The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ปัญหาความจริงเกี่ยวกับThe Twin Stupas, หลักพิสูจน์พุทธประวัติ

 The Twin Stupa, the Evidence proves Buddhist history.


บทนำ Twin stupa 

     ในการศึกษาปัญหาญาณวิทยาเกี่ยวกับสถูปคู่(Twin stupa)ตามหลักวิชาการทางปรัชญาในพระพุทธศาสนา เมื่อใครกล่าวถึงข้อเท็จจริงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักปรัชญาสอนว่าอย่าเชื่อข้อเท็จจริงว่าเป็นความจริง จนกว่าสืบเสาะข้อเท็จจริงและรวบรวมหลักฐานพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้นด้วย หากไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ความจริงในเรื่องนั้น   ข้อเท็จจริงที่ได้ฟังจากพยานเพียงคนเดียวยังไม่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นได้ว่า   เป็นความจริงเพราะมนุษย์มีอคติจึงเกิดความลำเอียงที่จะยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในทางไม่ถูกต้องเพราะความโง่เขลาของตน, เพราะความรักใคร่ในพวกพ้องของตน, เพราะความเกลียดชังของตนเองเพราะความกลัวไม่กล้าของตนเอง  คำให้ของพยานบุคคลจึงมีน้ำหนักของเหตุผลยืนยันข้อเท็จจริงมีอยู่น้อย และไม่เป็นยอมรับในแวดวงวิชาการ เป็นต้น การแก้ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของพยานที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องได้นักปรัชญาแก้ปัญหาด้วยสร้างทฤษฏีความรู้ เพื่อกำหนดหลักการของความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่ใช้พิสูจน์ความจริงในเรื่องดังกล่าวเรียกว่า "ญาณวิทยา"   เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่มาของความรู้ของมนุษย์ตามทฤษฎีความรู้ที่เรียกว่า "ทฤษฎีประจักษ์นิยม" ซึ่งกำหนดทฤษฎีที่ว่า "ความรู้ของมนุษย์เกิดขึ้นผ่านการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของชีวิตมนุษย์เท่านั้น"    ผู้เขียนตีความว่า เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงในปัญหาความจริงของมนุษย์หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ จะต้องมีหลักฐานพิสูจน์ความจริง  หลักฐานที่น่าเชื่อถือสามารถยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบในฐานะพยานบุคคลได้ จะต้องมีความรู้จากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองและสั่งสมอารมณ์ของความรู้ที่แท้จริงของเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ในสมัยเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ การมีอยู่ของเทพเจ้ามีปุโรหิตซึ่งเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในด้านนิติศาสตร์และจารีตประเพณี เป็นพยานหลักฐานยืนยันการมีอยู่ของเทพเจ้าว่าเคยเห็นเทพเจ้าในแคว้นสักกะมาก่อน ดังนั้นปุโรหิตจึงเป็นพยานหลักฐานน่าเชื่อถือเพราะมีความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสของตนเองว่าเคยพระพรหมในแคว้นสักกะมาก่อน เป็นต้น

     ผู้เขียนอ้างตนเองเป็นพยานหลักฐานในเรื่องนี้    เมื่อได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่าในปีพ.ศ.๒๕๕๙ผู้เขียนและคณะผู้แสวงบุญเดินทางจากวัดไทยลุมพินีไปยังวังกบิลพัสดุ์โบราณของวรรณะกษัตริย์แห่งศากยวงศ์  ในปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตกบิลพัสดุ์ จังหวัดลุมพินี สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาลอยู่ห่างจากวัดมายาเทวีประมาณ ๒๗ กิโลเมตร ซึ่งเป็นวังนี้ซึ่งมีอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาลนั้น สักกะเป็นรัฐชนบทเล็กๆที่ตั้งอยู่กับใกล้เชิงเขาหิมาลัยเป็นพื้นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม  ปกครองโดยพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ มีประชาชน ๒ เชื้อสายตั้งรกรากอยู่ในแคว้นสักกะ กล่าวคือเชื้อสายพวกอารยันผู้บุกรุกเข้ามาอยู่ใหม่และมีชนพื้นเมืองเดิมเรียกว่าพวกดราวิเดียนประชาชนในรัฐสักกะชนบทส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์   และนำคำสอนของพราหมณ์มาบัญญัติเป็นกฎหมายจารีตประเพณีว่าด้วยวรรณะบริเวณที่ตั้งของดินแดนแห่งนี้เป็นที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำซับ กระแสน้ำซับไหลมาจากป่าดงดิบบนเทือกเขาหิมาลัยตลอดทั้งปีชาวสักกะเป็นชนชาติมีความเจริญรุ่งเรือง  เพราะชาวสักกะมีที่มาของความรู้จากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสตัวเองเรียกว่า"ความรู้ประจักษ์นิยม"เป็นความรู้ได้มาจากการคิดหาเหตุผลจากหลักฐานต่าง ๆจนกลายเป็นปรัชญาศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อในเรื่องพระพรหมว่าเป็นเทพเจ้าสูงสุดที่มนุษย์ทุกคนควรเคารพบูชาพระพรหมทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากส่วนต่าง ๆ ของพระวรกายของพระองค์ และทรงแบ่งมนุษย์ทำงานตามหน้าที่ของตนตามชาติกำเนิดในวรรณะต่าง ๆ ห้ามมิให้ฝ่าฝนเรื่องวรรณะเพราะกำเนิดในวรรณะใดก็อยู่ในวรรณะนั้นตลอดทั้งชีวิต นอกจากนี้พวกเขายังมีการสั่งสมความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพให้มีอยู่ในจิตวิญญาณด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและสั่งสมติดต่อกันมายาวนานหลายพันปีเกี่ยวกับการเกษตรกรรมด้วยการปลูกข้าวและพืชไร่เพื่อใช้เป็นอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของตัวเอง   

๓.สถูปพระเจ้าสุทโธทนะ

     ในยุคอินเดียโบราณพระเจ้าสุทโทธนะทรงเชื่อในศาสนาพราหมณ์มาก่อน ต่อมาหลังจากเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชเป็นพระโพธิสัตว์และตรัสรู้แจ้งเป็นพระพุทธเจ้าโดยค้นพบความจริงเกี่ยวกับกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคน และทรงเปิดวัดเวฬุวันมหาวิหารเป็นสำนักสอนวิปัสสนาให้ชาวราชคฤห์เห็นความเป็นจริงของชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งปวง ไม่ใช่ความจริงตามคำสอนของพวกพราหมณ์ว่าพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากร่างของพระองค์เอง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังกรุงกบิพัสดุ์เป็นครั้งแรก พระเจ้าสุทโธทนะทรงสดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงละทิ้งความเชื่อในพระพรหมตามคำสอนของพราหมณ์และทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนาเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งของพระองค์  พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุโสดาบันบนเส้นทางบิณฑบาตรในกรุงกบิลพัสดุ์ เพราะพระทัยของพระองค์ทรงเข้าใจผิดในการเสด็จออกบิณฑบาตของพระพุทธเจ้านั้นเป็นการประพฤติตนเยี่ยงขอทาน ทำให้พระองค์ทรงอับอายในพระราชหฤทัย พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่าศากยวงศ์เป็นวงศ์ของพระเจ้าสุทโธทนะ ส่วนพุทธิวงศ์เป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้ามีทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น วิถีสังคมของชาวสักชนบทอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพราหมณ์ วรรณะนี้มีแนวคิดด้านปรัชญาและศาสนากล่าวคือพวกพราหมณ์ถือ ว่าเป็นผู้มีการศึกษาและมีอำนาจทางสติปัญญามีฐานะสังคมสูงเป็นปุโรหิต ที่จะให้คำแนะนำต่อแนวคิดของการดำเนินชีวิตของชนชั้นปกครอง ในสมัยก่อนพุทธกาลได้ส่วนพวกดราวิเดียนเป็นเจ้าของดินแดนเดิมถูกจัดอยู่ในฐานะคนวรรณะต่ำ ตามความเห็นทางการเมืองในความมั่นคงของรัฐ ไม่มีโอกาสศึกษาปรัชญาและศาสนาจึงไม่มีความรู้และเข้าใจในปัญหาของชีวิต โชคชะตาชีวิตของพวกเขาจึงถูกลิขิตไปตามอำนาจทางปกครองของชนในวรรณะสูง เมื่อไม่มีความรู้ย่อมนึกคิดไม่เป็นเพราะขาดจินตนาการเพื่อสร้างชีวิตให้สมบูรณ์แบบ และไม่มีระบบความคิดที่ผ่านการหาเหตุผลทางตรรกะย่อมไม่อาจยกเหตุผลขึ้นมาโต้แย้งอำนาจที่ไม่ยุติธรรมต่อสิทธิและหน้าที่ของตนในทางสังคมได้ เมื่อการดำเนินชีวิตปราศจากการใช้เหตุผลเชิงตรรกะเพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมอาศัยแต่ความคิดของผู้อื่น จะทำให้ผู้อื่นมีอิทธิพลทางความคิดเหนือตน ตัวอย่างเช่น เมื่อ
เจ้าชายสิทธัตถะทรงประสูติ พระเจ้าสุทโธทนะทรงโปรดฯให้พวกพราหมณ์ทำนายชะตาชีวิตของพระโอรสของพระองค์ พวกพราหมณ์ทำนายชีวิตเป็นสองลักษณะคือหากดำรงตนเป็นกษัตริย์ต่อไปจะทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และหากออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แม้เหตุการณ์ในอนาคตยังไม่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ก็ตามแต่ก็สร้างความกังวลในพระราชหฤทัยแก่พระองค์ไม่น้อยทรงคิดหาวิธีการเลี้ยงดูพระราชโอรสเพื่อทำหน้าที่ปกครองประชาชนตามวรรณกษัตริย์ต่อไป ด้วยการศึกษาวิชาการโลกจนสำเร็จการศึกษาถึง ๑๘ สาขาวิชาด้วยกันเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ทรงจัดพิธีอภิเษกสมรสกับนางพิมพายโสธราและพระเจ้าสุทโธทนะโปรดเกล้า ฯ สร้างปราสาทให้ประทับถึง ๓ องค์ด้วยกัน ทรงประทับจนกระทั่งพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา 
ดังปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณนาสก์ ข้อที่ ๒๘๑ กล่าว่า ดูก่อนมาคันธิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็เป็นผู้อิ่มหนำเพรียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก  ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งประกอบด้วยเสียงอันพึงจะรู้แจ้งด้วยหูด้วยกลิ่นอันพึงจะรู้แจ้งด้วยจมูก....ด้วยรสอันพึงจะรู้แจ้งด้วยลิ้น...ด้วยโผฏฐัพพะอันพึงจะรู้แจ้งด้วยกาย...ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ  น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนมาคันธิยะ ปราสาทของเราได้มีถึง ๓ แห่งคือ ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เรานั้นให้บำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปน  ในปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝนตลอดสี่เดือนไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท.

          จากถ้อยคำของพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกดังกล่าวข้างต้นเราวิเคราะห์ได้ว่าพระเจ้าสุทโธทนะทรงเลี้ยงดูพระราชโอรสให้พัวพันในกามคุณห้าเพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและติดอยู่กับความสะดวกสบาย เพื่อป้องกันมิให้พระราชโอรสออกบวชใช้ชีวิตอย่า ไม่มีบ้านเรือนเพื่อแสวงหาความจริงของชีวิตตามคำนายของพราหมณ์ปุโรหิต    ต่อมาไม่นานนักเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีความปรารถนาอยากเที่ยวชมพระอุทยานพระนครกบิลพัสดุ์ทรงพบสัจธรรมชีวิตมนุษย์คือสภาวะของความแก่เจ็บ ตาย อันเป็นทุกข์ประจำสังขารของมนุษย์ทุกคน ด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของพระองค์เองสถูปที่เห็นตรงหน้าของฉันนั้น เป็นเจดีย์ที่มีฐานทรงกลมพอที่ฉันจะสันนิษฐานได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะในประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนาในหนังสือหลายเล่มได้บรรยายว่าพระเจ้าอโศกทรงสร้างสถูปเสาหิน ๘๔,๐๐๐ แห่งทั่วชมพูทวีป ฉันเคยอ่านตามบันทึกของพระถั่มซั่มจังและสมณะฟาเหียนว่า มีการพบวิหารเทวดาคู่หนึ่งซึ่งใช้เป็นที่บูชาของศาสนานิกายต่างๆให้เห็นมีอยู่ภายในเขตพระราชวังกบิลพัสดุ์ พบหลักฐานโบราณคดีเป็นกำแพงที่เป็นซากปรักหักพังล้อมรอบพระราชวังกบิลพัสดุ์ เหนือบนกำแพงเมืองเป็นวิหารหนึ่งหลังภายในวิหารเป็นรูปของพระเจ้าสุทโธทนะอยู่ห่างไปไม่ไกลจากวิหารของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นซากปรักหักพังของวิหารเป็นแกะสลักของรูปพระนางสิริมหามายาทั้งสองพระองค์ยังที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองไม่เคยเสื่อมคลาย แม้วันเวลาจะผ่านเกือบพันปีแล้ว ความศรัทธาของผู้คนแห่งเมืองกบิลพัสดุ์มิได้ลดลงไปเลยเพราะพระเจ้าสุทโธทนะก่อนเสด็จสวรรคตนั้นได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเกิดดวงตาเห็นธรรม จิตบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคลบรรลุอรหันตผลและเสด็จสู่ปรินิพพาน. 

๔.สถูปพระนางสิริมหามายา เทพมารดาแห่งชาวฮินดู 

     ในภาพนี่คือสถูปของพระนางมายาเทวีที่สร้างขึ้น เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะฐานเจดีย์ทรงกลมซึ่งพบเห็นกันอยู่ทั่วไปในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ เป็นศิลปะสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช สร้างขึ้นเคียงคู่กับสถูปพระเจ้าสุทโธทนะ แต่สถูปของพระนางสิริมายามีขนาดเล็กกว่า ซึ่งเป็นหลักฐานเบื้องต้นเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีอยู่จริงของพระนางสิริมหามายาพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะพระนางได้รับการยกย่องว่าผู้เป็นมารดาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกกว่ามารดาทั้งหลาย เพราะพระนางประทานเจ้าชายสิทธัตถะพระราชโอรสผู้กลายเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นศาสดาเอกของโลก ที่นั่งอยู่ในของชาวพุทธทั่วโลกดังนั้นในช่วงเดือนเมษายนของทุก ๆ  ปี  หญิงฮินดูวัยสาวทุกคนแต่งงานแล้วที่นับถือศาสนาฮินดูในเนปาล จะเดินทางไปสวนลุมพินีเข้าสู่มายาเทวีวิหาร  เพื่อประกอบพิธีบูชาด้วยสีแดงและถวายใบอโศกให้แก่เธอขอพรจากพระนางสิริมหามายาให้พวกเธอได้ลูกชาย ส่วนพระนางสิริมหามายาบรรลุโสดาปัติผลที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แม้ในเวลาปัจจุบันพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าจะรายล้อมเต็มไปผู้นับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะ มีเทวสถาน ๒ แห่งปรากฎอยู่ใกล้กันแล้วก็ตามเทวสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในพระราชวังกบิลพัสดุ์เก่าของเจ้าสิทธัตถะก็ ตามที่สำคัญรอบพระราชวังเต็มไปด้วยพื้นเกษตรกรรมอันกว้างไกลของชาวบ้าน เพราะนิยมรับประทานมังสวิรัติ  เป็นอาหารหลักตามคำสอนของศังกราจารย์ที่บูชาพระศิวะมายาวนานแล้ว เมืองติเลาราโกต Tilaurakot  จึงเป็นเมืองโบราณทำให้เจ้าหน้าโบราณคดีเชื่อว่าเป็นกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะชนบท แต่คำว่าเมืองเก่าโบราณยังเป็นเสน่ห์ของการน่าค้นต่อไป โดยเฉพาะผู้แสวงบุญชาวไทย สถูปพระนางมายาเทวี.

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ