดยทั่วไป วัดในพระพุทธศาสนาทั่วโลก จะต้องมีสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาเรียกว่า "ศาสนสถาน หรือสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา" เช่น ศาลาซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตักบาตรพระตอนเช้า และตอนเที่ยงเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิต เป็นต้น แม้ว่าเราจะรู้จากจากประสบการณ์ชีวิตผ่านอายตนะภายในร่างกาย และสั่งสมไว้ในจิตใจเป็นเวลานาน เป็นต้น
เมื่อผู้เขียนได้ศึกษาหลักฐานในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ให้คำจำกัดความ "ศาสนสถาน" ว่า สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น โบสถ์ พระวิหาร สถูป เจดีย์ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่ทางพระพุทธศาสนา" เป็นต้น โบสถ์เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์มาประชุม และทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาฏิโมกข์ อุปสมบท เป็นต้น มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขตโบสถ์ มักทำด้วยแผ่นหินหรือหลักหิน เป็นต้น กุฎีเป็นที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกกษุสามเณร โบราณเรียกวว่า กะดี เป็นต้น ส่วนพระประธานเป็นพระพุทธองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ หรือ วิหาร โดยพระพุทธรูป ถือเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็นต้น สถูปเป็นสิ่งก่อสร้างซึ่งมีรูปโอคว่ำ ซึ่งบรรจุของควรบูชามีพระบรมสาริกธาตุของพระพุทธเจ้า และพระธาตุของพระอรหันต์ เป็นต้น เจดีย์ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเป็นรูปฟาง มียอดแหลมบรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุ สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ เป็นต้น ในปัจจุบันวัดมักจะใช้ศาลาวัด เป็นอาคารปลูกไว้สำหรับทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนาและศึกษาเล่าเรียน ภาษาบาลี และนักธรรมสนามหลวง และเป็นสถานที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ผู้สละครอบครัวมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาและเป็นสถานที่ทำบุญสำหรับฆราวาสที่ยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง)
เมื่อผู้เขียนศึกษาเรื่องศาสนสถานแห่งแรกในพระพุทธศาสนาจากหลักฐานในพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณ ในเบื้องต้นเราได้ฟังข้อเท็จจริงว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก จึงถือได้ว่าเป็นศาสนสถานแห่งแรกในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้กฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์แล้วพระองค์ได้ทรงทดสอบผลของปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ หรือ ๔๙ วัน ก็ได้ผลเหมือนกัน คือ "อภิญญา ๖ อันเป็นความรู้แท้จริงตามกฎธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยที่จะทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ปัญจวัคคีย์โดยเสด็จจากเมืองอุรุเวลาเสนานิคมในแคว้นมคธไปยังเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งแคว้นกาสี ระยะทาง ๒๖๐ กิโลเมตร ในเวลานั้น เมืองพาราณสีเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาที่เรียกว่า"หมู่บ้านกาสี" ซึ่งเป็นรัฐบริวารภายใต้การปกครองของแคว้นโกศล ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้พระราชทานหมู่บ้านกาสีแห่งนี้ เป็นของขวัญในพิธีสยุมพรระหว่างพระเจ้าพิมพิสารและพระนางเวเทหิ ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระองค์เอง
ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นศาสนสถานแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
เขตป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นพระอุทยานของพระเจ้าพรหมทัตแห่งแคว้นกาสีทรงใช้เป็นสถานที่เลี้ยงกวาง ในยุคต่อกษัตริย์แห่งแคว้นกาสีหลายพระองค์ ทรงได้ปกครองชาวแคว้นกาสีเป็นเวลากว่า ๔๐๐๐ ปีและทรงดำเนินนโยบายเช่นเดียวกันนี้เพื่อ ให้ป่าแห่งนี้เป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์ป่าทั้งปวง เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงได้มีพระราชโองการให้ยกป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ขึ้นเป็นเขตอุทยานรักษาพันธ์สัตว์ป่า ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาโดยเรียกสถานที่นี้ว่า "เขตอภัยทาน" พระเจ้าพรหมทัตจึงทรงมีพระบรมราชโองการให้ ห้ามไม่ให้ล่ากวางในป่านี้อีกต่อไป จึงไม่มีใครกล้าละเมิดพระราชอำนาจของพระเจ้าพรหมทัต เมื่อป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ยังเป็นสถานที่เงียบสงบ ห่างไกลจากผู้คนที่มารบกวน หรือล่าสัตว์ในเขตอุทยานหลวง
ในเวลาต่อมาเมื่อมหาราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ มีออกกฎหมายจารีตประเพณีประกาศให้ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาประจำชาติ และบัญญัติหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นกฎหมายวรรณะ เพื่อความมั่นคงของประเทศ ในการที่จะรักษาผลประโยชน์ของการบูชาเทพเจ้าของชาติ และริดรอนสิทธิและหน้าที่ของชาวมิลักขะในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในศาสนาของตนต่อไป เมื่อเป็นกฎหมาย ย่อมกำหนดสภาพบังคับตามกฎหมายวรรณะไว้เพื่อให้ประชาชนในชาติมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้น กล่าวคือ ห้ามประชาชนทุกวรรณะร่วมประเวณี (สมสู่) กับคนต่างวรรณะ ผู้คนทุกวรรณะจึงเบื่อหน่ายกับปัญหาชนชั้นวรรณะในสังคม ที่ลงโทษผู้คนในสังคมอยู่เป็นประจำ เนื่องจากผู้คนมีตัณหาราคะแอบแฝงอยู่ในจิตใจ บางคนละทิ้งชีวิตครอบครัวและออกจากบ้าน เพื่อบวชเป็นพระเพื่อแสวงหาความรู้ที่แท้จริงแห่งชีวิตด้วยวิธีการต่าง ๆ พวกเขาใช้ป่าอิสิปตนมฤคายทายวัน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม แต่เมื่อจิตวิญญาณของพวกพราหมณ์เหล่านั้นได้บรรลุฌานขั้นที่ ๘ แล้ว พวกเขาจะออกเผยแผ่คำสอนของตนไปยังสถานที่ต่าง ๆ และแสดงทัศนะทางปรัชญาของตนเอง
เมื่อจิตวิญญาณของพราหมณ์เหล่านั้น หลงในศรัทธาของผู้คนจึงใช้ความรู้ดังกล่าวไปประกอบพิธีบูชาไฟเพื่อทำนายชะตาชีวิต โดยอ้างว่า มีอำนาจติดต่อกับเทพเจ้าต่าง ๆ ให้ช่วยให้พวกเขาบรรลุความปรารถนาได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งชาวบ้านทั่วไป ไม่สามารถมองเห็นได้ มีพราหมณ์ที่ทำพิธีบูชาไฟ เพื่อส่งเครื่องบูชาไปยังเทพเจ้าเพื่อเอาใจเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่และช่วยให้ชีวิตพวกเขาเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในความปรารถนาและประสบความสำเร็จในชีวิต พระองค์ทรงเห็นว่าผู้คนเหล่านี้มีความศรัทธาในพระองค์ และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์อยู่แล้ว เพื่อหลีกหนีความทุกข์ของการกลับชาติมาเกิดในชีวิตตามคำทำนายที่ได้ยินมา แม้การเดินทางในยุคนั้น จะเต็มไปด้วยความยากลำบาก แต่ในยุคนั้นมีคนน้อย ต้องทำงานหนัก แต่พราหมณ์ ปริพาชก พระภิกษุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น กลับต้องพบความยากลำบากยิ่งกว่า
อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงไม่ละทิ้ง การเดินทางไปแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ และทรงพิจารณาถือว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกมีศรัทธาต่อพระองค์ ในการแสวงหาสัจธรรมของชีวิตและพระองค์เชื่อว่าปัญจวัคคีย์จะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ บรรลุถึงอภิญญา ๖ ไปสู่ความจริงของชีวิต เมื่อตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมแก่ชาวโลกให้ข้ามพ้นอวิชชาแล้วพระพุทธเจ้า ได้เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองอุรุเวลาเสนานิคม (ในปัจจุบันเรียกว่าตำบลพุทธคยา) มาโดยลำดับประมาณ ๑๑ วัน มาจนถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี แคว้นกาสีในเวลาปัจจุบันเรียกว่าตำบลสารนารถ อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย สถานที่เกิดดวงธรรมของอัญญาโกณฑัณญะเรียกว่า "ธัมเมฆสถูป" เพื่อแสดงธรรมครั้งแรกให้แก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ผลของการแสดงธรรมในครั้งนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะ สำรวมกายวาจาและสำรวมจิตให้เกิดอารมณ์ฟังเพียงอย่างเดียว จนเกิดเอกัคคตาใช้จิตพิจารณาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดดวงตาเห็นธรรมจิตของอัญญาโกณฑัญญะ บรรลุโสดาบัน เป็นต้น
ดังนั้น ป่าอิสิปตนมฤคทายวันจึงเป็นสถานกำเนิดพระพุทธศาสนาในยุคพระเจ้าอโศกมหาราชจึงสร้างธัมเมฆสถูป ในยุคปัจจุบันกองโบราณคดีของอินเดียเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า Buddha temple (วัดพระพุทธเจ้า) ในก่อนพุทธกาลนั้นเรียกว่าป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เกิดเป็นพุทธสถานในยุคหลังพุทธกาลเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี การเสด็จมาของพระองค์เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ด้วยวิธีปฏิบัติตามรรคมีองค์ ๘ ด้วยพระพุทธองค์ระลึกถึงอุปการะคุณของปัญจวัคคีย์ที่ปรนนิบัติรับใช้พระพุทธองค์ ขณะศึกษาความรู้และความจริงของชีวิตด้วยวิธีการบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น เมืองสารนารถในสมัยก่อนพุทธกาลนั้นเรียกว่าป่าอิสิปตนมฤคทายวันเป็นเขตอภัยทาน ห้ามล่าสัตว์ ในพระราชอุทานของพระเจ้าพรหมทัต
ด้วยเหตุนี้ สถานเช่นนี้จึงถูกชาวกาสีเรียกว่าป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพราะ คำว่า "อิสิ" แปลว่าฤาษี ปตนะหมายถึงสถานที่ชุมนุมของฤษี โยคี มุนี นักบุญที่มารวมตัวกัน เพื่อปฏิบัติธรรมในป่า ซึ่งเป็นสถานที่เลี้ยงกวางของพระเจ้าพรหมทัต เป็นต้น เหตุผลที่พวกฤาษีมาอยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ เพราะเป็นที่เงียบสงบและผู้คนไม่กล้ารบกวน เนื่องจากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ของพระเจ้าพรหมทัตต์ ผู้ปกครองแคว้นกาสี จึงเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์ป่าเช่น กวาง เป็นต้น และอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังของพระเจ้าพรหมทัตมากนัก ซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างแม่น้ำวรุณและแม่อสี
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แจ้งในกฎธรรมชาติของความเป็นไปของมนุษย์ พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมแก่พราหมณ์ปัญจวัคคีย์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเป็นเวลา ๒ เดือน พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของนักบวชที่ต้องการหลีกหนีจากความทุกข์จากแรงกดดันของชนชั้นวรรณะในสังคมก่อนสมัยพุทธกาลนอุทยานแห่งนี้ตั้งออยู่ห่างจากเมืองพาราณสี เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่บนฝั่งทางทิศตะวันตกของแม่น้ำคงคา ในยุคปัจจุบัน ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำบลสารนารถ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งใน ๗๕ อำเภอของรัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย
ปัญหาที่เราพิจารณาต่อไปอีกว่า เมื่อพราหมณ์ปัญจวัคคีย์ได้รับฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว วิญญาณของพวกเขาก็เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย ขยันมั่นเพียรในการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ มีสติในการระลึกรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีสมาธิในการฟังธรรม เกิดปัญญาหยั่งรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งไม่เที่ยง ความตายไม่ได้สิ้นสุดของชีวิตในวัฏสงสาร ตัดสินละลัทธิเดิมที่เคยเป็นที่พึ่งของตัวเอง คือการบำเพ็ญทุกรกิริยาในลัทธิศาสนาเชนเสีย พวกพากันยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งและเข้าบวชในพระพุทธศาสนา

ปัญหาที่ต้องวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าการที่ปัญจวัคคีย์ตัดสินใจน้อมนำเอาหลักธรรมเป็นที่พึงเพียงอย่างเดียวขอออกบวชสำนักของพระศาสดานั้น ทำให้เกิดองค์ประกอบศาสนา ทำให้ให้เกิดพระพุทธศาสนาใช่หรือไม่มีเหตุผลเพียงใด พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินมาสู่สถานแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดพระพุทธเจ้า (Buddha temple) ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงสร้างธัมเมฆสถูปขึ้นไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงการแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า เป็นเหตุให้จิตวิญญาณของพระภิกษุอัญญาโกณทัญญะ เกิดดวงตาเห็นธรรมในระดับโสดาบันมีจิตวิญญาณเกิดศรัทธาเข้าบวชในพระพุทธศาสนา เอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
ทรงสร้างธัมมราชิกสถูป เป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่จิตของปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อฟังพระธรรมเทศนาเรื่องอนัตตลักขสูตรพูดถึงชีวิตมนุษย์ทุกคนว่า เป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่ว่าจะอยู่ในวรรณะใดก็ตามทรงสร้างมูลคันธกุฏีของพระพุทธเจ้าไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่ส่งพระธรรมทูตรุ่นแรกไปยังทิศทั้ง ๔ เพื่อไปเผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าและสอนวิธีปฏิบัติธรรม เพื่อใช้คำสอนของพระพุทธเจ้าพัฒนาศักยภาพของชีวิตให้รู้แจ้งแทง ตลอดถึงความเป็นไปของการใช้ชีวิตของตัวเองส่วนพระองค์ก็เสด็จสู่ตำบลอุรุเวลาเสนิคม เพื่อโปรดชฏิล ๓ พี่น้อง เป็นต้นทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ ๑ ต้น เพื่ออนุสรณ์สถานและจารึกด้วยอักษรพราหมีไว้เพื่อประกาศว่า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าในยุคสมัยปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่ในตำบลสารนารถ อำเภอพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดียของบุคคลเหล่านั้น และกล่าวโดยสรุปศาสนาคือลัทธิความเชื่อว่าด้วยความรู้และความเป็นจริงในชีวิตมนุษย์ที่ศาสดานั้น ได้ศึกษาค้นคว้าจนพบความรู้และความจริงของชีวิต ที่ทนทานต่อการพิสูจน์ตามเกณฑ์มาตรฐานของความรู้ และความเป็นจริงอย่างสมเหตุสมผล ปราศจากข้อสงสัยในคำตอบของความรู้และความจริงอีกต่อไป เมื่อศาสดาแล้วก็ต้องมีสาวกผู้ได้ ฟังธรรมเกิดความเชื่อ และศรัทธาในคำสอนนั้นมีพิธีกรรมเข้าบวชสู่ศาสนาและมีสถานที่แสดงธรรมนั้นด้วย เป็นต้น
๑.ภาพถ่ายโดยช่างภาพอิสระ คุณมติ นิติพล
๒.พระไตรปิฎกเล่ม ๔ ฉบับมหาจุฬา ฯ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มหาสวรรคภาค ๑. ว่าด้วยพระภิกษุปัญจวัคคีย์เรื่องว่าด้วยอุททกดาบส รามบุตรข้อ.๑๐.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น